พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวราชภัฎ

พระราโชบาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ รัชกาลที่ ๑๐

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณ ถึงปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จากการตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี ออกเยี่ยมเยียนพสกนิกรทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทรงพระวิริยะอุตสาหะเอาพระราชหฤทัยใส่ในการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชบุพการี ด้วยทรงตระหนักถึงพระราชภาระอันสําคัญที่รอคอยอยู่ในภายภาคหน้า และด้วยน้ําพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อประชาชนทุกผู้ทุกนาม และทุกหมู่เหล่า

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริก่อเกิดด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ต่อเนื่องยาวนานมากว่า ๒๗ ปี ตั้งแต่ครั้งดํารงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วยพระวิสัยทัศน์ และสายพระเนตรที่ยาวไกล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงครอบคลุม ในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ํา การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกร การสาธารณสุข การศึกษา การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงของชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาแหล่งน้ํา ทรงดําเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบรมชนกนาถที่ทรงให้ ความสําคัญกับ “น้ํา” ที่เป็นปัจจัยหลักในการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของพสกนิกรโดย ถ้วนทั่ว เริ่มต้นจากการพัฒนาแหล่งน้ําในหลากหลายรูปแบบมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน โครงการพัฒนาแหล่งน้ําอันเนื่องมาจากพระราชดําริตรงที่พระราชทานเมื่อเสด็จพระราชดําเนินไป ในพื้นที่ต่างๆ มีจํานวน ๖๑ โครงการ ใน ๑๒ จังหวัด ทุกภูมิภาค จากหมู่บ้านชายขอบบนภูเขา ทางภาคเหนือจดหมู่บ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ ราชบุรี จันทบุรี อุดรธานี จนถึงจังหวัดนราธิวาสเพื่อช่วยพลิกฟื้นชีวิตราษฎรตามความต้องการของประชาชนและ ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ

นับจากนั้นเป็นต้นมา ในเกือบทุกครั้งที่โดยเสด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงงานด้านศิลปาชีพมักทรงแยก ไปทอด พระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรและพระราชทานแนวพระราชดําริในการพัฒนาแหล่งน้ํา เพื่อช่วยเหลือปัดเป่าความเดือดร้อนให้กับราษฎรในพื้นที่นั้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

หนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการสาธารณสุข ที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากการเจ็บป่วย ยากไร้และขาดโอกาส คือ “โครงการกาญจนบารมี”ที่พระราชทานพระราชดําริให้ก่อตั้งขึ้นและทรงเป็นประธาน จัดสร้างศูนย์บําบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐ เพื่อลด ความทุกข์ยากลําบากของผู้ป่วยในการเดินทางมารับการรักษา

เนื่องจาก “โรคมะเร็ง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของไทย และมีแนวโน้มที่คนไทยจะมีโอกาส เป็นมะเร็งมากขึ้น ขณะที่จํานวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่สถานพยาบาลผู้ป่วยกลับมีจํานวนจํากัด ทําการดูแลรักษาโรคมะเร็งที่ต้องอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่องไม่สามารถกระทําได้เต็มที่เพื่อ ให้โครงการกาญจนบารมี ดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตาม เป้าหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการของโครงการกาญจนบารมีดําเนินการ จัดตั้งมูลนิธิกาญจนบารมีขึ้นในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิกาญจนบารมี นอกจากเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้แล้ว ยังเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง โดยเน้นการรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ให้ทุนการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เป็นกองทุนสนับสนุนการดําเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ และการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ฯ มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งส่วนภูมิภาคที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งร่วมมือกับองค์กร การกุศลอื่น ๆ และเพื่อสาธารณ ประโยชน์

ปัจจุบัน ศูนย์บําบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี ยกสถานะขึ้นเป็นโรงพยาบาล มหาวชิราลงกรณธัญบุรี ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย มีผู้ป่วยเข้ารับ บริการเฉลี่ยปีละ ๒,๐๐๐ คน ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งลําไส้ใหญ่ มีการใช้กัมมันตรังสีในการรักษามะเร็งไทรอยด์ ซึ่งได้ผลการรักษา ทําให้มีผู้ป่วย มีอายุเกิน ๕ ปี ได้ถึง
ร้อยละ ๙๐

ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการเกษตรและส่งเสริมอาชีพ

โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาให้กับราษฎรจํานวน ๗ หมู่บ้านได้อย่างบูรณาการ ครอบคลุม ตั้งแต่การพัฒนาแหล่งน้ํา การฟื้นฟูปรับปรุงดิน การบรรเทาอุทกภัย การเพิ่มผลผลิตและรายได้ การสร้างอาชีพใหม่ รวมทั้งการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ โดยความร่วมมือของ ราษฎร ๗ หมู่บ้านโดยรอบหนองอึ่งจากเดิมที่เคยมีการบุกรุกแพ้วถาง ทําไร่เลื่อนลอย จนป่าเสื่อมโทรม กลายเป็นป่าชุมชนดงมัน พื้นที่ ๓,๐๐๖ ไร่ที่ชาวบ้านร่วมกันฟื้นฟูสภาพและอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน ผลผลิตจากป่าที่ได้รับ การพัฒนา ยกระดับขึ้น จนสามารถสร้างชีวิตและรายได้ที่ดีให้กับชาวบ้าน

โครงการนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการเสด็จพระราชดําเนินของพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดํารงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านคําน้ําสร้าง ตําบลค้อเหนือ อําเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ซึ่งได้รับผลกระทบ จากน้ําท่วม ในการนี้ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชดําริให้หน่วยงาน ราชการต่าง ๆ พิจารณาช่วยเหลือเรื่องปากท้องของราษฎร ในพื้นที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจน

ในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดําเนิน ไปทอดพระเนตรสภาพบริเวณหนองอึ่ง ในพื้นที่บ้านท่าเยี่ยม ตําบลค้อเหนือ และมีพระราชดําริ เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของราษฎรในพื้นที่โดยพระราชทานพระราชดําริ ดังนี้

  1. ให้ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่ง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ําสําหรับทําการเกษตรและแหล่งเพาะพันธุ์ปลา
  2. ให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่และสภาพดินโดยรอบหนองอึ่ง ปลูกหญ้าแฝกและต้นไม้เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
  3. ให้ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรวม เพื่อให้คนกับป่าอยู่อย่างเกื้อกูลกัน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการศึกษา

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการศึกษา ได้สร้างคุณูปการให้กับเด็กและเยาวชนจํานวนมาก ในทุกระดับชั้น โดยพระราชปณิธานมุ่งมั่นเพื่อสร้างโอกาสให้กับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกําลังสําคัญของชาติต่อไป พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริให้นําพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ ยากจน ให้มีโอกาสศึกษาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๕๒ ในเวลาต่อมาจึง จัดตั้งเป็น “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. ขึ้น เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และทรงเป็นประธานกรรมการเอง ทุนการศึกษา พระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. เป็นทุนการศึกษาแก่ เยาวชนที่เรียนดี ขยันหมั่นเพียร ประพฤติดี มีคุณธรรมและฐานะยากจนให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับ ที่สูงขึ้นจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถและความต้อง การของผู้เรียน โดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนคืนและเมื่อจบการศึกษาจะเปิดโอกาสให้เข้าทํางานเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ตามความสมัครใจ

ในการดําเนินงานโครงการทุนฯ ได้พระราชทานหลักการให้กระจายทุนครบทุกจังหวัด และดําเนิน การด้วยการแสวงหา คัดเลือก คัดสรร และกลั่นกรอง จนได้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับ พระราชทานทุน จังหวัดละ ๒ รายต่อปี เป็นชายและหญิงเท่า ๆ กัน รับทุนพระราชทานในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ทุนละ ๑๘,๐๐๐ บาท ต่อปีในสายสามัญ และทุนละ ๒๒,๐๐๐ บาทต่อปี ในสายอาชีพต่อเนื่องไปจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยจะครอบคลุมทั้งค่าเรียน ค่าหอพักตามที่ จ่ายจริง สําหรับค่าครองชีพ ค่าหนังสืออุปกรณ์การเรียนจัดสรรให้เท่ากัน ๕๘,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึง ๒๕๖๑ มีนักเรียนทุน ม.ท.ศ. ๙ รุ่น ในปี ๒๕๖๑ มีนักเรียนทุนยังคงสถานะความ เป็นนักเรียนทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๑,๐๕๙ ราย ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๔๗๔ ราย ระดับ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ๕๘๕ ราย รวมเงินทุนที่ได้จัดสรรไปแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๑๘,๓๓๖,๕๒๔ บาท และนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เป็นต้นมา มีนักเรียนอยู่ในระบบครบทุกระดับตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรี โดยมีการใช้จ่ายเงินทุนพระราชทานคงที่นับจากปีดังกล่าว ประมาณ ๗๐ ล้านบาทต่อปี ทรงเน้นย้ําว่า

“…เมื่อทําโครงการมาแล้วจําเป็นต้องศึกษา ติดตามและพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทํางานที่ได้ผลต้องมีการศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัยและมีควาใส่ใจที่จะทํางานต่อเนื่อง…”

ด้วยเหตุนี้ นักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. จึงได้รับการติดตามช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการศึกษาและการดํารงชีวิต พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตใจเป็นผู้ให้ มีความเป็น ผู้นําเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมและนําความรู้กลับไปดูแลบ้านเกิด

โครงการจิตอาสา“เราทําความดีด้วยหัวใจ”

ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความ สมัครสมานสามัคคี มีความสุขและประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กํากับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงาน ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อํานวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ มีหน้าที่ควบคุม อํานวยการและประสานการ ปฏิบัติเพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ เป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ

ในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปณิธานในการบําเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิตเป็นการทําความ ดีด้วยหัวใจถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโดยหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ฯร่วมกับประชาชนจิตอาสา “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกันดูแลและพัฒนารักษาพื้นที่จากชุมชนเล็กๆ รอบพระราชวังดุสิตขยาย สู่พื้นที่โดยรวมของประเทศในการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ความหมายของ “จิตอาสา”ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของ “จิตอาสา” ดังนี้

  • “จิต” เป็นคํานาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก
  • “อาสา” เป็นคํากริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทํา

ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัครใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทํากิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดู ดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทําความดีและเห็นน้ําตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดีอีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้

ความหมายของ จิตอาสา “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ”

หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งในและต่างประเทศที่สมัครใจช่วยเหลือผู้อื่นยอมเสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญาใน การทํางานที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

จิตอาสาตามพระราโชบาย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. จิตอาสาพัฒนา : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบําเพ็ญ สาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย ในการดํารงชีวิตประจําวันการประกอบอาชีพ รวมทั้งการ สาธารณสุข ฯลฯ แบ่งตามภารกิจงานเป็น 8 กลุ่มงาน ดังนี้
    • จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน
    • จิตอาสางานประดิษฐ์และเผยแพร่งานศิลปาชีพ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่นําความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาเผย แพร่ และถ่ายทอดเพื่อให้ประชาชนนําความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป
    • จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมการแสดงและมีนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ เช่น กิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณพระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอ รัก คลายความหนาว งานเถลิงศกสุขสันต์มหาสงกรานต์ตํานานไทย เป็นต้น
    • จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนและช่วยอํานวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วยอํานวย ความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
    • จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ให้คําแนะนําและอํานวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ
    • จิตอาสาฝ่ายส่งกําลังบํารุงและสนับสนุน หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุน อํานวยความสะดวก ดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการอาหาร น้ําดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสาที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน
    • จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯรวมถึงช่วยดูแลต้อนรับ ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
    • จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอํานวยความสะดวกในการสัญจรของประชาชนการแนะนํา เส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ
  1. จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน
  2. จิตอาสาเฉพาะกิจ : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็นการใช้กําลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรืออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ.2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดําเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจําปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล มีผู้รวบรวมสถิติและคํานวณว่า หากเสด็จพระราชดําเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่ทรงมีรับสั่งว่า “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง” พระองค์เสด็จฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจนถึงปี 2544 แล้วหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศในขณะนั้น เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี กับพระราชภาระอันหนักยิ่งนับเป็นการส่งต่อพระบรมราชปณิธานจากพระหัตถ์สู่มือบัณฑิตทุกคน