นายสุรินทร์ สงค์ทอง

นายสุรินทร์ สงค์ทอง

ปริญญา : ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีไทย 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 

นางเพลินใจ กุนทีกาญจน์

นางเพลินใจ กุนทีกาญจน์

ปริญญา : ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 

สมเด็จฮุนเซน

สมเด็จฮุนเซน

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 

วัน เดือน ปีเกิด : วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495

สถานที่เกิด : หมู่บ้านเปี่ยมคะนงค์ ตําบลเปี่ยมเกาะสนา อํานาอสดึงดร็อง จังหวัดกัมปงจาม

สถานภาพทางครอบครัว : ได้สมรสกับคุณหญิงบุน รานี มีบุตรชาย 3 คน และบุตรสาว 3 คน คือ (ในนี้มีหนึ่งคนเป็นบุตรบุญธรรม) (1) ฮุน มาเนด (2) ฮุน มานา (3) ฮุน มานิด (4) ฮุน มานี้ (5) ฮุน มาลี (6) ชุน มาลิส

ความรู้ภาษาต่างประเทศ : ภาษาเวียดนาม และเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองจนมีความเข้าใจในระดับหนึ่งและเข้าใจภาษาไทยพอสมควร

ประวัติการศึกษา

– พ.ศ. 2508 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในจังหวัดกัมปงจาม 
– พ.ศ. 2508 – 2513 ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอินทราเทวี กรุงพนมเปญ แต่ไม่จบการศึกษา เนื่องจากได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านรัฐบาลนายพลลอน นอล

ประวัติการทํางาน

– พ.ศ. 2513 – 2518 เข้าร่วมกองกําลังสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุต่อสู้กับรัฐบาลนายพลลอน นอล

– พ.ศ. 2518 – 2520 รองผู้บังคับการกองพัน และผู้บังคับการกองกําลังสังกัดกองพลที่ 41 ภูมิภาค 203

– พ.ศ. 2520 – 2522 เริ่มงานต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย โดยร่วมมือกับขบวนการรักชาติกลุ่มอื่นๆ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและคณะกรรมการกลาง แนวร่วมสามัคคี ประชาชาติกัมพูชา ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อล้มล้างรัฐบาลเขมรแดง

– พ.ศ. 2522 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลประชาชนปฏิวัติกัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก (27 ปี)

– พ.ศ. 2524 – 2525 สมาชิกโปลิตบูโร ลําดับที่ 5 และสมาชิกสํานักงานเลขาธิการในการประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา

– มิถุนายน รองนายกรัฐมนตรี

– ธันวาคม สมาชิกแนวร่วมสามัคคีสร้างสรรค์และพิทักษ์มาตุภูมิกัมพูชา

– พ.ศ. 2525 – 2529 ประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ ประจําคณะกรรมการกลาง พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา

– มกราคม นายกรัฐมนตรี สืบแทนนายจัน ปี ซึ่งถึงแก่กรรม

– ตุลาคม สมาชิกโปลิตบูโร ลําดับที่ 2 และสมาชิกสํานักงานเลขาธิการพรรคในการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 5

– พ.ศ. 2530 – 2533 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกตําแหน่งหนึ่ง

– พ.ศ. 2533 2534 สมาชิกสภาสูงสุดแห่งชาติ (Supreme National Council)

– พ.ศ. 2534 2536 รองประธานพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP)

– พ.ศ. 2536 – 2541 นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของรัฐบาลผสม 2 ฝ่ายซึ่งมีพรรคการเมือง 2 พรรค เข้าร่วมรัฐบาล

– พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาแห่งชาติกัมพูชา จังหวัดกําปงจาม

เกียรติประวัติ ฐานันดรศักดิ์ เหรียญและรางวัล

สมเด็จฮุน เซน ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ให้เป็นสมเด็จฮุน เซน จากพระมหากษัตริย์ เจ้านโรดมสีหนุ

พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้าน รัฐศาสตร์ จากบัณทิดสภาแห่งชาติ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

พ.ศ. 2538 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ภาคใต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย เวสลียัน (Weslesyan) รัฐโอไอโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้รับรางวัลสันติภาพโลกจากบัณฑิตสภาสันติภาพโลก (World Peace Academy) นับเป็นบุคคลที่ 6 ที่ได้รับรางวัลสันติภาพโลกและเป็นคนแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงได้ในฐานะ 1) เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม แห่งมนุษยชาติ 2) เป็นเอกอัครราชทูตสันถวไมตรีแสวงหาสันติ 3) เป็นสมาชิกสภาสันติภาพโลก

พ.ศ. 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการปกครองจากมหาวิทยาลัย Pakook ณ กรุงเซูล ประเทศเกาหลีใต้ ในฐานะผู้สร้างสันติภาพ

ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก มหาวิทยาลัยรามคําแหง ประเทศไทย

สถาบันนานาชาติ “เสรัยเจินมอย” มอบเหรียญเกียรติยศ “หัวใจดวงเดียว” ให้สมเด็จฮุน เซน ในฐานะทําให้โลกมีหัวใจดวงเดียว เป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนกัมพูชาหลายล้านคนให้มีโอกาสได้รับการศึกษา อาหาร ที่อยู่อาศัย สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และระบบชลประทานเป็นจํานวนมาก

พ.ศ. 2545 ได้รับเหรียญเกียรติยศจากบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของสาธารณรัฐรัสเซีย

คณะกรรมาธิการของสหพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียนมอบตําแหน่งวิศวกรกิตติมศักดิ์สูงสุด เนื่องจากเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ปัญญาชนของชาติได้มีโอกาสเข้าร่วมก่อสร้างและพัฒนาประเทศชาติ

พ.ศ. 2547 ได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก Irish International University แห่งสหภาพยุโรป และได้รับเหรียญ Excellence 2004 มหาวิทยาลัยกัมพูชาได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการเมืองการปกครอง

พ.ศ. 2547 สมเด็จฮุน เซน ได้เป็นสมาชิกสมาคมทนายความกัมพูชา

พ.ศ. 2548 สถาบันนานาชาติ เสรัยเจินมอย ได้มอบเหรียญสันติภาพแด่สมเด็จฮุน เซน เพื่อแสดงถึงความสามารถในการยุติสงครามในกัมพูชา

พระครูไพศาลประชาทร (ดนัย อตฺถภทฺโท)

ปริญญา: วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสุขศึกษา 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 

วันจันทร์ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาวิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา และเปิดอาคารบรรณราชนครินทร์ ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และต่อมาได้พระราชทานชื่อ “บรรณราชนรินทร์” เป็นชื่ออาคารห้องสมุดของสถาบันราชภัฏทั้ง ๓๕ แห่ง

เนื่องจากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีพื้นที่น้อย การก่อสร้างอาคารในระยะหลังนี้จำเป็นต้องขยายพื้นที่ไปในทางสูง ในปี ๒๕๔๐ สถาบันฯ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนรวม ๑๕ ชั้น หลังที่สองจำนวน ๑๐๗,๙๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งร้อยเจ็ดล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และใช้เงินนอกงบประมาณของสถาบันตกแต่งภายใน จำนวน ๒๙,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (ยี่สิบเก้าล้านบาทถ้วน) โดยได้กราบอาราธนาทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๑ อาคารหลังนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้ดำเนินการผ่านสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏและได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา” ภายในอาคารประกอบด้วยศูนย์อาหาร ลานจอดรถ สำนักงานคณะวิทยาการจัดการ สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการ ห้องประชุมและห้องเรียน ต่อมาสถาบันฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดินปี ๒๕๔๐ ก่อสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ สูง ๘ ชั้น จำนวน ๔๐,๗๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่สิบล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) และสถาบันฯ ได้ใช้เงินนอกงบประมาณสมทบค่าก่อสร้างอีก ๔๙,๑๖๔,๐๐๐.๐๐ (สี่สิบเก้าล้านหนึ่งแสนหกหมื่นสี่พันบาทถ้วน) รวมเป็นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๙,๘๖๔,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดสิบเก้าล้านหนึ่งแสนหกหมื่นสี่พันบาทถ้วน) โดยใช้เป็นอาคารหอสมุดของสถาบันฯ ซึ่งได้ขอพระราชทานนามจากใต้ฝ่าพระบาทว่า “อาคารบรรณราชนครินทร์” นับว่าเป็นพระกรุณาธิคุณแก่สถาบันฯ แห่งนี้อย่างหาที่สุดมิได้

         นอกจากนี้วันที่ 24 มิถุนายน 2548 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักเลอดิส รับพระราชทานลายพระหัตถ์คำว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ภาพลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เอกสารสำคัญ

ประมวลภาพความทรงจำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จจ้าพระยา ผู้แทนกรรมการสภาประจำสถาบันฯ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้แทนคณาจารย์ และผู้แทนนักศึกษา เฝ้ารับเสด็จฯ

   เสด็จเข้าสู่พลับพลาพิธี           

ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “ อาคารเฉลิม
  พระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา และอาคารบรรณราชนครินทร์
ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นจารึก                            
ทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะผู้บริหาร

น.ส.มณีนุช เสมรสุต

น.ส.มณีนุช เสมรสุต

ปริญญา : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ปริญญา :   ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน)

ปริญญา : ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

นางสุคนธ์ พรพิรุณ

นางสุคนธ์  พรพิรุณ 

ปริญญา : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๖ มกราคม ๒๕๔๔ 

นายสุวรรณ ยุกแผน

นายสุวรรณ  ยุกแผน 

ปริญญา : วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๖ มกราคม ๒๕๔๒