วันจันทร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธาน จุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งและเหรียญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง บุนนาค) รุ่น ๓ 

หลักการและเหตุผล  

สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสถานที่ก่อตั้งมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๓ ณ จวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาครบ ๑๐๐ ปี จึงสมควรที่จะสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อแสดงถึงความกตัญญู กตเวทิตา และเป็นที่ระลึกแด่บรรดาคณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และบุคคลทั่วไป 

ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ คณะกรรมการจัดสร้างมุ่งหวังให้เป็นวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่า มากที่สุด ทั้งรูปแบบและพิธีกรรม จึงได้เลือกสรรปฏิมากรที่มีฝีมือทางด้านการสร้างพระโดยเฉพาะ ได้แก่ รูปหล่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ผู้ปั้นหุ่น คืออาจารย์ชนะ กรภัทร์กุล และดำเนินการหล่อโดยนายช่างแก้ว หนองบัว โรงหล่อธรรมรังษี เหรียญสมเด็จเจ้าพระยาฯ นายช่างประดิษฐ์ ธนยศเศวตวิจิตร เป็นผู้แกะแบบและจัดสร้างโดยจำลองแบบจากเหรียญรุ่นแรกของวัดศรีสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๔๖๕) ส่วนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ใช้รูปแบบพระกริ่งใหญ่ วัดสุทัศน์ฯ เป็นต้นแบบและเนื้อนวโลหะ (กลับดำ) เป็นสูตรโบราณและกำกับควบคุมการหล่อโดยอาจารย์กิจจา วาจาสัจ 

การสร้างวัตถุมงคล ๑๐๐ ปี บ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงนับได้ว่ามีความยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าไม่แพ้วัตถุมงคลที่สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในโอกาสครบ ๘๐ ปีของสถาบัน ซึ่งวัตถุมงคลรุ่นนั้นในขณะนี้ถือได้ว่ามีคุณค่ามาก และหาได้ยากทั้งยังมีราคาเพิ่มขึ้นมากทีเดียว ดังนั้นวัตถุมงคล ๑๐๐ ปี บ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงเป็นที่ลูกเจ้าพ่อหรือลูกสุริยะทุกคนควรได้มีไว้เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นที่ระลึกตลอดไป 

วัตถุประสงค์ 

๑. เพื่อสมทบเงินเข้ากองทุน ๑๐๐ ปี 
๒. เพื่อปรับปรุงและทำนุบำรุงอนุสาวรีย์และศาลของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ 
๓. เพื่อเป็นทุนในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ 

ระยะเวลาดำเนินการ 

พิธีเททองหล่อรูป วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ณ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา