ประวัติกรมการฝึกหัดครู

วังและวัด เป็นหลักของการศึกษาไทยสืบต่อมาจนสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 2 การศึกษาของไทยยังคงดำาเนินไปอย่างไม่มีรูปแบบ ไม่มีโรงเรียน ไม่มีกำาหนดเวลาเรียน และไม่มีหลักสูตร ยังเป็นการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเท่าที่ครูจะมีความรู้พอถ่ายทอดได้ การเรียนรู้ยังคงอาศัยวัดเป็นสำาคัญ

เป็นลูกศิษย์วัดบ้าง เป็นสามเณรบ้าง ภิกษุรูปใดมีความรู้กว้างขวางก็มีคนไปสมัครเป็นศิษย์มากยกย่องให้เป็นอาจารย์ วัดต่างๆ จึงมักจะมีสำ นักศึกษา เพื่อสอนหนังสือไทย หนังสือขอม ภาษาบาลี และสันสกฤต แม้แต่พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงศึกษาอักษรสมัยในสำ นักพระวันรัต วัดบางหว้าใหญ่ นอกจากหนังสือเรียนแล้วถ้าครูผู้สอนมีความรู้ด้านอื่น เช่น งานช่าง งานฝีมือต่างๆ ผู้ที่สนใจก็อาจเรียนรู้และฝึกทักษะวิชาชีพช่างแขนงนั้นๆ ไปพร้อมกัน ในปี พ.ศ.2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมาก จึงโปรดให้มีการแต่งตำราว่าด้วยระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เพื่อให้ได้มีการเรียนรู้แบบประเพณีเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์บางตอนอีกด้วย นับเป็นมรดกสำคัญด้านวรรณคดีไทยจนถึงปัจจุบัน (พงศ์อินทร์ ศุขขจร, 2528 : 5)

ในปี พ.ศ. 2341 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้พระราชาคณะและราชบัณฑิตสังคายนาพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงในใบลาน รักษาไว้เป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง นับเป็นต้นฉบับพระไตรปิฎกที่เรียบร้อยบริบูรณ์ เป็นตำ ราทางพระพุทธศาสนาเพื่อค้นคว้าเล่าเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2347 โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมชำ ระกฎหมายแล้วให้เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ยิ่งกว่านั้น การศึกษา

ด้านช่างฝีมือก้าวหน้ายิ่งขึ้น สืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงเป็นกวีเอก พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้มาก ทั้งบทละครนอกและละครใน นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ทรงส่งเสริมกวีในราชสำ นักอย่างยิ่ง จึงมีวรรณกรรมชิ้นเอก
เกิดขึ้นเป็นอันมาก จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย
ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแล้วให้รวบรวมวิชาความรู้ต่างๆ เช่น วรรณคดี โบราณคดี
การแพทย์ การศาสนา การช่างฝีมือ ฯลฯ จารึกลงไว้ในแผ่นศิลาติดไว้ตามระเบียงและศาลารายในวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2379
จึงถือว่าวัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย (คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, 2531 : 24)

นอกจากนั้น ร้อยเอกเจมส์ โลว์ ได้พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นเล่มแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในระยะนี้ประเทศอื่นๆ โดยรอบตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสกันหมดมีชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำ คัญที่คนไทยจะต้องเรียนรู้เพื่อก้าวให้ทันสรรพวิทยาการสมัยใหม่ จึงทรงส่งเสริม
ให้เรียนภาษาอังกฤษและวิชาอื่นๆ มีการตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ.2379 เจ้าของโรงพิมพ์ คือ นายแพทย์ ดี.บี.บรัดเลย์
ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่าหมอบรัดเลย์ ทำ ให้พิมพ์หนังสือไทยได้ครั้งละจำ นวนมาก โดยไม่ต้องคัดลอกกันครั้งละฉบับเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนั้นการพิมพ์หนังสือยังทำ ให้หนังสือมีราคาถูกลง ผู้สนใจสามารถหาซื้อไปอ่านหรือศึกษาหาความรู้ได้สะดวก จึงทำ ให้การเรียนหนังสือแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น ในสมัยนี้มีหนังสือแบบเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลายเล่ม เช่น หนังสือประถม ก.กา หนังสือสุบินกุมาร หนังสือประถมมาลา
หนังสือจินดามณี เล่ม 2 หนังสือตำ ราแพทย์ ตำ ราเลข และแม้กระทั่งตำราหมอดู ก็ถือกำ เนิดขึ้นในยุคนี้ (มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2539 : 45)

ในด้านการติดต่อกับชาวตะวันตกได้ขยายวงกว้างขึ้น ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทำให้เกิดการศึกษาสำหรับคนที่มีฐานะดีในสังคมอย่างคนจีนและคนชั้นสูง ซึ่งเป็นพวกที่มีเงินจ้างครูฝรั่งสอนภาษาและวิชาการสมัยใหม่ให้แก่บุตรหลานของตนแล้ว วัฒนธรรมของชาวตะวันตกยังเข้ามาทำ ให้วัฒนธรรมไทยถูกละเลยไปเป็นอันมากซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง ในช่วงเวลานั้นนักสอนศาสนาชาวอเมริกันเริ่มเปิดโรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเรียกว่า โรงเรียนเชลยศักดิ์ขึ้นหลายแห่ง เช่น ในปี พ.ศ. 2391 นางแมททูน มิชชันนารีชาวอเมริกันได้ตั้งชั้นเรียนสอนหนังสือเด็กชาวมอญ ในปี พ.ศ. 2395 ตั้งโรงเรียนขึ้นในหมู่ชาวมอญ แต่สอนภาษาไทยเป็นหลัก มิชชันนารีอีกคณะหนึ่งก็ตั้งโรงเรียนสอนเด็กชาวจีนในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้รวมเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนมาสอนภาษาไทย ในปี พ.ศ. 2413 ศาสตราจารย์ จอห์น เอ. เอกิน ชาวอเมริกัน ได้ตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายขึ้นที่กุฎีจีน ธนบุรี ชื่อโรงเรียนคริสเตียนไฮสกูล ตั้งอยู่ที่ถนนประมวล กรุงเทพฯ ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยา ในปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดโรงเรียนกุลสตรีวังหลังขึ้น ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2420 เกิดโรงเรียนไทย-ฝรั่งขึ้นต่อมาเรียกว่า โรงเรียนอัสสัมชัญ สำ หรับโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ชื่อโรงเรียนบำรุงวิทยา (กระทรวงศึกษาธิการ,2507 : 99)

ต่อมาในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรดาเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่นิยมนำ บุตรหลานไปถวายตัว
เป็นมหาดเล็กกันมาก เด็กเหล่านี้ยังไม่รู้หนังสือ จึงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2414
เรียกชื่อทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า โรงสกูล โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อครั้งยังเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรม
พระอาลักษณ์มาเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน สอนหนังสือไทยและเลขให้แก่พวกนักเรียนมหาดเล็ก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประกาศเรื่องโรงเรียน ซึ่งในประกาศดังกล่าวเรียกว่าโรงสอน ดังนี้

“…มีพระบรมราชโองการ มานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทให้ประกาศแก่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย
ซึ่งได้นำบุตรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณในกรมมหาดเล็กบ้าง ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์บ้าง
ทรงพระราชดำริว่า บุตรหลานของท่านทั้งปวง บรรดาที่เข้ารับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่นั้น แต่ล้วนเป็นผู้มีชาติตระกูล
ควรจะรับราชการในเบื้องหน้าต่อไป แต่ยังไม่รู้หนังสือไทยและขนบธรรมเนียมราชการอยู่โดยมาก ที่รู้อยู่บ้างก็ยังใช้อักษรเอก โท
และตัวสะกดผิดๆ ไม่ถูกต้องตามแบบอย่างก็มีอยู่มาก และการรู้หนังสือนี้ก็เป็นคุณสำคัญข้อใหญ่เป็นเหตุจะให้รู้วิชาและ
ขนบธรรมเนียมต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงสอนขึ้นไว้ที่ในบรมมหาราชวัง แล้วจัดคนในกรมพระอาลักษณ์ตั้งให้
เป็นขุนนาง พนักงานสำหรับเป็นครูสอนหนังสือ สอนคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ พระราชทานเงินเดือน ครูสอนให้สมควร
พอใช้สอย ส่วนผู้เรียนหนังสือนั้นก็พระราชทานเสื้อผ้านุ่งห่มกับเบี้ยเลี้ยงกลางวันเวลาหนึ่งทุกวัน ครูสอนนั้นจะสอนโดยอาการ
เรียบร้อย ไม่ให้ด่าตีหยาบคายอนึ่งบุตรหลานของข้าราชการซึ่งยังไม่ได้นำมาทูลเกล้าฯถวายนั้นก็ดีถ้าสมัครจะเข้ามาฝึกหัดเล่าเรียนหนังสือไทยก็จะทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้รับไว้ฝึกหัดเล่าเรียน เพื่อจะได้รู้หนังสือรู้จักคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน

จะได้รับราชการ ฉลองพระเดชพระคุณต่อไป ถ้าท่านทั้งปวงได้ทราบหมายประกาศนี้แล้วจงมีใจยินดีหมั่นตักเตือนบุตรหลานของท่านทั้งหลายทั้งปวงให้เข้ามาฝึกหัดหนังสือไทย ถ้าเล่าเรียนได้ชำนาญในการหนังสือแล้วความงดงามความเจริญก็จะมีแก่บุตรหลานของท่านทั้งปวงไปสิ้นกาลนาน ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีเดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีมะแม ตรีศกศักราช1233(พ.ศ.2414) …”
(น้อยสีป้อ,2545:20)

โรงเรียนแห่งแรกนี้ ตั้งอยู่บริเวณโรงทหารมหาดเล็กในสนามต่อจากระเบียงวัดพรศรีรัตนศาสดารามไปทางตะวันตก ต่อมา
โปรดให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ สำ หรับเจ้านายที่รู้หนังสือไทยดีแล้วขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง และได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้น
ตามความจำ เป็นในการพัฒนาต่อเนื่องมา จนอีกเพียงสิบปีต่อมาปรากฏว่า มีโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังอีกหลายประเภท
คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียนทำ แผนที่ และโรงเรียนราชกุมาร โรงเรียนหลวงเหล่านี้ใช้หนังสือแบบเรียนภาษาไทย
ชุดมูลบทบรรพกิจ ซึ่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)แต่งขึ้นใหม่รวม 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติกร อักษรประโยค
สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ เมื่อเรียนจนจบชุดทั้ง 6 แล้วจึงจะนับว่าเรียนจบวิชาชั้นต้น แต่ปรากฏว่ามีผู้ที่เรียนจบ
มีน้อย และความต้องการกำลังคนในกระทรวงต่างๆ มีมาก เมื่อเรียนพอรู้อ่านออกเขียนได้ ต่างก็พากันลาออกไปรับราชการ เป็นเสมียน
กันเสียหมด เรียกว่าเรียนจบแค่สังโยคพิธานก็พอ (รอง ศยามานนท์ และคนอื่นๆ, 2507 : 135)

ในปี พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยขึ้นที่ปากคลองตลาดเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ซึ่งสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระธิดาเพราะเรือล่มขณะที่เสด็จประพาสบางปะอิน เป็นโรงเรียนเฉพาะสตรี และเป็นโรงเรียนประจำ นับเป็นโรงเรียนประจำสำ หรับสตรีแห่งแรกของไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2424 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบหรือโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นที่ตำ หนักสวนกุหลาบ เพื่อฝึกสอนผู้ที่จะออกไปรับราชการเป็นนายร้อย นายสิบในกรมทหารมหาดเล็ก พระตำ หนักสวนกุหลาบนี้สร้างขึ้นในสวน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสวนสำ หรับปลูกกุหลาบ เพื่อเก็บดอกใช้ในงานราชการครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำ หนักขึ้นหลายหลังในบริเวณสวนกุหลาบ จึงให้ชื่อว่า พระตำ หนักสวนกุหลาบ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งโรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบขึ้น ก็มีเจ้าหน้าที่อำ นวยการศึกษา ได้แก่ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) เมื่อยังเป็นหลวงโอวาทวรกิจอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบ จึงคิดให้มีการสอบไล่หนังสือไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2427 นับเป็นปีแรกที่มีการสอบไล่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนผู้สอบไล่ได้ที่โรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบได้มีพระราชดำรัสว่า

“…วิชาหนังสือเป็นวิชาที่นับถือและเป็นที่สรรเสริญ
มาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐ ซึ่งผู้ที่เป็นใหญ่ยิ่ง นับแต่
พระมหากษัตริย์ เป็นต้น จนตลอดราษฎรพลเมือง สมควรและจำเป็น
จะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จไปได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยการทรงจำร่ำเรียนและเป็นวิชาที่ทำให้ผู้ได้รู้มีความฉลาดได้เร็วได้ง่าย
ขึ้น ถึงว่าผู้ใด จะเป็นผู้มีปัญญาไม่รู้หนังสือ แต่ผู้หนึ่งไม่มีปัญญารู้หนังสือ
ผู้ที่ไม่มีปัญญานั้นมักจะดีเทียมเท่ากับผู้ที่มีปัญญา หรือดีขึ้นไปกว่าก็มี
โดยมาก ถึงว่า ความนับถือวิชาหนังสือจะเสื่อมทรามไปบ้าง เล็กน้อย
ไปบ้างเป็นบางครั้งคราว ก็จะกลับเป็นที่นับถือยิ่งใหญ่ขึ้นในเวลาอื่นอีก
เพราะเป็นวิชาอันประเสริฐ เมื่อจะเทียบดูกับกาลแต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้เล่า
พระเจ้าแผ่นดินเคยทรงรับแต่ฎีกากับบัญชีเล็กน้อย ครั้งมาในแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เกิดหนังสือมากขึ้นแต่ยังไม่ถึง
ทุกวันนี้หนังสือที่ฉันได้รับอยู่เดี๋ยวนี้นับด้วยพันเป็นอันมาก วิชาหนังสือ
ในเวลานี้เป็นเวลากำลังต้องการ จะพรรณนาคุณหนังสือให้ทั่วถึงไป
ก็เป็นการยาวเวลา จึงขอตัดความลงว่าในการเวลานี้ผู้ซึ่งจะเป็นข้าราชการ
ไม่รู้หนังสือแล้วเกือบจะเป็นอันใช้ไม่ได้ทีเดียว ได้คิดตั้งใจอยู่ว่าการต่อไป
ภายหน้าจะต้องเลือกผู้ใดไม่รู้หนังสือไล่ได้ตามควรแก่ที่จะกำหนด
ผู้นั้นเป็นขุนนางไม่ได้เลย แต่ในเวลานี้ข้าราชการเก่าที่ไม่รู้หนังสือดี
มีอยู่บ้าง ผู้ซึ่งจะเลือกได้ยังมีน้อยจึงตั้งกำหนดอย่างนี้ไม่ได้จึงต้องคอย
พวกที่เรียนใหม่ๆ นี้จะเป็นผู้ตั้งแบบแผนต่อไปภายหน้า เพราะฉะนั้น
ฉันจึ่งได้มีความมุ่งหมายตั้งใจที่จะจัดการเล่าเรียนทั่วไปทั้งบ้านทั้งเมือง
ให้เป็นการรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดยเร็ว…”
(ไพรัช วนาพรรณ์, ม.ป.ป. : 7)

สำหรับการฝึกหัดครูไทยในประเทศไทยจนถึงการก่อตั้งกรมการฝึกหัดครู โรงเรียนฝึกหัดครูไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การฝึกหัดครูในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2435 – 2475)
    1. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในกรุงเทพฯ
      1. โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่โรงเลี้ยงเด็ก ถนนสระประทุมวัน (ปัจจุบันคือถนนบำรุงเมือง) อันเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูพิศในปัจจุบัน เริ่มเปิดทำ การสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 มีนักเรียน 3 คน คือ นายนกยูง (พระยาอจิรการประสิทธิ์)นายบุญรอด (พระยาภิรมย์ภักดี) และนายสุ่ม โดยมี นายยี เอช กรีนรอดเป็นครูใหญ่ (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 22)
        ต่อมาได้ย้ายไปตั้ง ณ ตึกณฤมิตร ในบริเวณวัดเทพศิรินราวาสเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ แบ่งการจัดการเรียนการสอน เป็น 2 แผนก คือ แผนกโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์และแผนกโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อให้นักเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้ใช้ฝึกสอน (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 24) จากปี พ.ศ. 2435 – 2445 โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรครูประถมเท่านั้น จนปี พ.ศ. 2446 จึงได้เปิดสอนหลักสูตรครูมัธยม นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2446 กรมศึกษาธิการได้ดำ เนินการคัดเลือกนักเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปศึกษาต่างประเทศอีกด้วย (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 30)
      2. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก ในปี พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเก่า(บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก”รับนักเรียนจากทั้งกรุงเทพ และนักเรียนจากหัวเมืองที่เจ้าคณะมณฑลส่งเข้ามาเรียน เปิดสอนให้เป็นครูสอนชั้นมูลศึกษา เพื่อส่งออกไปเป็นครูตามหัวเมืองมณฑลต่างๆ เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2446โดยมีหลวงบำ เหน็จวรญาณ (พระยาโอวาทวรกิจ) เป็นอาจารย์ใหญ่(บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 31)
        การตั้งสามัคยาจารย์สมาคม กิจกรรมสำคัญประการหนึ่งที่กรมศึกษาธิการได้ดำ เนินการคือ “การตั้งสามัคยาจารย์สมาคม” เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพครู และให้ครูได้มีโอกาสพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ซึ่งกันและกัน ระยะแรกตั้งที่โรงเรียนวัดอรุณราชวราราม (โรงเรียนทวีธาภิเศกในปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สามัคยาจารย์สมาคมได้จดทะเบียนเป็นสมาคมที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 1มกราคม พ.ศ.2457 และออกหนังสือ “วิทยาจารย์” เป็นวารสารรายปักษ์ของสมาคม ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในการออกประกาศ เผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้แก่สมาชิกของสมาคม นักเรียนของโรงเรียนฝึกหัดครูระหว่าง พ.ศ. 2435–2446แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
        1. นักเรียนสอนประถม
        2. นักเรียนสอนภาษาต่างประเทศ
        3. นักเรียนครูชั้นมูล
        4. นักเรียนครูชั้นประถม
        5. นักเรียนครูชั้นมัธยม
        6. นักเรียนครูต่างประเทศ
      3. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิง “โรงเรียนเบญจมราชาลัย” ในปี พ.ศ.2456 กระทรวงธรรมการโดยเจ้าพระยาพระเด็จสุเรนทราธิบดี(ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้ดำ เนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นที่ “โรงเรียนเบญจมราชาลัย” โดยรับนักเรียนหญิงที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วหรือเป็นผู้มีความรู้อ่านออกเขียนได้ รู้เลขบวก ลบ คูณ หาร ได้แล้วเข้ามาเรียน เมื่อเรียนจบแล้วก็กลับไปสอนที่โรงเรียนในท้องที่มณฑลของตน
      4. การสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2459 เมื่อแรกตั้งมี 4 คณะ คือ คณะแพทย์ศาสตร์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแผนกฝึกหัดครูในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย
    2. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในหัวเมือง ในขณะที่กระทรวงธรรมการตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ (ปี พ.ศ.2456 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู”) ขึ้นในกรุงเทพฯ หลายโรงเรียนนั้น แต่ยังไม่มีการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในภูมิภาคหรือในหัวเมืองแต่อย่างใด ครูที่ทำ การสอนในโรงเรียนประชาบาล ในหัวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในวัด จึงเป็นพระหรือประชาชนที่มีความรู้พอสอนได้แต่ก็มีครูจำ นวนหนึ่งที่สมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ คัดเลือก เด็กนักเรียนที่เรียนดี เข้ามาเรียนที่ “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” มณฑลละ 4 – 5 คนในแต่ละปี
      ในปี พ.ศ.2456 กระทรวงธรรมการจึงได้มีท้องตราที่ 10/1717ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2456 แจ้งให้มณฑลต่างๆ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นใน “โรงเรียนตัวอย่างมณฑล” ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งปรากฏว่าหลายมณฑลได้ขอจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้น ในโรงเรียนตัวอย่างมณฑลขึ้นในปี พ.ศ.2457 สำ หรับมณฑลอุบลราชธานี สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งปรากฏในรายงานกระทรวงธรรมการ ฉบับที่ 11พุทธศักราช 2461 ซึ่งประเทศไทยแบ่งการปกครองเป็น 15 มณฑล(นับรวมมณฑลกรุงเทพฯ ด้วย) เฉพาะในหัวเมืองมี 14 มณฑล คือ มณฑลนครไชยศรี อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ราชบุรี จันทบุรี ปัตตานีสุราษฎร์ ภูเก็ต ร้อยเอ็ดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และมณฑลพายัพ ซึ่งแต่ละ มณฑลก็มีโรงเรียนฝึกหัดครูรวมเป็น 14 โรงเรียนและรวมนักเรียนฝึกหัดครูทั้งสิ้น 167 คน(กระทรวงธรรมการ. 2461:67 –70) โรงเรียนฝึกหัดครูในมณฑลส่วนหนึ่ง เปิดสอนในระดับ “ประโยคครูมูล” แต่บางมณฑลก็ปรับปรุงในบางวิชา และปรับเป็น “ประกาศนียบัตรครูมูลมณฑล”ดังที่ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2474 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นั้น มณฑลในหัวเมือง 13 มณฑลทั่วทุกมณฑล มีโรงเรียนฝึกหัดครู และจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรแตกต่างกันไปดังนี้
      1. ประโยคครูมูลสามัญ จัดที่มณฑลนครสวรรค์มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลปัตตานีมณฑลภูเก็ตมณฑลนครราชสีมา(รวมอุบลราชธานี) และมณฑลอุดร (รวม7 มณฑลนักเรียน รวม 433 คน)
      2. ประโยคครูมูลมณฑล(สามัญ) จัดที่มณฑลนครสวรรค์มณฑลพายัพ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลอยุธยา มณฑลนครชัยศรีมณฑลจันทบุรีและมณฑลนคราชสีมา (รวม7 มณฑล นักเรียนรวม 455 คน)
      3. ประโยคครูมูลมณฑล(กสิกรรม)จัดที่มณฑลราชบุรีและมณฑลภูเก็ต(รวม 2 มณฑล นักเรียนรวม 60 คน)
      4. ประโยคครูมณฑล(หัตถกรรม) จัดที่มณฑลนครราชสีมา นักเรียน 55 คน
  2. การฝึกหัดครูหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงก่อนตั้งกรมการฝึกหัดครู(พ.ศ.2475 –2497)
    1. มูลเหตุสำคัญที่ต้องขยายงานการฝึกหัดครู
      1. การประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะได้กำ หนดไว้ในหลัก 6 ประการของ “คณะราษฎร” ดังนั้นรัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ดำ เนินการปรับปรุงการศึกษาโดยเร่งด่วน ด้วยการแต่งตั้ง “คณะกรรมการศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2475 เพื่อวางแผนการศึกษาและพิจารณากิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงธรรมการ (ระลึกธานี. 2527 : 59–60) ต่อมาได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสภาการศึกษา”เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2475 เพื่อทำ หน้าที่ต่อจากคณะกรรมการศึกษา คณะกรรมการสภาการศึกษาได้เสนอร่าง “แผนการศึกษาชาติ”ต่อ “คณะกรรมการราษฎร” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ให้ความสำคัญต่อครูเป็นอย่างมากโดยได้กำ หนดเรื่องการฝึกหัดครูไว้ใน “แผนการศึกษาชาติ” ด้วย
      2. การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2478 อันมีผลให้รัฐบาลต้องจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นจำ นวนมากจึงจำ เป็นต้องผลิตครูที่มีวุฒิทางครูเพิ่มขึ้นอีกจำ นวนมากเพื่อให้พอแก่ความต้องการจำเป็น
      3. การประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 ซึ่งมีบทบัญญัติให้ “…สถานศึกษาทั้งปวงพึงใช้ผู้สอนที่มีประกาศนียบัตรหรือปริญญา…”
      4. การตั้งกองฝึกหัดครู ในปี พ.ศ.2485 รัฐบาลอันมีจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมสามัญศึกษา พุทธศักราช 2485” โดยแบ่งส่วนราชการในกรมสามัญศึกษาเป็น 7 กอง สำ หรับ “กองฝึกหัดครู” แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
        1. แผนกฝึกหัดครูชั้นสูง
        2. แผนกฝึกหัดครูชั้นต้น
        3. แผนกตรวจและอบรม
      5. การประกาศใช้ “แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494” เมื่อวันที่5 มิถุนายน พ.ศ.2494 มีข้อกำ หนดเกี่ยวกับครูไว้ว่า “…รัฐเป็นผู้จัดการฝึกหัดครูและพึงสนับสนุนการฝึกหัดครูเป็นพิเศษ…”
    2. การดำเนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูระหว่าง พ.ศ. 2475 – 2497
      1. โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนกลาง
        1. โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร เดิมคือโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
          • พ.ศ. 2475 ย้ายไปตั้งที่พระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐม แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนฝึกหัดครูพระราชวังสนามจันทร์”
          • พ.ศ. 2477 ย้ายกลับมาตั้งที่ กองพันทหารราบที่ 6ถนนศรีอยุธยา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนฝึกหัดครูประถมศรีอยุธยา”
          • พ.ศ. 2484 ย้ายไปตั้งที่วังจันทร์เกษม เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร” ใน พ.ศ. 2490
          • พ.ศ. 2509 ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูพระนคร”ต่อมาได้ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ข้างวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน แล้วได้รับการยกฐานะ เป็น “สถาบันราชภัฏพระนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2538 และเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2547
        2. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ขึ้นที่ซอยประสานมิตร(ซอยสุขุมวิท 23) กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นโรงเรียนประจำรับนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 เรียน3 ปีได้“ประกาศนียบัตรครูประถม” และเข้าเรียนต่ออีก2 ปี ได้“ประกาศนียบัตรครูมัธยม”ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2497และเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร” เมื่อปีพ.ศ. 2517
        3. เปิดแผนก “ฝึกหัดครูประถมหลักสูตรปีเดียวที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย(สำหรับนักเรียนชาย) เมื่อ พ.ศ. 2493
        4. เปิดแผนกฝึกหัดครูประถมที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย (สำหรับนักเรียนหญิง) เมื่อปีพ.ศ. 2493
      2. โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีโรงเรียนฝึกหัดครู ในต่างจังหวัด 28 โรงเรียนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย 17 โรงเรียน ฝึกหัดครูหญิง 9 โรงเรียนและโรงเรียนการเรือน 2 โรงเรียน ดังนี้
        1. โรงเรียนฝึกหัดครูชาย 17 โรงเรียน ได้แก่จังหวัดจันทบุรีชัยนาท เชียงใหม่ ตรัง นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ปราจีนบุรีเพชรบุรีพระนครศรีอยุธยา มหาสารคาม ยะลา สมุทรสงครามสงขลา อุตรดิตถ์อุดรธานีและจังหวัดอุบลราชธานี
        2. โรงเรียนฝึกหัดครูหญิง 9 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ลพบุรี สงขลา อุดรธานีและจังหวัดอุบลราชธานี
        3. โรงเรียนการเรือน ที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา (บำรุง เจริญ. 2506: 61– 62)

หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติประถมศึกษาพ.ศ.2478” และประกาศใช้ “แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2479” แล้วรัฐบาล
ได้เร่งดำ เนินการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นปีละหลายร้อยโรงเรียนความต้องการครูจึงมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ รัฐบาลจึงได้ดำ เนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู หรือบางจังหวัดก็เปิดชั้นฝึกหัดครูในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด เป็นต้น ดังที่ปรากฏว่า จากปี พ.ศ. 2478–พ.ศ.2495มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในจังหวัดต่างๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2478 มีโรงเรียนฝึกหัดครูมูล (ชายและหญิง) รวม 11 โรงเรียน และโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ชาย-หญิง) รวม 19 โรงเรียน (รายงานการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ ประจำ ปี 2478.2478 : 13)
  • พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำ เนินการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดในจังหวัดต่างๆ รวม 55 โรง แบ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด รวม 49 โรง และโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงประกาศนียบัตรจังหวัด 6 โรงเรียน คือ
    • โรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด จำนวน 49 โรงเรียน ในจังหวัดต่อไปนี้

    • โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรจังหวัดจำนวน 6 โรงเรียนในจังหวัดต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำ เนินการเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูมูลสตรีขึ้นอีก 2 โรงเรียน คือ ที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดอุดรธานีและเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด ที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดสุรินทร์ และได้เปิดโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรจังหวัด ที่จังหวัดอุทัยธานี สมุทรสงคราม และจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 7 โรงเรียน (รายงานกระทรวงศึกษาธิการประจำ ปี 2480. 2480 : 4)

กล่าวโดยสรุปแล้ว โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนภูมิภาค ระหว่างพ.ศ. 2476 – 2497 (ก่อนตั้งกรมการฝึกหัดครู) จัดการเรียนการสอนใน 4 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรประโยคครูมูล (ป.) รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 หรือจบประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด(ว) เวลาเรียน 1 ปี
  2. หลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด(ว)รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่3 หรือประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) เวลาเรียน2 ปี
  3. หลักสูตรชั้นมัธยมพิเศษ โดยการรับนักเรียนที่จบชั้นประโยคประถมศึกษาเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยม มีกำหนดเวลาเรียน3 ปีจัดเป็นโครงการชั่วคราว เพื่อแก้ความขาดแคลนในท้องถิ่นกันดารโดยมากนักเรียนประเภทนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากท้องถิ่นที่กันดารและขาดแคลนครูเพื่อกลับให้ออกไปเป็นครูในท้องถิ่นนั้นๆ
  4. หลักสูตรประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) สืบเนื่องจากการจัดชั้นมัธยมพิเศษไปได้ระยะเวลาหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ยุบเลิกวิการดังกล่าว แล้วปรับเปลี่ยนเป็น “หลักสูตรประโยคครูประชาบาล” (ป.บ.) รับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่4 ใช้เวลาเรียน3 ปีแตพอถึงปีพ.ศ. 2495 หลักสูตรดังกล่าวถูกยุบเลิกไป (บำรุง กลัดเจริญ.2506: 58)

อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการจัดตั้งกองฝึกหัดครู ในกรมสามัญศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ รับผิดชอบในกิจการฝึกหัดครู เมื่อปี พ.ศ.2485แล้ว ก็ได้มีการยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูในบางจังหวัดและบางหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมแก่กาลสมัย

  1. การฝึกหัดครูภายหลังจากการตั้งกรมการฝึกหัดครู
    (พ.ศ.2497 – ปัจจุบัน)
    1. การตั้งกรมการฝึกหัดครู หลังจากที่รัฐบาลได้ตั้ง“กองฝึกหัดครู” เป็นส่วนราชการระดับกองในสังกัด “กรมสามัญศึกษา” กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ ปี พ.ศ.2485แล้ว การฝึกหัดครูก็เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ พร้อมกับรัฐบาลได้ขยายงานการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา อันเป็นผลให้การผลิตครูไม่เพียงพอต่อความต้องการและจำ เป็นจนกระทั่งในปี พ.ศ.2497 รัฐบาลอันมี จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและพลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ดำ เนินการตั้ง “กรมการฝึกหัดครู” ขึ้น เป็นส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงศึกษาธิการ โดยการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2497” เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2497 เป็นต้นไป หลังจากนั้นรัฐบาลก็ได้ประกาศใช้ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมการฝึกหัดครู ในกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2497”เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2497 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2498 เป็นต้นไป โดยแบ่งส่วนราชการในกรมการฝึกหัดครู ดังนี้
      • สำนักงานเลขานุการกรม
      • กองส่งเสริมวิทยฐานะ
      • กองโรงเรียนฝึกหัดครู
        เมื่อแรกตั้งกรมการฝึกหัดครู มีสถาบันการศึกษาในสังกัดที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 7 แห่ง ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด 21 แห่ง และโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาอีก 2 แห่ง รวมเป็น 30 แห่ง (บำ นาญ รอดเหตุภัยและคณะ. 2549 : 23) พร้อมกับการตั้ง “กรมการฝึกหัดครู”
    2. การยกฐานะของโรงเรียนฝึกหัดครู
      1. การยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครู” หลังจากตั้งกรมการฝึกหัดครู เมื่อปี 2497 แล้วกรมการฝึกหัดครู ก็ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการฝึกหัดครูใหม่ พร้อมกันนั้น ก็ดำ เนินการยกฐานะ“โรงเรียนฝึกหัดครู”เป็น “วิทยาลัยครู” ตั้งแต่ พ.ศ.2501 เป็นต้นมา ซึ่งเริ่มจาก “วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยอุบลราชธานี ฯลฯ ในปี พ.ศ.2501 และได้ดำ เนินการเพิ่มขึ้นทุกปี จนถึง ปี พ.ศ.2516 มีวิทยาลัยครูทั่วประเทศ 36 แห่ง แต่ยังเปิดทำการสอนในระดับ ป.กศ. และ ป.กศ.สูง ในปี พ.ศ.2518 รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518”โดยกำ หนดให้วิทยาลัยครูทุกแห่ง มีสิทธิและอำ นาจจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี
      2. การยกฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวิทยาลัยครูมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538” เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2538 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป โดยให้สิทธิและอำ นาจในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกได้ (ราชกิจจานุเบกษา. 2538 : 1 – 21)
      3. การยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” เมื่อสถาบันราชภัฏได้เปิดการสอนในหลายสาขาวิชา และหลายระดับ มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น รัฐบาลจึงได้ ยกฐานะ “สถาบันราชภัฏ”เป็น“มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 เป็นต้นไป ให้มีอำ นาจและสิทธิในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

 

อกสารอ้างอิง

 

 

พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวราชภัฎ

พระราโชบาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร

ประวัติความเป็นมาการสร้างอนุสาวรีย์

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

การสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นความปรารถนาอันแรงกล้าของชาวบ้านสมเด็จเจ้าพระยามานานปี ตั้งแต่สมัยอาจารย์จรูญ มิลินทร์ เป็นผู้อำนวยการสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จฯ โครงการสร้างอนุสาวรีย์เริ่มเป็นรูปธรรมชัดเจนและเป็นความจริงขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๘ กล่าวคือมี อาจารย์รวม ๗ ท่าน คือ อาจารย์ภาณุ คุณโลกยะ อาจารย์จรัญ คุ้มมั่น อาจารย์วีระเดช โพธิ์กระจ่าง  อาจารย์กิจจา วาจาสัจ อาจารย์ธีรธรรม บัวเจริญ  อาจารย์นิเทศ นรพัลลภ และอาจารย์กลอยใจ โสภณปาล  ได้ทำบันทึกความดำริที่จะสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาฯ เสนอต่อวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  (ชื่อในสมัยนั้น) และวิทยาลัยฯ นำเรื่องปรึกษาสภาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ และกรรมการสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปรากฏว่ากรรมการทั้ง ๓ องค์กรเห็นชอบในหลักการ ในที่สุดการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ก็ประสบความสำเร็จอย่างเรียบร้อยและรวดเร็วเกินความคาดหมายบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ 

๑. เพื่อเป็นเครื่องน้อมรำลึกถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ ผู้มีพระคุณต่อสถานศึกษาแห่งนี้ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นในนิวาสสถานของท่าน อันเป็นสถานที่ซึ่งเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ผู้เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาฯ  ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้เป็นโรงเรียนอบรมสั่งสอนวิทยากรกอปรที่มีชื่อเรียกเกี่ยวเนื่องในประวัติเดิมว่า “บ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ” อีกด้วย 

๒. เพื่อเทิดทูนและเผยแพร่เกียรติประวัติสมเด็จเจ้าพระยาฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอัครมหาเสนาบดีแต่ผู้เดียวที่ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงไว้ซึ่งเกียรติยศได้รับพระราชทานอำนาจสิทธิขาดราชการทั้งปวงทั่วราชอาณาจักร 

๓. เพื่อส่งเสริมให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนในการน้อมระลึกถึงรัฐบุรุษ ผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติ และเห็นคุณงามความดีของบุคคลผู้ที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ที่ควรแก่การศึกษาและเทิดทูนต่อไป 

๔. เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางจิตใจ คือ การยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้อนุชนมีความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุรพการี ทั้งเป็นการสร้างประเพณีอันดีงามในการเคารพบรรพชนผู้ทรงคุณงามความดีของประเทศชาติ อีกด้วย 

.  เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของลูกสุริยะทั้งปวง ตลอดจนผู้ที่มีความสัมพันธ์นับเนื่องเป็นลูกสุริยะ ที่มีความผูกพันในสถาบันการศึกษาอันสูงส่งแห่งนี้ ได้มีอนุสาวรีย์ สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นอนุสรณ์ เตือนใจ ในความเป็นน้องพี่ที่ดีต่อกัน 

ร้อยเรียงกาลเวลา ประทับตรึงตราในพระมหากรุณาธิคุณ

สถานศึกษาอันมีชื่อว่า “บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เป็นสถาบันการศึกษาที่มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วยเกียรติประวัติอันดีงาม ทำให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาประทับหลายพระองค์ อีกทั้งบุคคลสำคัญที่ให้เกียรติมาในวาระต่าง ๆ ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านสมเด็จที่เรียกตัวเองว่า “ชาวลูกสุริยะหรือลูกพ่อช่วง” สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง บุนนาค) ผู้ที่มีคุณูปการกับประเทศชาติและผู้ซึ่งจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันอันเป็นที่เคารพศรัทธาของปวงชนชาวไทย ด้วยเหตุนี้พวกเราชาวบ้านสมเด็จ จึงยึดถือแนวทางที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงมีพระเมตตาพระราชทานในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการศึกษา โครงการพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในนาม”ศาสตร์พระราชา”  

ปวงข้าพระพุทธเจ้าน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ 

พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ด้านการศึกษา

“… การศึกษา เป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนพอเหมาะกับทุกๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธํารงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ตลอด”

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๔

ตลอด ๖๐ ปีของการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช การศึกษาของชนในชาตินับว่าเป็นพระราชภาระหลักอีกประการหนึ่ง ที่พระองค์มีพระราชหฤทัยใส่และทรง ติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้พระราชทานแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่สม่ําเสมอ

พระบรมราโชวาททางการศึกษาแต่ละวาระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสําคัญในด้านการศึกษากับคนในชาติอย่างยิ่งยวด โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การให้โอกาสกับทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่งปัญญา เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้ ทุกคนรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาชีวิตของทุกคนในทางปฏิบัติ พระองค์ได้พระราชทานให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาต่างๆ ในพระบรมราชูปถัมภ์จํานวนมากและหลากหลาย เช่น ปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระราชทานสร้างโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์สําหรับชาวไทยภูเขา ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนราชประชาสมาสัย สําหรับรับบุตรหลานของผู้ป่วยโรคเรื้อนเข้าศึกษา ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ทรงตั้งกองทุนนวฤกษ์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ปี พ.ศ.๒๕๐๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน ที่ตําบลบางปูใหม่ เพื่อรับนักเรียนที่ยากจนและเรียนอ่อนเข้าศึกษาต่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับทหารตั้งโรงเรียนร่มเกล้า เพื่อรับเด็กและเยาวชนในชนบทได้มีโอกาสได้เรียนหนังสือสําหรับเด็กที่กําพร้าบิดามารดา พระองค์ได้พระราชทานโรงเรียน ราชประชานุเคราะห์มาช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและความเป็นอยู่ และด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทุน ภูมิพล และทุนอานันทมหิดล และโรงเรียนฝึกอาชีพ อย่างโครงการ พระดาบส ที่เปิดรับบุคคลไม่จํากัดอายุเพื่อการศึกษาและการฝึกอาชีพ ทั้งหลายทั้งปวงที่มีพระราชดําริขึ้นนั้น ก็เพื่อการพัฒนาการศึกษาชาติเป็นสําคัญด้วยพระเมตตาที่จะให้คนไทยทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดําริให้จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และจากพระราชดําริดังกล่าว ส่งผลให้เกิดมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติในปีกาญจนาภิเษก เและจากวันนั้นถึงวันนี้กว่า ๑๐ ปีของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสายพระเนตรที่ ยาวไกลในด้านการศึกษาที่พระราชทานให้กับคนไทย เพราะไม่ว่าประชาชนของพระองค์ จะอยู่แห่งหนใดในประเทศไทย หรือในโลก ก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่จํากัดด้วยเพศ วัย หรือภาษา

ทรงสอนด้วยพระองค์เอง

ขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผู้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด กล่าวกับหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ถึงรายละเอียดของการดําเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งถ่ายทอดจากห้องเรียนของโรงเรียนวังไกลกังวลไปทั่วประเทศ ดังนี้

โรงเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส มหามงคลทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวลผ่านทางไกลไปยังโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ (รปค.) และพระราชทานสู่โรงเรียนมัธยมทั่วไปด้วย ตั้งแต่ ม.๑-ม.๖ ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เป็นตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ

“จุดเริ่มต้นโครงการมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริว่า การให้การศึกษากับคนในพื้นที่ที่ขาดแคลนครูเป็นเรื่องที่สําคัญ เพราะ ฉะนั้น เด็กในบ้านนอกจะตะเกียกตะกายเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เผอิญว่าพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว พระองค์ท่านก็เลยคิดว่าทําไมเราไม่ใช้ไอทีให้การศึกษาทางไกล”

ขวัญแก้ว ลําดับเหตุการณ์ในครั้งนั้นให้ฟังว่า ทางมูลนิธิก็รับเรื่องนี้มาดําเนินการ เริ่มแรกๆ ส่งไปที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ก่อน ตอนนั้นมีทั้งอนุบาล ไปเช้าเย็นกลับ กินนอน ตอนนั้นมีประมาณ ๒๐ กว่าโรง แต่ตอนนี้มีประมาณ ๔๐ กว่าโรง นักเรียน ๓ พันกว่าคน โรงเรียน ครู สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ แต่มูลนิธิราชประชาฯ มาช่วยในการจัดการศึกษา เป็นโรงเรียนกลุ่มแรกที่ใช้การศึกษาผ่านดาวเทียม ผลการศึกษาของนักเรียนก็ออกมาดี นักเรียนก็สามารถสอบเข้าได้ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการก็เลยขอความร่วมมือในการติดตั้งสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมดด้วย โดยการสนับสนุนงบของกระทรวงศึกษาธิการ

โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นมาแล้วสามารถที่จะทดแทน การขาดแคลนครูได้ด้วย โดยเฉพาะครูประจําวิชา เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมแล้ว ก็มีครูประจําวิชาสอนถึงโรงเรียน โดยเป็นครูคนเดียวกับโรงเรียนวังไกลกังวล สอนวิชาเดียวกัน เพราะเป็นการถ่ายทอดกันสดๆ ตรงมาเลย ซึ่งการเรียนการสอนที่ทํามา ๑๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงติดตามงานตลอด

“ผมเองได้มีโอกาสไปที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา อธิการบดีเขาบอกว่า เขาได้ดูพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนหนังสือเด็ก นักเรียน เขาปลื้มมาก เขาชื่นชมว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์เดียวในโลก ที่เป็นครู เขาก็เลยจัดโครงการอบรมวิธีสอนภาษาอังกฤษผ่านระบบ คอนเฟอเรนซ์จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน มาที่โรงเรียนวังไกลกังวล ด้วยความภาคภูมิใจว่าเขาได้ทําให้กับประเทศไทยเป็นประเทศแรก เขาทําด้วยความตั้งใจถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ”

เวลานี้มีต่างประเทศมาขอให้เราช่วยเหลือขอพระราชทานการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมไปโรงเรียนของเขาด้วย เช่นที่ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอไปที่โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ เป็นโรงเรียน พรสวรรค์ คือเอานักเรียนที่เรียนเก่งทั่วประเทศมารวมกัน ประมาณ ๔ พันคนก็ขาดแคลนครูเก่งๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพร้อมด้วยอุปกรณ์รับส่งเครื่องมือโทรทัศน์ เครื่องไออาร์ดี นักเรียนที่เวียงจันทน์จึงได้เรียนวิชาเหมือนที่นักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลได้เรียน จึงนับว่า เป็นการส่งเสริมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงมี พระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณแผ่ไพศาลไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย

“ในหลวงทรงเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นครูในโรงเรียนวังไกลกังวลด้วย พระองค์ยังทรงเน้นให้การเรียนการสอนได้เปิดโอกาสให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้จากของจริง ดังที่กล่าวว่า พระองค์จะทรงเน้นการสอนแบบทัศนสัมผัส จะให้นักเรียนไปเรียนและทําด้วยตนเอง ท่านก็ให้เริ่มต้นด้วยระบบการศึกษาทัศน์ พระองค์จึงทรงให้มีการจัดรายการศึกษาทัศน์ (Quest forKnowledge) เป็นชื่อพระราชทานรายการสารคดีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและพระราชทานชื่อรายการ ชื่อรายการ ‘ศึกษาทัศน์’ พระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า
Quest forKnowledge”

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถรู้จักใช้มือทําใน สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ได้มีประสบการณ์เรียนรู้และสัมผัสด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนได้เรียนจากพื้นที่จริง การศึกษาทัศน์มีครูไปควบคุม เพราะพระองค์มีพระราชดําริว่า ไปลงพื้นที่จริงแล้วจะมีความรู้ไม่ใช่บรรยายแบบครูบรรยาย

โดยลักษณะรายการ คือ การที่ครูพานักเรียนออกไปเรียนรู้นอกสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้รอบตัว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในการดํารงชีวิต ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเข้ามาชมรายการได้ที่ เว็บไซต์ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม www.dlf.ac.th/ ซึ่งจะสามารถได้ชมพระราชอิริยาบถและพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะที่ทรงสอนนักเรียนได้ด้วย

“การศึกษาตอนนี้พัฒนามาไกล และเราก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ ถ้าเปิดเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ เข้าไปดูรายการศึกษาทัศน์ รายการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสอนนักเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล ทรงสอนเรื่องดิน เรื่องน้ํา เรื่องการปลูกพืช การทําฝนเทียม ใครมี อินเทอร์เน็ตก็ดูได้เลย ทั้งภาพและพระสุรเสียงที่ชัดเจน”

จากความเข้มข้นทางวิชาการดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนที่จบการศึกษาในระบบดังกล่าว สามารถที่จะฟันฝ่าเข้าไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจํานวนมาก รุ่นแล้วรุ่นเล่าปัจจุบันการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้พัฒนาการสอนภาษาต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ตามพระบรมราโชบายในเรื่องการฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ โดยมีการแลกเปลี่ยนการเรียนการสอนกันระหว่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมา ได้มีการติดตั้งการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังโรงเรียนปอเนาะเป็นการนําร่องใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ตามที่โต๊ะอีหม่ามและโต๊ะครูคัดเลือกให้จังหวัดละหนึ่งแห่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือทดแทนการขาดแคลนครู

นอกจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแล้ว มูลนิธิราช ประชานุเคราะห์ ซึ่งดูแลโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ก็ถือว่าเป็นอีก มูลนิธิที่สําคัญควบคู่กันมา

โครงการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เกิดขึ้นเมื่อ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา ภายหลังจากที่เกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช พระองค์มีพระราชดําริให้ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงออกอากาศทางวิทยุ อ.ส. รับบริจาคด้วยพระองค์เอง ได้ทุนทรัพย์จํานวนมากประมาณ ๑๑ ล้านบาท จากนั้นได้พระราชทานให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น ซึ่งต่อมาพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และเหลือเงินประมาณ ๓ ล้านบาท

พระองค์ก็มีพระราชดําริว่า “เงิน ๓ ล้านบาทนี้ควรจะตั้งเป็นกองทุนเพื่อหาดอกผลสําหรับสงเคราะห์เด็กซึ่งครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และสงเคราะห์ราษฎรที่ประสบภัยทั่วประเทศ” ทําให้ปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จํานวน ๓๖ แห่ง และด้วยเพราะโรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่เด็กต้องอยู่ที่โรงเรียน กินนอนที่โรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไว้ ๙ ข้อด้วยกัน คือ

  • มีความขยันหมั่นเพียร
  • มีความประพฤติเรียบร้อย
  • เป็นเด็กดีมีความเมตตากรุณา
  • รู้จักความสะอาด
  • รู้จักมัธยัสถ์อดออม
  • มีความโอบอ้อมอารี
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้
  • รู้รักสามัคคี อยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข
  • รู้จักการทําสวนครัวเลี้ยงสัตว์

ท่านขวัญแก้ว บอกว่า พระบรมราโชวาทดังกล่าว เพราะพระองค์มีพระราชดําริว่า เด็กหากมีการอบรมบ่มนิสัย ต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่การรักษาความสะอาดและความสามารถในการเลี้ยงตัวเองได้ เช่น การเลี้ยงสัตว์หรือการทําสวนครัว สําหรับนักเรียน ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนราชประชาฯ ทุกแห่ง ถ้าผลการเรียนเฉลี่ยมากกว่า ๓ ก็จะได้รับพระราชทานทุนเรียนต่อจากมูลนิธิฯ จนจบมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี

ทรงเป็นต้นแบบการเรียนรู้

ขวัญแก้ว ยืนยันกับคําถามนี้อย่างหนักแน่นว่า พระองค์ทรงเป็น ต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง ทรงเป็นนักปราชญ์ผู้รอบรู้ในสังคมไทย และทรงเป็นนักการศึกษาที่ขวนขวายพยายามเพื่อหาความรู้มา สร้างประโยชน์และพัฒนาส่วนรวม ดังจะเห็นจากโครงการพระราชดําริหลายโครงการที่เกิดจากการคิดการศึกษาของพระองค์ การเปิดรับความรู้จากต่างประเทศแล้วนํามาปรับปรุงให้สอดคล้องกับประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการปลูกหญ้าแฝก โครงการฝนหลวง

“พระเจ้าอยู่หัวท่านมักจะทรงสอนในเรื่องดิน น้ํา และการทําฝนเทียม เพราะอะไร ก็เพราะบ้านเมืองของเราเป็นเมืองเกษตรกรรม แต่สิ่งเหล่านี้คือการแสดงให้พวกเราได้เห็นว่า นี่คือประโยชน์ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะพระองค์ไม่ทรงเคยหยุดเรียน จึงทําให้พระองค์พบแต่องค์ความรู้ใหม่ที่ล้วนสร้างคุณูปการอย่างหาที่สุดไม่ได้ในสังคมไทย”

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ รัชกาลที่ ๑๐

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณ ถึงปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จากการตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี ออกเยี่ยมเยียนพสกนิกรทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทรงพระวิริยะอุตสาหะเอาพระราชหฤทัยใส่ในการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชบุพการี ด้วยทรงตระหนักถึงพระราชภาระอันสําคัญที่รอคอยอยู่ในภายภาคหน้า และด้วยน้ําพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อประชาชนทุกผู้ทุกนาม และทุกหมู่เหล่า

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริก่อเกิดด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ต่อเนื่องยาวนานมากว่า ๒๗ ปี ตั้งแต่ครั้งดํารงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วยพระวิสัยทัศน์ และสายพระเนตรที่ยาวไกล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงครอบคลุม ในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ํา การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกร การสาธารณสุข การศึกษา การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงของชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาแหล่งน้ํา ทรงดําเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบรมชนกนาถที่ทรงให้ ความสําคัญกับ “น้ํา” ที่เป็นปัจจัยหลักในการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของพสกนิกรโดย ถ้วนทั่ว เริ่มต้นจากการพัฒนาแหล่งน้ําในหลากหลายรูปแบบมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน โครงการพัฒนาแหล่งน้ําอันเนื่องมาจากพระราชดําริตรงที่พระราชทานเมื่อเสด็จพระราชดําเนินไป ในพื้นที่ต่างๆ มีจํานวน ๖๑ โครงการ ใน ๑๒ จังหวัด ทุกภูมิภาค จากหมู่บ้านชายขอบบนภูเขา ทางภาคเหนือจดหมู่บ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ ราชบุรี จันทบุรี อุดรธานี จนถึงจังหวัดนราธิวาสเพื่อช่วยพลิกฟื้นชีวิตราษฎรตามความต้องการของประชาชนและ ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ

นับจากนั้นเป็นต้นมา ในเกือบทุกครั้งที่โดยเสด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงงานด้านศิลปาชีพมักทรงแยก ไปทอด พระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรและพระราชทานแนวพระราชดําริในการพัฒนาแหล่งน้ํา เพื่อช่วยเหลือปัดเป่าความเดือดร้อนให้กับราษฎรในพื้นที่นั้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

หนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการสาธารณสุข ที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากการเจ็บป่วย ยากไร้และขาดโอกาส คือ “โครงการกาญจนบารมี”ที่พระราชทานพระราชดําริให้ก่อตั้งขึ้นและทรงเป็นประธาน จัดสร้างศูนย์บําบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐ เพื่อลด ความทุกข์ยากลําบากของผู้ป่วยในการเดินทางมารับการรักษา

เนื่องจาก “โรคมะเร็ง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของไทย และมีแนวโน้มที่คนไทยจะมีโอกาส เป็นมะเร็งมากขึ้น ขณะที่จํานวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่สถานพยาบาลผู้ป่วยกลับมีจํานวนจํากัด ทําการดูแลรักษาโรคมะเร็งที่ต้องอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่องไม่สามารถกระทําได้เต็มที่เพื่อ ให้โครงการกาญจนบารมี ดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตาม เป้าหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการของโครงการกาญจนบารมีดําเนินการ จัดตั้งมูลนิธิกาญจนบารมีขึ้นในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิกาญจนบารมี นอกจากเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้แล้ว ยังเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง โดยเน้นการรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ให้ทุนการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เป็นกองทุนสนับสนุนการดําเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ และการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ฯ มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งส่วนภูมิภาคที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งร่วมมือกับองค์กร การกุศลอื่น ๆ และเพื่อสาธารณ ประโยชน์

ปัจจุบัน ศูนย์บําบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี ยกสถานะขึ้นเป็นโรงพยาบาล มหาวชิราลงกรณธัญบุรี ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย มีผู้ป่วยเข้ารับ บริการเฉลี่ยปีละ ๒,๐๐๐ คน ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งลําไส้ใหญ่ มีการใช้กัมมันตรังสีในการรักษามะเร็งไทรอยด์ ซึ่งได้ผลการรักษา ทําให้มีผู้ป่วย มีอายุเกิน ๕ ปี ได้ถึง
ร้อยละ ๙๐

ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการเกษตรและส่งเสริมอาชีพ

โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาให้กับราษฎรจํานวน ๗ หมู่บ้านได้อย่างบูรณาการ ครอบคลุม ตั้งแต่การพัฒนาแหล่งน้ํา การฟื้นฟูปรับปรุงดิน การบรรเทาอุทกภัย การเพิ่มผลผลิตและรายได้ การสร้างอาชีพใหม่ รวมทั้งการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ โดยความร่วมมือของ ราษฎร ๗ หมู่บ้านโดยรอบหนองอึ่งจากเดิมที่เคยมีการบุกรุกแพ้วถาง ทําไร่เลื่อนลอย จนป่าเสื่อมโทรม กลายเป็นป่าชุมชนดงมัน พื้นที่ ๓,๐๐๖ ไร่ที่ชาวบ้านร่วมกันฟื้นฟูสภาพและอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน ผลผลิตจากป่าที่ได้รับ การพัฒนา ยกระดับขึ้น จนสามารถสร้างชีวิตและรายได้ที่ดีให้กับชาวบ้าน

โครงการนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการเสด็จพระราชดําเนินของพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดํารงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านคําน้ําสร้าง ตําบลค้อเหนือ อําเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ซึ่งได้รับผลกระทบ จากน้ําท่วม ในการนี้ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชดําริให้หน่วยงาน ราชการต่าง ๆ พิจารณาช่วยเหลือเรื่องปากท้องของราษฎร ในพื้นที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจน

ในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดําเนิน ไปทอดพระเนตรสภาพบริเวณหนองอึ่ง ในพื้นที่บ้านท่าเยี่ยม ตําบลค้อเหนือ และมีพระราชดําริ เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของราษฎรในพื้นที่โดยพระราชทานพระราชดําริ ดังนี้

  1. ให้ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่ง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ําสําหรับทําการเกษตรและแหล่งเพาะพันธุ์ปลา
  2. ให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่และสภาพดินโดยรอบหนองอึ่ง ปลูกหญ้าแฝกและต้นไม้เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
  3. ให้ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรวม เพื่อให้คนกับป่าอยู่อย่างเกื้อกูลกัน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการศึกษา

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริด้านการศึกษา ได้สร้างคุณูปการให้กับเด็กและเยาวชนจํานวนมาก ในทุกระดับชั้น โดยพระราชปณิธานมุ่งมั่นเพื่อสร้างโอกาสให้กับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกําลังสําคัญของชาติต่อไป พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดําริให้นําพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ ยากจน ให้มีโอกาสศึกษาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๕๒ ในเวลาต่อมาจึง จัดตั้งเป็น “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. ขึ้น เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และทรงเป็นประธานกรรมการเอง ทุนการศึกษา พระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. เป็นทุนการศึกษาแก่ เยาวชนที่เรียนดี ขยันหมั่นเพียร ประพฤติดี มีคุณธรรมและฐานะยากจนให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับ ที่สูงขึ้นจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถและความต้อง การของผู้เรียน โดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนคืนและเมื่อจบการศึกษาจะเปิดโอกาสให้เข้าทํางานเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ตามความสมัครใจ

ในการดําเนินงานโครงการทุนฯ ได้พระราชทานหลักการให้กระจายทุนครบทุกจังหวัด และดําเนิน การด้วยการแสวงหา คัดเลือก คัดสรร และกลั่นกรอง จนได้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับ พระราชทานทุน จังหวัดละ ๒ รายต่อปี เป็นชายและหญิงเท่า ๆ กัน รับทุนพระราชทานในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ทุนละ ๑๘,๐๐๐ บาท ต่อปีในสายสามัญ และทุนละ ๒๒,๐๐๐ บาทต่อปี ในสายอาชีพต่อเนื่องไปจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยจะครอบคลุมทั้งค่าเรียน ค่าหอพักตามที่ จ่ายจริง สําหรับค่าครองชีพ ค่าหนังสืออุปกรณ์การเรียนจัดสรรให้เท่ากัน ๕๘,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึง ๒๕๖๑ มีนักเรียนทุน ม.ท.ศ. ๙ รุ่น ในปี ๒๕๖๑ มีนักเรียนทุนยังคงสถานะความ เป็นนักเรียนทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๑,๐๕๙ ราย ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๔๗๔ ราย ระดับ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ๕๘๕ ราย รวมเงินทุนที่ได้จัดสรรไปแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๑๘,๓๓๖,๕๒๔ บาท และนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เป็นต้นมา มีนักเรียนอยู่ในระบบครบทุกระดับตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรี โดยมีการใช้จ่ายเงินทุนพระราชทานคงที่นับจากปีดังกล่าว ประมาณ ๗๐ ล้านบาทต่อปี ทรงเน้นย้ําว่า

“…เมื่อทําโครงการมาแล้วจําเป็นต้องศึกษา ติดตามและพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทํางานที่ได้ผลต้องมีการศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัยและมีควาใส่ใจที่จะทํางานต่อเนื่อง…”

ด้วยเหตุนี้ นักเรียนทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. จึงได้รับการติดตามช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการศึกษาและการดํารงชีวิต พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตใจเป็นผู้ให้ มีความเป็น ผู้นําเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมและนําความรู้กลับไปดูแลบ้านเกิด

โครงการจิตอาสา“เราทําความดีด้วยหัวใจ”

ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความ สมัครสมานสามัคคี มีความสุขและประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กํากับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงาน ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อํานวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ มีหน้าที่ควบคุม อํานวยการและประสานการ ปฏิบัติเพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ เป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ

ในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปณิธานในการบําเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิตเป็นการทําความ ดีด้วยหัวใจถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโดยหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ฯร่วมกับประชาชนจิตอาสา “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกันดูแลและพัฒนารักษาพื้นที่จากชุมชนเล็กๆ รอบพระราชวังดุสิตขยาย สู่พื้นที่โดยรวมของประเทศในการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ความหมายของ “จิตอาสา”ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของ “จิตอาสา” ดังนี้

  • “จิต” เป็นคํานาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก
  • “อาสา” เป็นคํากริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทํา

ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัครใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทํากิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดู ดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทําความดีและเห็นน้ําตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดีอีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้

ความหมายของ จิตอาสา “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ”

หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งในและต่างประเทศที่สมัครใจช่วยเหลือผู้อื่นยอมเสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญาใน การทํางานที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

จิตอาสาตามพระราโชบาย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. จิตอาสาพัฒนา : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบําเพ็ญ สาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย ในการดํารงชีวิตประจําวันการประกอบอาชีพ รวมทั้งการ สาธารณสุข ฯลฯ แบ่งตามภารกิจงานเป็น 8 กลุ่มงาน ดังนี้
    • จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน
    • จิตอาสางานประดิษฐ์และเผยแพร่งานศิลปาชีพ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่นําความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาเผย แพร่ และถ่ายทอดเพื่อให้ประชาชนนําความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป
    • จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมการแสดงและมีนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ เช่น กิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณพระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอ รัก คลายความหนาว งานเถลิงศกสุขสันต์มหาสงกรานต์ตํานานไทย เป็นต้น
    • จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนและช่วยอํานวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วยอํานวย ความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
    • จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ให้คําแนะนําและอํานวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ
    • จิตอาสาฝ่ายส่งกําลังบํารุงและสนับสนุน หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุน อํานวยความสะดวก ดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการอาหาร น้ําดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสาที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน
    • จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯรวมถึงช่วยดูแลต้อนรับ ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
    • จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอํานวยความสะดวกในการสัญจรของประชาชนการแนะนํา เส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ
  1. จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน
  2. จิตอาสาเฉพาะกิจ : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็นการใช้กําลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรืออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริรัชกาลที่ ๙

ประวัติความเป็นมาของโครงการ

พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแก่ปวงราษฎรไทยทั้งหลาย ในระยะต้นแห่งการ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยสิริราชสมบัตินั้น เป็นพระราชดําริด้านการแพทย์และงานสังคมสงเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในระยะต้น รัชกาลนั้นกิจการด้านการแพทย์ของไทยยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร และการบริการสาธารณสุขในชนบทยังมิได้แพร่หลาย เฉกเช่นปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๕ จะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า ไม่มีลักษณะเป็นโครงการเต็มรูปแบบอย่างปัจจุบัน เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ วัณโรค มีอุบัติการณ์สูงและยังไม่หมดไปจากประเทศไทย ปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้เป็นจํานวนไม่น้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชปรารภกับหลวงพยุงเวชศาสตร์ อธิบดีกรมสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ความว่า

“…คุณหลวง วัณโรค สมัยนี้มียารักษากันได้เด็ดขาดหรือยัง ยาอะไรขาด ถ้าต้องการฉันจะหาให้อีก
ฉันอยากเห็นกิจการแพทย์ของเมืองไทยเจริญมากๆ…”

จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์จํานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อใช้สร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์” ในบริเวณสถานเสาวภา สําหรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และ ผลิตวัคซีน บี ซี จี ซึ่งผู้คนยุคนั้นกําลังประสบปัญหาจากวัณโรคอย่างร้ายแรงทรงริเริ่มสร้างภาพยนตร์ขึ้น ที่รู้จักกันในนามว่า “ภาพยนตร์ส่วนพระองค์” จัดฉายเพื่อหารายได้จากผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลนํามาช่วยเหลือพสกนิกรด้านต่าง ๆเช่น

  1. สร้างตึกวชิราลงกรณ์สภากาชาดไทย
  2. อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลภูมิพล

เมื่อคราวที่โรคอหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรงในเมืองไทย ซึ่งโรคนี้ต้องใช้ “น้ําเกลือ” เป็นจํานวนมาก แต่ในขณะนั้นการให้ น้ําเกลือแก่ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสั่งจากต่างประเทศ และน้ําเกลือที่ผลิตได้ในประเทศไทยตอนนั้นยังขาดคุณภาพ จนกล่าวกันว่า “ใส่ใครไปก็ช็อค” จึงได้พระราชทานพระราชดําริให้มีการศึกษาวิจัยและสนับสนุนในการค้นหาวิธีสร้างเครื่อง กลั่นน้ําเกลือใช้เอง จนมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบันนี้

โครงการแพทย์หลวงพระราชทาน “เรือเวชพาหน์” เพื่อใช้เป็นหน่วยเคลื่อนที่รักษาราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามลําน้ํา โดยพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดําเนินการมาจนทุกวันนี้

จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พระราชทานพระราชดําริให้สร้างอ่างเก็บน้ําเขาเต่า อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เดือดร้อนของราษฎรและสร้างเสร็จใช้ประโยชน์ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ นับเป็นโครงการพระราชดําริทางด้านชลประทานแห่งแรกของพระองค์

ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจํานวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคเหนือ
  • ภาคใต้
  • ไม่ระบุภาค

รวม

๗๙๘ โครงการ / กิจกรรม

๑,๒๐๖ โครงการ / กิจกรรม

๑,๘๓๘ โครงการ / กิจกรรม

๙๔๐ โครงการ / กิจกรรม

๒๘ โครงการ / กิจกรรม

๔,๘๑๐ โครงการ / กิจกรรม

ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทของการโครงการได้ ๘ ประเภท คือ

  • โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ํา
  • โครงการพัฒนาด้านการเกษตร
  • โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
  • โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข
  • โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร
  • สวัสดิการสังคม/การศึกษา
  • โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ

๓,๓๓๖ โครงการ / กิจกรรม

๑๓๙ โครงการ / กิจกรรม

๑๘๘ โครงการ / กิจกรรม

๓๔๖ โครงการ / กิจกรรม

๕๘ โครงการ / กิจกรรม

๘๔ โครงการ / กิจกรรม

๔๐๒ โครงการ / กิจกรรม

๒๕๗ โครงการ / กิจกรรม

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ บางโครงการมีกิจกรรมเดียว ดําเนินการแล้วเสร็จภายในปีเดียว บางโครงการมีหลายกิจกรรมและดําเนินการต่อเนื่องในปีต่อไป ดังนั้นหน่วยนับของโครงการจึงเป็น โครงการ / กิจกรรม

การพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ.2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดําเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจําปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล มีผู้รวบรวมสถิติและคํานวณว่า หากเสด็จพระราชดําเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่ทรงมีรับสั่งว่า “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง” พระองค์เสด็จฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจนถึงปี 2544 แล้วหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศในขณะนั้น เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี กับพระราชภาระอันหนักยิ่งนับเป็นการส่งต่อพระบรมราชปณิธานจากพระหัตถ์สู่มือบัณฑิตทุกคน

๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓

   พุทธศักราช ๒๕๑๙ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยนั้น ได้สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูงประมาณ ๒ เมตร ประดิษฐานอยู่บนแท่น ดูโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ ณ บริเวณด้านหน้าของสถาบัน และต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นับเป็นวาระที่สำคัญยิ่ง อันแสดงถึงความผูกพันของสถาบันการศึกษาที่มีต่อพระมหากษัตริย์ ยังความปลื้มปิติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ  แก่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นล้นพ้น 

   คณะกรรมการดำเนินงานพิธีเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  ได้ร่วมมือกันเตรียมงานอย่างพร้อมเพรียงเพื่อความสมบูรณ์พร้อมที่สุดของพิธี เช่น การจัดสถานที่ การจัดพิธีการ การประชาสัมพันธ์และปฏิคม การรักษาความปลอดภัยและการจราจร สวัสดิการและพยาบาล จัดทำของที่ระลึก หนังสือที่ระลึกและสูจิบัตร แสง เสียง การบันทึกภาพ ดนตรี งานสมโภช การแสดงนิทรรศการ แผนกกิจการนักศึกษา การจัดทำแพรคลุมพระรูปสมเด็จฯ ประกอบด้วยผ้าแพรเนื้อนุ่มสีม่วงและสีขาว ตลอดจนการเขียนคำกราบบังคมทูลและการเขียนประกาศเกียรติคุณของสมเด็จเจ้าพระยาฯ  

   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้ในท่ามกลางภยันตรายจากการคุมคามของประเทศตะวันตกที่มุ่งมาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์จากประเทศแถบทวีปเอเชีย อนุสาวรีย์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านสมเด็จฯ ทุกคน


   พระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่มวลพสกนิกรชาวบ้าน สมเด็จเจ้าพระยาได้ประทับไว้ในหัวใจเป็นล้นพ้นก็คือ 10 เมษายน 2523 เวลา 16.00 น. ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด