ประวัติความเป็นมาของโครงการ
พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแก่ปวงราษฎรไทยทั้งหลาย ในระยะต้นแห่งการ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยสิริราชสมบัตินั้น เป็นพระราชดําริด้านการแพทย์และงานสังคมสงเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในระยะต้น รัชกาลนั้นกิจการด้านการแพทย์ของไทยยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร และการบริการสาธารณสุขในชนบทยังมิได้แพร่หลาย เฉกเช่นปัจจุบัน
พระราชกรณียกิจช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๕ จะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า ไม่มีลักษณะเป็นโครงการเต็มรูปแบบอย่างปัจจุบัน เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ วัณโรค มีอุบัติการณ์สูงและยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้เป็นจํานวนไม่น้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชปรารภกับหลวงพยุงเวชศาสตร์ อธิบดีกรมสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ความว่า
“…คุณหลวง วัณโรค สมัยนี้มียารักษากันได้เด็ดขาดหรือยัง ยาอะไรขาด ถ้าต้องการฉันจะหาให้อีก
ฉันอยากเห็นกิจการแพทย์ของเมืองไทยเจริญมากๆ…”
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์จํานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อใช้สร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์” ในบริเวณสถานเสาวภา สําหรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และ ผลิตวัคซีน บี ซี จี ซึ่งผู้คนยุคนั้นกําลังประสบปัญหาจากวัณโรคอย่างร้ายแรงทรงริเริ่มสร้างภาพยนตร์ขึ้น ที่รู้จักกันในนามว่า “ภาพยนตร์ส่วนพระองค์” จัดฉายเพื่อหารายได้จากผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลนํามาช่วยเหลือพสกนิกรด้านต่าง ๆเช่น
- สร้างตึกวชิราลงกรณ์สภากาชาดไทย
- อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลภูมิพล
เมื่อคราวที่โรคอหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรงในเมืองไทย ซึ่งโรคนี้ต้องใช้ “น้ําเกลือ” เป็นจํานวนมาก แต่ในขณะนั้นการให้ น้ําเกลือแก่ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสั่งจากต่างประเทศ และน้ําเกลือที่ผลิตได้ในประเทศไทยตอนนั้นยังขาดคุณภาพ จนกล่าวกันว่า “ใส่ใครไปก็ช็อค” จึงได้พระราชทานพระราชดําริให้มีการศึกษาวิจัยและสนับสนุนในการค้นหาวิธีสร้างเครื่อง กลั่นน้ําเกลือใช้เอง จนมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบันนี้
โครงการแพทย์หลวงพระราชทาน “เรือเวชพาหน์” เพื่อใช้เป็นหน่วยเคลื่อนที่รักษาราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามลําน้ํา โดยพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดําเนินการมาจนทุกวันนี้
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พระราชทานพระราชดําริให้สร้างอ่างเก็บน้ําเขาเต่า อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เดือดร้อนของราษฎรและสร้างเสร็จใช้ประโยชน์ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ นับเป็นโครงการพระราชดําริทางด้านชลประทานแห่งแรกของพระองค์
ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจํานวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
- ภาคกลาง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคเหนือ
- ภาคใต้
- ไม่ระบุภาค
รวม
๗๙๘ โครงการ / กิจกรรม
๑,๒๐๖ โครงการ / กิจกรรม
๑,๘๓๘ โครงการ / กิจกรรม
๙๔๐ โครงการ / กิจกรรม
๒๘ โครงการ / กิจกรรม
๔,๘๑๐ โครงการ / กิจกรรม
ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทของการโครงการได้ ๘ ประเภท คือ
- โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ํา
- โครงการพัฒนาด้านการเกษตร
- โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
- โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข
- โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร
- สวัสดิการสังคม/การศึกษา
- โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ
๓,๓๓๖ โครงการ / กิจกรรม
๑๓๙ โครงการ / กิจกรรม
๑๘๘ โครงการ / กิจกรรม
๓๔๖ โครงการ / กิจกรรม
๕๘ โครงการ / กิจกรรม
๘๔ โครงการ / กิจกรรม
๔๐๒ โครงการ / กิจกรรม
๒๕๗ โครงการ / กิจกรรม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ บางโครงการมีกิจกรรมเดียว ดําเนินการแล้วเสร็จภายในปีเดียว บางโครงการมีหลายกิจกรรมและดําเนินการต่อเนื่องในปีต่อไป ดังนั้นหน่วยนับของโครงการจึงเป็น โครงการ / กิจกรรม