คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติ คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติส่วนตัว 

  • เกิดเมื่อ 21 พฤษภาคม 2488 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • สมรสกับ คุณปริศนา ตรีทอง มีบุตรสาว 1 คน 

ประวัติการศึกษา 

  • ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • มัธยมศึกษาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง 
  • ป. กศ. ต้นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ปริญญาตรี กศ.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ประกาศนียบัตรวิชาวางแผน (WORLD BANK)  
  • ประกาศนียบัตรโทรคมนาคม (GERMANY)  

ประวัติการทำงาน 

  • 2511-2512 ครูโรงเรียนราษฎร์  
  • 2512-2527 นายช่างโทรคมนาคมทศท.  
  • 2527-2535 เจ้าของกิจการ บริษัท สิรินเทคโนโลยี จำกัด (ลาออกเมื่อ 29 กันยายน 2535)  

ปัจจุบัน 

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 

พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

ประวัติ  พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

วันเกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศิษย์เก่า  

  • โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • โรงเรียนวัดนวลนรดิศ 
  • โรงเรียนเตรียมทหาร 
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 

ประวัติการทำงาน 

  • รองสารวัตรที่ปราจีนบุรี 
  • ผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี 
  • ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 

เมื่อคราวศรีสมเด็จ: 48 ผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวชีวิต ของศิษย์เก่าบ้านสมเด็จท่านหนึ่ง คือ  ท่าน ต่อพงษ์ อำพันธุ์ ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่เรียนอยู่สาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในศรีสมเด็จ :49 นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตของเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับ ท่านต่อพงษ์      อำพันธุ์ อีกท่านหนึ่งซึ่งผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสรู้จักท่านจากการแนะนำของ ท่านอาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโรงเรียนและศูนย์สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ พลตำรวจโทวุฒิ พัวเวส ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1

วันที่มีการรำลึก 1 ปี สึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ผู้เรียบเรียงได้รับเกียรติจาก พล.ต.ท. วุฒิพัวเวส ให้เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 1 หลังจากได้รับการต้อนรับด้วยเครื่องดื่มร้อน จากเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาพร้อมกับตำรวจอีกท่านหนึ่ง และเข้ามาทักทายผู้เรียบเรียงอย่างเป็นกันเองจึงทราบว่านั่นคือ พล.ต.ท. วุฒิ พัวเวส ที่เราจะมาสัมภาษณ์เพราะไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่ก็พอจะทราบแล้วว่าท่านดีใจ และยินดีให้เราสัมภาษณ์ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตให้ลูกสุริยะทุกคนท่านทักทายท่านก็ทิ้งท้ายก่อนให้สัมภาษณ์อย่างถ่อมตนว่า”ผมว่าผมยังไม่เหมาะที่จะได้รับเกียรติลงศรีสมเด็จในปีนี้ผมว่ามันยังไม่ถึงเวลา” ท่านบอกกับเราว่าท่านเกิดในกรุงเทพมหานครที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เกิดปีเดียวกับ ท่านต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ่อเป็นตำรวจ รับราชการในช่วงต้นฝั่งกรุงเทพมหานคร ต่อมาก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรีไปฝากเรียนที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมี ท่านอาจารย์มโน กฤษณะจินดาอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นกรุณารับผมเข้าเรียนในชั้นเรียน

ความประทับใจในโรงเรียนผมว่าในวัยของการเป็นนักเรียน ชั้นประถมถึงมัธยม ติดต่อกันในขณะนั้นในรุ่นที่เรียนกันมาก็พยายามนัดพบกันเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจว่าสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอนให้คนเป็นคนดีรุ่นผมทุกคนเป็นคนดีทั้งหมดเลย ไม่มีใครเป็นคนไม่ดีเลยทั้งที่ แต่ก่อนพวกนี้เกเรกันเอาเรื่องซึ่งเป็นเรื่องของวัยเด็กผมว่าเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจแล้วมีความผูกพันที่สำคัญคือ“ เจ้าพ่อ” อาจจะเป็นเพราะว่าเราได้รับการสั่งสมจนเชื่อว่าเจ้าพ่อท่านเป็นผู้มีพระคุณที่ให้สถานที่ซึ่งเป็นบ้านของท่านในการศึกษาเล่าเรียนแก่เราจนมีสิ่งสักการะแทนตัวท่านนั่นคือ  “ ศาลเจ้าพ่อ” ผมจึงถือว่าท่านมีคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างมากผมนับถือยกย่องและเคารพไหว้และนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติราชการคือ ซื่อตรง มีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นก็เป็นมิติแห่งการชื่นชมศรัทธาในด้านผู้ให้กำเนิดสถานศึกษา สภาพอาคารสถานที่ขณะนั้นก็จะมีตึกเรียน 1 ตึกเป็นตึก 3 ชั้นเวลาเข้าจากประตูสาธิตทางซ้ายมือจะเป็นสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ถัดไปก็เป็นหอประชุม 2 ชั้นถัดไปเป็นสนามฟุตบอลตรงข้ามหอประชุม ฝั่งสนามฟุตบอลก็คือศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่หน้าที่พักของฝึกหัดครู (ตึกวิเศษศุภวัตร) ตรงนั้นน่าจะเป็นทิศตะวันตกเพราะตะวันออกคือทางเข้าทางขวาของตะวันออกคือด้านทิศใต้จะเป็นตึกเรียนของผม (ตึกครุศาสตร์ปัจจุบัน)ตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีโรงกลึงติดกับวัดบางไส้ไก่ (อุตสาหกรรมศิลป์ปัจจุบัน) ตอนนั้นยังไม่มีตึกมัธยมสมัยนั้นผมจะเรียกสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ เพราะไม่ได้แยกมัธยมหรือประถม แต่ทราบว่าเดี๋ยวนี้แยกกัน และก็มีอนุบาลด้วย พอจบ ม.ศ. 3 มาผมสอบเข้าเตรียมทหารทีแรก 6,000 กว่าคนผ่านเข้ารอบ 600 คน แต่พอคัด 300 คนไม่ได้ไม่งั้นผมเข้ารุ่นเดียวกับท่านทักษิณไปแล้วพอสอบไม่ได้ผมก็ไปเข้าเรียนที่วัดนวลนรดิศอีกปีก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารใหม่สอบได้เป็นรุ่นที่ 11 ปีก่อนที่ไม่ได้เพราะผมตกโรคเค้าบอกว่าผมเป็นโรคตาซึ่งก็ไม่ใช่โรคติดต่อพอผมได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยที่ผ่านมาผมก็เลยเสนอให้รับพิจารณาตากุ้งยิงริดสีดวงตาเพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ส่วนรวมไม่เห็นด้วยจึงยังแก้ไม่สำเร็จรุ่นเดียวกับผมก็มี พ.อ. บุญฤทธิ์อุตมรูปและพล. ต. ท. ฉัตรชัยโปตระนันทน์เรียนที่เตรียมทหาร 2 ปีนายร้อยตำรวจ 4 ปีก็ได้รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจงานแรกไปเป็นรองสารวัตรที่ปราจีนบุรี เป็นผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี

ในการทำงานเบื้องต้นเลยต้องยึดหลัก 3 ประการหลักแรกคือกฎหมายและระเบียบหลักที่ 2 ยึดถือความยุติธรรมหลักที่ 3 คือศีลธรรมหมายความว่าถ้าเราทำอะไรที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่เราต้องถูกต้องตามกฎหมายตามระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความยุติธรรมในความยุติธรรมนั้น ก็ต้องมีศีลธรรมด้วยจึงเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปเรียนต่อปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะผมคิดว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมเราต้องฟังคนอื่นด้วยต้องเอาสิ่งที่คนอื่นคิด มาช่วยคิดผมเลยทำคำมั่นสัญญาของตำรวจภูธรภาค 1 ว่าประชาชนคือนายของเรา” ทำงานไม่ค่อยมีอุปสรรคเท่าไหร่คำสั่ง พร้อมปฏิบัติถูกต้องชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเพื่อถวายความจงรักภักดีเพราะผมเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสิ่งที่ภูมิใจในบ้านสมเด็จ ที่มีส่วนให้ผมก้าวมาถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ“ การให้” เจ้าพ่อให้ที่ดินเป็นที่เรียนของเราคนพอถึงจุดหนึ่งควรจะให้กับคนที่ควรจะให้หรือกับใครก็ได้ที่ให้แล้วเกิดประโยชน์นอกจากนี้ก็มีความจงรักภักดีความซื่อตรงอย่างน้อย 3 ส่วนที่ทำให้ผมมีวันนี้และที่ขาดไม่ได้คือ สจจ เว อมตา วาจา ถ้าผมให้สัญญาประชาคมแล้วผมยอมเสียหายหรือฉิบหายดีกว่าที่จะเสียคำพูด ท้ายที่สุดเป็นห่วงนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่า เรากำลังแข่งกันเรียนหรือกำลังแข่งกันหาสถานที่เรียนที่มันดี ๆ แข่งกันหาประกาศนียบัตรเพื่อยอมรับในความสามารถตรงนี้ฝากให้คิด และฝากสำหรับสถาบันการศึกษาที่มีโอกาสประสาทปริญญา คิดจะประสาทปริญญาเพื่อที่จะให้เค้ามีมหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิตหรือคิดถึงองค์ความรู้ ที่จะให้มหาบัณฑิตว่าควรจะรู้ขนาดไหนหรือเรียน เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นมหาบัณฑิตเท่านั้นดังนั้นต้องให้ความรู้อย่างแท้จริง  นั่นก็เป็นบทสรุปทิ้งท้าย ที่เห็นถึงบุคลิกและความเป็นตัวตนของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ได้เป็นอย่างดีที่สำคัญในความเป็นตัวตนนั้นได้ถือเอาแบบอย่างการบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมัยรัชกาลที่ 5 มาได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยนสมกับเป็นลูกสุริยะเลือดม่วงขาวที่เข้มข้นจริง ๆ

นายชูชาติ ศรีแสง

ประวัติ   นายชูชาติ ศรีแสง

วันเกิด   12 มีนาคม 2485  

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเนติบัณฑิตยสภา สำนักอบรมศึกษากฎหมาย 

ประวัติการทำงาน   

  • อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

ศิษย์เก่ารุ่น/สาขาวิชา : ปกศ.ต้น สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ผลงานที่โดดเด่น : 

  • รับราชการตำแหน่งครูจัตวา สถานเยาวชนบ้านปากเกร็ด กองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ที่ปรึกษาบริษัท เนติการ อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ จำกัด 

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ : 

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ 
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประถมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 

นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ

ประวัติ นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ 

วันเกิด 3 ธันวาคม 2485 

ศิษย์เก่า 

  • จบประถมศึกษาจาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 
  • จบมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิจิตรวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 
  • จบ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • จบ กศ.บ. จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร สาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ 
  • ประกาศนียบัตรสอนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่ของ สสวท. 
  • ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง 

ประวัติการทำงาน 

  • อาจารย์โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 
  • รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร 
  • กรรมการสภาคณาจารย์ มศว. ประสานมิตรทุกสมัย จนลาออกจากราชการ 
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  • ศิษย์เก่าดีเด่น 100 ปี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) 
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 
  • เลขาธิการพรรคประชากรไทย 
  • ประธานมูลนิธิชาวพิจิตร 
  • เลขาธิการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า 
  • กรรมการสภาประจำสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวิทยาลัยทองสุข 
  • อุปนายกสมาคมชาวพิจิตร 
  • ประธานที่ปรึกษาชมรมข่าววิทยุและหนังสือพิมพ์ 

รางวัล / ผลงาน 

  • ได้รับการประกาศเป็น HERO OF THE YEAR ในสาขานักการเมืองท้องถิ่นดีเด่น 
  • พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2545 
  • ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 

นายพยงค์ จูฑา

เกิดวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ อายุ ๗๘ ปี  

ประวัติการศึกษา  

ประกาศนียบัตรครูชั้นต้น โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ  

วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

แพทศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล  

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน  

นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๘  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2559  

นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลธนบุรี  

ตำแหน่งหน้ำที่สำคัญในอดีต  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๑๘๐ วัน  

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุดที่ได้รับ  

มหาวชิรมงกุฎ  ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ 

นายเรืองยศ พิมพ์ทอง

นายเรืองยศ พิมพ์ทอง

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรีตะวันตก 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑ 

ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา 

  • ปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรีศึกษา 
  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ตำแหน่งปัจจุบัน 

  • ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายผลิตเพลง บริษัท อาร์เอสจํากัด (มหาชน) 
  • ผู้บริหารระดับสูงยูนิคเพลงไชโย 
  • ผู้บริหารระดับสูงค่ายเพลงอาร์สยามในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด มหาชน 

ผลงานที่โดดเด่น 

  • ผู้ผลิตผลงานเพลง (Producer) และการเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานผลงานที่ได้รับความนิยมและติดอันดับเพลงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนประมาณ ๓,๐๐๐ เพลง 

เกียรติคุณรางวัลที่ได้รับ 

  • รางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งชาย จากเพลงมนต์รักแม่กลองชุดต้อมขนานเอก พ.ศ. ๒๕๔๐ 
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิงจากเพลงรวยแล้วลืมขับร้องโดยสุนารีราชสีมา พ.ศ. ๒๕๕๑ 
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิงจากเพลงอยากเจอคนจริงใจขับร้องโดยดวงตาคงทอง พ.ศ. ๒๕๕๔ 
  • กรรมการตัดสินการแข่งขัน กิจกรรมการแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งในระดับชาติ 
  • กรรมการตัดสินประกวด“ ไทยแลนด์ลูกทุ่งคอนเทสต์ ๒๐๑๔ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีงานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 

ผลงาน

            นายเรืองยศ  พิมพ์ทอง เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงที่มีผลงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในแวดวงนักแต่งเพลง แวดวงนักเรียบเรียงเสียงประสาน ตลอดจนแวดวงผู้ฟังเพลงโดยทั่วไปบทเพลงที่จัดทำหรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความนิยมทั่วประเทศ ทั้งเพลงสตริง เพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงโฆษณา บทเพลงที่เรียบเรียบเสียงประสานมีมากกว่า ๒,๐๐๐ เพลง บทเพลงที่ได้รับรางวัลและได้รับความนิยม มีดังนี้

            ด้านการเป็นผู้ผลิตผลงานเพลง (Producer) และการเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน ผลงาน
ที่ได้รับความนิยมและติดอันดับเพลง มีดังนี้

                        ๑. ผลงานยอดนิยมหาชน

                            – เพลงประกอบละครชุด มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง ๗

                        ๒. ผลงานเพลงไทยสากล

                            – รวมศิลปิน ชุดนพเก้า

                            – รวมศิลปิน ชุดพบดาว

                            – วงบรั่นดี ชุด รอเธอ

                            – สรพงษ์  ชาตรี ชุดหัวใจไม่เสริมใยเหล็ก  และชุดพ่อให้มา

                            – โอ๋ ไอศูรย์ ชุดฉันจะเป็น

                            – ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ชุด สัมผัสทัช บทเพลงมือที่สาม

                            – เป้ ไฮร์ร็อค ชุดร็อคอำพัน เพลงพิษรัก และเพลงสิ่งนั้น

                        ๓. ผลงานเพลงเพื่อชีวิต

                            – วิสา คัญทัพ – สุรชัย จันทิมาธร ชุดเลี้ยวขวา

                            – สุรชัย จันทิมาธร ชุดสู้ต่อไป

                            – อัลบั้มชุด เพลงกวี เพลงเพื่อชีวิต ร้องกลุ่มประสานเสียง

                            – มงคล  อุทก ชุด เสียหำน้อย

                            – รวมวงกระท้อน ชุดญี่ปุ่น-ญุ่นปี่

                            – รวมวงซูซู ชุดสู่ความหวังใหม่

                        ๔. ผลงานเพลงละคร

                             – ลูกทาส ปริทัศน์ฟิล์ม ช่อง ๑๑

                            – รัตนโกสินทร์ ดาราวีดีโอ ช่อง ๗

                            – ญาติกา ดาราวีดีโอ ช่อง ๗

                            – ฉันจะบิน กันตนา ช่อง ๗

                            – อสูรเริงไฟ ช่อง ๙

                            – แฝดอลเวง ช่อง ๓

                            – ๑๑๑ ช่อง ๗

                            – ปลาร้าทรงเครื่อง ช่อง ๖

                            – มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง ๗

                            – อเมเซิ่งโคกเจริญ ช่อง ๓

                            – ลูกทุ่งหาร ๒ ช่อง ๓

                        ๕. ผลงานเพลงภาพยนตร์

                             – เพลง อยากแบ่งหัวใจให้เป็นสอง จากเรื่อง เมียพ่อขอไว้คน ปรีทัศน์ฟิล์ม

                            – เรื่อง สนุก พรพจน์ฟิล์ม

                        ๖. ผลงานเพลงโฆษณา

                            – ไอศกรีมโฟโมสต์ “ปิคโลโล่”

                            – นมเปรี้ยวบีทาเก้น

                            – ห้างทองเซ่งเฮงหล

                        ๗. ผลงานด้านเพลงลูกทุ่ง

                            – ท็อปฮิตลุกทุ่งมาตรฐาน บริษัท อาร์ เอส โปรโมชั่น จำกัด

                            – ดาว มยุรี ชุด มีเมียแล้วไม่เอา บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ไชยา มิตรชัย ชุด ไม่ธรรมดา (เพลงไม่ธรรมดา ให้รู้กันไปเลย ป.๖ อกหัก) บริษัท

                               ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – สุนารี  ราชสีมา ชุด รวยแล้วลืม บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ธิดา  ดวงดาว ชุด รำวงด้าวด่าว บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – มยุรา  ฟ้าสีทอง ชุด แช่ง บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ยอดรัก ร้องคู่ สุนารี ราชสีมา ชุด คู่แท้ ๑-๒ บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – กุ้ง สุทธิราช ชุด ซื้อแน่ บริษัท จาตุรงค์ จำกัด

                            – โอ๊ต วรานนท์ ชุด รอนานทรมานใจ บริษัท จาตุรงค์ จำกัด

                            – สิทธิพร  สุนทรพจน์ ชุด ช้ำรักจากอุบล บริษัท มีเดียออฟมีเดีย จำกัด

                            – กิ่ง ภัทรา ชุด ขอเวลาลืม บริษัท มีเดียออฟมีเดียว จำกัด

                            – ดวงตา คงทอง ชุด กลับบ้านดีกว่า บริษัท มาหาจักรเอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด

                            – ขวัญภิรมย์ หลิน ชุด เปิดใจให้เลย บริษัท เมโทร จำกัด

                            – สุชาติ ชวางกูร บริษัท รถไฟดนตรี จำกัด

                            – หญิง ธิติกานต์ อัลบั้ม เขียนด้วยใจลบด้วยน้ำตา ไม่มีเธอจะบอกรัก

                            – ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง อัลบั้ม ทัชสัมผัสทุ่ง ๑, ๒ และอัลบั้ม ลูกทุ่งแฟนซี

                            – เอ-วิว อัลบั้ม เอ-วิว

                            – อานนท์  หมื่นนา อัลบั้ม หัวใจดื้อด้าน

                            – นพรัตน์ ไม้หอม อัลบั้ม วันละนาที

                            – แมน มอเตอร์ไซด์ อัลบั้ม แมนรักบ่อได้

                            – เจี๊ยบ กนกพร พรหมณี  อัลบั้ม สาวขี้ดื้อ

            ด้านการบริหาร

                        นอกจากมีผลงานในการเรียบเรียงเสียงประสารจนได้รับความนิยมในทุกยุคทุกสมัยแล้ว นายเรืองยศ พิมพ์ทอง ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจดนตรี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มอบหมายให้บริหารงานทางด้านดนตรี ทั้งการสร้างศิลปินรุ่นใหม่ การผลิตผลงานเพลงเพื่อแข่งขันในการตลาดธุรกิจวงการเพลงให้ได้รับความนิยม ตลอดจนการบริหารบุคลากรในบริษัทอย่างมืออาชีพ ตำแหน่งการเป็นผู้บริหารมีดังนี้

                        ๑. ผู้จัดการฝ่ายผลิตและสร้างสรรค์เพลง บริษัท อาร์ เอส จำกัด มหาชน

                        ๒. ผู้บริหารระดับสูง ยูนิค เพลงไชโย

                        ๓. ผู้บริหารระดับสูง ค่ายเพลงอาร์สยามในเครือบริษัทอาร์เอสจำกัด มหาชน

                        ๔. ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร

                        ๕. กรรมการบริหารสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย

                        ๖. ที่ปรึกษาสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

                        ๗. คณะกรรมการจัดการประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นฐานเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยโดยรัฐสภา

                        ๘. คณะอนุกรรมการศิลปวัฒนธรรม งาน ๓๐ ปี ๑๔ ตุลา โดยรัฐสภา

                        ๙. อนุกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

                        ๑๐. ที่ปรึกษากรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร์

            ด้านวิชาการ

                        ๑. เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๒. เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

                        ๓. เป็นวิทยากรระดมสรรพกำลังสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้กับสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดร้อยเอ็ดวดวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชน “ื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

                        ๔. กรรมการวิพากษ์หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๕. เป็นวิทยากรโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๖. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติงานคุ้มครอบสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เพลงกับการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในรูปแบบใหม่ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๗. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติงานคุ้มครอบสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เพลงกับการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ในรูปแบบใหม่ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๘. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรรองอัยการจังหวัด สำนักงานคุ้มครองสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เทคนิค วิธีการ แนวคิด การนำเพลงมาใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย วันที่   
 ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๙. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตร รองอัยการจังหวัด ปฏิบัติงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด หัวข้อบรรยาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายผ่านบทเพลง วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๑๐. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตร รองอัยการจังหวัด ปฏิบัติงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด หัวข้อบรรยาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายผ่านบทเพลง
วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๑๑. กรรมการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ๒๕๖๐ สาขาวิชาศิลปะการดนตรี
 และสาขาวิชาดนตรีประกอบสื่อและการแสดง

                        ๑๒. เป็นวิทยากรให้กับสถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน

            เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ   

                        ๑. พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานรางวัล พระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งชาย จากเพลง  มนต์รักแม่กลอง ชุดต้อม
ขนานเอก

                        ๒. พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานรางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิง จากเพลง รวยแล้วลืม ขับร้องโดย สุนารี ราชสีมา

                        ๓. พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับรางวัลมาลัยทอง จากเพลง เฝ้ารอเฝ้าฝัน ขับร้องโดย ดาว  มยุรี

                        ๔. พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับเกียรติคุณการบำเพ็ญประโยชน์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

                        ๕. พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานรางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิง จากเพลง อยากเจอคนจริงใจ ขับร้อง
โดย ดวงตา คงทอง

                        ๖. พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลมาลัยทอง จากเพลง หัวใจหญิงหม่น ขับร้องโดย ดวงตา คงทอง

                        ๗. พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด จากเพลง หัวใจหญิงหม่น ขับร้องโดย ดวงตา คงทอง

                        ๘. พ.ศ. ๒๕๕๐ เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

                        ๙. พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับเกียรติบัตรการเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง “101 เกมส์”
ในการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ระดับประเทศ ครั้งที่ ๓๔ ประจำปี ๒๕๕๙

ดูประวัติเพิ่มเติม : อ.เรืองยศ พิมพ์ทอง

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ

ประวัติ  นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ

เกิด  วันที่ 25 เมษายน 2489

ตำแหน่งสุดท้าย  องคมนตรี ในรัชกาลที่ 9

ถึงแก่อนิจกรรม  วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ศิษย์เก่า 

  •  ป.กศ. วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  •  นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม)  
  •  เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน   

  • ช่วยผู้พิพากษา 
  • ผู้พิพากษาประจำกระทรวง 
  • ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนครสวรรค์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง           
  • ผู้พิพากษาศาลหัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี  
  • ผู้พิพากษาศาลแพ่ง  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง  
  • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3  
  • รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้  
  • ผู้พิพากษาศาลฎีกา  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1  
  • รองประธานศาลฎีกา 

เครื่องราชอิสริยาภรณ

  • ตริตาภรณ์ช้างเผือก  
  • ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย  
  • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก  
  • ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย  
  • ประถมมาภรณ์ช้างเผือก  
  • มหาวชิรมงกุฎ

ชาญชัย ลิขิตจิตถะ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2489 จบการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรมจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 จบเนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2514 สมรสกับ เพ็ญศรี ลิขิตจิตถะ มีบุตรีชื่อ สุชีรา ลิขิตจิตถะ

เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย หัวหน้าศาลแขวงนครสวรรค์ หัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี หัวหน้าศาลประจำกระทรวง หัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่ หัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี ผู้พิพากษาศาลแพ่ง หัวหน้าคณะในศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองอธิบดีศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาศาลฎีกา หัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาในปี 2548 ต่อจากนายศุภชัย ภู่งาม เกษียณอายุราชการในปี 2549 และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ 

เมื่อวันที่ 25 เมษายน เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ พร้อมทั้งรับสั่ง เปิดสภาไม่ครบ 500-ขอนายกฯพระราชทานทำให้ประชาธิปไตยมั่ว การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปพิจารณาเลือกตั้ง 2 เมษา โมฆะหรือไม่ทรงย้ำกษัตริย์ไม่เคยทำตามใจชอบ 

อมาได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับคณะตุลาการทั้ง 3 ฝ่ายประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการเมือง เมื่อวันที่ 28 เมษายน ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนความเห็นข้อกฎหมายในหลายประเด็นแล้ว ทั้ง 3 ศาล มีความเห็นพ้องกันใน 3 ประเด็นว่า 1. แต่ละศาลจะเร่งรัดพิจารณาพิพากษาคดีและดำเนินการในส่วนที่อยู่อำนาจหน้าที่ของแต่ละศาล ให้รวดเร็วทันต่อของความเร่งด่วนในแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น, 2. การพิจารณา คดีความแต่ละศาล จะต้องใช้และตีความตัวบทกฎหมายเดียวกันนั้นต้องระมัดระวัง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสับสนของ ประชาชน และ 3. ในการดำเนินการของแต่ละศาลนั้นยังต้องยึดถือหลักความเป็นอิสระของศาล ตามเขตอำนาจแต่ละศาลให้ดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ด้วยความสุจริตและยุติธรรม โดยทั้ง 3 ประเด็นนี้เป็นข้อยุติที่ประธานทั้งสามศาลเห็นพ้องต้องกันอย่างไม่มีข้อแม้ ต่อมาคำวินิจฉัยทั้ง 3ศาลมีคำสั่งให้ระงับการเลือก ตั้ง สส.ใน จ.ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี รวม 9 จังหวัด 14 เขต ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2549 นี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น

ราชการพิเศษ 

พ.ศ. 2548 

  • ประธานกรรมการพัฒนาระบบการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลสูง 
  • ประธานอนุกรรมการกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล 
  • กรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 

พ.ศ. 2547 

  • อนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อศึกษาวางแนวทางการใช้ดุลพินิจและเหตุผลในการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา

พ.ศ. 2546

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับหลักสูตรและแผนการพัฒนาข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม

เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเคยทาบทามให้ชายชัย ลิขิตจิตถะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยปผห อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ชาญชัยจึงถูกเลือกให้มาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 

ในการโฟนอินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2552 ได้กล่าวหาชาญชัยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวางแผนการรัฐประหาร 19 กันยายนที่บ้านของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ต่อมา ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวระหว่างการปราศรัยกับกลุ่มคนเสื้อแดง ผ่านระบบวิดีโอลิงก์ว่า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้เล่าให้ตนฟังว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น), นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม , นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ อ้างว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ วางแผนที่จะใช้ ปฏิญญาฟินแลนด์ และนายปีย์ ร่วมปรึกษาหารือกัน ที่บ้านพักของนายปีย์ ถนนสุขุมวิท ในอันที่จะวางแผนจัดตั้งขบวนการขับไล่ตน โดยเฉพาะการลอบสังหารตน และวางแผนสำรอง หากดำเนินการไม่สำเร็จ ซึ่งก็คือการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ทั้งพลเอก สุรยุทธ์ และนายปีย์ ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว 

การดำรงตำแหน่งรมว.ยุติธรรม

ชาญชัย ลิขิตจิตถะ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2549 และได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พร้อมทั้ง นางเพ็ญศรี ลิขิตจิตถะ ภรรยาของ ชาญชัย ลิขิตจิตถะในวันที่ 9 ตุลาคม มีทรัพย์สินมากกว่า (น้อยกว่า) หนี้สิน 4,385,488.76 บาท ส่วนของนางเพ็ญศรีมีทรัพย์สิน 3,977,758.27 บาท 

ชาญชัยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้มอบนโยบายว่า งานอันดับแรกที่จะเข้ามาสานต่อนโยบายเดิม คือ การเดินหน้าปราบปรามยาเสพติด ที่ผ่านมาเคยเป็นนโยบายที่เข้มงวดการกวาดล้างอย่างหนัก แต่ในระยะหลังเบาบางลงไป เพื่อปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป รวมถึงการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตัวเป็นคนดีในสังคม ตามด้วยมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนในทุกภูมิภาค สำหรับปัญหาการอำนวยความยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกชุดพยายามแก้ไข เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข บทบาทของกระทรวงยุติธรรมต้องทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ จะเข้าไปจัดการให้เกิดความยุติธรรม ผู้ต้องหาคนใดไม่มีทนายจะจัดหาทนายความให้ ในส่วนของประชาชนที่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ จะได้รับการคุ้มครองดูแลให้ปลอดภัย และชาญชัยยังได้เน้นย้ำในการดำเนินงานกองทุนยุติธรรม เพื่อความยุติธรรมโดยเสมอภาค

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 ชาญชัยได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดชุดปฏิบัติการ เข้าร่วมสอบสวนคลี่คลายคดีลอบวางระเบิดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยให้เข้าไปทำงานสนับสนุนตำรวจและหาข้อเท็จจริง ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์วางระเบิดกรุงเทพมหานครและนนทบุรีในวันส่งท้ายปีเก่า(31 ธันวาคม 2549)  

ชาญชัยลงนามในคำสั่งย้าย พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในขณะนั้น ไปช่วยราชการที่กระทรวงยุติธรรม และแต่งตั้งให้นายสุนัย มโนมัยอุดม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทน ชาญชัยให้เหตุผลว่าเขาไม่ต้องการให้ดีเอสไอเป็นกรมตำรวจย่อยๆ อีกกรมหนึ่ง เขาต้องการให้ดีเอสไอเป็นหน่วยสอบสวนพิเศษเหมือนเอฟบีไอของสหรัฐ โดยต้องการให้เป็นหน่วยงานที่คานกับตำรวจ ไม่ใช่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งคนที่ยืมตัวมาจาก สตช.ก็อยากคืนกลับไป วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 ได้ลงนามคำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ระดับ 9 จำนวน 2 ตำแหน่ง โดยให้ปรับเปลี่ยน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปเป็นรองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และให้ นายภิญโญ ทองชัย รองเลขาฯ ป.ป.ส.มาเป็นรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแทน โดยมีผลในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สำหรับสาเหตุที่ต้องย้าย พล.ต.อ.สมบัติ ก็เพื่อให้การสอบสวนคดีอุ้มนายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม มีความคืบหน้า และเพื่อไม่ให้ดีเอสไอตกเป็นจำเลยของสังคมต่อไป

ชาญชัยออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการสอบสวนคดีการหายตัวของ นายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าจนถึงขณะนี้ยังหาพยานหลักฐานไม่ได้ว่า หลังจากนายสมชายถูกคนร้ายนำตัวขึ้นรถและขับออกจากย่านรามคำแหงแล้ว นายสมชายอยู่กับคนร้ายตลอดเวลาหรือไม่ แต่หลักฐานจากพยานแวดล้อมระบุว่า นายสมชายน่าจะเสียชีวิตแล้ว โดยจุดต้องสงสัยแห่งสุดท้าย ที่พบตัวนายสมชายคือพื้นที่จ.ราชบุรี ซึ่งดีเอสไอเตรียมที่จะนำกำลังลงพื้นที่ เพื่อค้นหาชิ้นส่วนศพของนายสมชาย ซึ่งอาจจะยังหลงเหลืออยู่  

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เสนอรายงานการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้คณะรัฐมนตรีทราบ โดยมีรายงานผลการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น จาก 15 กระทรวง ซึ่งยังมีส่วนราชการที่ยังไม่รายงานผลการดำเนินงานคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ นายชาญชัย ยังแจ้งให้รัฐมนตรีที่ดูแลหน่วยงานในสังกัดว่า ให้ทุกส่วนราชการ ส่งแบบรายงานผลการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้กระทรวงยุติธรรมรับทราบ ตามเวลาดังนี้ ครั้งที่ 1 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน ให้รายงานผลก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม ของทุกปี ครั้งที่ 2 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม ให้รายงานผลก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปีด้วย นายชาญชัยยังแจ้งถึงปัญหาในระดับโครงสร้าง ที่ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่น ยังมีอยู่ คือ 1.เด็กและเยาวชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ไหลบ่าเข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เกิดค่านิยมเชิงลบที่แปลกแยกจากวิถีเดิม 2.ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งร้องเรียน และไม่กล้าร้องเรียน เพราะกลัวอันตราย จะต้องเร่งสร้างการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนทุกระดับ 

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รวบรวมคำกล่าวมอบนโยบายในการปราบปรามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาประกอบสำนวนการสอบสวนในคดีฆ่าตัดตอน โดยหากพบว่าการมอบนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งผลให้มีการจัดชุดเฉพาะกิจออกปฏิบัติการฆ่าตัดตอนเพื่อลดเป้าบัญชีดำ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะตั้งข้อหาดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ฐานเป็นผู้สนับสนุน โฆษณา หรือจูงใจ ปลุกเร้าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรงนอกกฎหมาย ฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด 

วันที่ 23 มีนาคม 2550 ชาญชัยสั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เตรียมนำคดีบริษัทกุหลาบแก้ว จำกัด เป็นนอมินี เสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณาเพื่อลงมติว่าจะรับโอนเป็นคดีพิเศษ และนำเสนอแนวคิดเพื่อสังคมถูกนำเสนอออกมารายวัน เช่น เสนอกฎหมายเฉพาะสำหรับการบริหารจัดการเรื่องการดื่มสุราการเก็บภาษีเหล้า เบียร์ และเสนอแนวทางแก้ไข พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเก็บภาษีนักปั่นหุ้นใน 3 ประเด็นคือ 

  1. กฎหมายการซื้อขายหุ้นต้องระบุให้ชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดเข้าข่ายปั่น หุ้นหรือเก็งกำไร ถ้าพบต้องใช้มาตรการเสียภาษีย้อนหลังกับนักปั่นหุ้นทันที 
  2. กำหนดระยะเวลาการซื้อการคอบครองหุ้น ไม่ใช่ซื้อขายวันต่อวัน เพราะถือว่าเข้าข่ายนักเก็งกำไร 
  3. ต้องให้อภิสิทธิ์คุ้มครองนักลงทุนจริงๆ โดยไม่ต้องเสียภาษี 

แต่ต้องกำหนดกำไรในการซื้อขายในวงจำนวนมาก ประมาณ 100 ล้านบาทขึ้น เพื่อต้องการให้นำกำไรที่ได้มาให้สังคม เช่น การซื้อหุ้นนอกตลอดแต่นำมาขายในตลาดมีกำไรเป็น 10,000 ล้านบาท ดังนั้น ควรเก็บภาษีเป็นขั้นบันไดตามเปอร์เซ็นต์กำไร และเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อบังคับใช้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะโดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมา การมึนเมาสุราขณะขับขี่รถยนต์เกิดปัญหาผู้ที่เมาแล้วขับไม่ยินยอมให้เจ้า หน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ซึ่งกฎหมายไม่มีมาตรการบังคับ ทำให้ลงโทษผู้ที่เมาแล้วขับฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานคือ ปรับ 1,000 บาท ดังนั้น ต้องแก้กฎหมายให้มาตรการบังคับ ตรวจวัดแอลกอฮอล์เป็นผู้เมาแล้วขับ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเกิดอุบัติเหตุต้องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย 

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ออกประกาศกระทรวงยุติธรรมเรื่อง กำหนดอำนาจการคุมขังผู้ต้องขังของเรือนจำฉบับที่ 2 เรือนจำส่วนภูมิภาคตามข้อ 1 (ข) แห่งกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มีอำนาจการคุมขังผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษต่อไป ดังนี้ 1. เรือนจำอำเภอชัยบาดาล จำคุกไม่เกิน 15 ปี 2. เรือนจำอำเภอเกาะสมุย จำคุกไม่เกิน 10 ปี 

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว. กระทรวงยุติธรรม ถูกเลือกให้เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามากาเด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพ ครบถ้วนทั้งด้านฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสาธิตระบบนำร่องศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม ต้นแบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม พิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการ สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงานร่วมลงนาม 9 หน่วยงานประกอบด้วย กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ กรมการปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกิจการยุติธรรม และสำนักงาน ป.ป.ส. 

ภายหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ชาญชัยยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส 

องคมนตรี

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่าตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2550 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 ประกอบกับ มาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งดังต่อไปนี้ 1.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 2.นายศุภชัย ภู่งาม 3.นายชาญชัย ลิขิตจัตถะ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2551 เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

ในเวลาต่อมากลุ่มคนเสื้อแดงออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยเรียกร้องให้ประธานองคมนตรี องคมนตรี และนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ซึ่งชาญชัยเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกเรียกร้องด้วย 

ความพยายามลอบสังหารชาญชัย ลิขิตจิตถะ 

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 ชุดสืบสวนภูธรภาค 1 ได้ควบคุมตัวชายต้องสงสัย อายุประมาณ 35 ปี ขณะเดินอยู่ใกล้กับบ้านชาญชัย ไว้ได้ทันก่อนลงมือโดยผู้ต้องสงสัยสารภาพว่า ได้รับการติดต่อจ้างวานให้ลงมือสังหารชาญชัยภายในวันที่ 7 เมษายน เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างขยายผลตรวจ สอบข้อเท็จจริงตามคำให้การของผู้ต้องสงสัยที่ซัดทอดทหาร กลุ่มเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อยู่เบื้องหลังบงการลอบสังหารองคมนตรีเพื่อทำให้สถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย ต่อมาชาญชัยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า รู้สึกแปลกใจทีมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ไม่เคยมีปัญหากับใคร และไม่ทราบสาเหตุว่า จะมาทำร้ายกันทำไม จากนั้นตำรวจจึงส่งชุดป้องกันรักษาความปลอดภัยมาคุ้มกันทันที 

วันที่ 7 เมษายน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง พร้อมด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 และพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 แถลงการณ์การจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นจำนวน 3 คนประกอบด้วย นาย คนิช สุกาญจกาศ อายุ 30 ปี นายศักดิ์ชาย แซ่ลิ้ม อายุ 28 ปี นาย ภาณุพาศ รัตนาไพบูลย์ อายุ 31 ปีพร้อมอาวุธปืนขนาด . 38 จำนวน 1 กระบอก กระสุน 10 นัด จักรยานยนต์ 1 คัน ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานไปขออนุมัติหมายจับผู้ร่วมขบวนการอีก 2 คน คือ นาวาเอก (น.อ.) จักรกฤษณ์ เสขะนันท์(ภายหลังพ้นข้อกล่าวหา) สังกัดกองกิจการภายใน กองทัพเรือ และนายแจ็ค ไม่ทราบชื่อสกุล โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวนนำหลักฐานไปขออนุมัติหมายจับที่ศาลอาญา ถ.รัชดาฯ 

ผลงานทางวิชาการ 

หนังสือ “คู่มือการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาและสิทธิในการรับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความให้แก่ผู้ต้องหา” , 2548 

ถึงแก่อนิจกรรม 

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เมื่อเวลา 08.30 น. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 

ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา (๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘–ปัจจุบัน)

ชื่อ – สกุล:  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลินดา เกณฑ์มา 

หน่วยงานที่สังกัด : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชามนุษยศาสตร์และศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ตำแหน่งวิชาการ/ชำนาญการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (สาขาวิชาภาษาไทย) 

ตำแหน่งปัจจุบัน 

  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๖) 
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ธ.ค. ๒๕๖๔ – ธ.ค.๒๕๖๖) 
  • นายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  • คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร (กศจ.) 
  • คณะกรรมการการยกระดับคุณภาพการศึกษา กรุงเทพมหานคร 
  • คณะอนุกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) (พ.ศ.๒๕๖๔ – ปัจจุบัน) 
  • คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันการศึกษา (กพอ.) (พ.ศ.๒๕๖๔ – ปัจจุบัน) 
  • อนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา 
  • คณะทำงานดาเนินงานโครงการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการ กับการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน  กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

การศึกษา 

• ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 

• ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

ลำดับที่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ได้รับ 
ต.ม. : ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (112) 5 ธ.ค. 2537 
ต.ช. : ตริตาภรณ์ช้างเผือก (104) 5 ธ.ค. 2539 
ท.ม. : ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (111) 5 ธ.ค. 2541 
ท.ช. : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (103) 5 ธ.ค. 2545 
ร.จ.พ. : เหรียญจักรพรรดิมาลา (117) 5 ธ.ค. 2551 

ข้อมูลด้านวิชาการ 

  1. วุฒิการศึกษา 
  • ปริญญาตรี คุณวุฒิ : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (ภาษาไทย) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

  • ปริญญาโท คุณวุฒิ : การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ภาษาและวรรณคดีไทย) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 

  • ประกาศนียบัตรหลังปริญญาโท (๑ ปี) : หลักสูตร ความเป็นผู้นำทางการศึกษา โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • ปริญญาเอก คุณวุฒิ : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

  1. ผลงานทางด้านวิชาการและด้านงานวิจัย  

ผลงานด้านวิชาการและงานวิจัย 
เอกสารประกอบการสอน 
____________. (2550). ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และการจัดการความรู้ (Thai for Learning and Knowledge Management) ผู้เขียนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 
____________. (2551). ภาษาไทยธุรกิจ (Usage of Thai Language in Business). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 
____________. (2552). การฟังและการพูดเพื่อสัมฤทธิผล (Listening and Speaking for Achievement). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 

____________. (2561). วาทศาสตร์ (Rhetoric). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 

งานวิจัย 
____________. (2550). ศักยภาพของการเป็นชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าสัก ตำบลดาวเรือง  
อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 
____________. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริม จิตสำนึกต่อการส่วนร่วมในสังคม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ 
เจ้าพระยา. 
____________. (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับคนไทยในต่างประเทศ (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม. 
____________. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2560). รูปแบบการมีส่วนร่วมของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (วิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันการสร้างชาติ (NBI). 

____________. (2560).รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2561). ภาพสะท้อนความรุนแรงในครอบครัวจากละครโทรทัศน์ไทยช่วงปี 2559 – 2560 (วิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2562). การประเมินโครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัยเข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

  1. ประสบการณ์การอบรม และศึกษาดูงาน 
  • การฝึกอบรมด้านการบริหาร อาทิ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ธรรมภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา สถาบันคลังสมอง  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ การบริหารความขัดแย้งในมหาวิทยาลัย สถาบันครั้งสมอง  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติรุ่นที่ 2 สถาบันสร้างชาติ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 รุ่นที่ 2 ก.พ.ร. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ การประเมินคุณภาพภายนอกระดับมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 1 สมศ. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ การประเมินผู้ประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สกอ. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ การเป็นผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร สกอ.  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ พัฒนาศักยภาพ ภาษาอังกฤษ (Business English G3) GLOBISH ACADEMIA (THAILAND)  
  1. การฝึกอบรมด้านการพัฒนาทักษะสื่อสาร อาทิ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ The Intensive English Presentation Workshop (45 hrs.) EDENZ Auckland New Zealand. 2015  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ The English Communication Skill Development for Executives (Upper-Intermediate) (60 hrs.) ECC Institute (Siam Paragon Branch) Thailand. 20-27/05/2015  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ International Business Communication Skills for University Leaders (18 hrs.) Phoenix Academy Australia. 27-29/07/2017  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ Effective Academic Communications and Public Speaking (36 hrs.) House of Griffin International Thailand. 9-22/06/2019 

การศึกษาดูงานต่างประเทศ อาทิ 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศึกษาดูงานด้านบทบาทสภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย ณ Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศึกษาดูงานด้านการจัดตั้งวิทยาลัยการดนตรี ณ Yong Conservatory of Music School ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ณ National Pingtung University (NPTU) ประเทศไต้หวัน 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะ ภาษาด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัย / หน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านภาษา ณ Edith Cowan University ประเทศออสเตรเลีย 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดองค์กร และการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์และเยี่ยมชมสตูดิโอที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ณ Dong-Ah Institute of Media and Arts ร่วมกับคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดการองค์กร และด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ณ Yunnan Around Asia International Education Center (YAAE) Lijiang Teachers College (LJ-EDU) ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสร้างสรรค์ โครงการเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีสากลสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล และร่วมชมการแข่งขันผลิตผลงานแอนิเมชั่นนานาชาติ ของนักศึกษาสาขาแอนนิเมชั่นฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในงาน International Animation Challenge 2019 ณ Rubika ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ 

ตอนที่ ๓ ตำแหน่งและผลสำเร็จการศึกษาด้านบริหาร  

การบริหารงานอุดมศึกษา ในตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ ๑) ด้านการบริหารจัดการ ๒) ด้านการพัฒนาบุคลากร ๓) ด้านคุณภาพบัณฑิต ๔) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ และ ๕) ด้านการบริหารงานด้านอื่นๆ 

  1. ด้านการบริหารจัดการ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต จำนวน ๑๖๓,๙๖๐,๐๐๐ บาท และอาคารเรียนรวม ๑๒ ชั้น จำนวน ๑๓๔,๗๗๐,๐๐๐ บาท และได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายใต้พื้นที่จำกัดให้เป็นระเบียบ เพิ่มโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ตลอดจนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน และสวัสดิการแก่บุคลากร และนักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาปรับโครงสร้างอาคารและหน่วยงานใหม่ได้สำเร็จ อาทิ โรงเรียนสาธิต บ้านพักรับรอง(โรงแรม) วิทยาลัยการดนตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานสภา ศูนย์ภาษา โรงพิมพ์และศูนย์หนังสือ ศูนย์สนับสนุนนักศึกษาพิการ DSS (Disability Support Services) ศูนย์เรียนรู้ธนบุรีศึกษา และศูนย์อาหาร เป็นต้น 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ด้านการบริหารจัดการองค์กรให้ทันสนมัย เอื้อต่อการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ และบุคลากรให้ก้าวหน้าและมั่นคงในสายงาน ตลอดจนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้สำเร็จ ไม่น้อยกว่า ๗๐ ฉบับ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) จากสำนักงานคณะกรรมการป้องการและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้นำพามหาวิทยาลัยมีคะแนนเป็น อันดับที่ ๑ ของประเทศจากจำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมประเมินจำนวน ๘๙ มหาวิทยาลัย ต่อเนื่องถึง ๒ ปี (ได้คะแนน ๘๗.๗๑ และ ๙๓.๕๗ ตามลำดับ 
  • ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับการจัดอันดับ โดย Cybermetrics แห่งสภาวิจัย (CSIC) จากประเทศสเปนให้อยู่ใน ลำดับที่ ๑๒-๑๓ ในจำนวนราชภัฏ ๓๘ แห่ง (จากลำดับที่ ๒๐ –๒๑ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗) และได้รับการจัดลำดับ เว็บไซต์โดย UniRank หรือ 4International Colleges and Universities 2019 ให้อยู่ใน ลำดับที่ ๔๗ ของประเทศในจำนวน ๑๕๗ แห่ง (จากลำดับที่ ๗๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓) 

๒. ด้านการพัฒนาบุคลากร 

  • ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ คณาจารย์ได้รับการส่วเสริมให้พัฒนาศักยภาพทางวิชาการและมีตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นได้ มากที่สุด ถึงร้อยละ ๔๘.๗๓ (ข้อมูลเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ (จากร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘  และในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการพัฒนาให้เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจำนวน ๙ คน และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ คณาจารย์และบุคลากรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ศึกษาอบรม ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศอย่างทั่วถึง มีอาจารย์ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการนำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย ระดับชาติไม่น้อยกว่า ๖๐ รางวัล 

. ด้านคุณภาพบัณฑิต 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ บัณฑิตด้านครุศาสตร์สอบครูคืนถิ่นได้มากเป็นอันดับที่ ๓ ของประเทศ ในปี    พ.ศ. ๒๕๖๑ และภาพรวมปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สอบรับราชการได้สูงถึง ร้อยละ ๗๘ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพจนได้เป็น ๑ ใน ๓๗ หลักสูตรของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสภาวิชาชีพให้เป็นหลักสูตรคุณภาพดีมาก 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ –  ๒๕๖๒ นักศึกษาได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาแบบให้เปล่าปีละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ทุน และสนับสนุนให้เข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ ได้รับรางวัลการประกวดแข่งขันทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติไม่น้อยกว่า ๑๐๐ รางวัล 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวนนักศึกษาสมัครเรียน ๓,๒๐๐ คน โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน ต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทั้งสิ้น ๑๘,๖๘๗ คน) 

. ด้านเครือข่ายความร่วมมือ 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ร่วมมือสถาบันขงจื้อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาดำเนินงานด้านการสอนและอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทั้งภายในและภายนอก จนได้รับรางวัลสถาบันขงจื้อ ยอดเยี่ยมระดับโลกถึง ๓ ครั้ง ในรอบ ๑๐ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ ได้รับรางวัลศูนย์สอบภาษาจีนยอดเยี่ยมระดับชาติ 
  •  ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐเอกชน และประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศ และได้เข้ามาให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เครือข่าย ตลอดจนมีเครือข่ายศิษย์เก่าเข้ามาให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยมากท่สุดเป็นประวัติการณ์ 

. ด้านการบริหารงานอื่นๆ 

  1. ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มกรุงเทพฯ 

พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นเจ้าภาพการจัดงาน เนื่องในวัน “ครบรอบ ๑๒๔ ปี การสถาปนาการฝึกหัดครูไทย และคล้ายวันสถาปนากรมการฝึกหัดครู” 

พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นเจ้าภาพการจัดงาน ต้อนรับ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในการเข้าตรวจเยี่ยม และติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มกรุงเทพมหานคร เพื่อติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การผลิต และพัฒนาครู 

พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ เป็นคณะกรรมการกลุ่มร่างยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระยะ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวางแผนการดำเนินงาน เครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มกรุงเทพฯ และกรุงเทพมหานคร 

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นเจ้าภาพ และทำโคงการจิตอาสา “เฉลิมพระเกียรติ ทำดีด้วยหัวใจ” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖๗ ปี พรรษา พระบามสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มกรุงเทพฯ และกรุงเทพมหานคร 

  1. นายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้ารพยาในพะรราชูปถัมภ์ 

พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ จัดงานคืนสู่เหย้า “สานสายใยรวมใจลูกสุริยะ” เพื่อประกาศยกย่อง ศิษย์เก่าดีเด่น และสร้าง/ขยายเครือข่ายศิษย์เก่าให้กว้างขวางอย่างต่อเนื่องทุกปี 

พ.ศ.๒๘๘๕ – ๒๕๖๒ มอบทุนการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษาทุกปี ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ บาท และเป็นตัวแทนศิษย์เก่าบริจาคเงินและร่วมงานการกุศล ตลอดจนเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง 

ประสานสัมพันธ์ เครือข่ายศิษย์เก่า และประชุมคณะกรรมการการบริหารสมาคมฯ เพื่อวางแผนการดำเนินกิจการสมาคมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ ๖ ครั้ง 

เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๖๐ ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานคร) ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

  1. คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร 

ร่วมประชุมวางแผนและให้ข้อเสนอแนะนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษาอย่างน้อยปีละ ๘ ครั้ง ตอนที่ ๔ วิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการบริหารและพัฒนามหาวิทยา และการตั้งเป้าหมายของแต่ละบุคคลในองศ์กรให้สอดคล้องร่วมกัน (Objectives and Key Results : OKR) 

เปิดแผนการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็น SMART University 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา  เกณฑมา อธิการบดี 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้มีการพัฒนา ทบทวน และปรับปรุงแผนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมในโลกยุคดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการปรับวิสัยทัศน์ นโยบาย และทำแผนยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมทุกมิติมากยิ่งขึ้น เพื่อนำพามหาวิทยาลัยก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง เน้นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในอนาคตบนเส้นทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และศักยภาพที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัย ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ว่า  “มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในด้านการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การดนตรี อุตสาหกรรมบริการ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล”   

หลักการสำคัญที่นำมากำหนดเป็นนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในช่วง ๒๕๕๗-ปัจจุบัน (๒๕๖๔) ได้แก่การวิเคราะห์กรอบแผนยุทธศาสตร์ของชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)  แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579  แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐  พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗  พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒  และ กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทบทวนและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช  
สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นให้สถาบันราชภัฏทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม  

เป้าหมายหลักของแผนคือ การมุ่งพัฒนามหาวิทยาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ  (SMART University) 3 ประการ ได้แก่ SMART university SMART instructor  และ SMART Leaner ซึ่งหมายถึง 1. การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ  2. การมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูง  และ 3. การสร้างบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์เหมาะสมแห่งยุคศตวรรษที่ 21  ทั้งนี้  ภารกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องมุ่งให้เกิดความ SMART ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร  สภาพความเป็นอยู่  สถานที่ ห้องเรียน  คณาจารย์และบุคลากร การจัดการเรียนการสอน เครื่องมืออุปกรณ์การสอน  ระบบการให้บริการ  เทคโนโลยี รวมถึงนักศึกษา  การดำเนินโครงการและกิจกรรมต้องมีการกำหนดเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน (Specific) สามารถวัดผลได้ (Measurable) อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ (Achievable) สอดรับกันทั้งมหาวิทยาลัย (Relevant) และมีกรอบเวลาที่กำหนดไว้ (Time-bound) อย่างชัดเจน                               

แนวคิดในทำงานคือ “การสืบสานงานเดิม ส่งเสริมงานใหม่ สร้างความมั่นใจสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตที่มีคุณภาพ”   งานเดิม ได้แก่ งานตามแผนยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติภารกิจนำศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่มีสู่การพัฒนาท้องถิ่น และการน้อมนำพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมุ่งหมายให้การศึกษาสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะ  
4 ประการ มาปฏิบัติให้ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  งานใหม่   ได้แก่ งานปฏิรูปยกระดับมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่สร้างบัณฑิต   สร้างวิจัย และสร้างนวัตกรรม   ให้สอดคล้องกับบทบาทของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาภายใต้เศรษฐกิจกระแสใหม่ ในยุค Thailand 4.0 ตามนโยบายของภาครัฐ 

 นโยบายและแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำพามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นการเป็น SMART University ประกอบไปด้วย นโยบาย 5 ยก ได้แก่ 1. ยกระดับคุณภาพการศึกษาของ บัณฑิตอย่างมืออาชีพ  (Professional Learning)  2. ยกระดับการสร้างองค์ความรู้/วิจัย (Area-based Research)  3. ยกระดับการบริการและพัฒนาท้องถิ่น (Local Development)  4. ยกระดับการเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม (Cultural Preservation) และ  
5. ยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยยุคใหม่ (Modern Management)  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบัณฑิตให้สมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะทางสังคม และทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 โดยมีผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การสร้างพลเมืองที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ (Learner Person) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-Creator ) และ พลเมืองที่เข้มแข็งเพื่อสันติสุขของสังคม (Active Citizen)    

นโยบายและแนวทางในการดำเนินงานในแต่ละด้านมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ 

ด้านที่ 1.  การยกระดับคุณภาพการศึกษาของบัณฑิต อย่างมืออาชีพ   (Professional Learning) เป้าหมายด้านนี้คือการสร้าง SMART Student ,  Learner หรือ บัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อมด้วยศาสตร์ ศิลป์ และคุณธรรม และมีอัตลักษณ์เฉพาะของมหาวิทยาลัย ที่เน้นการสร้างบัณฑิต ให้มี จิตสาธารณะ ทักษะสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี  มีความเป็นไทย มีวินัยและเข้าใจหลักสากล  และพร้อมด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพลเมืองในยุคศตวรรษที่ 21   โดยใช้แนวคิด 4 ป. ได้แก่ ปรับ  เปลี่ยน  ปลด  และเปิด    

ปรับ  1 ปรับเพิ่มหลักสูตรความเป็นเลิศ หรือหลักสูตรโดดเด่นที่สอดรับกับศักยภาพของมหาวิทยาลัยทุกระดับ ในรูปแบบที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนได้มากขึ้น อาทิ หลักสูตรนานาชาติ  หลักสูตรความร่วมมือลักษณะ Dual Study Program  หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ และ หลักสูตรฝึกทักษะระยะสั้นเพื่อการ Up-Skill,  Re-Skill, New-Skill   ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างหลักสูตร MOOCs ที่ผู้เรียนสามารถนำมาเทียบโอนหน่วยกิตได้                                                                               

ปรับ  2 ปรับ ลด ยุบ ควบรวมหลักสูตรที่ล้าสมัยที่ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้จบออกไปประกอบอาชีพที่สอดรับกับความต้องการของสังคมได้ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะกำลังคนที่มีความสามารถหรือทักษะใหม่จำนวนเพิ่มมากขึ้น  

ปรับ 3  ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  สิ่งเอื้ออำนวยความสะดวก  สภาพแวดล้อม และปรับภูมิทัศน์ ปรับเสริมเพิ่มเติมอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ ให้เหมาะสมกับแนวคิดการจัดการศึกษาในยุคดิจิตัลที่เน้นการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาและทักษะใหม่เพื่อการยกระดับคุณภาพของหลักสูตร และการเรียนการสอนให้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปรับ 4  ปรับศักยภาพอาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญรองรับภาระงานและหลักสูตรใหม่ๆ ส่งเสริมให้อาจารย์สร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิตัลที่ทันสมัย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนให้มากขึ้น 

เปลี่ยน 1. เปลี่ยนรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนในทุกหลักสูตรให้ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล เน้นความทันสมัยและยืดหยุ่นสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป กำหนดให้สอนแบบ  Active Learning  เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง อาทิ  การเรียนรู้การทำงานในลักษณะบูรณาการ (Work Integrated Learning)  สหกิจศึกษา (Co-operative Education) และ การเรียนรู้ด้วยการให้บริการสังคม (Service Learning) เน้นรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ (Massive Open Courses : MOOCs) ให้มากขึ้น 

เปลี่ยน 2. เปลี่ยนแนวคิดหรือวิธีการทำงานที่คุ้นเคยกับการใช้เฉพาะอาจารย์และบุคลากรในหลักสูตรเท่านั้น มาเป็นการเน้นความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เชี่ยวชาญ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการการศึกษาในเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อสร้างความ SMART และสร้างมูลค่าเพิ่มให้บัณฑิตแตกต่างจากที่อื่น     

ปลด 1. ปลดล็อคอุปสรรคระหว่างคณะ หน่วยงาน และองค์กรเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัย และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ด้วยการแก้ไขประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานในเชิงรุกและพัฒนาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความถูกต้องและประสิทธิภาพประสิทธิผลด้านการใช้จ่ายงบประมาณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อาทิ ระเบียบการเทียบโอนหน่วยกิต  Credit Bank / Co-operative Learning  ข้อบังคับเรื่องภาระงาน  และข้อบังคับการจัดการศึกษา ที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น                                                                                  

เปิด 1 เปิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีโอกาสเรียนรู้โดยไม่มีข้อจำกัด สามารถเรียนรู้ได้หลายช่องทางมากขึ้น ทั้งการเรียนในระบบเพื่อเป้าหมายใบปริญญาบัตร  และการเรียนนอกระบบที่ผู้เรียนมุ่งพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการงานทำงาน โดยเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิตัลที่ทันสมัย    

เปิด 2.  เปิดโลกทัศน์เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานของคณาจารย์และบุคลากร โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาและการบริหารงานยุคใหม่ ที่นำระบบดิจิตอลและนำข้อมูลเข้ามาใช้ในการทำงาน  
การจัดการเรียนการสอน การตัดสินใจและอำนวยความสะดวกมากขึ้น    

เปิด 3. เปิดแนวคิดการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนงานแบบจตุรภาคี   (Quadruple Helix)   เน้นการผนึกกำลังทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน สังคม และมหาวิทยาลัยในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเปิดกว้างขยายรับเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ด้านที่ 2    การยกระดับการสร้างองค์ความรู้และการสร้างงานวิจัย (Area-based Research) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นมหาวิทยาลัยที่ประเมินตนเองอยู่ในกลุ่ม ที่ 3  หรือกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบัน  ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยตอบโจทย์เชิงพื้นที่ (ตาม พรบ. 2547) ทิศทางของงานวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่งานวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมของประชนในท้องถิ่น เป้าหมายของนโยบายด้านนี้คือ การสร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล   ชุมชนได้รับการพัฒนา มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับ   ยกระดับคุณภาพทุกมิติ   แนวทางที่สำคัญของการดำเนินงานด้านนี้ได้แก่       

1. ส่งเสริมและสร้างนักวิจัยระดับสูงให้มีในทุกหลักสูตรด้วยระบบพี่เลี้ยง   (Mentor in Residence)  
ตั้งคณะกรรมการให้คำปรึกษาอย่างครบวงจร เน้นการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา และส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนให้มากขึ้น                 

 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มอาจารย์ทำวิจัยเชิงพื้นที่ในลักษณะการบูรณาการระหว่างศาสตร์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในรูปโครงการความร่วมมือวิจัย มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายศึกษาและหาข้อมูล (Area-Based)   ปรับทิศทางการสร้างงานวิจัยเชิงระบบที่สอดรับกับศักยภาพ สามารถนำไปแก้ปัญหา หรือพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง          

3. ดำเนินการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ซึ่งเป็นแหล่งทุนสนับสนุน (Sources of Funding ) ทั้งในรูปแบบทุนระยะยาว (Multiyear) และระยะสั้น เน้นดำเนินการวิจัยร่วมกับภาคีเครือข่าย 
จตุรภาคีทุกภาคส่วน  และส่งเสริมสนับสนุนให้แปลงงานวิจัยเป็นนวัตกรรม เพื่อนำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม    

4  พัฒนาฐานข้อมูล การจัดเก็บ การจดลิขสิทธิ์ การจดสิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา และการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ การเผยแพร่ผลงาน ตลอดจนการร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศจัดเวทีนำเสนอผลงาน สร้างฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านคลังปัญญา  

ด้านที่ 3    การยกระดับการบริการวิชาการและการพัฒนาท้องถิ่น (Local Development)  มุ่งการบริการวิชาการทั้งในรูปแบบให้เปล่า  และแบบสร้างรายได้    ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ทุกหลักสูตร   กำหนดให้อาจารย์ใช้ท้องถิ่นเป็นห้องเรียนและห้องฝึกปฏิบัติการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้แก่นักศึกษา  เน้นการร่วมมือกันกับชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมชุมชน  นวัตกรรมมวลชน และนวัตกรรมแก้จน  จากงานวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแนวคิด SEP for SDG :  Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development Goals  ซึ่งในแต่ละปี มหาวิทยาลัยได้นำเสนอแผนเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ ปีละไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการบริการวิชาการลงสู่ท้องถิ่น ในการแก้ปัญหาการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ ใน กรุงเทพมหานคร 16  เขต และในต่างจังหวัด 2 แห่งได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร และ จังหวัดสุพรรณบุรี   โดยยึดแนวทางการทำงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเข้าถึงมวลชน  ( Bottom up)  ร่วมคิดค้นโครงการ (Top down) และ ประสานเครือข่ายนักพัฒนา (Relationship) 

ด้านที่ 4  การยกระดับการเป็นผู้นำด้านอนุรักษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย  (Cultural Preservation)   นโยบายด้านนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่น คิดค้นนวัตกรรมด้วยการใช้รากฐานทางวัฒนธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy )   แนวทางการดำเนินงานได้แก่     
1. ส่งเสริมการสร้างหลักสูตร การจัดโครงการ กิจกรรม งานวิจัย และนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีความรักในศิลปวัฒนธรรมไทย    

2. ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นด้านความเป็นผู้นำด้านการแสดงศิลปวัฒนธรรม และด้านการดนตรีเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม และเพิ่มแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยที่ทันสมัยและหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น 

3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ท้องถิ่น ด้วยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องไปให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม  

                                                                                                                                  ด้านที่ 5  การยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยยุคใหม่ (Modern Management) เป้าหมายคือการสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็น SMART University ด้วยหลักธรรมาภิบาล  แนวทางสำคัญที่ต้องเร่งยกระดับด้านนี้ 3 เรื่อง ได้แก่   

  1 ด้านปัจจัยพื้นฐาน 3 ประการได้แก่ การบริหารจัดการ งบประมาณ ได้นำแนวคิด งด ลด ยกเลิก และทบทวน เข้ามาใช้ในการวางแผนการใช้จ่ายให้เพียงพอตามภารกิจให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด    การวางแผนจัดหารายได้จากความ โดดเด่น และศักยภาพของอาจารย์ ด้วยการดำเนินโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้จากงบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และการรับทำวิจัยจากแหล่งทุนสนับสนุนนภายนอก เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น  นำระบบดิจิตัลเข้ามาช่วย ควบคุม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่าง โปร่งใส   การบริหารด้านบุคลากร  เน้นการสร้างระบบคัดเลือกคนดี คนเก่ง การส่งเสริมพัฒนา การรักษาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในสายงาน  การพัฒนากองทุนสวัสดิการให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง  
แก่บุคลากร และ ในส่วนของสภาพแวดล้อม  เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือสื่อการเรียนการสอน และสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกที่จำเป็น  การปรับปรุงอาคารสถานที่ และปรับสภาพภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้สะอาด ทันสมัย พร้อมต่อการใช้งาน ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ของการพัฒนา มีการนำระบบเทคโนโลยีและระบบดิจิตัลเข้ามาใช้ให้ครอบคลุมทุกภารกิจ เพื่อให้เป็น SMART University อย่างแท้จริง                                                                                                                 

การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนในรูปแบบจตุรภาคี  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศ อยู่แล้วมากกว่า 100 เครือข่าย   
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้น การนำองค์กรเครือข่ายเข้ามาร่วมออกแบบหลักสูตรสัมมนาแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ร่วมการทำวิจัย ประชุม และร่วมจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เข้มข้นมากขึ้น รวมถึง การจัดทำ Co-operative Education /Learning  กับองค์กร และมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพโดดเด่นเพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น   

3. การเร่งสร้างค่านิยมองค์กร MORALITY  การสร้างความตระหนักให้บุคลากรยึดค่านิยมองค์กรให้ถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างองค์กรแห่งคุณภาพได้อย่างแท้จริง การเน้น 
การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการ ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ประเมินผล อย่างครอบคลุมทุกมิติ    

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นแผนการทำงานที่เกิดจากนโยบายของอธิการบดี ที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรได้มีส่วนร่วมนำเป็นกรอบแนวคิดและจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ซึ่งในทุกรอบปีจะมีการประชุมสัมมนาทบทวนงานนโยบายเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อปรับแผน ให้การดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างความเป็นเลิศและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันบนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้   เชื่อได้ว่า การมุ่งมั่นทุ่มเท การร่วมมือร่วมใจสมัครสมานสามัคคี และความเป็นหนึ่งเดียวกันของสมาชิกในองค์กร จะเป็นพลังยิ่งใหญ่ที่จะสร้างให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้เป็น “บ้านแห่งความสำเร็จ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา”   เป็น SMART University  ได้อย่างแท้จริง 

ตอนที่ ๕ เกียรติประวัติ ผลงานที่ภาคภูมิใจ การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม 

  1. เกียรติประวัติที่สร้างชื่อเสียงในภาพรวมให้แก่องค์กร 

๑.๑  ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาคะแนน สูงสุด ด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 

๑.๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจาก สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนเป็นศูนย์จัดการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ ระดับภูมิภาค 

๑.๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ National Pingtung University ประเทศไต้หวัน มอบโล่ประกาศยกย่องให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในฐานะเครือข่ายความร่วมมือที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของ NPTU 

๑.๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบโล่ประกาศยกย่องให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะให้ความร่วมมือรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนำเสนองานวิชาการระดับนานาชาติ IS Thai Sim GA 2018 ประจำปี ๒๕๖๑ 

๑.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับมอบโล่รางวัลสถาบันขงจื้อยอดเยี่ยมระดับโลก จาก นางหมิว เหยียนตง รองประธานาธิบดี ในงานประชุมขงจื้อโลก ประจำปี ๒๕๖๑ 

๑.๖ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง ศูนย์สอบวัดระดับภาษาจีนยอดเยี่ยมระดับชาติประจำปี ๒๕๖๑ จาก Tianjin normal university ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย อธิการบดี เป็นผู้มอบ 

๑.๗ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับพระราชทานโล่รางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ชนะเลิศในการจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

. เกียรติประวัติส่วนตัวที่สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับในสังคม 

๒.๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ นักบริหารการศึกษาดีเด่น จากสมัชชานักจัดรายการข่าวฯ แห่งประเทศไทย (สว.นท) โดยนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีเป็นผู้มอบ 

๒.๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์พยงค์ จูฑา นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้มอบ 

๒.๓ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง สตรีตัวอย่างแห่งปี จากมูลนิธิ           เพื่อสังคมไทย โดย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

๒.๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องให้เป็น นักบริการและพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี จากสถาบันพัฒนาศักยภาพท้องถิ่น โดย พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

๒.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง ผู้ให้การสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สพป. เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ปี ๒๕๖๑ โดย เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้มอบ 

๒.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้รับโล่ประกาศยกย่อง เป็นนักบริหารดีเด่นและสตรีตัวอย่างแห่งปี จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย โดย พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย (พ.ศ.๒๕๕๕–๒๕๕๖)

ประวัติ ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย

ศิษย์เก่า ป.กศ สูง พ.ศ. 2505 

ปัจจุบัน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ประวัติการทำงาน

  • อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของทบวงมหาวิทยาลัย 
  • ผู้แทนของทบวงในสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของเอกชน 
  • อนุกรรมการประเมินทรัพย์สินของกระทรวงมหาดไทย 

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี (กศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ปริญญาโท (M.S.) สาขาวิชา English Education จาก Southern Oregon State College  ประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • ปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาวิชา Teaching English to Speakers of Other Languages (TESOL) จาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ประวัติ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์

เกิด วันที่ 8 มิถุนายน 2484

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
  • ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี  จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชั้น ป.กศ.  และ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  •  กศ.บ.(เกียรตินิยม)  ประถมศึกษา และ คณิตศาสตร์ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา  ประสานมิตร 
  •  M.A.(Ed. Adm.& Research)   Michigan State University 
  • Ph.D.(Higher Ed.)   Michigan State University 
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

ประวัติการทำงาน 

  • ๒๕๐๗ - ๒๕๑๗ เป็นครูสอนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดอินทาราม กาญจนบุรี 
  • ๒๕๑๗ -  ๒๕๑๙ เป็นนักวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๑๙ - ๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการกองวิจัยการศึกษา 
  • ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๒๙ - ๒๕๓๕ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • ๒๕๓๕ โอนย้ายมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๓๕ - ๒๕๓๗   เป็นอธิบดีกรมวิชาการ 
  • ๒๕๓๗ -  ๒๕๓๘   เป็นอธิบดีกรมการศาสนา 
  • ๒๕๓๘ -  ๒๕๓๙   เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา 
  • ๒๕๓๙ -  ๒๕๔๒   เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๔๒ -  ๒๕๔๔   เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ     มหาวชิรมงกุฏ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 

หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน 

  • เป็นข้าราชการบำนาญ  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำ กกต. 
  • เป็นประธานกรรมการบริหารชมรมขัาราชการและครูอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา 
  • เป็นนายกสภาวิทยาลัยเชียงราย 
  • เป็นุอปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 
  • เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี 
  • เป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
  • เป็นอนุกรรมการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต   ปปช 
  • เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นรองประธานฝ่ายการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นประธานมูลนิธิสามัญศึกษา 
  • เป็นประธานมูลนิธิคุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู 
  • เป็นเลขาธิการมูลนิธิดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์เพื่อส่งเสริมการอ่าน 
  • เป็นกรรมการมูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ชนถิ่นกันดาร 

เกียรติประวัติที่เคยได้รับ

  • ๒๕๐๑ -  ๒๕๐๗   เป็นนักเรียนทุนจังหวัดกาญจนบุรี
  • ๒๕๑๑ -  ๒๕๑๗ เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ สหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลพ่อดีเด่น
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา  เสาเสมาทองคำ
  • ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศข้าราชการผู้ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจากคณะกรรมการ ปปช. 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • ได้รับยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ Michigan State University สหรัฐอเมริกา 
  • ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีเมืองกาญจน์ 
  • ได้รับยกย่องเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น 
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ  

ผลงานเขียนเป็นหนังสือ 

  • การศึกษาคือยาหม้อใหญ
  • จารึกไว้ในพระศาสนา  จารึกไว้ในการศึกษา 
  • การศึกษา ปัจจัยที่ห้าของชีวิต 

บันทึกปลัดกระทรวง

  • ก้าวไปข้างหน้า 
  • เหลียวหลัง  แลหน้า  ตามอารมณ์ 
  • หนุ่มบ้านทุ่ง   คนบ้านทุ่ง 
  • คิดเป็นการศึกษา 
  • นิทานส่งเสริมประชาธิปไตยดอทคอม 

ถ้ามีคนถามว่าผมจบม.๘ มาจากโรงเรียนไหนผมมักจะตอบทุกคนด้วยความภาคภูมิใจ ว่าผมไม่เคยเรียนม.๗ ม.๘ แต่ผมเป็นนักเรียนฝึกหัดครูจบ ปก.ศ. และ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผมเป็นลูกสุริยะ 

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่าจะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพราะนี่คือความหวังอันสูงสุดในชีวิตในสมัยนั้น ด้วยความที่ฐานะทางบ้านขัดสนเอามากๆ ทางเลือกเมื่อผมจบม.๖ มีเพียงทางเดียว คือต้องสอบเข้าเรียนครูให้ได้และต้องให้ได้ทุนด้วย แต่สอบให้ได้ผมไม่ค่อยเป็นห่วงให้ได้ทุนก็คิดว่าพอลุ้น แต่ถ้าจะให้ดีต้องให้ได้ที่ ๑ ด้วย จะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จผมฝันอยากเป็น นักเรียนกรุงเทพฯถ้าได้มาอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาแม้จะอยู่ฝั่งธนบุรีก็พอ นับว่าเป็นกรุงเทพฯได้อยู่ผมประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เมื่อผมสอบได้ผมได้ทุน และผมได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จ 

ชีวิตที่บ้านสมเด็จฯ ช่วยให้ผมโตขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัวผมไม่ได้หมายถึงขนาดของร่างกาย เพราะตั้งแต่มาเรียนที่มีบ้านสมเด็จฯ แล้วผมไม่เคยสูงขึ้นอีกเลย แต่ผมหมายถึง โตขึ้นทางความรู้สึกนึกคิดเรียกว่ามีวุฒิภาวะมากขึ้น มีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีความทะเยอทะยานมากขึ้น มีความฝันมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น 

ผมเป็นนักเรียน ป.กศ. รุ่นที่ 4 ของกรมการฝึกหัดครูเข้าบ้านสมเด็จฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ สมัยนั้นนักเรียนทุนจากต่างจังหวัดต้องอยู่หอพัก ทุกคนส่วนใหญ่แต่ละจังหวัดรุ่นที่อยู่หอพักก็สักก็มากัน ๑ คนมีจังหวัดที่มีวิทยาลัยครูมา ๔ คนรวมทั้ง ๑๐๐ คนมีนักเรียนทุนส่วนกลางและต่อมาก็มีนักเรียนรอบบ่ายเพิ่มขึ้นอีกรวมทั้งรุ่นคงราว ๆ ๓๐๐ คนเศษที่สนิทสนมกันมากก็คงเป็นพวกที่อยู่หอพักด้วยกันเพราะเรากินด้วยกันเล่นด้วยกันดูหนังสือด้วยกันและหนีอาจารย์ไปเที่ยวด้วยกันบางทีเราก็ทะเลาะกันบ้างแล้วเราก็ดีกันบางทีเราก็แกล้งกัน แล้วเราก็ให้อภัยกันจากวันนั้นถึงวันนี้เรายังรักกัน ไม่เสื่อมคลายผมหมายถึงความรักฉันท์เพื่อนไม่ใช่ฉันท์คนรักก็ที่อยู่หอพักด้วยกันมี แต่ผู้ชายทั้งนั้นที่เป็นหญิงเขาเรียนรอบบ่ายเกือบจะไม่เคยได้เห็นกันเลย (ยกเว้นตอนที่แอบดูเขา) ด้วยเหตุนี้ละกระมังที่ทำให้ผมไม่มีแม่บ้านเป็นลูกสุริยะด้วยกัน 

ผมมีความประทับใจหลาย ๆ อย่างที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่นี่ผมได้พบอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติใคร ๆ ก็อยากเป็นลูกศิษย์ด้วย (สมัยนั้น) เช่น อาจารย์โชค สุคันธานิช อาจารย์ดิน เผือกสกนธ์ อาจารย์ใย ยรรยงอาจารย์สงัด ภูเขาทอ งโดยเฉพาะอาจารย์สงัด และอาจารย์ใย นี่ผมชอบเป็นพิเศษ และใฝ่ฝันอยากเก่งภาษาไทยเหมือนอาจารย์ ผมเลยศึกษาวรรณคดีไทยเป็นการใหญ่ ผมจำได้ว่าภายใน ๒ ปีที่เรียน ป.กศ. ผมอ่านหนังสือวรรณคดีที่มีอยู่ในห้องสมุดของวิทยาลัยได้หมดทุกเล่ม ก็เพราะอยากเป็นเช่นอาจารย์ตรงนี้ผมทำผิดพลาดไปถนัดเพราะผมศึกษาเร็วเกินไปต่อมาก็เลยหมดความสนใจ พอได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ประสานมิตรเลยหันไปเลือกเรียนเอกคณิตศาสตร์แทนภาษาไทย เพราะรู้สึกว่าในเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีสิ่งที่ผมไม่รู้อีกมากเหลือเกินผมตั้งใจว่าต่อไปจะศึกษาภาษาไทยเป็นงานอดิเรกแทน แล้วก็ยังไม่ได้เริ่มต้นอีกเลยจนทุกวันนี้ผมไปเรียนประสานมิตรได้สัก ๒-๓ เดือนกลับมาเที่ยวบ้านสมเด็จ พบอาจารย์ใยยรรยงท่านถามว่าพนมไปเรียนเอกอะไรผมตอบว่าเอกคณิตศาสตร์ดูท่าทางอาจารย์ผิดหวังผมมากอาจารย์พูดว่า “ครูคิดว่าเธอจะไปเรียนเอกไทยเสียอีก” 

ที่บ้านสมเด็จฯ นี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมไปอย่างหนึ่งคือผมเป็นคนบ้านนอกเกิดนอกเมืองกาญจน์ออกไปอีกพูดสำเนียงเหน่อ ๆ ต่อมาผมก็หัดพูดแบบคนเมืองกาญจน์ก็คิดว่าเข้าที่ดีแล้วมาเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เคยถูกล้อเลียนเห็นมี แต่จิระจากสุพรรณและประชุมจากเพชรบุรีที่ถูกล้อเลียนเป็นประจำจนอยู่มาวันหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์กฤษณาสยามเนตรเป็นผู้สอนผมเพิ่งมาอยู่ใหม่ ๆ ได้เดือนเศษยกมือขึ้นถามอาจารย์อาจารย์หัวเราะผมจนตัวงอผมอายหน้าแดงเอ๊ะ! นี่ผมทำอะไรผิดสักครูอาจารย์ก็บอกว่า“ พนมครูไม่ได้ว่าอะไรเธอหรอก แต่หัวเราะเสียงเธอมันเหน่อสิ้นดี” ผมจึงเข้าใจว่าที่พยายามดัดสำเนียงนั้นยังใช้ไม่ได้ต้องพยายามต่อไปให้เหมือนชาวกรุงเทพฯให้ได้ผมคิดว่าผมทำได้สำเร็จไม่มีใครล้อผมหรือหัวเราะผมอีกจนเมื่อสัก ๒-๓ ปีมานี้ไปพบคุณหมอประเวศวะสีเรียนท่านว่า“ คุณหมอครับผมก็เป็นคนเมืองกาญจน์  คุณหมอก็ตอบว่า“ รู้แล้วว่าไม่ต้องบอกหรอกฟังเสียงรู้ว่าคนเมืองกาญจน์” ก็เพิ่งจะรู้ตัวว่ายังเปลี่ยนไม่สำเร็จเท่าไร  

บ้านสมเด็จฯ ช่วยสร้างชีวิตผมทั้งชีวิตสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดผมมาเรียนด้วยความตั้งใจว่าอยู่ ๒ ปีให้จบ ป.กศ. แล้วจะออกไปเป็นครูเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันชวนไปสอบเทียบม. 4 ผมก็ไปสอบด้วยใจผมตอนนั้นคิดว่าจะพอจะลองสอบเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ ป.กศ. บ้านสมเด็จฯ เทียบม. 4 ได้หรือเปล่าสอบแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าพอเทียบได้หรือปทุมวันผมไม่ไปเพราะทางบ้านไม่มีเงินพอจะส่งให้เพื่อน ๆ ชวนให้ไปสอบเข้าวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนทุกคนเรียนพอเรียนจบ ป.กศ. วิทยาลัยก็ประกาศว่าผมได้คัดเลือกให้เรียนต่อ ป.กศ. สูงผมทำให้ทางบ้านผิดหวังรอให้ผมกลับไปเป็นครูเมื่อได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อพร้อมทุนอีกปีละ ๒,๕๐๐ บาทก็จำต้องให้ผมเรียนต่อไปพอจบ ป.กศ. สูงเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมอีกผมได้รับคัดเลือกจากวิทยาลัยส่งไปเรียนต่อที่ประสานมิตรพร้อมทุนปีละ ๒,๕๐๐ บาททางบ้านไม่มีทางเลือกจำต้องให้ผมไปเรียนต่ออีกจนจบปริญญาตรี 

ที่จริงตอนจบ ป.กศ. พี่ชายก็จะให้ออกไปสอนอยู่แล้วบอกไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ พอดีมีคนรู้จักได้ยินข่าวก็บอกเสียดายถ้าไม่ให้เรียนถามว่าถ้าจะเรียนต่อ ผมต้องการเงินสักเท่าไรเขาจะให้ยืมเอง พี่ชายผมบอกว่าไม่เอาพี่จะหาเงินให้เองผมก็เลยได้เรียนต่อเพราะทุนจากบ้านสมเด็จฯ และความรักกศักดิ์ศรีของพี่ชายด้วยประการฉะนี้ 

ชีวิตผมลืมอะไรไปหลายอย่าง แต่ที่ไม่เคยลืมเลยคือบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะสุขจะทุกข์สนุกเศร้าอย่างไรก็ไม่เคยลืมเพื่อนผมก็ไม่เคยลืมทุกปี ป.กศ. บ้านสมเด็จรุ่น ๔ ยังนัดพบใหญ่กันได้เป็นประจำครั้งละเกือบ 4 คนเราพบกันพูดถึงความหลังครั้งเก่าพูดถึงอาจารย์เก่าสถานที่เก่า ๆ อย่างมีความสุขถ้ามีคนถามว่าถ้าผมได้พรจากนางฟ้าผมอยากจะได้อะไรเป็นอันดับแรก ผมคงตอบว่าผมจะขอไปเป็นนักเรียนอย่างเก่าที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ต้องเอาเพื่อนเก่า ๆ ไปด้วยนะขึ้นให้ผมกลับไปเรียนกับศิษย์ปัจจุบันคงตามจีบเขาไม่ทันแน่ 

ผมเรียนหนังสือที่โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จฯ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ ถึงมัธยม 6 (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๕) ๑๐ ปีเต็ม ๆ ตอนนั้นผมยังเด็กมากเลยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องการให้ผมข้ามมาเรียนที่ฝั่งธนทั้งๆที่บ้านอยู่แถว ๆ เสาชิงช้าจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๙ มาโรงเรียนทุกวันสมัยที่เป็นนักเรียนผมรู้สึกว่าโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใครทั้งในด้านการเรียนและการกีฬาอาจารย์ที่สอนมีความสนิทสนมกับนักเรียนมากเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดีซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักเรียนน้อยคือชั้นละ ๑ ห้องเรียนอาจารย์จึงดูแลได้ทั่วถึงตอนนั้นอาจารย์ระเบียบยมจินดาเป็นครูประจำชั้นอาจารย์มโน กฤษณจินดา เป็นอาจารย์ใหญ่นอกจากนั้นมีอาจารย์บุตรวุฒิมานพเป็นอาจารย์พละที่เข้มแข็งอาจารย์สังวาลย์คคละนันท์ก็เคยเป็นครูประจำชั้นพวกเรามักเรียกกันติดปากว่าคุณย่าสังวาลย์อาจารย์อำไพ (วิทยวิโรจน์) อาจารย์บุญส่งก็เคยสอนทั้งนั้นผมจำได้ดีเพราะเรียนที่นี่มาตลอดและอาจารย์ก็สอนตามไปหลายชั้นเมื่อผมกลับมาบ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เห็นสภาพดั้งเดิมเสียแล้วตอนที่เรียนเป็นอาคารไม้แถวยาว ๆ มีตึกวิเศษศุภวัตรอยู่หลังศาลเจ้าพ่อเมื่อหน้าน้ำท่วมพวกเด็ก ๆ จะถอดรองเท้าลุยน้ำกันสนุกในส่วนที่เป็นวิทยาลัยครูปัจจุบันมีตึก ๓ ชั้นและอาคารไม้ยาว ๆ เช่นกันพวกนักเรียน & ฝึกหัดครูมักจะไม่ค่อยมายุ่งกับนักเรียนสาธิตคงจะเป็นเพราะคนละวัยก็ได้เพราะฉะนั้นเราเลยไม่ค่อยรู้จักกันอย่างไรก็ดีเมื่อจบมัธยม 5 แล้วผมก็เรียนฝึกหัดครูต่ออีก ๑ ปีเช่นกันผมไม่ใช่เด็กซนหรือโลดโผนนับว่าค่อนข้างเรียบร้อย แต่ความซนของเด็กสมัยนั้น ก็ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นไม่ผาดแผลงมาก ผมไม่ใช่คนเรียนหนังสือเก่ง แต่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กอ่านทุกชนิดทั้งนวนิยายสารคดีประวัติศาสตร์ปรัชญา ฯลฯ อ่านแล้วก็จำได้นานชีวิตในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีส่วนช่วยในการนําเนินชีวิตปัจจุบันพอควรคือได้นำคำสั่งสอนของคุณครูที่ไม่เพียง แต่สอนในด้านวิชาการเท่านั้นยังสอน จริยธรรมและคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ปลูกฝังความมีวินัยไว้เต็มเปี่ยม 

เพื่อนๆ นักเรียนต่างก็เป็นเพื่อนที่ดีรักใคร่ปรองดองกันเหมือนพี่น้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมาพวกเรามีกันอยู่ ๓๕ คนไม่มีผู้หญิงมาเรียนด้วยอาจารย์ระเบียบเป็นอาจารย์ประจำชั้นหลายปีอาจารย์สมศรี (เรืองเดช) อาจารย์อรรถศรีก็เคยเป็นครูประจำชั้นด้วยนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วอาจารย์บุญภักดิ์ ขวัญเจริญ ยังได้นำการสอนวิธีใหม่คือให้หัวเรื่องมค้นคว้ากันเองทำให้พวกเราได้ทำงานร่วมกันเพิ่มความสนิทสนมต่อกันยิ่งขึ้นบรรยากาศในห้องเรียนดีมากครูให้เวลากับนักเรียนมากเช่นกันตอนที่เข้าเรียนใหม่ ๆ ผมก็ร้องไห้ตามแม่เหมือนเด็กอื่นๆ จำได้ว่า ครูบุตร วุฒิมานพ เป็นคนจับผมไว้ไม่ให้วิ่งตามแม่ แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานแล้วผมก็ยังจำภาพเก่าๆ ได้ดี เช่น มีการหล่อเทียนพรรษาที่ศาลเจ้าพ่อ บางทีก็มีการชกมวยแก้บนให้เจ้าพ่อหลังสอบ แล้วผมยังคงภาคภูมิใจมากที่ได้เรียนที่บ้านสมเด็จฯ ไม่ใช่เพียงพวกเรา แต่คนในละแวกนี้เขารู้จักเราดีทั้งนั้นพวก บ.ส. , ม่วงขาว, ชาวสุริยะ ใครๆ ก็รู้จักใครๆ ก็ต้อนรับเราดีไม่เคยมีใครมาตั้งแง่กับเราเลย 

ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจึงทำให้ครูกับนักเรียนไม่ค่อยจะมีความผูกพันเหมือน แต่ก่อนชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่สะดวกสบายผู้ปกครองหรือพ่อแม่ไม่มีเวลาได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตอนผมเป็นเด็กคุณพ่อเป็นทหารคุณแม่ไม่ได้ทำงานจึงมีเวลาดูแลให้ผมทำการบ้านสอบถามและทบทวนวิชาให้ผมตัวเล็กนิดเดียวเลยไม่ได้เล่นกีฬาเวลาเข้าแถวยังต้องอยู่ปลายแถว แต่เวลาไปเชียร์ก็ไปเชียร์กับเขาทุกครั้งเพราะสนุกมากโรงเรียนของเราเก่งกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลครูที่ว่าสนิทสนมและรู้จักนักเรียนนั้นเมื่อเวลาก็เอาเรื่องเหมือนกันถ้าไม่ส่งการบ้านหรือทำความผิดอะไรก็จะต้องถูกตีด้วยกิ่งสนสังเกตได้ว่าต้นสนบริเวณโรงเรียนกิ่งจะหักเป็นแถบๆ

เมื่อจบมัธยม ๖ จากโรงเรียนสาธิตฯ ก็ไปเรียนต่อที่ฝึกหัดครู ๑ ปีจึงออกไปเรียนที่โรงเรียนพาณิชยการราชเทวี (เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้ว) ต่อมาก็เข้ารามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ขณะนั้นเรียนด้วยทำงานไปด้วย ผมเริ่มเข้าทำงานที่กระทรวงต่างประเทศด้วยวุฒิมัธยม ๘ ในตำแหน่งเสมียนเมื่อปี ๒๕๑๘ ต้องไปทำงานที่ประเทศลาวเพราะที่นั่นกำลังมีปัญหาเรื่องชายแดนอยู่ลาวมา ๔ ปีแล้วไปประจำอยู่เยอรมันอีก ๒ ปีจึงกลับมาประจำกระทรวงอีก ๒ ปีต่อมาได้ทุนไปเรียนภาษาที่ประเทศออสเตรเลียอีก ๔ เดือนวนเวียนอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศตามหน้าที่ตามปกติทำงานที่กระทรวงต่างประเทศนั้นจะอยู่ประจำกระทรวง ๔ ปีไปต่างประเทศ ๔ ปีขณะนี้ผมทำงานอยู่ในกองเอเชียตะวันออกคือรับผิดชอบเกี่ยวกับจีนมองโกเลียไต้หวันฮ่องกงมาเก๊าส่วนหนึ่งเรื่องของญี่ปุ่นกับเกาหลีอีกส่วนหนึ่งสำหรับผมทำเรื่องจีนฮ่องกงรวมทั้งไทเปด้วยเป็นการติดต่อกับส่วนการต่างประเทศของเขาคือต้องศึกษาถึงการจัดองค์กรต่างประเทศของประเทศเหล่านี้  

ผมมีครอบครัวแล้วภรรยาก็เขียนหนังสือเช่นกันใช้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรนามปากกา“ นิลุบล” เขียนสารคดีลงในนิตยสารผู้หญิงมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีประวัติอันยาวเช่นขวัญเรือนกุลสตรี ฯลฯ ลูกชายคนโตขณะนี้เรียนอยู่ที่นานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งใจว่าจะให้เรียนทางเศรษฐศาสตร์เมื่อจบการศึกษาแล้วจ ะกลับมาทำงานเมืองไทยแน่นอนลูกคนนี้มีแนวโน้มว่าชอบเขียนหนังสือเช่นกันเพราะเป็นเด็กมีจินตนาการชอบคิดฝันอายุ ๑๖ ปีไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เพราะเสียดายความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งลูกใช้ได้ดีมากเมื่อกลับจากตุรกี (ไปเรียนโรงเรียนนานาชาติเมื่อผมไปทำงานที่นั่น) ที่เลือกประเทศนิวซีแลนด์ เพราะคิดว่าเป็นประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมสิ่งที่จะชักนำให้เด็กเสียมีน้อยและลูกคนนี้ไว้วางใจได้ในเรื่องการดูแลตัวเองส่วนลูกชายที่โรงเรียนคนเล็กอายุ ๑๔ ปีขณะนี้เรียนชั้นมัธยมอัสสัมชันธนบุรีซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน บ้านอยู่ซอยเศรษฐกิจบางแค) ยังไม่ค่อยทราบทิศทางของลูกคนเล็กเพราะยังเล่นสนุกอยู่ถ้าใครไปที่บ้านก็จะพบว่าบ้านเต็มไปด้วยหนังสือเพราะสมาชิกทุกคนในบ้านชอบซื้อหนังสือเข้าบ้านมีความสุขอยู่กับการอ่านงานหนังสือที่มีส่วนช่วยเพิ่มพูนรายได้บ้างพอสมควรเมื่อหนังสือแต่ละเรื่องได้รับการพิมพ์หรือชื่อเรื่องไปทำละครก็จะได้รายได้เป็นระยะๆไป 

ในด้านการเขียนหนังสือนั้นเขียนมานานแล้วผลงานมีไม่มากนักคือเรื่องยาว ๑๒ เรื่องเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง เรื่องยาวแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาเขียนปีครึ่งถึง ๒ ปี เพราะเมื่อวางพล็อตเรื่องและตัวละครแล้วต้องค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินเรื่องซึ่งต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพิ่มเติมนั่นเองเวลาเขียนมักจะใช้เวลาเช้า ๆ ก่อนออกไปทำงานแต่ละวันเขียนได้ไม่มาก แต่เขียนไปได้เรื่อย ๆ ชีวิตการทำงานในกระทรวงต่างประเทศทำให้ได้เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว แต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยในด้านงานเขียนนักข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆอาจซึมซับไว้บ้าง แต่ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำมาเขียนคงเป็นแค่ผลพลอยได้ข้อมูลที่ช่วยในการเขียนได้มาจากการอ่านหนังสือเป็นหลักอย่างเรื่องต้องกันเรื่องอาหรับศาสนาอิสลามตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ด้วยจริง ๆ แล้วก็ยังไม่เคยไปประเทศแถบนั้นเลยเมื่อเขียนเรื่องลอดลายมังกรที่เขียนก่อนได้ไปประเทศจีนเสียอีกเวลาจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนแล้วจึงสร้างตัวละครผมสนใจธรรมชาติและมีความคิดว่าคนควรมีชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นของสิ่งแวดล้อมอยากให้ทุกคนมีความใฝ่ดี  

ในฐานะพี่อยากจะให้ข้อคิดบางประการกับน้องๆ คือ โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนซึ่งมีประวัติอันยาวนานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถมีผลงานต่อประเทศชาติโชคดีกว่าคนทั่วไปเมื่อมีโอกาสก็ควรรักษาโอกาสนั้นไว้ให้ดีและสืบทอดความดีของรุ่นพี่ที่ผ่านมารุ่นน้องก็เป็นความหวังของรุ่นพี่รุ่นพี่ของบ้านสมเด็จฯ ก็มี แต่จะแก่ไปหมดไปมี แต่รุ่นน้องที่จะอยู่ต่อไปพี่ก็หวังว่าจะมีคนที่จะมาสืบทอดรักษาชื่อเสียงของบ้านสมเด็จฯ ให้ดำรงคงอยู่ชั่วกาลนาน