รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน (พ.ศ.๒๕๔๖–๒๕๕๕)

ข้อมูลพื้นฐานส่วนตัว

  • ชื่อ ว่าที่ ร.ต. สุพล     นามสกุล    วุฒิเสน
  • เกิดวันที่    ๒      เดือนมีนาคม  พ.ศ.   ๒๔๘๖  
  • ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่  ๑๙/๕๓  หมู่ที่ ๗  ตำบล  คลองหลวงแพ่ง

อำเภอ เมือง   จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ๒๔๐๐๐

  • สถานที่ทำงานปัจจุบัน  ประสานงานกับหลายมหาวิทยาลัย  (ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธนบุรี  กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ฯลฯ)
  • ประวัติการทำงาน (ระบุปี พ.ศ.)
  • พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๘             อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี

                                          วิทยาลัยครูอุดรธานี

  • พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๒             อธิการ วิทยาลัยครูสุรินทร์
  • พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๖             อธิการ , อธิการบดี  วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา

                                          สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา

                                          สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

  • พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๕๕              อธิการบดี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                                          มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        (เป็นผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ๒๕๒๘ – ๒๕๕๕ รวม ๒๘ ปี)

ด้านวิชาการ

         ๑. ๑ คุณวุฒิทางการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๒๗      Ph.D. (International/Intercultural Education). The Florida State University, USA. 1984

พ.ศ. ๒๕๑๖      M.A. (Comparative International Development Planning in Education), Stanford University, USA. 1973

พ.ศ. ๒๕๑๓      M.A.T. (Social / Asian Studies),University of the Philippines. Quezon City The Philippines, 1970     

พ.ศ. ๒๕๐๗ ปริญญาตรี กศ.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) อื่นๆ…

วุฒิบัตรการฝึกอบรม : สถาบันพระปกเกล้า ๒๕๔๔ การกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงจากการการศึกษาและการปฏิรูประบบราชการ

วุฒิบัตรการฝึกอบรม : ทบวงมหาวิทยาลัย ๒๕๔๓ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา

Certificate : World University President Summit Bangkok 2006

Certificate :Queensland Higher Education Rajabhat Presidents Program, Australia, 2002

Certificate :Institutional Management in Higher Education, UNESCO/ SEAMEO, 2000

Certificate :Presidential Seminar on the Presentation of the Honorary Doctoral Award to His Royal Highness the Crown Prince, Edith Cowan University, Australia, 1997

Certificate :Graduate Training Program, Edith Cowan University, Australia, 1995

Certificate : Chunga-Seminar and Korea Study Tour, Human Resource Development Project, Chung-Ang University, Seoul, Korea, 1-5 june 1994

 Certificate :Entrepreneurship Educational, Southern Illinois University at Carbondale, 1988

Certificate : Presidential Seminar, Western Carolina University, USA, 1986

Certificate : Planning for Integrated Regional Development, UNCRD Nagoya, Japan, 1977

         ๑.๒ ผลงานทางวิชาการ  (ตำรา / บทความทางวิชาการ / งานวิจัย)

ตำรา / บทความทางวิชาการ / งานวิจัย ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ (เฉพาะบทความ / งานวิจัย) พ.ศ.
๑. TRENDS Model World University President Summit Bangkok ๒๕๔๙
๒.ทิศทางวิสัยทัศน์และประเด็นสำคัญของการพัฒนา      การศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๔๓
๓.พันธกิจของการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาต่อการพัฒนาประเทศ วารสารคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๒
๔.อาจารย์กับกระบวนการตื่นตัวทางวิชาการ ราชภัฏราชนครินทร์ ๒๕๔๒
๕.ราชภัฏราชนครินทร์อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา มติชน ๒๕๔๒,๑๔ ก.พ.
๖.ปฏิบัติการต่อเนื่องโครงการ่วมมือกับควีนแลนด์ ราชภัฏฉะเชิงเทรา ๒๕๔๑
๗.Cooperation Among Higher Ed. Inst ฯลฯ UNESCO, BANGKOK ๒๕๔๑
๘.กศ.บป.กับการพัฒนาคนทำงาน สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ๒๕๔๐
๙.Joint Programs Thai- Australian University AVCC- Australia ๒๕๓๙
๑๐.Innovative Approaches Towards Youth Problem UNICEF, BANGKOK ๒๕๓๘
๑๑. บทบาทสถาบันการศึกษาในโครงการอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๓๗
๑๒.การควบคุมการศึกษาของไทยฯลฯ คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๖
๑๓. การวิจัยในสภาพธรรมชาติ ฯลฯ วิจัยสนเทศ, กศ.น. ๒๕๓๕
๑๔.การตวจสอบและชี้นำโดยนักวิชาการ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ๒๕๓๔
๑๕.วิทยาลัยครูในฐานะปฏิบัติการสำคัญทางวัฒนธรรม คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๓
๑๖. The working condition for Civil –officer ฯลฯ NCC-Norway ๒๕๓๒
๑๗.ความเติบโตของวิชาชีพครู ฯลฯ คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๐
๑๘.เงื่อนไขแนวปฏิบัติของนักวิชาการท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย ๒๕๓๑
๑๙.ความดีความชอบที่ส่งเสริมการเป็นสถาบันอุดมศึกษา คุรุปริทัศน์ ๒๕๒๘
๒๐. ความเจริญทางการศึกษาต้องปรับให้ทันปัญหา คุรุปริทัศน์ ๒๕๒๗
๒๑. The Sarvodaya Movement UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๖
๒๒. Experiences in developing Inst-Materials UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๕
๒๓. Exploring New Direction in Teacher Education UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๔
๒๔. กรมหลวงผู้เป็นอัจฉริยะในการเป็นนักการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อาทิตยคุณธรรมของการศึกษาไทย สกอ. ๒๕๕๑
๑.เงื่อนไขสำคัญในหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนในพื้นที่ชนบทยากจนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สภาวิจัยแห่งชาติ ๒๕๒๘-๒๕๓๙
๒.ครูกับการพัฒนาชนบท : กรณีโครงการอบรมครูประจำการ  วิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The Internationnal Dev’t research Centre (IDRC) ๒๕๓๑
๓. Teachers College Extension Centre in Rural Areas as Means   to Practical Educationnal Reform : A Preliminary Study UNCRD – Nagoya ๒๕๒๐
๔.Effective Change –Agents of Rural Areas in Udorn and   Nongkai Provinces สภาการศึกษาแห่งชาติ NEC ๒๕๓๓
๕.Linking of Formal and Non –formal Ed. Experiment Project in   NE- Thailand UNESCO, BANGKOK  
๖.อิทธิพลของตัวการในการเปลี่ยนแปลงสังคมรายกรณีชนบท  อุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ๒๕๒๙
๗. The Teachers Training Regional Network and Educational  Innovation FSU, Ford Foundation ,IDRC ๒๕๒๗

   ๑.๓ ตำแหน่งทางวิชาการ  (ถ้ามี)

ตำแหน่งทางวิชาการ  รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์พิเศษ    Faculty of Computing, Health and Science ,  Edith Cowan University,  Perth, Australia

ศาสตราจารย์พิเศษ    Tianjin Normal  University,  Tianjin, PR.China

ศาสตราจารย์พิเศษ    Chamroeun University of Technology,  Phnom Penh, Cambodia

๒.  ประสบการณ์ด้านการบริหาร

         กรรมการสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  (ปัจจุบัน )

         กรรมการสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  (ปัจจุบัน)

         กรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี  พ.ศ. 2556 ( ปัจจุบัน)

         บริหารสถานศึกษา

อธิการบดี       สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.๒๕๕๕

                     (จากปี ๒๕๔๖)    

อธิการ           วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา  สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา

อธิการบดี       สถาบันราชภัฏราชนครินทร์            พ.ศ.๒๕๔๖ (จากปี๒๕๓๒)                    

อธิการ           วิทยาลัยครูสุรินทร์                         พ.ศ.๒๕๓๒ (จากปี๒๕๒๘)

ประธานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ                  พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑

อนุกรรมาธิการ การอุดมศึกษา, วุฒิสภา                พ.ศ.๒๕๕๑

กรรมาธิการวิสามัญร่างพรบ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ, สภาผู้แทนราษฎร     พ.ศ.๒๔๔๖

         บริหารงานอุดมศึกษา

อนุกรรมการด้านนโยบายและแผนอุดมศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒๕๕๑
อนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ๒๕๕๑
ประธานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๒๕๕๐
กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ สภาผู้แทนราษฎร ๒๔๔๗ (จากปี ๒๔๔๖)
กรรมการต่างๆกรมการฝึกหัดครู สถาบัน     ราชภัฏและหน่วยงานราชการอื่นๆทุกระดับตามคำเชิญ    
  • งานบริการสังคม

2557                            ประธานมูลนิธิสถาบันราชภัฏราชนครินทร์ในพระอุปถัมภ์ ฯ

๒๕๕๑- ปัจจุบัน            ทูตสันติภาพของ Interreligious and International Federation for World – Peace

     Thailand

๒๕๔๙                          สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ(ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาฯ)

๒๕๔๘                          กรรมการสรรหา คณะกรมการ ป.ป.ช.

๒๕๓๘                          ประธานกรรมการพัฒนาคลองแสนแสบ (ส่วนต่อเนื่องไปฉะเชิงเทรา คำสั่ง ศธ.)

๒๕๓๗                          ประธานกรรมการในการจัดอบรมครูประจำการประถมศึกษา (คำสั่ง ศธ.)

๔. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

๑.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงให้ตามเสด็จหลายครั้ง  ถวายรายงานร่วมเขียนหนังสือ ๑ เล่ม ได้รับพระประทานนาม “ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์” อันยิ่งกว่ารางวัล  และเกียรติคุณใดๆ

๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก

๓. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย Sahametrei Grand cros ของราชอาณาจักรกัมพูชา

๔. ศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาลัยครูอุดรธานี,วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร)

ดูประวัติเพิ่มเติม : อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน1

น.ส.มณีนุช เสมรสุต

น.ส.มณีนุช เสมรสุต

ปริญญา : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ปริญญา :   ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน)

ปริญญา : ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๘ มีนาคม ๒๕๔๕ 

ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ประวัติ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์

เกิด วันที่ 8 มิถุนายน 2484

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
  • ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี  จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชั้น ป.กศ.  และ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  •  กศ.บ.(เกียรตินิยม)  ประถมศึกษา และ คณิตศาสตร์ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา  ประสานมิตร 
  •  M.A.(Ed. Adm.& Research)   Michigan State University 
  • Ph.D.(Higher Ed.)   Michigan State University 
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

ประวัติการทำงาน 

  • ๒๕๐๗ - ๒๕๑๗ เป็นครูสอนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดอินทาราม กาญจนบุรี 
  • ๒๕๑๗ -  ๒๕๑๙ เป็นนักวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๑๙ - ๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการกองวิจัยการศึกษา 
  • ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๒๙ - ๒๕๓๕ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • ๒๕๓๕ โอนย้ายมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๓๕ - ๒๕๓๗   เป็นอธิบดีกรมวิชาการ 
  • ๒๕๓๗ -  ๒๕๓๘   เป็นอธิบดีกรมการศาสนา 
  • ๒๕๓๘ -  ๒๕๓๙   เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา 
  • ๒๕๓๙ -  ๒๕๔๒   เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๔๒ -  ๒๕๔๔   เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ     มหาวชิรมงกุฏ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 

หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน 

  • เป็นข้าราชการบำนาญ  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำ กกต. 
  • เป็นประธานกรรมการบริหารชมรมขัาราชการและครูอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา 
  • เป็นนายกสภาวิทยาลัยเชียงราย 
  • เป็นุอปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 
  • เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี 
  • เป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
  • เป็นอนุกรรมการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต   ปปช 
  • เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นรองประธานฝ่ายการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นประธานมูลนิธิสามัญศึกษา 
  • เป็นประธานมูลนิธิคุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู 
  • เป็นเลขาธิการมูลนิธิดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์เพื่อส่งเสริมการอ่าน 
  • เป็นกรรมการมูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ชนถิ่นกันดาร 

เกียรติประวัติที่เคยได้รับ

  • ๒๕๐๑ -  ๒๕๐๗   เป็นนักเรียนทุนจังหวัดกาญจนบุรี
  • ๒๕๑๑ -  ๒๕๑๗ เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ สหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลพ่อดีเด่น
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา  เสาเสมาทองคำ
  • ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศข้าราชการผู้ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจากคณะกรรมการ ปปช. 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • ได้รับยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ Michigan State University สหรัฐอเมริกา 
  • ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีเมืองกาญจน์ 
  • ได้รับยกย่องเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น 
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ  

ผลงานเขียนเป็นหนังสือ 

  • การศึกษาคือยาหม้อใหญ
  • จารึกไว้ในพระศาสนา  จารึกไว้ในการศึกษา 
  • การศึกษา ปัจจัยที่ห้าของชีวิต 

บันทึกปลัดกระทรวง

  • ก้าวไปข้างหน้า 
  • เหลียวหลัง  แลหน้า  ตามอารมณ์ 
  • หนุ่มบ้านทุ่ง   คนบ้านทุ่ง 
  • คิดเป็นการศึกษา 
  • นิทานส่งเสริมประชาธิปไตยดอทคอม 

ถ้ามีคนถามว่าผมจบม.๘ มาจากโรงเรียนไหนผมมักจะตอบทุกคนด้วยความภาคภูมิใจ ว่าผมไม่เคยเรียนม.๗ ม.๘ แต่ผมเป็นนักเรียนฝึกหัดครูจบ ปก.ศ. และ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผมเป็นลูกสุริยะ 

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่าจะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพราะนี่คือความหวังอันสูงสุดในชีวิตในสมัยนั้น ด้วยความที่ฐานะทางบ้านขัดสนเอามากๆ ทางเลือกเมื่อผมจบม.๖ มีเพียงทางเดียว คือต้องสอบเข้าเรียนครูให้ได้และต้องให้ได้ทุนด้วย แต่สอบให้ได้ผมไม่ค่อยเป็นห่วงให้ได้ทุนก็คิดว่าพอลุ้น แต่ถ้าจะให้ดีต้องให้ได้ที่ ๑ ด้วย จะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จผมฝันอยากเป็น นักเรียนกรุงเทพฯถ้าได้มาอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาแม้จะอยู่ฝั่งธนบุรีก็พอ นับว่าเป็นกรุงเทพฯได้อยู่ผมประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เมื่อผมสอบได้ผมได้ทุน และผมได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จ 

ชีวิตที่บ้านสมเด็จฯ ช่วยให้ผมโตขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัวผมไม่ได้หมายถึงขนาดของร่างกาย เพราะตั้งแต่มาเรียนที่มีบ้านสมเด็จฯ แล้วผมไม่เคยสูงขึ้นอีกเลย แต่ผมหมายถึง โตขึ้นทางความรู้สึกนึกคิดเรียกว่ามีวุฒิภาวะมากขึ้น มีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีความทะเยอทะยานมากขึ้น มีความฝันมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น 

ผมเป็นนักเรียน ป.กศ. รุ่นที่ 4 ของกรมการฝึกหัดครูเข้าบ้านสมเด็จฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ สมัยนั้นนักเรียนทุนจากต่างจังหวัดต้องอยู่หอพัก ทุกคนส่วนใหญ่แต่ละจังหวัดรุ่นที่อยู่หอพักก็สักก็มากัน ๑ คนมีจังหวัดที่มีวิทยาลัยครูมา ๔ คนรวมทั้ง ๑๐๐ คนมีนักเรียนทุนส่วนกลางและต่อมาก็มีนักเรียนรอบบ่ายเพิ่มขึ้นอีกรวมทั้งรุ่นคงราว ๆ ๓๐๐ คนเศษที่สนิทสนมกันมากก็คงเป็นพวกที่อยู่หอพักด้วยกันเพราะเรากินด้วยกันเล่นด้วยกันดูหนังสือด้วยกันและหนีอาจารย์ไปเที่ยวด้วยกันบางทีเราก็ทะเลาะกันบ้างแล้วเราก็ดีกันบางทีเราก็แกล้งกัน แล้วเราก็ให้อภัยกันจากวันนั้นถึงวันนี้เรายังรักกัน ไม่เสื่อมคลายผมหมายถึงความรักฉันท์เพื่อนไม่ใช่ฉันท์คนรักก็ที่อยู่หอพักด้วยกันมี แต่ผู้ชายทั้งนั้นที่เป็นหญิงเขาเรียนรอบบ่ายเกือบจะไม่เคยได้เห็นกันเลย (ยกเว้นตอนที่แอบดูเขา) ด้วยเหตุนี้ละกระมังที่ทำให้ผมไม่มีแม่บ้านเป็นลูกสุริยะด้วยกัน 

ผมมีความประทับใจหลาย ๆ อย่างที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่นี่ผมได้พบอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติใคร ๆ ก็อยากเป็นลูกศิษย์ด้วย (สมัยนั้น) เช่น อาจารย์โชค สุคันธานิช อาจารย์ดิน เผือกสกนธ์ อาจารย์ใย ยรรยงอาจารย์สงัด ภูเขาทอ งโดยเฉพาะอาจารย์สงัด และอาจารย์ใย นี่ผมชอบเป็นพิเศษ และใฝ่ฝันอยากเก่งภาษาไทยเหมือนอาจารย์ ผมเลยศึกษาวรรณคดีไทยเป็นการใหญ่ ผมจำได้ว่าภายใน ๒ ปีที่เรียน ป.กศ. ผมอ่านหนังสือวรรณคดีที่มีอยู่ในห้องสมุดของวิทยาลัยได้หมดทุกเล่ม ก็เพราะอยากเป็นเช่นอาจารย์ตรงนี้ผมทำผิดพลาดไปถนัดเพราะผมศึกษาเร็วเกินไปต่อมาก็เลยหมดความสนใจ พอได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ประสานมิตรเลยหันไปเลือกเรียนเอกคณิตศาสตร์แทนภาษาไทย เพราะรู้สึกว่าในเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีสิ่งที่ผมไม่รู้อีกมากเหลือเกินผมตั้งใจว่าต่อไปจะศึกษาภาษาไทยเป็นงานอดิเรกแทน แล้วก็ยังไม่ได้เริ่มต้นอีกเลยจนทุกวันนี้ผมไปเรียนประสานมิตรได้สัก ๒-๓ เดือนกลับมาเที่ยวบ้านสมเด็จ พบอาจารย์ใยยรรยงท่านถามว่าพนมไปเรียนเอกอะไรผมตอบว่าเอกคณิตศาสตร์ดูท่าทางอาจารย์ผิดหวังผมมากอาจารย์พูดว่า “ครูคิดว่าเธอจะไปเรียนเอกไทยเสียอีก” 

ที่บ้านสมเด็จฯ นี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมไปอย่างหนึ่งคือผมเป็นคนบ้านนอกเกิดนอกเมืองกาญจน์ออกไปอีกพูดสำเนียงเหน่อ ๆ ต่อมาผมก็หัดพูดแบบคนเมืองกาญจน์ก็คิดว่าเข้าที่ดีแล้วมาเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เคยถูกล้อเลียนเห็นมี แต่จิระจากสุพรรณและประชุมจากเพชรบุรีที่ถูกล้อเลียนเป็นประจำจนอยู่มาวันหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์กฤษณาสยามเนตรเป็นผู้สอนผมเพิ่งมาอยู่ใหม่ ๆ ได้เดือนเศษยกมือขึ้นถามอาจารย์อาจารย์หัวเราะผมจนตัวงอผมอายหน้าแดงเอ๊ะ! นี่ผมทำอะไรผิดสักครูอาจารย์ก็บอกว่า“ พนมครูไม่ได้ว่าอะไรเธอหรอก แต่หัวเราะเสียงเธอมันเหน่อสิ้นดี” ผมจึงเข้าใจว่าที่พยายามดัดสำเนียงนั้นยังใช้ไม่ได้ต้องพยายามต่อไปให้เหมือนชาวกรุงเทพฯให้ได้ผมคิดว่าผมทำได้สำเร็จไม่มีใครล้อผมหรือหัวเราะผมอีกจนเมื่อสัก ๒-๓ ปีมานี้ไปพบคุณหมอประเวศวะสีเรียนท่านว่า“ คุณหมอครับผมก็เป็นคนเมืองกาญจน์  คุณหมอก็ตอบว่า“ รู้แล้วว่าไม่ต้องบอกหรอกฟังเสียงรู้ว่าคนเมืองกาญจน์” ก็เพิ่งจะรู้ตัวว่ายังเปลี่ยนไม่สำเร็จเท่าไร  

บ้านสมเด็จฯ ช่วยสร้างชีวิตผมทั้งชีวิตสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดผมมาเรียนด้วยความตั้งใจว่าอยู่ ๒ ปีให้จบ ป.กศ. แล้วจะออกไปเป็นครูเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันชวนไปสอบเทียบม. 4 ผมก็ไปสอบด้วยใจผมตอนนั้นคิดว่าจะพอจะลองสอบเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ ป.กศ. บ้านสมเด็จฯ เทียบม. 4 ได้หรือเปล่าสอบแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าพอเทียบได้หรือปทุมวันผมไม่ไปเพราะทางบ้านไม่มีเงินพอจะส่งให้เพื่อน ๆ ชวนให้ไปสอบเข้าวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนทุกคนเรียนพอเรียนจบ ป.กศ. วิทยาลัยก็ประกาศว่าผมได้คัดเลือกให้เรียนต่อ ป.กศ. สูงผมทำให้ทางบ้านผิดหวังรอให้ผมกลับไปเป็นครูเมื่อได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อพร้อมทุนอีกปีละ ๒,๕๐๐ บาทก็จำต้องให้ผมเรียนต่อไปพอจบ ป.กศ. สูงเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมอีกผมได้รับคัดเลือกจากวิทยาลัยส่งไปเรียนต่อที่ประสานมิตรพร้อมทุนปีละ ๒,๕๐๐ บาททางบ้านไม่มีทางเลือกจำต้องให้ผมไปเรียนต่ออีกจนจบปริญญาตรี 

ที่จริงตอนจบ ป.กศ. พี่ชายก็จะให้ออกไปสอนอยู่แล้วบอกไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ พอดีมีคนรู้จักได้ยินข่าวก็บอกเสียดายถ้าไม่ให้เรียนถามว่าถ้าจะเรียนต่อ ผมต้องการเงินสักเท่าไรเขาจะให้ยืมเอง พี่ชายผมบอกว่าไม่เอาพี่จะหาเงินให้เองผมก็เลยได้เรียนต่อเพราะทุนจากบ้านสมเด็จฯ และความรักกศักดิ์ศรีของพี่ชายด้วยประการฉะนี้ 

ชีวิตผมลืมอะไรไปหลายอย่าง แต่ที่ไม่เคยลืมเลยคือบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะสุขจะทุกข์สนุกเศร้าอย่างไรก็ไม่เคยลืมเพื่อนผมก็ไม่เคยลืมทุกปี ป.กศ. บ้านสมเด็จรุ่น ๔ ยังนัดพบใหญ่กันได้เป็นประจำครั้งละเกือบ 4 คนเราพบกันพูดถึงความหลังครั้งเก่าพูดถึงอาจารย์เก่าสถานที่เก่า ๆ อย่างมีความสุขถ้ามีคนถามว่าถ้าผมได้พรจากนางฟ้าผมอยากจะได้อะไรเป็นอันดับแรก ผมคงตอบว่าผมจะขอไปเป็นนักเรียนอย่างเก่าที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ต้องเอาเพื่อนเก่า ๆ ไปด้วยนะขึ้นให้ผมกลับไปเรียนกับศิษย์ปัจจุบันคงตามจีบเขาไม่ทันแน่ 

ผมเรียนหนังสือที่โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จฯ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ ถึงมัธยม 6 (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๕) ๑๐ ปีเต็ม ๆ ตอนนั้นผมยังเด็กมากเลยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องการให้ผมข้ามมาเรียนที่ฝั่งธนทั้งๆที่บ้านอยู่แถว ๆ เสาชิงช้าจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๙ มาโรงเรียนทุกวันสมัยที่เป็นนักเรียนผมรู้สึกว่าโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใครทั้งในด้านการเรียนและการกีฬาอาจารย์ที่สอนมีความสนิทสนมกับนักเรียนมากเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดีซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักเรียนน้อยคือชั้นละ ๑ ห้องเรียนอาจารย์จึงดูแลได้ทั่วถึงตอนนั้นอาจารย์ระเบียบยมจินดาเป็นครูประจำชั้นอาจารย์มโน กฤษณจินดา เป็นอาจารย์ใหญ่นอกจากนั้นมีอาจารย์บุตรวุฒิมานพเป็นอาจารย์พละที่เข้มแข็งอาจารย์สังวาลย์คคละนันท์ก็เคยเป็นครูประจำชั้นพวกเรามักเรียกกันติดปากว่าคุณย่าสังวาลย์อาจารย์อำไพ (วิทยวิโรจน์) อาจารย์บุญส่งก็เคยสอนทั้งนั้นผมจำได้ดีเพราะเรียนที่นี่มาตลอดและอาจารย์ก็สอนตามไปหลายชั้นเมื่อผมกลับมาบ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เห็นสภาพดั้งเดิมเสียแล้วตอนที่เรียนเป็นอาคารไม้แถวยาว ๆ มีตึกวิเศษศุภวัตรอยู่หลังศาลเจ้าพ่อเมื่อหน้าน้ำท่วมพวกเด็ก ๆ จะถอดรองเท้าลุยน้ำกันสนุกในส่วนที่เป็นวิทยาลัยครูปัจจุบันมีตึก ๓ ชั้นและอาคารไม้ยาว ๆ เช่นกันพวกนักเรียน & ฝึกหัดครูมักจะไม่ค่อยมายุ่งกับนักเรียนสาธิตคงจะเป็นเพราะคนละวัยก็ได้เพราะฉะนั้นเราเลยไม่ค่อยรู้จักกันอย่างไรก็ดีเมื่อจบมัธยม 5 แล้วผมก็เรียนฝึกหัดครูต่ออีก ๑ ปีเช่นกันผมไม่ใช่เด็กซนหรือโลดโผนนับว่าค่อนข้างเรียบร้อย แต่ความซนของเด็กสมัยนั้น ก็ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นไม่ผาดแผลงมาก ผมไม่ใช่คนเรียนหนังสือเก่ง แต่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กอ่านทุกชนิดทั้งนวนิยายสารคดีประวัติศาสตร์ปรัชญา ฯลฯ อ่านแล้วก็จำได้นานชีวิตในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีส่วนช่วยในการนําเนินชีวิตปัจจุบันพอควรคือได้นำคำสั่งสอนของคุณครูที่ไม่เพียง แต่สอนในด้านวิชาการเท่านั้นยังสอน จริยธรรมและคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ปลูกฝังความมีวินัยไว้เต็มเปี่ยม 

เพื่อนๆ นักเรียนต่างก็เป็นเพื่อนที่ดีรักใคร่ปรองดองกันเหมือนพี่น้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมาพวกเรามีกันอยู่ ๓๕ คนไม่มีผู้หญิงมาเรียนด้วยอาจารย์ระเบียบเป็นอาจารย์ประจำชั้นหลายปีอาจารย์สมศรี (เรืองเดช) อาจารย์อรรถศรีก็เคยเป็นครูประจำชั้นด้วยนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วอาจารย์บุญภักดิ์ ขวัญเจริญ ยังได้นำการสอนวิธีใหม่คือให้หัวเรื่องมค้นคว้ากันเองทำให้พวกเราได้ทำงานร่วมกันเพิ่มความสนิทสนมต่อกันยิ่งขึ้นบรรยากาศในห้องเรียนดีมากครูให้เวลากับนักเรียนมากเช่นกันตอนที่เข้าเรียนใหม่ ๆ ผมก็ร้องไห้ตามแม่เหมือนเด็กอื่นๆ จำได้ว่า ครูบุตร วุฒิมานพ เป็นคนจับผมไว้ไม่ให้วิ่งตามแม่ แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานแล้วผมก็ยังจำภาพเก่าๆ ได้ดี เช่น มีการหล่อเทียนพรรษาที่ศาลเจ้าพ่อ บางทีก็มีการชกมวยแก้บนให้เจ้าพ่อหลังสอบ แล้วผมยังคงภาคภูมิใจมากที่ได้เรียนที่บ้านสมเด็จฯ ไม่ใช่เพียงพวกเรา แต่คนในละแวกนี้เขารู้จักเราดีทั้งนั้นพวก บ.ส. , ม่วงขาว, ชาวสุริยะ ใครๆ ก็รู้จักใครๆ ก็ต้อนรับเราดีไม่เคยมีใครมาตั้งแง่กับเราเลย 

ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจึงทำให้ครูกับนักเรียนไม่ค่อยจะมีความผูกพันเหมือน แต่ก่อนชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่สะดวกสบายผู้ปกครองหรือพ่อแม่ไม่มีเวลาได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตอนผมเป็นเด็กคุณพ่อเป็นทหารคุณแม่ไม่ได้ทำงานจึงมีเวลาดูแลให้ผมทำการบ้านสอบถามและทบทวนวิชาให้ผมตัวเล็กนิดเดียวเลยไม่ได้เล่นกีฬาเวลาเข้าแถวยังต้องอยู่ปลายแถว แต่เวลาไปเชียร์ก็ไปเชียร์กับเขาทุกครั้งเพราะสนุกมากโรงเรียนของเราเก่งกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลครูที่ว่าสนิทสนมและรู้จักนักเรียนนั้นเมื่อเวลาก็เอาเรื่องเหมือนกันถ้าไม่ส่งการบ้านหรือทำความผิดอะไรก็จะต้องถูกตีด้วยกิ่งสนสังเกตได้ว่าต้นสนบริเวณโรงเรียนกิ่งจะหักเป็นแถบๆ

เมื่อจบมัธยม ๖ จากโรงเรียนสาธิตฯ ก็ไปเรียนต่อที่ฝึกหัดครู ๑ ปีจึงออกไปเรียนที่โรงเรียนพาณิชยการราชเทวี (เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้ว) ต่อมาก็เข้ารามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ขณะนั้นเรียนด้วยทำงานไปด้วย ผมเริ่มเข้าทำงานที่กระทรวงต่างประเทศด้วยวุฒิมัธยม ๘ ในตำแหน่งเสมียนเมื่อปี ๒๕๑๘ ต้องไปทำงานที่ประเทศลาวเพราะที่นั่นกำลังมีปัญหาเรื่องชายแดนอยู่ลาวมา ๔ ปีแล้วไปประจำอยู่เยอรมันอีก ๒ ปีจึงกลับมาประจำกระทรวงอีก ๒ ปีต่อมาได้ทุนไปเรียนภาษาที่ประเทศออสเตรเลียอีก ๔ เดือนวนเวียนอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศตามหน้าที่ตามปกติทำงานที่กระทรวงต่างประเทศนั้นจะอยู่ประจำกระทรวง ๔ ปีไปต่างประเทศ ๔ ปีขณะนี้ผมทำงานอยู่ในกองเอเชียตะวันออกคือรับผิดชอบเกี่ยวกับจีนมองโกเลียไต้หวันฮ่องกงมาเก๊าส่วนหนึ่งเรื่องของญี่ปุ่นกับเกาหลีอีกส่วนหนึ่งสำหรับผมทำเรื่องจีนฮ่องกงรวมทั้งไทเปด้วยเป็นการติดต่อกับส่วนการต่างประเทศของเขาคือต้องศึกษาถึงการจัดองค์กรต่างประเทศของประเทศเหล่านี้  

ผมมีครอบครัวแล้วภรรยาก็เขียนหนังสือเช่นกันใช้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรนามปากกา“ นิลุบล” เขียนสารคดีลงในนิตยสารผู้หญิงมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีประวัติอันยาวเช่นขวัญเรือนกุลสตรี ฯลฯ ลูกชายคนโตขณะนี้เรียนอยู่ที่นานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งใจว่าจะให้เรียนทางเศรษฐศาสตร์เมื่อจบการศึกษาแล้วจ ะกลับมาทำงานเมืองไทยแน่นอนลูกคนนี้มีแนวโน้มว่าชอบเขียนหนังสือเช่นกันเพราะเป็นเด็กมีจินตนาการชอบคิดฝันอายุ ๑๖ ปีไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เพราะเสียดายความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งลูกใช้ได้ดีมากเมื่อกลับจากตุรกี (ไปเรียนโรงเรียนนานาชาติเมื่อผมไปทำงานที่นั่น) ที่เลือกประเทศนิวซีแลนด์ เพราะคิดว่าเป็นประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมสิ่งที่จะชักนำให้เด็กเสียมีน้อยและลูกคนนี้ไว้วางใจได้ในเรื่องการดูแลตัวเองส่วนลูกชายที่โรงเรียนคนเล็กอายุ ๑๔ ปีขณะนี้เรียนชั้นมัธยมอัสสัมชันธนบุรีซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน บ้านอยู่ซอยเศรษฐกิจบางแค) ยังไม่ค่อยทราบทิศทางของลูกคนเล็กเพราะยังเล่นสนุกอยู่ถ้าใครไปที่บ้านก็จะพบว่าบ้านเต็มไปด้วยหนังสือเพราะสมาชิกทุกคนในบ้านชอบซื้อหนังสือเข้าบ้านมีความสุขอยู่กับการอ่านงานหนังสือที่มีส่วนช่วยเพิ่มพูนรายได้บ้างพอสมควรเมื่อหนังสือแต่ละเรื่องได้รับการพิมพ์หรือชื่อเรื่องไปทำละครก็จะได้รายได้เป็นระยะๆไป 

ในด้านการเขียนหนังสือนั้นเขียนมานานแล้วผลงานมีไม่มากนักคือเรื่องยาว ๑๒ เรื่องเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง เรื่องยาวแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาเขียนปีครึ่งถึง ๒ ปี เพราะเมื่อวางพล็อตเรื่องและตัวละครแล้วต้องค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินเรื่องซึ่งต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพิ่มเติมนั่นเองเวลาเขียนมักจะใช้เวลาเช้า ๆ ก่อนออกไปทำงานแต่ละวันเขียนได้ไม่มาก แต่เขียนไปได้เรื่อย ๆ ชีวิตการทำงานในกระทรวงต่างประเทศทำให้ได้เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว แต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยในด้านงานเขียนนักข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆอาจซึมซับไว้บ้าง แต่ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำมาเขียนคงเป็นแค่ผลพลอยได้ข้อมูลที่ช่วยในการเขียนได้มาจากการอ่านหนังสือเป็นหลักอย่างเรื่องต้องกันเรื่องอาหรับศาสนาอิสลามตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ด้วยจริง ๆ แล้วก็ยังไม่เคยไปประเทศแถบนั้นเลยเมื่อเขียนเรื่องลอดลายมังกรที่เขียนก่อนได้ไปประเทศจีนเสียอีกเวลาจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนแล้วจึงสร้างตัวละครผมสนใจธรรมชาติและมีความคิดว่าคนควรมีชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นของสิ่งแวดล้อมอยากให้ทุกคนมีความใฝ่ดี  

ในฐานะพี่อยากจะให้ข้อคิดบางประการกับน้องๆ คือ โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนซึ่งมีประวัติอันยาวนานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถมีผลงานต่อประเทศชาติโชคดีกว่าคนทั่วไปเมื่อมีโอกาสก็ควรรักษาโอกาสนั้นไว้ให้ดีและสืบทอดความดีของรุ่นพี่ที่ผ่านมารุ่นน้องก็เป็นความหวังของรุ่นพี่รุ่นพี่ของบ้านสมเด็จฯ ก็มี แต่จะแก่ไปหมดไปมี แต่รุ่นน้องที่จะอยู่ต่อไปพี่ก็หวังว่าจะมีคนที่จะมาสืบทอดรักษาชื่อเสียงของบ้านสมเด็จฯ ให้ดำรงคงอยู่ชั่วกาลนาน 

นางสุคนธ์ พรพิรุณ

นางสุคนธ์  พรพิรุณ 

ปริญญา : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๖ มกราคม ๒๕๔๔ 

นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

ประวัติ  นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

เกิด ไม่ทราบข้อมูล (ถึงแก่อสัญกรรม)

ศิษย์เก่า 

  • ๒๕๐๖ โรงเรียนอำนวยศิลป์ 
  • ๒๕๐๘ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ๒๕๑๒ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ๒๕๑๓ เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • ๒๕๔๑ ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
  • ๒๕๕๔ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรม / ดูงาน / สัมมนา 

  • ๒๕๒๒ โครงการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติรุ่นที่ ๒ กระทรวงการคลัง  
  • ๒๕๒๒ การบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชารุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.
  • ๒๕๓๒ หลักสูตรภาษีมูลค่าเพิ่มกรมศุลกากร
  • ๒๕๓๒ ระบบราคา GATT กรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ Working Visit ณ สำนักงานใหญ่ ประชาคมยุโรป และ ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป
  • ๒๕๓๖ นักบริหารระดับสูงหลักสูตรที่ ๑ รุ่นที่ ๑๒ สำนักงาน ก.พ. 
  • ๒๕๓๗ ดูงานศุลกากรด้าน TRADE FREEZONE ณ ประเทศดูไบ
  • ๒๕๓๗ ดูงานด้านศุลกากร ณ ประเทศญี่ปุ่น 
  • ๒๕๓๙ ประชุมอธิบดีศุลกากรกลุ่มประเทศเอเชีย-ยุโรป ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ๒๕๓๙ หารือข้อราชการเกี่ยวกับการศุลกากร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน-๒๕๓๙ คอมพิวเตอร์สำหรับ
  • ๒๕๔๒ ผู้บริหารกรมศุลกากรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) รุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.

ตำแหน่งในอดีต 

  •  ๒๕๒๗ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาเข้ากรมศุลกากร 
  • ๒๕๒๙ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาออกกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๐ ผู้อำนวยการกองเก็บอากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๓ สารวัตรศุลกากร ๘ การบริหารราชการส่วนกลาง 
  • ๒๕๓๔ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๘ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปรามกรมศุลกากร  
  • ๒๕๔๐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๑ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๓ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง 
  • ๒๕๔๕ รองปลัดกระทรวงการคลัง 

ประวัติและผลงาน

คุณชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นคนจังหวัดระยอง ครอบครัวมีฐานะลำบากยากจน แต่เรียนดีจึงรับทุนเรียนที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในระดับปกศ.ต้น สิ่งที่คุณชวลิต รำลึกถึงมากที่สุดระหว่างที่เรียนในวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ“ ห้องสมุด (ขณะนั้นห้องสมุดเดิมเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นตั้งอยู่บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติหรืออาคารในปัจจุบันผู้สัมภาษณ์) เนื่องจากไม่มีสตางค์ที่จะซื้ออาหารกลางวันในมื้อเที่ยงจึงรับประทานน้ำก๊อกแทนอาหารและเพื่อไม่ให้ว่างจึงเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือทั้งอ่านและยืมหนังสือมากเรียกว่าเกือบทุกเล่มที่มีในห้องสมุดบัตรยืมหนังสือเปลี่ยนบ่อยมากและเป็นคนส่งหนังสือตรงเวลา ความที่เป็นคนรักการอ่านจึงได้อ่านตำราของ พระยาอุปกิตศิลปะสารเกี่ยวกับตำราไวยากรณ์หรือวรรณคดีไทยทั้งหมด จนสามารถสอบผ่านวิชาวรรณคดีไทยที่ ถือว่ายากและน่าเบื่อที่สุดในสมัยนั้นมาได้ด้วยเกรด ๔ ทำให้ได้คะแนนเฉลี่ยดีขึ้นมากจบการศึกษาระดับ ป.กศ.ต้น ได้เป็นลำดับที่ ๓ ด้วยเกรดเฉลี่ย ๓.๗๕ และได้รับสิทธิ์ในการเรียนต่อ ป.กศ.สูง โดยอัตโนมัติไม่ต้องสอบคัดเลือกในส่วนของงานกิจกรรม จะไม่ค่อยได้ร่วมเนื่องจากมุ่งมั่นในการอ่านหนังสือตำรามากกว่า 

จุดมุ่งหมายในชีวิตคือการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงที่ฝึกสอนได้ไปฝึกที่โรงเรียนวัดแถว ๆ บุคคโลกลางวันฝึกสอนกลางคืนดูหนังสือตั้งแต่ ๑ ทุ่มถึงเที่ยงคืนทุกวันหนังหรือละครไม่เคยดูเลยเพราะตั้งใจเตรียมตัวสอบเอ็นทรานส์ เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์การเรียนวิทยาลัยครูจะมีจุดด้อยกว่าผู้ที่เรียนสายศิลป์หรือสายวิทยาศาสตร์มาวิชาที่ไม่สันทัดนัก คือวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับคนที่มีฐานะอาจจะไปเรียนเสริมพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ แต่สำหรับตัวเองแล้วไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จึงขอให้เพื่อนเป็นครูช่วยติววิชาคณิตศาสตร์ให้ซึ่งเพื่อนก็ยินดีผลปรากฏว่าสามารถสอบเข้าได้ แต่เพื่อนสอบเข้าไม่ได้เพราะเพื่อนมีความถนัดวิชาคณิตศาสตร์วิชาเดียว แต่วิชาอื่นไม่ถนัดส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้น มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศหรือศูนย์ภาษาใด ๆ แต่อาศัยความกล้าและความ“ ไม่กลัวโง่” กล่าวคือการไม่อายหรือไม่กลัวเสียเกียรติภูมิที่จะถามผู้รู้เป็นคนช่างสังเกต ช่างจดจำ จนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี 

หลังจากสอบเอ็นทรานส์เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ได้กลับบ้านเกิดที่ระยอง และบอกเพื่อนให้แจ้งผลการสอบให้ทราบทางโทรเลข เพื่อนไปดูผลการสอบแล้วไม่พบเนื่องจากชื่ออยู่ด้านล่าง ซึ่งขอบกระดานปิดทับอยู่หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็นคิดว่าคงสอบไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะถึงอย่างไรก็สามารถกลับไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในระดับป. กศ. สูงได้ แต่คงเป็นเพราะดวงดีมีเพื่อนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ชวนให้เข้ากรุงเทพฯด้วยเพราะเพื่อนไม่เคยมากรุงเทพฯ จึงทราบจากเพื่อนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยกัน แต่สอบไม่ได้ไปดูผลสอบให้ในเวลากลางคืนใช้ไฟฉายส่องดูอย่างละเอียด จึงพบชื่อคุณชวลิตอยู่ขอบล่างของกระดาน ทราบผลสอบเป็นวันที่ต้องไปสอบสัมภาษณ์มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ เสื้อผ้าไม่ได้เตรียมมา จึงยืมเสื้อเชิ้ตของเพื่อนเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ในเวลาวันนาฬิกาที่คณะนิติศาสตร์ และก็สามารถสอบผ่านเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามความมุ่งหวัง ซึ่งถือว่าเป็นจุดหักเหในชีวิตอย่างมากว่าหากไม่บังเอิญเพื่อนชวนเข้ากรุงเทพฯ วิถีชีวิตก็คงดำเนินไปอีกรูปแบบหนึ่ง ภายหลังทราบว่ามีเพื่อนจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยารุ่นเดียวกัน มาสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รวมทั้งหมด ๔ คน 

เรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเกียรตินิยมเหรียญเงิน เหตุที่ไม่ได้เหรียญทอง เนื่องจากสอบตกวิชา “หนี้” ของอาจารย์กำธร พันธุลาภ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด ทั้งมหาวิทยาลัยสอบเพียง ๓ ออกเป็นสามชั้นจรดปากกาไม่ลงพอปี ต่อมาลงเรียนวิชานี้อีกครั้งหนึ่งและก็สามารถ ๑๗ คนเท่านั้นข้อสอบมี ๓ ข้อข้อ ๑ และข้อ ๒ ทำได้ แต่ข้อซึ่งแบ่งเป็นสอบผ่านไปได้ด้วยคะแนน ๖๕ แต้มหลังจากจบนิติศาสตร์แล้วได้ไปสอบเรียนเนติบัณฑิตต่ออีก 5 ปีจบแล้วมีการสอบ ๒ ภาคสมัยนั้นต้องสอบผ่านทั้ง ๒ ภาคจึงจะมีสิทธิ์สอบปากเปล่าได้ แต่ปัจจุบันสามารถสอบทีละภาค ได้กรรมการสอบเป็นคุณหลวงคุณพระทั้งสิ้น คำถามจะถามเกี่ยวกับความแม่นยำของข้อกฎหมาย และ คำถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อกฎหมายต่างๆสอบในห้องประชุม มีการกันผู้เข้าสอบไม่ให้พบหน้ากัน เพื่อไม่ให้ข้อสอบรั่วไหลท่านเป็นเนติบัณฑิตรุ่นที่ ๒๓ แต่ละรุ่นมีผู้สอบเป็นจำนวนพันคน แต่สอบได้รุ่นละ ๒๓-๒๔ คนเท่านั้นสมัยก่อนนั้นในหลวงและพระราชินี จะเป็นผู้พระราชทานประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตยสภาเพราะจำนวนบัณฑิตยังไม่มากนักพิธี จัดขึ้นที่ห้องนภาลัยโรงแรมดุสิตธานีโดยมีการร่วมโต๊ะเสวย ก่อนความที่เป็นเด็กบ้านนอกยังไม่คุ้นกับการรับประทานอาหารในโรงแรม จึงถามเพื่อนข้างๆว่าทานอย่างไร เพราะซ้อนส้อมมีดวางเรียงรายมากมายเพื่อนบอกว่าให้สังเกตพระราชินีท่านเสวยอย่างไร เราก็ทำตามการรับประทานอาหารจึงผ่านมาได้ด้วยดีหลังจากนั้นในหลวง และพระราชินีทรงฉายพระรูปร่วมกับบัณฑิต และมีพิธีมอบประกาศนียบัตรเป็นลำดับสุดท้ายเริ่มงานที่กรมศุลกากรด้วยความบังเอิญไม่เคยรู้จัก หน่วยงานนี้มาก่อนเพื่อนเป็นตำรวจชวนมาสอบตอนนั้นสอบไว้ ๓ แห่งคือที่กรมบังคับคดีกรมคุมประพฤติและศาลคดีเด็กและเยาวชน แต่กรมศุลกากรเรียกตัวก่อนเหตุที่สอบเข้าได้เพราะ“ ดูหนังสือหนักฎีกาต่างๆแม่นมากไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญางานแรกอยู่กองสืบราชการลับได้เรียนรู้ทุกอย่างจากจุดนั้น และไต่เต้าจากตำแหน่งต่างๆเติบโตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้ราบรื่นเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบประสบวิบากกรรมในชีวิตมาก็มากโดนฟ้องร้อง ให้ออกจากราชการก็เคยเรียกว่าประสบการณ์“ โชคเลือด” เลยทีเดียวกรมศุลกากรกว่าจะขึ้นมาได้แต่ละซีนั้นลำบากมาก แต่ในที่สุดก็ฝ่าฟันมาได้จนถึงปัจจุบันการทำงานที่กรมศุลกากรให้ทุกอย่างในชีวิตทั้งทรัพย์สินเงินทองที่เป็นรางวัลจากการมุมานะบากบั่น ในการทำงานตลอดจนเกียรติยศชื่อเสียง จากชีวิตเด็กชนบทยากจนคนหนึ่งสามารถสร้างตัวจนเจริญก้าวหน้าได้ จนถึงปัจจุบันมิใช่เพราะโชคช่วย แต่เกิดจากความวิริยะอุตสาหะโดยเฉพาะในด้าน“ การอ่านและรู้แหล่งการเรียนรู้ที่ตนควร“ โคจร” ไปเพื่ออนาคตอันสดใสนั่นคือ“ ห้องสมุด” ซึ่งท่านเน้นในระหว่างการสนทนาอยู่เสมอว่า“ ผมได้ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดอย่างมากจริงๆ” นี่คือบทสรุปสุดท้ายของอดีต“ ลูกสุริยะ” คนหนึ่งที่สามารถ“ ตามฝัน” ด้วยความสามารถของตนได้อย่างสมภาคภูมิ 

 

นายสุวรรณ ยุกแผน

นายสุวรรณ  ยุกแผน 

ปริญญา : วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๖ มกราคม ๒๕๔๒ 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดามาตุ 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดามาตุ 

ปริญญาที่ได้รับ : วิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 26 มกราคม 2542 

พระธรรมวิสุทธาจารย์ (มงคล วิโรจโน)

ปริญญา : ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐