มนธิดา สีตะธนี

วัน เดือน ปีเกิด : 20 เมษายน 2492

สถานะภาพ : สมรส มีบุตร 2 คน

ตําแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (การศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

การศึกษา :

พ.ศ. 2517 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2511 วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2508 มัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสตรีวิทยา

ประวัติการทํางาน :

พ.ศ. 2543-2559 ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2538-2543 สํานักวิชาการและผู้ประสานงานระหว่างประเทศ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2534-2538 พํานักในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2527-2534 ผู้ชํานาญการ ระดับ 7 (การเผยแพร่การศึกษา) ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2524-2597 นักวิชาการศึกษา 8 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา

พ.ศ. 2519-2524 นักวิชาการศึกษา 4-5 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2512-2519 ครูตรี-โท กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ :

พ.ศ. 2521 ได้รับทุน ASEAN เพื่อฝึกงานด้านพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 16 สัปดาห์ที่ University of Singapore ได้ศึกษาดูงานศูนย์วิทยาศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์

พ.ศ. 2527 ได้รับเชิญจาก Camegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานด้านพิพิธภัณฑ์เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย

พ.ศ. 2527-2528 ได้รับทุนจาก Carnegie Museum of Natural History ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝึกงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่ Carnegie Museum of Natural History เมืองพิตชเบิรก และศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ในรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2528 ได้รับทุนจาก Senckerberg Museum of Natural History ฝึกงานและ ศึกษาดูงานเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ที่ Senckenberg Museum of Natural Historyเมืองแฟรงเฟิรต เยอรมนีตะวันตก

พ.ศ. 2544 ได้รับเชิญจาก British Council เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “International Networking Event: Towards Democratic Science” และศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และการดําเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ได้เข้าร่วมการประชุม “Public Communication of Science and Technology (PCST 2001) สถาบัน CERN กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

พ.ศ. 2546 ได้ร่วมมือกับ Centre for Science Education, Sheffield Halan University จัดศึกษาดูงานในสหราชอาณาจักรให้กับครูแกนนํา 22 คน โดยได้ดูงาน ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ การจัดกิจกรรมการศึกษาในสวนพฤกษศาสตร์และการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน

พ.ศ. 2546-2548 ได้รับเชิญจาก Centre for Science Education, Sheffield Halan University เข้าร่วมงาน “Annual Meeting of Science Education 2003, 2004, 2005” ในสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2547-2540 ได้รับเชิญจาก Intel Foundation เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “Intel Educator Academy 2004, 2005, 2008” และเข้าร่วมงาน “Intel International Science and Engineering Fair” ในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2549 ได้รับเชิญจาก National Resources Center เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “LASER K-8 Education Strategic Planning Institute” ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2550 ได้ร่วมมือกับ British Council จัดการศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอน สาขาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสหราชอาณาจักรให้กับผู้บริหารและอาจารย์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

พ.ศ. 2550-2552 ได้รับเชิญจากสถาบันเกอเธ่ ศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2512-2519
หลังจากได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2512 ได้ปฏิบัติงานให้กับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2518

ในระหว่างนั้น ได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการกับกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยร่วมเป็นคณะทํางานพัฒนา หลักสูตรและเขียนตําราคณิตศาสตร์แนวใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นได้เป็นวิทยากรผู้หนึ่งในการอบรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ให้กับครูคณิตศาสตร์ทั่วประเทศ

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534
ปี พ.ศ. 2519 ได้โอนจากกรมสามัญศึกษาไปฏิบัติงานกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในตําแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา และในปี พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ชํานาญการ (ด้านการเผยแพร่การศึกษา)

ในการทํางานในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534 ได้รับผิดชอบในตําแหน่งหัวหน้าโครงการจัดแสดง นิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยได้จัดแสดงนิทรรศการถาวรตามหัวเรื่องที่กําหนด จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว และจัดกิจกรรมการศึกษาในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมทั้งได้เป็นวิทยากรและเป็นผู้เขียนสคริปต์รายการวิทยุในบางช่วงเวลา นอกจากนั้นได้ออกปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อสํารวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างวัตถุทางธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ในการปฏิบัติงานที่ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับทุน ASEAN ทุนจาก Carnegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา และ ทุนจาก Senckenburg Museum เยอรมนีตะวันตก ให้รับการฝึกงานและศึกษา ดูงานในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนีตะวันตก อันทําให้สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในงานการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2538-2552
ในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 ได้พํานักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังจากการเดินทางกลับมายัง ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 ได้เริ่มปฏิบัติงานที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิบัติงานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2552 ได้ดําเนินงาน คือ

ปี พ.ศ. 2538-2543 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

ปี พ.ศ. 2543-2552 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2543-2552 การพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์

ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2543 ได้รับผิดชอบโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศแคนาดาและสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ การพัฒนาความร่วมมือกับ National Research Council ประเทศแคนาดา และ British Council สหราชอาณาจักร ทําให้ มีผลงานความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ช่วยพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ อีกมาก อาทิเช่น ความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เปรู และโปแลนด์ นอกจากนั้นได้เป็นบุคคลหลักผู้หนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจัดตั้งศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค หรือ APEC Center for Technology Foresight ขึ้นในประเทศไทย โดยมี สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินงาน ซึ่งเป็นการดําเนินงานที่ได้ รับร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มประเทศเอเปค 21 ประเทศ จะเห็นได้ว่าผลงานด้านต่างประเทศโดยรวมได้สร้างงานที่มีประโยชน์ ให้กับ สวทช. และมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ปี พ.ศ. 2543-2552 ได้เปลี่ยนหน้าที่ในการทํางานโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศมาเป็นงานด้านการพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ริเริ่มโครงการสร้างความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก่สาธารณชนในสวทช. โดยได้ใช้พื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ในการทํางานด้านต่างประเทศ มาเชื่อมโยงพัฒนางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ กับสังคมไทย

ผลการดําเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2552 รวมถึงการผลิตหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิตวารสารราย 2 เดือน การผลิตเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิต สารคดีและรายการโทรทัศน์ การจัดกิจกรรมการศึกษาและการจัดกิจกรรมค่ายต้นแบบสําหรับเด็กและเยาวชน การจัดทํา หลักสูตรและเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ การจัดหลักสูตรและเป็นวิทยากร การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมไทย การส่งเสริมการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ และการจัดประกวดผลงานนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communication Awards) การจัดนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ

นอกจากนั้นได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการและ การบรรยายพิเศษในโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการพัฒนา การสื่อสารวิทยาศาสตร์

ความสนใจในงานด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การศึกษาค้นคว้า และการมีโอกาสได้ ศึกษาดูงานในประเทศต่างๆ รวมทั้งการมีโอกาสได้ทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทําให้ได้ สะสมประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมได้อย่างกว้างขวาง มีผลงาน ผลิตออกมาจํานวนมาก ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือที่ร่วมสร้างผลงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนังสือที่เขียนได้ ทําหน้าที่เป็นบรรณาธิการ และเป็นที่ปรึกษา รวม 9 เรื่อง ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นํา ไปจัดพิมพ์เผยแพร่แก่โรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนั้นได้จัดทําวารสารราย 2 เดือน ชื่อ Science in Action ที่ได้รับ ความนิยมจากผู้อ่านอย่างมาก

ในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือได้ดําเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคลากรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อันรวมถึง หน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษา สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ สื่อ โดยได้พัฒนาความร่วมมือในการดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่ง ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชนไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็น มหาวิทยาลัยหนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือ

การพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความก้าวหน้ามาเป็นลําดับและมีผลงานการดําเนินงาน ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการผลิตหนังสือส่งเสริม การศึกษาธรรมชาติและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโทของคณะวิทยาศาสตร์ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เน้นการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ท้องถิ่นสู่สังคมไทย ทั้งนี้ได้มีบทบาทร่วมกับคณะทํางานในการพัฒนาหลักสูตร และเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 3 แห่ง

ผลงานที่ได้ดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย ได้ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ในเด็กและเยาวชน ได้พัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และได้ พัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ทั้งนี้การดําเนินงานได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออันจะทําให้เกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืนแก่สังคมไทยในอนาคต

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน

ประวัติ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน  

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 


ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา 

  • ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูง 
  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ป. กศ. สูงรุ่น ๑๐)  

การศึกษาสูงสุด 

  • Doctor of Philosophy annan Geography-Admin. Leadership North Texas State University U.S.A) ค.ศ.๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๒๑) 
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๕๘  

ตําแหน่งปัจจุบัน 

  • คณะกรรมการการอุดมศึกษา (ก.ก.อ. ) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘-ปัจจุบัน 
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙-ปัจจุบัน 

ผลงานที่โดดเด่นเกียรติประวัติ 

  • รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 
  • อธิการบดี 4 สมัย ๑๔ ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งแรกที่พัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 

นางเฉลย ศุขะวนิช

นางเฉลย ศุขะวนิช 

ปริญญา : ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ปีการศึกษา ๒๕๒๙ 

นายวิฑูรย์ ภัทรเลาหะ

นายวิฑูรย์ ภัทรเลาหะ 

ปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 

 วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ปีการศึกษา ๒๕๓๒ 

ครูเลื่อน สุนทรวาทิน

ครูเลื่อน สุนทรวาทิน 

ปริญญา : ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ปีการศึกษา ๒๕๓๗ 

นายไพโรจน์ เครือรัตน์

นายไพโรจน์ เครือรัตน์

ปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ 

พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง

พลตำรวจเอกอัศวิน  ขวัญเมือง

ประวัติการศึกษา

ระดับประถมศึกษา              

โรงเรียนวัดนางบวช อำเภอบางนางบวช                                                                       จังหวัดสุพรรณบุรี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น       

โรงเรียนท่าช้างวิทยา อำเภอบางนางบวช                                                                       จังหวัดสุพรรณบุรี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

สอบเทียบของกระทรวงศึกษาธิการ

นักเรียนพลตำรวจ

โรงเรียนตำรวจภูธร ๗ จังหวัดนครปฐม

ระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (นายร้อยตำรวจ รุ่นที่ ๓๐)

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

หลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ ๑๖

หลักสูตรวิทยาป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๔๕

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑

ประวัติการรับราชการที่สำคัญ

ตำแหน่ง

ปี พ.ศ.

รอง สวส.สน.สำเหร่                                       

๒๕๒๐-๒๕๒๑

รอง สวส.สภ.อ.อู่ทอง                                       

๒๕๒๑-๒๕๒๔

รอง สวป.สภ.อ.เมืองนครปฐม                          

๒๕๒๔-๒๕๒๘

สว.สภ.อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี                          

๒๕๒๘-๒๕๓๒

ผบก.ภ.จ.เชียงราย                                            

๒๕๔๑-๒๕๔๒

ผู้บังคับการกองปราบปราม                               

๒๕๔๒-๒๕๔๔

บัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๒                             

๒๕๔๙-๒๕๕๐

บัญชาการตำรวจนครบาล                               

๒๕๕๐-๒๕๕๑

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

๒๕๕๑-๒๕๕๓

รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒              

๒๕๕๓

ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) ด้านการสืบสวน                        

๒๕๕๓-๒๕๕๔

รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๑                

๒๕๕๓-๒๕๕๔

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                          

๒๕๕๖-๒๕๕๙

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙-ปัจจุบัน

 

ตำแหน่งปัจจุบัน

                    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙

ประสบการณ์การทำงาน

  • ด้านการรับราชการตำรวจ

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๒๐

รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล สำเหร่

๒๕๒๒

รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

๒๕๒๔

รองสารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

๒๕๒๕

เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอก

๒๕๒๖

สารวัตร แผนก ๕ กองกํากับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรภาค ๓ จังหวัดนครปฐม

๒๕๒๘

สารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

๒๕๓๑

เลื่อนยศเป็นพันตำรวจโท

๒๕๓๒

รองผู้กำกับวิทยาการ กองบังคับการตำรวจภูธร ภาค ๓ จังหวัดนครปฐม

๒๕๓๔

ผู้กำกับการวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

๒๕๓๖

รักษาการผู้กำกับการสารวัตรสืบสวนภาค ๗ จังหวัดนครปฐม

๒๕๓๘

รองผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม

๒๕๔๑

ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเชียงราย

๒๕๔๒

ผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม

๒๕๔๔

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๒๕๔๗

รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๒๕๔๙

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒

๒๕๕๐

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๒๕๕๑

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

๒๕๕๓

ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) ด้านการสืบสวน                        

 

  • ด้านการปกครองท้องถิ่น (รูปแบบพิเศษ)

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๕๖

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานปกครองและทะเบียน

๒๕๕๙

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

  • ด้านการเป็นกรรมการ/อนุกรรมการ

๓.๑ กรรมการหน่วยงานหรือองค์กร

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๔๓

กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย

๒๕๕๑

กรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

๒๕๕๘

สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

๒๕๕๘

กรรมการบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร

๒๕๖๐

กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)

๒๕๖๐

อนุกรรมการด้านอำนาจหน้าที่และภารกิจตำรวจ

 

กรรมการมูลนิธิกรุงเทพมหานคร

ดูประวัติเพิ่มเติม : พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง

นายเรืองยศ พิมพ์ทอง

นายเรืองยศ พิมพ์ทอง

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรีตะวันตก 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑ 

ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา 

  • ปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรีศึกษา 
  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ตำแหน่งปัจจุบัน 

  • ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายผลิตเพลง บริษัท อาร์เอสจํากัด (มหาชน) 
  • ผู้บริหารระดับสูงยูนิคเพลงไชโย 
  • ผู้บริหารระดับสูงค่ายเพลงอาร์สยามในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด มหาชน 

ผลงานที่โดดเด่น 

  • ผู้ผลิตผลงานเพลง (Producer) และการเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานผลงานที่ได้รับความนิยมและติดอันดับเพลงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนประมาณ ๓,๐๐๐ เพลง 

เกียรติคุณรางวัลที่ได้รับ 

  • รางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งชาย จากเพลงมนต์รักแม่กลองชุดต้อมขนานเอก พ.ศ. ๒๕๔๐ 
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิงจากเพลงรวยแล้วลืมขับร้องโดยสุนารีราชสีมา พ.ศ. ๒๕๕๑ 
  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิงจากเพลงอยากเจอคนจริงใจขับร้องโดยดวงตาคงทอง พ.ศ. ๒๕๕๔ 
  • กรรมการตัดสินการแข่งขัน กิจกรรมการแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งในระดับชาติ 
  • กรรมการตัดสินประกวด“ ไทยแลนด์ลูกทุ่งคอนเทสต์ ๒๐๑๔ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีงานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 

ผลงาน

            นายเรืองยศ  พิมพ์ทอง เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงที่มีผลงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในแวดวงนักแต่งเพลง แวดวงนักเรียบเรียงเสียงประสาน ตลอดจนแวดวงผู้ฟังเพลงโดยทั่วไปบทเพลงที่จัดทำหรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความนิยมทั่วประเทศ ทั้งเพลงสตริง เพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงโฆษณา บทเพลงที่เรียบเรียบเสียงประสานมีมากกว่า ๒,๐๐๐ เพลง บทเพลงที่ได้รับรางวัลและได้รับความนิยม มีดังนี้

            ด้านการเป็นผู้ผลิตผลงานเพลง (Producer) และการเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน ผลงาน
ที่ได้รับความนิยมและติดอันดับเพลง มีดังนี้

                        ๑. ผลงานยอดนิยมหาชน

                            – เพลงประกอบละครชุด มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง ๗

                        ๒. ผลงานเพลงไทยสากล

                            – รวมศิลปิน ชุดนพเก้า

                            – รวมศิลปิน ชุดพบดาว

                            – วงบรั่นดี ชุด รอเธอ

                            – สรพงษ์  ชาตรี ชุดหัวใจไม่เสริมใยเหล็ก  และชุดพ่อให้มา

                            – โอ๋ ไอศูรย์ ชุดฉันจะเป็น

                            – ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ชุด สัมผัสทัช บทเพลงมือที่สาม

                            – เป้ ไฮร์ร็อค ชุดร็อคอำพัน เพลงพิษรัก และเพลงสิ่งนั้น

                        ๓. ผลงานเพลงเพื่อชีวิต

                            – วิสา คัญทัพ – สุรชัย จันทิมาธร ชุดเลี้ยวขวา

                            – สุรชัย จันทิมาธร ชุดสู้ต่อไป

                            – อัลบั้มชุด เพลงกวี เพลงเพื่อชีวิต ร้องกลุ่มประสานเสียง

                            – มงคล  อุทก ชุด เสียหำน้อย

                            – รวมวงกระท้อน ชุดญี่ปุ่น-ญุ่นปี่

                            – รวมวงซูซู ชุดสู่ความหวังใหม่

                        ๔. ผลงานเพลงละคร

                             – ลูกทาส ปริทัศน์ฟิล์ม ช่อง ๑๑

                            – รัตนโกสินทร์ ดาราวีดีโอ ช่อง ๗

                            – ญาติกา ดาราวีดีโอ ช่อง ๗

                            – ฉันจะบิน กันตนา ช่อง ๗

                            – อสูรเริงไฟ ช่อง ๙

                            – แฝดอลเวง ช่อง ๓

                            – ๑๑๑ ช่อง ๗

                            – ปลาร้าทรงเครื่อง ช่อง ๖

                            – มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง ๗

                            – อเมเซิ่งโคกเจริญ ช่อง ๓

                            – ลูกทุ่งหาร ๒ ช่อง ๓

                        ๕. ผลงานเพลงภาพยนตร์

                             – เพลง อยากแบ่งหัวใจให้เป็นสอง จากเรื่อง เมียพ่อขอไว้คน ปรีทัศน์ฟิล์ม

                            – เรื่อง สนุก พรพจน์ฟิล์ม

                        ๖. ผลงานเพลงโฆษณา

                            – ไอศกรีมโฟโมสต์ “ปิคโลโล่”

                            – นมเปรี้ยวบีทาเก้น

                            – ห้างทองเซ่งเฮงหล

                        ๗. ผลงานด้านเพลงลูกทุ่ง

                            – ท็อปฮิตลุกทุ่งมาตรฐาน บริษัท อาร์ เอส โปรโมชั่น จำกัด

                            – ดาว มยุรี ชุด มีเมียแล้วไม่เอา บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ไชยา มิตรชัย ชุด ไม่ธรรมดา (เพลงไม่ธรรมดา ให้รู้กันไปเลย ป.๖ อกหัก) บริษัท

                               ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – สุนารี  ราชสีมา ชุด รวยแล้วลืม บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ธิดา  ดวงดาว ชุด รำวงด้าวด่าว บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – มยุรา  ฟ้าสีทอง ชุด แช่ง บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – ยอดรัก ร้องคู่ สุนารี ราชสีมา ชุด คู่แท้ ๑-๒ บริษัท ไรท์มิวสิค จำกัด

                            – กุ้ง สุทธิราช ชุด ซื้อแน่ บริษัท จาตุรงค์ จำกัด

                            – โอ๊ต วรานนท์ ชุด รอนานทรมานใจ บริษัท จาตุรงค์ จำกัด

                            – สิทธิพร  สุนทรพจน์ ชุด ช้ำรักจากอุบล บริษัท มีเดียออฟมีเดีย จำกัด

                            – กิ่ง ภัทรา ชุด ขอเวลาลืม บริษัท มีเดียออฟมีเดียว จำกัด

                            – ดวงตา คงทอง ชุด กลับบ้านดีกว่า บริษัท มาหาจักรเอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด

                            – ขวัญภิรมย์ หลิน ชุด เปิดใจให้เลย บริษัท เมโทร จำกัด

                            – สุชาติ ชวางกูร บริษัท รถไฟดนตรี จำกัด

                            – หญิง ธิติกานต์ อัลบั้ม เขียนด้วยใจลบด้วยน้ำตา ไม่มีเธอจะบอกรัก

                            – ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง อัลบั้ม ทัชสัมผัสทุ่ง ๑, ๒ และอัลบั้ม ลูกทุ่งแฟนซี

                            – เอ-วิว อัลบั้ม เอ-วิว

                            – อานนท์  หมื่นนา อัลบั้ม หัวใจดื้อด้าน

                            – นพรัตน์ ไม้หอม อัลบั้ม วันละนาที

                            – แมน มอเตอร์ไซด์ อัลบั้ม แมนรักบ่อได้

                            – เจี๊ยบ กนกพร พรหมณี  อัลบั้ม สาวขี้ดื้อ

            ด้านการบริหาร

                        นอกจากมีผลงานในการเรียบเรียงเสียงประสารจนได้รับความนิยมในทุกยุคทุกสมัยแล้ว นายเรืองยศ พิมพ์ทอง ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจดนตรี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มอบหมายให้บริหารงานทางด้านดนตรี ทั้งการสร้างศิลปินรุ่นใหม่ การผลิตผลงานเพลงเพื่อแข่งขันในการตลาดธุรกิจวงการเพลงให้ได้รับความนิยม ตลอดจนการบริหารบุคลากรในบริษัทอย่างมืออาชีพ ตำแหน่งการเป็นผู้บริหารมีดังนี้

                        ๑. ผู้จัดการฝ่ายผลิตและสร้างสรรค์เพลง บริษัท อาร์ เอส จำกัด มหาชน

                        ๒. ผู้บริหารระดับสูง ยูนิค เพลงไชโย

                        ๓. ผู้บริหารระดับสูง ค่ายเพลงอาร์สยามในเครือบริษัทอาร์เอสจำกัด มหาชน

                        ๔. ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร

                        ๕. กรรมการบริหารสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย

                        ๖. ที่ปรึกษาสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

                        ๗. คณะกรรมการจัดการประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นฐานเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยโดยรัฐสภา

                        ๘. คณะอนุกรรมการศิลปวัฒนธรรม งาน ๓๐ ปี ๑๔ ตุลา โดยรัฐสภา

                        ๙. อนุกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

                        ๑๐. ที่ปรึกษากรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร์

            ด้านวิชาการ

                        ๑. เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๒. เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

                        ๓. เป็นวิทยากรระดมสรรพกำลังสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้กับสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดร้อยเอ็ดวดวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชน “ื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

                        ๔. กรรมการวิพากษ์หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๕. เป็นวิทยากรโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        ๖. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติงานคุ้มครอบสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เพลงกับการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในรูปแบบใหม่ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๗. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติงานคุ้มครอบสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เพลงกับการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ในรูปแบบใหม่ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๘. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรรองอัยการจังหวัด สำนักงานคุ้มครองสิทธิจังหวัด หัวข้อบรรยาย เทคนิค วิธีการ แนวคิด การนำเพลงมาใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย วันที่   
 ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๙. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตร รองอัยการจังหวัด ปฏิบัติงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด หัวข้อบรรยาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายผ่านบทเพลง วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๑๐. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมหลักสูตร รองอัยการจังหวัด ปฏิบัติงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด หัวข้อบรรยาย การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายผ่านบทเพลง
วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ จัดโดย สำนักงานอัยการสูงสุด

                        ๑๑. กรรมการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ๒๕๖๐ สาขาวิชาศิลปะการดนตรี
 และสาขาวิชาดนตรีประกอบสื่อและการแสดง

                        ๑๒. เป็นวิทยากรให้กับสถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน

            เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ   

                        ๑. พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานรางวัล พระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งชาย จากเพลง  มนต์รักแม่กลอง ชุดต้อม
ขนานเอก

                        ๒. พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานรางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิง จากเพลง รวยแล้วลืม ขับร้องโดย สุนารี ราชสีมา

                        ๓. พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับรางวัลมาลัยทอง จากเพลง เฝ้ารอเฝ้าฝัน ขับร้องโดย ดาว  มยุรี

                        ๔. พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับเกียรติคุณการบำเพ็ญประโยชน์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

                        ๕. พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานรางวัลพระพิฆเนศทอง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมลูกทุ่งหญิง จากเพลง อยากเจอคนจริงใจ ขับร้อง
โดย ดวงตา คงทอง

                        ๖. พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลมาลัยทอง จากเพลง หัวใจหญิงหม่น ขับร้องโดย ดวงตา คงทอง

                        ๗. พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด จากเพลง หัวใจหญิงหม่น ขับร้องโดย ดวงตา คงทอง

                        ๘. พ.ศ. ๒๕๕๐ เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

                        ๙. พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับเกียรติบัตรการเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง “101 เกมส์”
ในการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ระดับประเทศ ครั้งที่ ๓๔ ประจำปี ๒๕๕๙

ดูประวัติเพิ่มเติม : อ.เรืองยศ พิมพ์ทอง

นายดำรง พุฒตาล

นายดำรง  พุฒตาล 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ 

ประวัติการศึกษา

-ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนประชาบาลลุมพลี (มัสยิดนูรุลยะมาล)
-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนสุนทรวิทยาปี พ.ศ.๒๕๐๓
-ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นต้น (ปกศ. ต้น) จากโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๐๕(เป็นนักศึกษาดีเด่นโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ของกรมการฝึกหัดครู เนื่องในวันครบรอบ ๑๐๐ปี กรมการฝึกหัดครู)
-ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ปกศ. สูง) จากวิ%

นายดำรง  พุฒตาล 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ 

ประวัติการศึกษา

-ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนประชาบาลลุมพลี (มัสยิดนูรุลยะมาล)
-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนสุนทรวิทยาปี พ.ศ.๒๕๐๓
-ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นต้น (ปกศ. ต้น) จากโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๐๕(เป็นนักศึกษาดีเด่นโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ของกรมการฝึกหัดครู เนื่องในวันครบรอบ ๑๐๐ปี กรมการฝึกหัดครู)
-ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ปกศ. สูง) จากวิ%

นายวิจิตร์ จิตรรังสรรค์

นายวิจิตร์ จิตรรังสรรค์

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาดนตรีตะวันตก 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐