
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๙ และรัชกาลที่ ๑๐ ต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคของประเทศในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ ๕ “ในเมืองเราเวลานี้ไม่ขัดสนอันใดยิ่งกว่าคน การเจริญอันใดจะเป็นไปไม่ได้เร็วก็เพราะเรื่องคนนี้อย่างเดียว” พระราชปรารภที่บ่งบอกถึงแรงพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเร่งสร้าง ทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพด้วยการศึกษา ทรงดำริให้ริเริ่มจัดตั้งระบบการศึกษาและโรงเรียนราชวิทยาลัยเป็น สถานศึกษาที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๙ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู กระทั่งถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงพระราชทานแนวทางในการยกระดับและแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษามาโดยตลอด ดังพระบรมราโชวาท อันแสดงถึงความใส่พระราชหฤทัยเรื่องการศึกษาโดยเฉพาะความสำคัญของบุคลากรครูที่ว่า “แม้จะมีเทคโนโลยี ชั้นสูง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีชีวิตและไม่มีจิตใจ ไม่สามารถถ่ายทอดความดีได้ฉะนั้นไม่มีอะไรแทนคนสอนคนได้” ใน วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ อันแปลความหมายได้ ว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ซึ่งทรงลงพระปรมาภิไธยในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตรา ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ และเป็นสิ่งที่นำความ ภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยตราพระราชลัญจกรนั้นเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวง จักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ มีรัศมีโดยรอบ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพใน แผ่นดิน ซึ่งวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์จึงถูกกำหนดขึ้นให้เป็น วันราชภัฏ ด้วยความจงรักภักดีและตั้งปณิธานที่จะ ประพฤติปฏิบัติตนเจริญรอยตามเบื้องพยุคลบาทในการพัฒนาประเทศชาติบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พี่น้องประชาชน ชาวไทยสืบไป
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศในขณะนั้น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี กับพระราชภาระอันหนักยิ่งนับเป็น การส่งต่อพระบรมราชปณิธานจากพระหัตถ์สู่มือบัณฑิตทุกคน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรม หาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงสานต่อพระราชปณิธานและพระราชภารกิจนี้ด้วยทรง มุ่งหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแหล่งผลิตครูที่มีคุณภาพและเป็นปราชญ์แห่งการพัฒนาท้องถิ่นมุ่งเป้าให้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน อันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปด้วยสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏได้น้อมนำพระราโชบายมาจัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔ ยุทธศาสตร์ อันได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยนำแนวคิด องค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู โดยการผลิตครูทั้งในระบบปิดและระบบเปิดควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพ ครูและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วยการยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพัฒนา ศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้และความเชี่ยวชาญในสาขา และคุณภาพบัณฑิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ด้วยการแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาท้องถิ่น ระบบ ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การพัฒนาเครือข่ายจัดทำระบบสู่ความเป็นเลิศและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เต็มสัพพะกำลังเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้อย่างเต็มภาคภูมิให้สมกับเป็นคน ของพระราชาข้าของแผ่นดิ