พระมหาสมัย จินฺตโฆสโก

ปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ 

ปริญญา : ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ปีการศึกษา ๒๕๓๘

 

พระครูวิสาลสรกิจ (พระมหาสมยศ)

ปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ 

เดิมชื่อ ดนัย นามสกุล ศิลป์ ฉายา อตุกภทโท อายุ ๔๒ พรรษา ๒๒

เกิด ณ ที่บ้านข้างวัดสุทธาราม โดยมารดาเป็นคนชาติภูมิเกิดข้างวัดสุทธาราม

เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดเศวตฉัตร

ศึกษาทางธรรม นักธรรมเอก อภิธรรมบัณฑิต วัดระฆังโฆสิตาราม (๒๕๒๖)

บรรพชาเมื่ออายุ ๑๘ ปี ถือพระอุปัชฌาย์ใน สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร)

วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๑๗ อายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบท ถือพระอุปัชฌาย์ใน พระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) วัดทองนพคุณ ณ พัทธสีมาวัดสุทธาราม พระครูสุทธาภรณ์ พระกรรมวาจาจรย์ พระครูสุทธาลังการ พระอนุสาวนาจารย์

วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๕ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สํานักวัดสุทธาราม

วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๗ เป็นครูสอนพระอภิธรรม สํานักวัดระฆังฯ

วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๑ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ เป็นพระครูฐานานุกรมที่ “พระครูปลัด” ในพระราชาคณะชั้นราช

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นพระครูฐานานุกรมที่ “พระครูวินัยธร” ในพระเทพวรเวที พระราชาคณะชั้นเทพ รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ เป็นพระครูฐานานุกรมที่ “พระครูวิสาลสรกิจ”

วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๓๖ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส

วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๗ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส

วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๓๘ เป็นเจ้าอาวาส ปี ๒๕๒๕-ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ดูประวัติเพิ่มเติม : พระครูวิสาลสรกิจ

ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

ประวัติ ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

วันเกิด ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๘๑

ประวัติการศึกษา

  • การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ 
  • Master of Arts Michigan State University 
  • Doctor of Philosophy  Michigan State University 

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน 

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต 

  • สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
  • นายกสภาสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
  • จัดทำโครงการพัฒนาจิตให้กับกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ประธานมูลนิธิวิปัสสนากรรมฐาน 
  • กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๘ 

ดร. สุรัฐศิลปอนันต์ 

ตำาแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

สถานที่ทํางาน กระทรวงศึกษาธิการถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๘๑-๖๓๐๖, ๒๘๒-๐๐๖๘  

ที่อยู่ ๓๒๙ ซอยองครักษ์บางกระบือกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๔๑-๓๕๖๐, ๒๔๑-๕๐๙๖ 

ชาติกำเนิด ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๑, หมู่ 5 ตำบลขามอำเภอจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิบิดาชื่อจรูญ (ครูประชาบาล) มารดาชื่อบุญพามา (ชาวนา) 

ประสบการณ์ประกอบอาชีพ 

  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน
  • รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เมษายน ๒๕๓๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
  • อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน, 5 ตุลาคม ๒๕๓๒ – เมษายน ๒๕๓๖ 
  • เลขาธิการ ก.ค. , ๑ ตุลาคม ๒๕๓๐ – ๕ ตุลาคม ๒๕๓๒
  • รองเลขาธิการ ก.ค. , ๒๕๒๓ – ๒๕๓๐
  • ผู้อำนวยการกองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ 
  • รองเลขาธิการคุรุสภา, ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒
  • ครูตรีโรงเรียนชัยภูมิ (สอนชั้น ม.ศ. ๑ – ๕) จังหวัดชัยภูมิ, ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕ 
  • ครูโรงเรียนเอกชน (ทั้งระดับประถมศึกษา และ มัธยม), ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒  

ผู้ริเริ่มและดำเนินการ 

  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษาจำนวน ๕๘ แห่งสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า ๕๐๐ ล้านบาทโดยรณรงค์ให้ประชาชนสร้างถวายประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท
  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ สถาบันการศึกษา และ พัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
  • จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชายแดน” จนรอบชายแดนของประเทศ(๙ แห่ง) 
  • จัดตั้ง“ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ๑๒๕ แห่ง 
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยทางดาวเทียม (ร่วมกับ“ ไทยคม) 
  • จัดการมัธยมศึกษาให้แก่ทหารเกณฑ์ในกองทัพบกเรือและอากาศ
  • เป็นผู้นำในการสร้างระบบบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (ระบบตำแหน่ง และ เงินเดือน) สำหรับประเทศไทยในระบบใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๓
  • เป็นผู้นำในการจัดทำกฎ ก.ค. , ระเบียบ ก.ค. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (เมื่อเป็นรองเลขาธิการ ก.ค. ) 

ที่ปรึกษา 

  • กรรมการและเลขานุการ คณะทํางานร่าง พ.ร.บ. กระจายอำนาจการจัดการศึกษา
  • คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรม
  • คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา 
  • คณะกรรมการประเมินสภาพการดำเนินงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • กรรมการประสานงานติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายของ ศธ.
  • คณะอนุกรรมการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาม.ต้น 
  • คณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาคารเรียน
  • คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน
  • คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติ“ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนบ้าน “

กรรมการแลพเลขานุการ  คณะกรรมการการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ 

ราชการระหว่างประเทศ รับผิดชอบราชการต่างประเทศทั้งปวงของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนประเทศไทยในองค์การยูเนสโกซีมีโออาเซียนและองค์การอื่น ๆ ในระยะนี้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ๕ โครงการสำคัญ  

  1. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาจากธนาคารโลก ๒ โครงการของกรมอาชีวศึกษากรมสามัญศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติวงเงินหลายพันล้านบาท 
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดทำนโยบายและการวางแผนร่วมกับองค์การ ค้าของรัฐบาลแคนาดา 
  3. โครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย 
  4. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 
  5. การวางแผนช่วยเหลือด้านการพัฒนาการศึกษา และสังคมประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า กัมพูชาและ เวียดนาม 

ประสบการณ์และความทรงจำในบ้านสมเด็จฯ  

เมื่อจบ ป.กศ. ต้น จากโรงเรียนฝึกหัดครูโคราช ได้รับคัดเลือกประเภทเรียนดีให้มาศึกษาต่อที่บ้านสมเด็จฯ ในระดับป.กศ.สูง เมื่อปี ๒๕๐๐ นับว่าเป็น ป.กศ.สูง รุ่นแรกของบ้านสมเด็จฯ มาเรียนอยู่๒ปี ได้เป็นหัวหน้าห้อง ก. ปกติห้อง ก. และห้องต้น ๆ เป็นนักเรียนเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนฝึกหัดครูต่างจังหวัดห้องต่อๆ ไปเป็นห้องที่นักศึกษาสอบคัดเลือกเข้ามาเรียน 

สำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดของดร. สุรัฐในระหว่างการเรียนที่บ้านสมเด็จฯ คือเรื่องครูบาอาจารย์ที่สอนสั่งล้วน แต่เป็นครูของครู ครูที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาอย่างยิ่ง เช่นวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่ท่านสนใจมากอาจารย์ออกสำเนียงได้ชัดเจนและถูกต้องในสมัยนั้นอาจารย์ภาษาอังกฤษคืออาจารย์ประยูรหมีทองอาจารย์คณิตศาสตร์คืออาจารย์เบญจมาศจันทร์เทียน เป็นต้นที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือครูอาจารย์เอาใจใส่นักเรียนมาก ทำให้พวกเรามีคุณภาพนี่คือลักษณะเด่นของคนบ้านสมเด็จฯ เมื่อเราจบออกไปทำงานไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นที่ยอมรับของวงการนั้นด้วยความสามารถที่โดดเด่นนั่นคงเป็นเพราะเรามีครูดีที่เอาใจใส่จนนักเรียนประสบความสำเร็จ ในที่สุดนอกจากนั้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ และการกีฬาได้สร้างเสริมให้พวกเราออกไปเข้าสังคมได้ดี  

อุดมการณ์ในการทำงาน 

ความสำเร็จใดไม่ว่าจะเป็นด้านการรับราชการ หรือการทำงานด้านธุรกิจก็ตาม ถือว่าเป็นผลไม่มีใครได้กำไรโดยไม่มีการลงทุนหมายถึงการลงทุนด้วยการเสียสละเสียเวลา หรือลงทุนด้วยกำลังกาย และกำลังใจผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิต และเมื่อกำหนดแล้วต้องเดินไปถึงจุดนั้นให้ได้โดยต้องทุ่มเททั้งแรงใจ และแรงกายใช้ความรู้ความสามารถความมานะ และ ความอดทนไม่มีใครเดินไปสู่จุดหมายที่ตนเองไม่ได้กำหนดเราจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตเลย ถ้าเราไม่ได้กำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิตไว้ 

รศ.สันต์ ธรรมบำรุง (พ.ศ.๒๕๓๖–๒๕๔๖)

รองศาสตราจารย์สันต์ ธรรมบำรุง 

ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2๔86 รวมอายุ 52 ปี 

การศึกษา 

ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต วิชาเอก สังคมศึกษา  

ปริญญาโท ครุศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอก นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร  

การฝึกอบรม  

– กอ.รมน.  

– เตรียมนักบริหาร ปี 2526 ของกรมการฝึกหัดครู  

– นักบริหารระดับสูง ของ ก.พ. รุ่น 1/7  33  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา 3 เดือน (บริหาร)  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทุน JICA (สำหรับผู้บริหาร)  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา 13 วัน  

การรับราชการ  

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ตรี สังกัดวิทยาลัยครูยะลา กรมการฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปัจจุบันรับราชการ ณ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อายุราชการถึงปัจจุบัน 27 ปี 10 เดือน

ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร  

  1. หัวหน้าฝ่ายฝึกสอน  
  1. หัวหน้าสำนักงานอธิการ  
  1. อธิการวิทยาลัยครูสกลนคร  
  1. อธิการวิทยาลัยครูเพชรบุรี  
  1. อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  1. อธิการรักษาการในตำแหน่งอธิการบดีสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

ผลงานทางวิชาการ  

(1) งานวิจัย 

ก. ลักษณะของอาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาที่พึงประสงค์ของอาจารย์  

ข. ผู้บริหาร นักศึกษาภาคปกติ และ กศ.บป. 

(2) งานตำรา – เรียบเรียง  

ก. การฝึกสอน 

ข. การมัธยมศึกษา 

ค. การสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  

ง. หลักการสอน  

งานตำราที่หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครูนำไปตีพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ ได้แก่           การสอนสังคมศึกษา หลักการนิเทศการสอน หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร  

(3) งานบทความ  

ก. สถานภาพและบทบาทของอาจารย์วิทยาลัยครูเปรียบเทียบ อาจารย์มหาวิทยาลัย และทหาร  ตำรวจ  

ข. การเขียนตำรา  

ค. การเขียนผลงานทางวิชาการ  

ง. การประเมินผลงานทางวิชาการ  

จ. สถานภาพ บทบาท หน้าที่ของหัวหน้า สำนักงานอธิการ  

ผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัล หรือได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ  

– ผู้สอนดีเด่นของวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ 2528  

– กรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ ของกรมการฝึกหัดครู  

– ประธานกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการของ ก.ค. ชุด 4 (การศึกษา)  

– ประธานตรวจผลงานของกลุ่มวิชาการกลุ่ม ส.ป.ช. ของ ก.ค.  

– กรรมการสภาการฝึกหัดครูจากตัวแทนคณะกรรมการ 2527-2528  

– ประธานเผยแพร่สร้างความเข้าใจงานประชาสัมพันธ์ของ กศ.บป. ตามคำสั่งของกรมการฝึกหัดครู  

– การอบรมอาจารย์ 2 ระดับ 7 ของข้าราชการสังกัดกรมการฝึกหัดครู  

– ประธานการทำหลักสูตรการอบรมอาจารย์ 2 ระดับ 7 ของกรมการฝึกหัดครู  

– กรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู  

– ได้รับการยกย่องในการแนะนำอาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ  

– ศิษย์เก่าดีเด่น พ.ศ. 2537 ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

– วิทยากรอบรมรองอธิการ หลักสูตร นักบริหารอุดมศึกษา  

– วิทยาการอบรมหัวหน้าสำนักงานอธิการ  

– ได้รับการยกย่องในการหาเงินบริจาคเพื่อพัฒนาสถาบัน เช่น สร้างห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ศูนย์เวชศึกษา อาคารศูนย์วัฒนธรรมฯลฯ เป็นเงินประมาณ 15 ล้านบาท  

– ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับชุมชน สถาบันกับวัด  

– เป็นผู้ริเริ่มวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ         แนวทางแก้ไขของจังหวัดเพชรบุรี  

– เป็นกรรมการ อ.ก.ค. จังหวัดเพชรบุรี  

– กปจ. จังหวัดสกลนคร 

7. แนวความคิดในการพัฒนาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี  

เป้าหมายในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีดังต่อไปนี้  

1. การพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ “ให้มีความรู้คู่คุณธรรมนำพัฒนา” โดยจะเน้นหลักการจัดระบบ      การเรียนการสอน การใช้นวัตกรรมมาประกอบการเรียนการสอนการพัฒนาห้องปฏิบัติการ  

2. การพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้บุคลากรมีผลงานทางวิชาการ ส่งเสริมการศึกษา ดูงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาอบรมหลักสูตรระยะสั้น การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในและต่างประเทศ  

3. พัฒนาสำนักวิทยบริการให้เป็นระบบที่ทันสมัย ให้มีเครื่องช่วยสอน เครื่องช่วยเรียน สิ่งตีพิมพ์       และหนังสือให้มากพอกับความต้องการของคณาจารย์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในห้องสมุดเพื่อบริการได้รวดเร็ว  

4. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมสาธิตและมัธยมสาธิต  

5. ส่งเสริมและให้บริการเป็นที่ปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการแก่ครูอาจารย์ทุกสังกัด  

6. ส่งเสริมการผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู โดยพัฒนารูปแบบการผลิตครูที่มีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูประจำการให้มีประสิทธิภาพ  

7. พัฒนาระบบศูนย์คอมพิวเตอร์ให้ใช้ประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนงานทะเบียน และสำนักส่งเสริมวิชาการ รวมทั้งจัดให้มีระบบเครือข่าย Internet ของสารสนเทศ  

9. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ  

10. การเปิดบัณฑิตศึกษา เพื่อเน้นความเป็นอุดมศึกษาที่สมบูรณ์ เพราะศักยภาพของสถาบันเราพร้อม  จะมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น และเตรียมการเปิดคณะนิเทศศาสตร์และคณะศิลปกรรม  

11. การประชาสัมพันธ์ จะเน้นการประชาสัมพันธ์โดยจะเน้นผู้บริหารเป็นผู้ประกอบการ การทำงานประชาสัมพันธ์จะต้องทำเป็นระบบ สร้างภาพพจน์ให้ดี ให้คนมีความเชื่อถือศรัทธา ให้มีวารสารทั้งภายใน        และภายนอก  

12. การจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม เน้นการใช้อาคารเรียน 15 ชั้น ให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุด มีเครื่องมือ    และนวัตกรรมที่เป็นเครื่องช่วยสอน และปฏิบัติงานสมบูรณ์แบบคือจัดให้มีวีดีโอ ทีวี เครื่องฉายข้ามศีรษะ       จอภาพของแต่ละห้องให้พร้อม การให้มี Student Union ปรับปรุงบ้านพระยาประสงค์ จะรื้ออาคาร 6 อาคาร 7 เพื่อสร้างเป็นอาคารเรียนและสำนักวิทยบริการ  

13. การบริหารงาน ยืดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย การบริหารแบบเชิงธุรกิจ      การกระจายอำนาจลงสู่คณะ/สำนัก/ศูนย์ การทำงานที่เป็นระบบ  

14. การจัดตั้งศูนย์พัฒนาภาษา  

15. ปณิธานในการทำงานของข้าพเจ้า  

15.1 ถือว่าสถาบันฯ คือบ้าน โดยจะพัฒนาบ้านนี้ให้ดีที่สุด ทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ       และอุทิศเวลาให้กับการทำงานได้อย่างเต็มที่  

15.2 การบริหารงานจะดำเนินการเป็นทีม และรับฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ว่าประสงค์     จะพัฒนาสถาบันไปอย่างไร  

15.3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของสถาบันเป็นหลัก 15.4 การบริหารงานจะคำนึงถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะอาจารย์และนักศึกษา โดยการแก้ปัญหาด้วยการประสานประโยชน์  

15.5 สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสถาบันให้เป็นสังคมวิชาการเน้นการวิจัยการศึกษาค้นคว้า การผลิตเอกสารตำรา การส่งเสริมให้เขียนบทความ โดยจัด Student Room ให้แก่คณาจารย์            และนักศึกษา 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ (พ.ศ.๒๕๓๒–๒๕๓๖)

รองศาสตราจารย์ฉลอง  ภิรมย์รัตน์ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๕ ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย ๔ คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๓๘/๓๕๙    ซอยลาดพร้าว ๔๗ อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ 

  1. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๘ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์จังหวัดกระบี่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี        โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา และได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ จบวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับปริญญา M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ในปีเดียวกัน  

  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ตำแหน่งครูตรี ประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2505  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 251๔-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ.๒๕๑๗-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2520-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2521  

– กรรมการสภาฝึกหัดครู พ.ศ. 2521  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ.๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528- 2532  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2532- 2536 

การฝึกอบรมและดูงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่อง การขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติชเคาน์ซิล พ.ศ. 2523           – อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  

5. ผลงานดีเด่น  

– ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์  

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ  

– ผู้ริเริ่มจัดตั้งโครงการ กองทุนสุริยะ ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการ เพื่อคณาจารย์และคนงานทุกท่าน 

– ผู้ริเริ่มโครงการของงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนรวม 15 ชั้น หลังแรกของกระทรวงศึกษาธิการ 

ประวัติและผลงาน 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ 

รองศาสตราจารย์ ระดับ  

กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2475 ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย 4 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 38/359 ซอยลาดพร้าว 47 อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร 10310 

. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-2505 ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท  

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่  
  • เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่, โรงเรียนสุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเบญจม       ราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา  
  • ได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-2500  
  • ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2505  
  • ปริญญาโท M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธย (ป.ม.) ในปีเดียวกัน 
  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ตำแหน่งครูตรีประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2504  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2514-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2517-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๐-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๑  

– กรรมการสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๒๑  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528-25๓2  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๓๒-2536 

ตำแหน่งครั้งสุดท้าย  

  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ  

4. การฝึกอบรมและดูแลงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES           พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่องการขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติช เคาน์ซิล          พ.ศ. 2523  

– อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

5. ผลงานดีเด่น  

–  ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ 

6. ผลงานทางวิชาการบางเล่ม  

กระบวนการกลุ่ม 2521  

– รายงานการวิจัยเรื่อง ความศรัทธาในอาชีพครู ของนักศึกษาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ 2525 

จิตวิทยาสังคม 2521  

จิตวิทยา อปกติ 2523  

การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 2525 

7. เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ช.)   

จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)   

ตติยาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)   

ตริยาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)  

ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)  

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)  

ปรมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)  

ปรมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)  

มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) 

พระพุทธภิรมย์รัตน์  

บูชาครูผู้ก่อผู้สรรค์สร้างหอวัฒนธรรมภูเก็จ 

ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ ได้ตั้งหอวัฒนธรรมภูเก็จขึ้นเมื่อ พ.ศ 2524 มอบหมายให้หอวัฒนธรรมปู่ภูเก็จ     กับภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รวมกันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา        จากวัดมงคลนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มาเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ เห็นชอบ 2 ชื่อ ที่จะใช้เป็นนามพระพุทธรูปคือ พระพุทธรัตนภิรมย์ กับพระพุทธภิรมย์รัตน์     แต่ชื่อที่เกี่ยวข้องเรียกขานกันเป็นประจำ คือ พระพุทธภิรมย์รัตน์ ประดิษฐานอยู่ที่หอวัฒนธรรมภูเก็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  

ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อมี พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และตราสัญลักษณ์สถาบัน โดยพิจารณาจากตรา    พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้ว    จึงได้อัญเชิญตรานี้และพระพุทธภิรมย์รัตน์ นำไปปรึกษาท่านอาจารย์ชัย ปุรินทโก เจ้าอาวาสวัดบางโทง        อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ สร้างเป็นเหรียญมงคล “สมาธิชัยแห่งความสำเร็จทางปัญญาด้วยความรื่นเริงยิ่ง” เกจิอาจารย์ปลุกเสกครั้งสุดท้ายเมื่อวันฉัตรมงคลที่ 5 พฤษภาคม 2547  

รองศาสตราจารย์ สุรพันธ์ ยันต์ทอง (พ.ศ.๒๕๒๘–๒๕๓๒)

อธิการนักพัฒนา สร้างสรรค์วิทยาลัยให้มีบรรยากาศทางวิชาการ เปิดการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ระดับปริญญาดรีในสาขาวิชาการอื่น เพิ่มจากสายวิชาชีพครู 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ๆ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 

วัยเยาว์ เกิด ๒๖ มกราคม ๒๔๗๓ 

สถานที่เกิด อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 

บิดา-มารดา นายลม และนางทอง ยันต์ทอง 

ครอบครัว

• พ.ศ. ๒๕๐๒ สมรสกับนางวาสนา ยันต์ทอง (ถึงแก่กรรม) 

มีธิดา ๒ คนคือ นางสาวลิริพิมพ์ และนางสาววรสิริ ยันต์ทอง 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ สมรสกับนางอรุณ ยันต์ทอง มีบุตร ๑ คนคือ นายรณพันธ์ ยันต์ทอง 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๖ โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านด่าน “สุววรณราษฎร์จรูญ”  

• พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๑ โรงเรียนบางปลาม้า “สุงสุมารผดุงวิทย์” 

• พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๖ โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๓ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

• พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๔๐๙ State University of New York (College at New Paltz) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๔ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ อาจารย์ประจำกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๗ ศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๙ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช 

• พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ อธิการวิทยาลัยรูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๑ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

นายบุญเลิศ ศรีหงส์ (พ.ศ.๒๕๒๑–๒๕๒๘)

สร้างยิมเนเซียม ใช้เป็นภาควิชาพลศึกษา และสันทนาการ มีประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ทำให้วิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่นเปิดสอนหลักสูตรป.กศ.ชั้นสูง เทคนิคการอาชีพ และหลักสูตรระดับอนุปริญญา ๒ ปี สายวิชาการอื่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗และ ๒๕๒๘ ตามลำดับพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๒๓ 

วัยเยาว์ เกิด ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒ 

สถานที่เกิด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 

บิดา-มารดา ร.อ.หลวงภาณีสุนทรสาร และนางสารภี ศรีหงส์ 

ครอบครัว สมรสกับนางทับทิม ศรีหงส์ มีบุตร-ธิดา ๓ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐ ศึกษาที่โรงเรียนสตรีอุตรดิตถ์ จบชั้นประถมปีที่ ๓ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๖ ศึกษาที่โรงเรียนเปี่ยมเมธีวิทยาลัย จบชั้นประถมปีที่ ๕ 

• พ.ศ. ๒๔๘๗ ศึกษาที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยม ปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ประกาศนียบัตรประโยคเตรียมอักษรศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๖ ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาตัวตนเอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมูล 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๑ ศึกษาที่ Indiana University, U.S. A. ได้ปริญญา Master of Scicnce in Education  (M.S. in Ed.) 

การรับราชการ  

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ครูตรี โรงเรียนอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๙๙ อาจารตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท วิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๕ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์เอก  

• พ.ศ. ๒๕๐๗ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี ลพบุรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๙ ลาออกจากราชการ 

ม.ร.ว.ทวีโภค เกษมศรี (พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๒๑)

เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครูคนสุดท้าย และเป็นอธิการคนแรก สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ บูรณะปรับปรุงศาลสมเด็จฯ สร้างตึกคณะวิชาครุศาสตร์ หอสมุดกลางและตึกคณะวิชาวิทยาศาสตร์เปิดให้การศึกษาและฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ 

วัยเยาว์ เกิด ปี ๒๔๗๐ สถานที่เกิด ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ชั้นประถม ถึง ม.๗ ชั้นสูงสุดในขณะนั้น 

• พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จบ ม. ๘ แผนกฝรั่งเศส 

• พ.ศ. ๒๔๗๙ สมัครสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๕ อาจารย์โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แผนกฝึกหัดครูประถม และรับราชการอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นเวลายาวนานกว่า ๓๕ ปี โดยมิได้โยกย้ายไปที่ใด 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑ เกษียณอายุราชการ 

นายจรูญ มิลินทร์ (พ.ศ.๒๕๑๑–๒๕๑๘)

เป็นสมัยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่องฟูทางวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. และ ป.กศ. ชั้นสูง สำหรับบุคคลภายนอก สร้างอาคาร ๒ และอาคาร ๓ ปลายสมัยผู้อำนวยการจรูญ มิลินทร์ มีประกาศใช้พระบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.๒๕๑๘ ทำให้วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตทางสายครุศาสตร์ถึงระดับปริญญาตรี 

วัยเยาว์ เกิด ๒๔ เมษายน ๒๔๗๑ 

สถานที่เกิด อำภอเมือง จังหวัดหนองคาย 

บิดา-มารดา นายเสรี และนางสุดสงวน มิลินทร์ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๐๐ สมรสกับนางสำลี มิลินทร์ มีธิดา ๑ คน ชื่อ นางสาวธิติพร มิลินทร์ 

การศึกษา  

• พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๗๙  ศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลตำบลวัดธาตุ ได้ประกาศนียบัตรประโยคประถมปีที่ ๔ 

• พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๕  ศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๘ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมบ้านสมเด็จเจ้พระยา และโรงเรียนฝึกหัด 

• ครูประถมพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม พระนคร ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ -๒๔๘๘ ศึกษาที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ -๒๔๙๙ ศึกษาที่ Indiana Universily, U.S.A. ได้ปริญญา Master of Science in Education (M.S.in Ed.) 

• พ.ศ. ๒๕๑๓ -๒๕๑๔ ศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๑๓ จบหลักสูตร วป.อ. 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ครูตรีโรงเรียนสมุทรปราการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ ครูตรีประจำกรมวิสามัญศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ ครูตรีโรงเรียนสระบุรี 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ อาจารย์ตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

• พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๕ เลขาธิการคุรุสภา 

• พ.ศ. ๒๕๓๑ ออกจากราชกาวเพื่อรับบำนาญ 

นายศิริ ศุขกิจ (พ.ศ.๒๕๐๘–๒๕๑๑)

ใช้นโยบายปรับปรุงส่งเสริมระเบีบวินัยของราชการและครูอาจารย์ สร้างตึกคหกรรมศาสตร์ ใช้เป็นภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สืบต่อมาจนทุกวันนี้ 

วัยเยาว์ เกิด ๒๒ มีนาคม ๒๔๕๑ 

สถานที่เกิด อำเภอหนองแขม กรุงเทพมหานคร 

บิดา-มารดา นายสอน และนางสาย ศุขกิจ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๗ สมรสกับนางสาวนันทา ศุกระชาติ มีบุตร-ธิดา ๕ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๖o โรงเรียนมัธยมวัดมหาธาตุ เป็นเวลา ๕ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๒ 

• พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นเวลา ๖ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๘ 

• พ.ศ. ๒๔๗๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวลา ๔ ปี ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยม แผนกวิทยาศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับทุนยูซอม ไปศึกษและดูงานในด้านบริหารการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปี 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๗๕ รับราชการครั้งแรก เป็นครูน้อยโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๘๒ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย 

• พ.ศ. ๒๔๘๓ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดตาก 

• พ.ศ. ๒๔๙๔ ครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดรูนครสวรรค์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู อุดรธานี 

• พ.ศ. ๒๕๐๒ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๒ ครบเกษียณอายุ