พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ด้านการศึกษา

“… การศึกษา เป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนพอเหมาะกับทุกๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธํารงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ตลอด”

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๔

ตลอด ๖๐ ปีของการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช การศึกษาของชนในชาตินับว่าเป็นพระราชภาระหลักอีกประการหนึ่ง ที่พระองค์มีพระราชหฤทัยใส่และทรง ติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้พระราชทานแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่สม่ําเสมอ

พระบรมราโชวาททางการศึกษาแต่ละวาระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสําคัญในด้านการศึกษากับคนในชาติอย่างยิ่งยวด โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การให้โอกาสกับทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญา เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้ ทุกคนรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาชีวิตของทุกคนในทางปฏิบัติ พระองค์ได้พระราชทานให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาต่างๆ ในพระบรมราชูปถัมภ์จํานวนมากและหลากหลาย เช่น ปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระราชทานสร้างโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์สําหรับชาวไทยภูเขา ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนราชประชาสมาสัย สําหรับรับบุตรหลานของผู้ป่วยโรคเรื้อนเข้าศึกษา ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ทรงตั้งกองทุนนวฤกษ์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ปี พ.ศ.๒๕๐๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน ที่ตําบลบางปูใหม่ เพื่อรับนักเรียนที่ยากจนและเรียนอ่อนเข้าศึกษาต่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับทหารตั้งโรงเรียนร่มเกล้า เพื่อรับเด็กและเยาวชนในชนบทได้มีโอกาสได้เรียนหนังสือสําหรับเด็กที่กําพร้าบิดามารดา พระองค์ได้พระราชทานโรงเรียน ราชประชานุเคราะห์มาช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและความเป็นอยู่ และด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทุน ภูมิพล และทุนอานันทมหิดล และโรงเรียนฝึกอาชีพ อย่างโครงการ พระดาบส ที่เปิดรับบุคคลไม่จํากัดอายุเพื่อการศึกษาและการฝึกอาชีพ ทั้งหลายทั้งปวงที่มีพระราชดําริขึ้นนั้น ก็เพื่อการพัฒนาการศึกษาชาติเป็นสําคัญด้วยพระเมตตาที่จะให้คนไทยทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดําริให้จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และจากพระราชดําริดังกล่าว ส่งผลให้เกิดมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติในปีกาญจนาภิเษก เและจากวันนั้นถึงวันนี้กว่า ๑๐ ปีของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสายพระเนตรที่ ยาวไกลในด้านการศึกษาที่พระราชทานให้กับคนไทย เพราะไม่ว่าประชาชนของพระองค์ จะอยู่แห่งหนใดในประเทศไทย หรือในโลก ก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่จํากัดด้วยเพศ วัย หรือภาษา

ทรงสอนด้วยพระองค์เอง

ขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผู้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด กล่าวกับหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ถึงรายละเอียดของการดําเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งถ่ายทอดจากห้องเรียนของโรงเรียนวังไกลกังวลไปทั่วประเทศ ดังนี้

โรงเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส มหามงคลทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวลผ่านทางไกลไปยังโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ (รปค.) และพระราชทานสู่โรงเรียนมัธยมทั่วไปด้วย ตั้งแต่ ม.๑-ม.๖ ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เป็นตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ

“จุดเริ่มต้นโครงการมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริว่า การให้การศึกษากับคนในพื้นที่ที่ขาดแคลนครูเป็นเรื่องที่สําคัญ เพราะ ฉะนั้น เด็กในบ้านนอกจะตะเกียกตะกายเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เผอิญว่าพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว พระองค์ท่านก็เลยคิดว่าทําไมเราไม่ใช้ไอทีให้การศึกษาทางไกล”

ขวัญแก้ว ลําดับเหตุการณ์ในครั้งนั้นให้ฟังว่า ทางมูลนิธิก็รับเรื่องนี้มาดําเนินการ เริ่มแรกๆ ส่งไปที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ก่อน ตอนนั้นมีทั้งอนุบาล ไปเช้าเย็นกลับ กินนอน ตอนนั้นมีประมาณ ๒๐ กว่าโรง แต่ตอนนี้มีประมาณ ๔๐ กว่าโรง นักเรียน ๓ พันกว่าคน โรงเรียน ครู สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ แต่มูลนิธิราชประชาฯ มาช่วยในการจัดการศึกษา เป็นโรงเรียนกลุ่มแรกที่ใช้การศึกษาผ่านดาวเทียม ผลการศึกษาของนักเรียนก็ออกมาดี นักเรียนก็สามารถสอบเข้าได้ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการก็เลยขอความร่วมมือในการติดตั้งสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมดด้วย โดยการสนับสนุนงบของกระทรวงศึกษาธิการ

โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นมาแล้วสามารถที่จะทดแทน การขาดแคลนครูได้ด้วย โดยเฉพาะครูประจําวิชา เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมแล้ว ก็มีครูประจําวิชาสอนถึงโรงเรียน โดยเป็นครูคนเดียวกับโรงเรียนวังไกลกังวล สอนวิชาเดียวกัน เพราะเป็นการถ่ายทอดกันสดๆ ตรงมาเลย ซึ่งการเรียนการสอนที่ทํามา ๑๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงติดตามงานตลอด

“ผมเองได้มีโอกาสไปที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา อธิการบดีเขาบอกว่า เขาได้ดูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนหนังสือเด็ก นักเรียน เขาปลื้มมาก เขาชื่นชมว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์เดียวในโลก ที่เป็นครู เขาก็เลยจัดโครงการอบรมวิธีสอนภาษาอังกฤษผ่านระบบ คอนเฟอเรนซ์จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน มาที่โรงเรียนวังไกลกังวล ด้วยความภาคภูมิใจว่าเขาได้ทําให้กับประเทศไทยเป็นประเทศแรก เขาทําด้วยความตั้งใจถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ”

เวลานี้มีต่างประเทศมาขอให้เราช่วยเหลือขอพระราชทานการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมไปโรงเรียนของเขาด้วย เช่นที่ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอไปที่โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ เป็นโรงเรียน พรสวรรค์ คือเอานักเรียนที่เรียนเก่งทั่วประเทศมารวมกัน ประมาณ ๔ พันคนก็ขาดแคลนครูเก่งๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพร้อมด้วยอุปกรณ์รับส่งเครื่องมือโทรทัศน์ เครื่องไออาร์ดี นักเรียนที่เวียงจันทน์จึงได้เรียนวิชาเหมือนที่นักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลได้เรียน จึงนับว่า เป็นการส่งเสริมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงมี พระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณแผ่ไพศาลไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย

“ในหลวงทรงเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นครูในโรงเรียนวังไกลกังวลด้วย พระองค์ยังทรงเน้นให้การเรียนการสอนได้เปิดโอกาสให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้จากของจริง ดังที่กล่าวว่า พระองค์จะทรงเน้นการสอนแบบทัศนสัมผัส จะให้นักเรียนไปเรียนและทําด้วยตนเอง ท่านก็ให้เริ่มต้นด้วยระบบการศึกษาทัศน์ พระองค์จึงทรงให้มีการจัดรายการศึกษาทัศน์ (Quest forKnowledge) เป็นชื่อพระราชทานรายการสารคดีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและพระราชทานชื่อรายการ ชื่อรายการ ‘ศึกษาทัศน์’ พระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า
Quest forKnowledge”

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถรู้จักใช้มือทําใน สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ได้มีประสบการณ์เรียนรู้และสัมผัสด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนได้เรียนจากพื้นที่จริง การศึกษาทัศน์มีครูไปควบคุม เพราะพระองค์มีพระราชดําริว่า ไปลงพื้นที่จริงแล้วจะมีความรู้ไม่ใช่บรรยายแบบครูบรรยาย

โดยลักษณะรายการ คือ การที่ครูพานักเรียนออกไปเรียนรู้นอกสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้รอบตัว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในการดํารงชีวิต ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเข้ามาชมรายการได้ที่ เว็บไซต์ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม www.dlf.ac.th/ ซึ่งจะสามารถได้ชมพระราชอิริยาบถและพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะที่ทรงสอนนักเรียนได้ด้วย

“การศึกษาตอนนี้พัฒนามาไกล และเราก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ ถ้าเปิดเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ เข้าไปดูรายการศึกษาทัศน์ รายการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสอนนักเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล ทรงสอนเรื่องดิน เรื่องน้ํา เรื่องการปลูกพืช การทําฝนเทียม ใครมี อินเทอร์เน็ตก็ดูได้เลย ทั้งภาพและพระสุรเสียงที่ชัดเจน”

จากความเข้มข้นทางวิชาการดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนที่จบการศึกษาในระบบดังกล่าว สามารถที่จะฟันฝ่าเข้าไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจํานวนมาก รุ่นแล้วรุ่นเล่าปัจจุบันการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้พัฒนาการสอนภาษาต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ตามพระบรมราโชบายในเรื่องการฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ โดยมีการแลกเปลี่ยนการเรียนการสอนกันระหว่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมา ได้มีการติดตั้งการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังโรงเรียนปอเนาะเป็นการนําร่องใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ตามที่โต๊ะอีหม่ามและโต๊ะครูคัดเลือกให้จังหวัดละหนึ่งแห่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือทดแทนการขาดแคลนครู

นอกจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแล้ว มูลนิธิราช ประชานุเคราะห์ ซึ่งดูแลโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ก็ถือว่าเป็นอีก มูลนิธิที่สําคัญควบคู่กันมา

โครงการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เกิดขึ้นเมื่อ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่เกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช พระองค์มีพระราชดําริให้ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงออกอากาศทางวิทยุ อ.ส. รับบริจาคด้วยพระองค์เอง ได้ทุนทรัพย์จํานวนมากประมาณ ๑๑ ล้านบาท จากนั้นได้พระราชทานให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น ซึ่งต่อมาพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และเหลือเงินประมาณ ๓ ล้านบาท

พระองค์ก็มีพระราชดําริว่า “เงิน ๓ ล้านบาทนี้ควรจะตั้งเป็นกองทุนเพื่อหาดอกผลสําหรับสงเคราะห์เด็กซึ่งครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และสงเคราะห์ราษฎรที่ประสบภัยทั่วประเทศ” ทําให้ปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จํานวน ๓๖ แห่ง และด้วยเพราะโรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่เด็กต้องอยู่ที่โรงเรียน กินนอนที่โรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไว้ ๙ ข้อด้วยกัน คือ

  • มีความขยันหมั่นเพียร
  • มีความประพฤติเรียบร้อย
  • เป็นเด็กดีมีความเมตตากรุณา
  • รู้จักความสะอาด
  • รู้จักมัธยัสถ์อดออม
  • มีความโอบอ้อมอารี
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้
  • รู้รักสามัคคี อยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข
  • รู้จักการทําสวนครัวเลี้ยงสัตว์

ท่านขวัญแก้ว บอกว่า พระบรมราโชวาทดังกล่าว เพราะพระองค์มีพระราชดําริว่า เด็กหากมีการอบรมบ่มนิสัย ต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่การรักษาความสะอาดและความสามารถในการเลี้ยงตัวเองได้ เช่น การเลี้ยงสัตว์หรือการทําสวนครัว สําหรับนักเรียน ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนราชประชาฯ ทุกแห่ง ถ้าผลการเรียนเฉลี่ยมากกว่า ๓ ก็จะได้รับพระราชทานทุนเรียนต่อจากมูลนิธิฯ จนจบมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี

ทรงเป็นต้นแบบการเรียนรู้

ขวัญแก้ว ยืนยันกับคําถามนี้อย่างหนักแน่นว่า พระองค์ทรงเป็น ต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง ทรงเป็นนักปราชญ์ผู้รอบรู้ในสังคมไทย และทรงเป็นนักการศึกษาที่ขวนขวายพยายามเพื่อหาความรู้มา สร้างประโยชน์และพัฒนาส่วนรวม ดังจะเห็นจากโครงการพระราชดําริหลายโครงการที่เกิดจากการคิดการศึกษาของพระองค์ การเปิดรับความรู้จากต่างประเทศแล้วนํามาปรับปรุงให้สอดคล้องกับประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการปลูกหญ้าแฝก โครงการฝนหลวง

“พระเจ้าอยู่หัวท่านมักจะทรงสอนในเรื่องดิน น้ํา และการทําฝนเทียม เพราะอะไร ก็เพราะบ้านเมืองของเราเป็นเมืองเกษตรกรรม แต่สิ่งเหล่านี้คือการแสดงให้พวกเราได้เห็นว่า นี่คือประโยชน์ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะพระองค์ไม่ทรงเคยหยุดเรียน จึงทําให้พระองค์พบแต่องค์ความรู้ใหม่ที่ล้วนสร้างคุณูปการอย่างหาที่สุดไม่ได้ในสังคมไทย”

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริรัชกาลที่ ๙

ประวัติความเป็นมาของโครงการ

พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแก่ปวงราษฎรไทยทั้งหลาย ในระยะต้นแห่งการ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยสิริราชสมบัตินั้น เป็นพระราชดําริด้านการแพทย์และงานสังคมสงเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในระยะต้น รัชกาลนั้นกิจการด้านการแพทย์ของไทยยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร และการบริการสาธารณสุขในชนบทยังมิได้แพร่หลาย เฉกเช่นปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๕ จะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า ไม่มีลักษณะเป็นโครงการเต็มรูปแบบอย่างปัจจุบัน เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ วัณโรค มีอุบัติการณ์สูงและยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้เป็นจํานวนไม่น้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชปรารภกับหลวงพยุงเวชศาสตร์ อธิบดีกรมสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ความว่า

“…คุณหลวง วัณโรค สมัยนี้มียารักษากันได้เด็ดขาดหรือยัง ยาอะไรขาด ถ้าต้องการฉันจะหาให้อีก
ฉันอยากเห็นกิจการแพทย์ของเมืองไทยเจริญมากๆ…”

จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์จํานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อใช้สร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์” ในบริเวณสถานเสาวภา สําหรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และ ผลิตวัคซีน บี ซี จี ซึ่งผู้คนยุคนั้นกําลังประสบปัญหาจากวัณโรคอย่างร้ายแรงทรงริเริ่มสร้างภาพยนตร์ขึ้น ที่รู้จักกันในนามว่า “ภาพยนตร์ส่วนพระองค์” จัดฉายเพื่อหารายได้จากผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลนํามาช่วยเหลือพสกนิกรด้านต่าง ๆเช่น

  1. สร้างตึกวชิราลงกรณ์สภากาชาดไทย
  2. อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลภูมิพล

เมื่อคราวที่โรคอหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรงในเมืองไทย ซึ่งโรคนี้ต้องใช้ “น้ําเกลือ” เป็นจํานวนมาก แต่ในขณะนั้นการให้ น้ําเกลือแก่ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสั่งจากต่างประเทศ และน้ําเกลือที่ผลิตได้ในประเทศไทยตอนนั้นยังขาดคุณภาพ จนกล่าวกันว่า “ใส่ใครไปก็ช็อค” จึงได้พระราชทานพระราชดําริให้มีการศึกษาวิจัยและสนับสนุนในการค้นหาวิธีสร้างเครื่อง กลั่นน้ําเกลือใช้เอง จนมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบันนี้

โครงการแพทย์หลวงพระราชทาน “เรือเวชพาหน์” เพื่อใช้เป็นหน่วยเคลื่อนที่รักษาราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามลําน้ํา โดยพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดําเนินการมาจนทุกวันนี้

จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พระราชทานพระราชดําริให้สร้างอ่างเก็บน้ําเขาเต่า อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เดือดร้อนของราษฎรและสร้างเสร็จใช้ประโยชน์ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ นับเป็นโครงการพระราชดําริทางด้านชลประทานแห่งแรกของพระองค์

ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจํานวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคเหนือ
  • ภาคใต้
  • ไม่ระบุภาค

รวม

๗๙๘ โครงการ / กิจกรรม

๑,๒๐๖ โครงการ / กิจกรรม

๑,๘๓๘ โครงการ / กิจกรรม

๙๔๐ โครงการ / กิจกรรม

๒๘ โครงการ / กิจกรรม

๔,๘๑๐ โครงการ / กิจกรรม

ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทของการโครงการได้ ๘ ประเภท คือ

  • โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ํา
  • โครงการพัฒนาด้านการเกษตร
  • โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
  • โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข
  • โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร
  • สวัสดิการสังคม/การศึกษา
  • โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ

๓,๓๓๖ โครงการ / กิจกรรม

๑๓๙ โครงการ / กิจกรรม

๑๘๘ โครงการ / กิจกรรม

๓๔๖ โครงการ / กิจกรรม

๕๘ โครงการ / กิจกรรม

๘๔ โครงการ / กิจกรรม

๔๐๒ โครงการ / กิจกรรม

๒๕๗ โครงการ / กิจกรรม

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ บางโครงการมีกิจกรรมเดียว ดําเนินการแล้วเสร็จภายในปีเดียว บางโครงการมีหลายกิจกรรมและดําเนินการต่อเนื่องในปีต่อไป ดังนั้นหน่วยนับของโครงการจึงเป็น โครงการ / กิจกรรม

การพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ.2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดําเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจําปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล มีผู้รวบรวมสถิติและคํานวณว่า หากเสด็จพระราชดําเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่ทรงมีรับสั่งว่า “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง” พระองค์เสด็จฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจนถึงปี 2544 แล้วหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศในขณะนั้น เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี กับพระราชภาระอันหนักยิ่งนับเป็นการส่งต่อพระบรมราชปณิธานจากพระหัตถ์สู่มือบัณฑิตทุกคน