คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์

ประวัติ คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ 

• กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบ้านฉางกรุ๊ป จำกัด 

• วุฒิสมาชิกปี 2535 ถึงปัจจุบัน 

ประวัติส่วนตัว 

• สมรสกับคุณพิไลวรรณ เชิดธรณินทร์  

• มีธิดา 1 คน ชื่อ ด.ญ. ธัญชนกเปี่ยม พงษ์สานต์ (ป. 5 สาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) 

นักธุรกิจหนุ่มหล่อรูปร่างสูงใหญ่เรียนจบทางด้านวิชาชีพครูวัยเพียง 39 ผู้นี้ คือคุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ กรรมการสามารถประกอบอาชีพธุรกิจได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท บ้านฉางกรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจ 2516 อสังหาริมทรัพย์และกิจการอื่นอีกหลายอย่าง“ ผมเข้าเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในชั้นป. กศ. ต้นเมื่อปีชีวิตวัยเด็กผมเกิดในหมู่บ้านประมงคุณพ่อมีอาชีพเป็นชาวประมงทำสวนทำไร่และบ้านเกิดอยู่จังหวัดระยองบ้านเลขที่ 45/5 ตำบลพลาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองจบการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนบ้านพลาและจบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนระยองพิทยาคมเมื่อจบแล้วได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยมาอาศัยอยู่ที่วัดบรมนิวาสเพราะระยะนั้นต้องกวดวิชาเพื่อมุ่งที่จะเข้าเรียนวิทยาลัยครูให้ได้พระที่ผมมาอาศัยอยู่ท่านเดี๋ยวนี้ท่านคือท่านเจ้าคุณธรรมดิลกซึ่งปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะเชียงใหม่ผมได้พบท่านโดยบังเอิญเมื่อคราวที่ผมมีโอกาสไปบูรณะหลักเมืองเชียงใหม่“ ผมมีความตั้งใจจะเข้าเรียนวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นอย่างยิ่งเพราะคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถทำงานช่วยคุณพ่อคุณแม่และน้องๆได้ซึ่งขณะนั้นขัดกับความคิดของคุณพ่อมากเพราะคุณพ่ออยากให้เรียนเตรียมทหารตอนนั้นเคยคิดว่าจะเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อยากเรียนครูโดยเฉพาะที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือมีญาติมาเรียนอยู่คือคุณนิวัฒน์นาคทองซึ่งที่พักอยู่หลังวัดชิโนรส แต่ก็ไม่ได้ไปพักด้วยอาศัยหลวงพ่อที่วัดบรมนิวาสสบายใจกว่าปัจจุบันคุณนิวัฒน์นาคทองเป็นอำนวยการโรงเรียนบ้านฉาง“ สมัยที่ผมเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ชอบอ่านหนังสือมักชอบเรียนด้วยตัวเองและชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์มากกว่าทางด้านภาษาเป็นลูกศิษย์คนโปรดของอาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์ถ้าวันไหนอาจารย์แสงไม่ว่างติดธุระจะบอกว่า“ ไพโรจน์สอนเพื่อน ๆ ให้ด้วย” เดี๋ยวนี้อาจารย์ที่สอนสมัยนั้นอาจารย์อำพันพงศ์ไพฑูรย์สอนศิลปะและอาจารย์ชนิดาได้ 3 ท่านคืออาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์สอนคณิตศาสตร์สุวรรณรัตน์สอนภาษาไทย“  

ส่วนความประทับใจเมื่อเรียนที่บ้านสมเด็จฯ นั้นประทับใจ พื่อนมากเพราะมีเพื่อนดีมีความจริงใจต่อกันสูงมากและอยากพบเพื่อน ๆ ที่เรียนรุ่นเดียวกันที่นี่มากอีกอย่างหนึ่งคือการไปฝึกสอนที่โรงเรียนวัดเกาะซึ่งอยู่ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญสมัยนั้นต้องนั่งเรือไปประทับใจอาจารย์นิเทศชื่อนฤมลแต่ว่านามสกุลไม่ได้เมื่อได้สอนเด็กได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงในการฝึกสอนชอบมากและจำได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขที่สุดนอกจากนี้ความประทับใจที่มิอาจลืมเลือนได้ก็คือการที่ได้เป็นนักกีฬาฟุตบอลของวิทยาลัยในตำแหน่งผู้รักษาประตูและเซ็นเตอร์ได้เป็นตัวแทนไปแข่งกับวิทยาลัยต่างจังหวัดหลายแห่งเป็นคนที่ชอบกีฬาเวลาเรียนถ้าเบื่อ ๆ ก็จะออกมานั่งริมสนามฟุตบอลเมื่อผมเรียนจบศ. ต้นที่แล้วได้เป็นตัวแทนของบ้านสมเด็จฯ ไปสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อป. กศ. สูง (อุตสาหกรรมศิลป์) ที่วิทยาลัยครูพระนครกับเพื่อนอีก 1 คนในชั้นเดียวกันชื่ออดิศรและสอบได้เข้าเรียนต่อทั้ง 2 คนเรียนจนจบป. กศ. สูงที่นั่นหลังจากแล้วได้ไปรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนระยองวิทยาคมอยู่ระยะหนึ่งโดยสอนช่างยนต์ช่างไฟฟ้าช่างโลหะ ฯลฯ หลังจากนั้นก็เดินทางไปอังกฤษเพื่อจะเรียนต่อ แต่บังเอิญไปพบเพื่อนที่นั่นชวนทำงาน บริษัท โรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งมีรายได้ดีมากคิดว่าถ้าเรียนจบแล้วทำงานก็ยังไม่ได้เงินมากเท่านี้จึงทำงานและฝึกหัดงานอยู่ 1 ปีจึงถูกส่งไปทำงานที่ตะวันออกกลางช่วงนั้นเมืองไทยมีวิกฤตเรื่องอู่ตะเภาและมีคนว่างงานมากประกอบกับตะวันออกกลางต้องการคนงานจึงติดต่อคนไปทำงานในตะวันออกกลางถึงหมื่นคนสมัยนั้นมีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันคือคุณประจวบไชยสาส์นและได้ทำงานจุดนี้อยู่ 4-5 ปีคุณประมาณอดิเรกสารสมัยนั้นท่านเป็นรองนายกฯ เรียกกลับมาใช้งานจึงกลับมาเมืองไทยดังนั้นจึงถือว่าการติดต่อคนงานไปทำงานก่อสร้างในตะวันออกกลางนั้นเป็นการประกอบธุรกิจครั้งแรกซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียวต่อมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งอีกคือการจัดตั้ง บริษัท ที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับการเงินระยะนี้วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนเข้าไปพัวพันกับธุรกิจมากขึ้นงานแรกเมื่อหันมาด้านนี้คือเสนอการตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนสมัยนั้นรัฐบาลไม่มีกฎหมายรับรองจัดตั้ง บริษัท ในประเทศไทยไม่ได้ขณะนั้นเศรษฐกิจแถบนี้มีปัญหาและเรื่องการขาดดุลกับญี่ปุ่นจึงพยายามระดมทุนจากมหาเศรษฐีน้ำมันจากตะวันออกกลางและผมเป็นคนแรกที่ชักชวนชาวตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ขณะนั้นตั้ง บริษัท ไม่ได้จึงไปจัดตั้ง บริษัท การงทุนนี้ที่ประเทศมาเลเซียโดยร่วมหุ้นกับเซคชาเล่ย์ 

ซึ่งเคยเป็นเจ้านายเก่าสมัยทำงานที่ตะวันออกกลางบุคคลผู้นี้เป็นคนฉลาดมากและเป็นคนสำคัญที่สร้างเศรษฐกิจให้ตะวันออกกลางทำงานอยู่กับท่าน 5 ปีได้ประสบการณ์มากมายและได้บินไปทั่วโลกช่วงนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของชีวิตที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับการลงทุนทั่วโลกถึง 21 ประเทศและสามารถสร้างงานให้คนไทยเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลได้เริ่มนำนโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกคุณไพโรจน์จึงได้เริ่มทำโครงการพัฒนาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองโดยได้ดำเนินการก่อตั้ง บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปเมื่อปี 2530 โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทในขณะนั้นโดยมีความตั้งใจว่าจะดำเนินธุรกิจเป็น บริษัท ธุรกิจพัฒนาที่ดินเพื่อพัฒนาชนบทปัจจุบัน บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีขณะนี้ได้นำ บริษัท เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ บริษัท มีความเป็น บริษัท มหาชนอย่างสมบูรณ์โดยมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 798 ล้านบาทนอกจากนี้คุณไพโรจน์ได้ทำงานอย่างทุ่มเทและต่อเนื่องจนทำให้ธุรกิจเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจว่าเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่มีสายตากว้างไกลและมีจุดยืนที่แน่นอนว่าจะดำเนินการกระจายความเจริญไปยังชนบทเพื่อให้ชนบทเติบโตไม่มาเจริญแออัดกันอยู่ในเมืองหลวง“ การที่ผมประสบความสำเร็จในด้านนี้นั้นมีผลเนื่องมาจากที่ผมได้เรียนวิชาชีพครูความเป็นครูทำให้มีจิตวิทยาในการทำงานมีน้ำใจสุภาพสุขุมสามารถเข้าใจคนและสิ่งสำคัญที่สุดคือมีคุณธรรมปัจจุบันพยายามจะสร้าง Concept ให้นักธุรกิจทั้งหลายหันมาสนใจในการพัฒนาการศึกษาในชนบทในท้องถิ่นคือช่วยกันกระจายการศึกษาให้เข้าถึงท้องถิ่นให้มากจะทำให้คนฉลาดขึ้นและมีคุณธรรมมากขึ้นการพัฒนาประเทศนั้นต้องพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครูเพราะครูเป็นผู้ประสานระหว่างรัฐกับประชาชนดังนั้นทุกวันนี้จึงมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจว่า“ อยากเห็นนักธุรกิจท้องถิ่นเข้ามามีบทบาททางการศึกษาให้มากเพื่อชาวชนบทจะได้พึ่งตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยส่วนกลางถ้านักธุรกิจมีคุณธรรมช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นให้เขาช่วยตนเองได้โดยส่วนรวมประเทศชาติของเราจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้มาก“ ขณะนี้ผมตั้งงบประมาณในด้านการศึกษาไว้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีโดยดำเนินการตั้งโรงเรียนนานาชาติเริ่มสอน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กประถมศึกษาซึ่งจะช่วยลดภาระด้านนี้แก่และ NIDA ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทรัฐบาลในด้านการลงทุนทางการศึกษาและได้ติดต่อกับ ABAC คุณไพโรจน์เปี่ยมพงษ์สานต์ได้ให้แนวคิดในการบริหารพยายามสร้างทีมงานให้ได้โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับเขางานบุคคลว่า“ การบริหารที่ดีนั้นต้องให้โอกาสแก่ลูกน้องและเพราะเราจะได้ไม่เหนื่อยผมมักจะชี้แจงให้ลูกน้องเข้าใจเสมอว่า บริษัท บ้านฉางนั้นมีความต้องการจะสร้างความเจริญให้แก่ส่วนภูมิภาคอยากเห็นชนบทเจริญและต้องเข้าใจลูกน้องว่าแต่ละคนชอบงานอะไรครอบครัวเป็นอย่างไรถ้ายังไม่มีห่วงไม่มีครอบครัวสามารถลุยงานหนักในต่างจังหวัดได้ถ้าทำงานได้มากก็ได้เงินพิเศษมากตัวผมเองทำงานหนักเพื่อเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยว่าขนาดเรายังทำงานหนักทำงานวันละ 18 ชั่วโมงมากกว่าคนอื่น 2 เท่าตัวจึงได้รับความร่วมมือจากทีมงานเป็นอย่างดีปรัชญาในการดำเนินชีวิต“ ทำดีต้องได้ดีและเชื่อเรื่องเวรกรรม 

สิ่งที่ยึดเป็นกำลังใจในการทำงานคือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานว่าพัฒนาชนบทต้องอดทนและเสียสละ” และจะพยายามทำให้ดีที่สุดต่อไป 

อ้างอิง : หนังสือศรีสมเด็จ 37 หน้า 85-86 

คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติ คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติส่วนตัว 

  • เกิดเมื่อ 21 พฤษภาคม 2488 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • สมรสกับ คุณปริศนา ตรีทอง มีบุตรสาว 1 คน 

ประวัติการศึกษา 

  • ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • มัธยมศึกษาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง 
  • ป. กศ. ต้นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ปริญญาตรี กศ.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ประกาศนียบัตรวิชาวางแผน (WORLD BANK)  
  • ประกาศนียบัตรโทรคมนาคม (GERMANY)  

ประวัติการทำงาน 

  • 2511-2512 ครูโรงเรียนราษฎร์  
  • 2512-2527 นายช่างโทรคมนาคมทศท.  
  • 2527-2535 เจ้าของกิจการ บริษัท สิรินเทคโนโลยี จำกัด (ลาออกเมื่อ 29 กันยายน 2535)  

ปัจจุบัน 

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 

พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

ประวัติ  พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

วันเกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศิษย์เก่า  

  • โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • โรงเรียนวัดนวลนรดิศ 
  • โรงเรียนเตรียมทหาร 
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 

ประวัติการทำงาน 

  • รองสารวัตรที่ปราจีนบุรี 
  • ผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี 
  • ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 

เมื่อคราวศรีสมเด็จ: 48 ผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวชีวิต ของศิษย์เก่าบ้านสมเด็จท่านหนึ่ง คือ  ท่าน ต่อพงษ์ อำพันธุ์ ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่เรียนอยู่สาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในศรีสมเด็จ :49 นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตของเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับ ท่านต่อพงษ์      อำพันธุ์ อีกท่านหนึ่งซึ่งผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสรู้จักท่านจากการแนะนำของ ท่านอาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโรงเรียนและศูนย์สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ พลตำรวจโทวุฒิ พัวเวส ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1

วันที่มีการรำลึก 1 ปี สึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ผู้เรียบเรียงได้รับเกียรติจาก พล.ต.ท. วุฒิพัวเวส ให้เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 1 หลังจากได้รับการต้อนรับด้วยเครื่องดื่มร้อน จากเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาพร้อมกับตำรวจอีกท่านหนึ่ง และเข้ามาทักทายผู้เรียบเรียงอย่างเป็นกันเองจึงทราบว่านั่นคือ พล.ต.ท. วุฒิ พัวเวส ที่เราจะมาสัมภาษณ์เพราะไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่ก็พอจะทราบแล้วว่าท่านดีใจ และยินดีให้เราสัมภาษณ์ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตให้ลูกสุริยะทุกคนท่านทักทายท่านก็ทิ้งท้ายก่อนให้สัมภาษณ์อย่างถ่อมตนว่า”ผมว่าผมยังไม่เหมาะที่จะได้รับเกียรติลงศรีสมเด็จในปีนี้ผมว่ามันยังไม่ถึงเวลา” ท่านบอกกับเราว่าท่านเกิดในกรุงเทพมหานครที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เกิดปีเดียวกับ ท่านต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ่อเป็นตำรวจ รับราชการในช่วงต้นฝั่งกรุงเทพมหานคร ต่อมาก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรีไปฝากเรียนที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมี ท่านอาจารย์มโน กฤษณะจินดาอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นกรุณารับผมเข้าเรียนในชั้นเรียน

ความประทับใจในโรงเรียนผมว่าในวัยของการเป็นนักเรียน ชั้นประถมถึงมัธยม ติดต่อกันในขณะนั้นในรุ่นที่เรียนกันมาก็พยายามนัดพบกันเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจว่าสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอนให้คนเป็นคนดีรุ่นผมทุกคนเป็นคนดีทั้งหมดเลย ไม่มีใครเป็นคนไม่ดีเลยทั้งที่ แต่ก่อนพวกนี้เกเรกันเอาเรื่องซึ่งเป็นเรื่องของวัยเด็กผมว่าเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจแล้วมีความผูกพันที่สำคัญคือ“ เจ้าพ่อ” อาจจะเป็นเพราะว่าเราได้รับการสั่งสมจนเชื่อว่าเจ้าพ่อท่านเป็นผู้มีพระคุณที่ให้สถานที่ซึ่งเป็นบ้านของท่านในการศึกษาเล่าเรียนแก่เราจนมีสิ่งสักการะแทนตัวท่านนั่นคือ  “ ศาลเจ้าพ่อ” ผมจึงถือว่าท่านมีคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างมากผมนับถือยกย่องและเคารพไหว้และนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติราชการคือ ซื่อตรง มีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นก็เป็นมิติแห่งการชื่นชมศรัทธาในด้านผู้ให้กำเนิดสถานศึกษา สภาพอาคารสถานที่ขณะนั้นก็จะมีตึกเรียน 1 ตึกเป็นตึก 3 ชั้นเวลาเข้าจากประตูสาธิตทางซ้ายมือจะเป็นสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ถัดไปก็เป็นหอประชุม 2 ชั้นถัดไปเป็นสนามฟุตบอลตรงข้ามหอประชุม ฝั่งสนามฟุตบอลก็คือศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่หน้าที่พักของฝึกหัดครู (ตึกวิเศษศุภวัตร) ตรงนั้นน่าจะเป็นทิศตะวันตกเพราะตะวันออกคือทางเข้าทางขวาของตะวันออกคือด้านทิศใต้จะเป็นตึกเรียนของผม (ตึกครุศาสตร์ปัจจุบัน)ตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีโรงกลึงติดกับวัดบางไส้ไก่ (อุตสาหกรรมศิลป์ปัจจุบัน) ตอนนั้นยังไม่มีตึกมัธยมสมัยนั้นผมจะเรียกสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ เพราะไม่ได้แยกมัธยมหรือประถม แต่ทราบว่าเดี๋ยวนี้แยกกัน และก็มีอนุบาลด้วย พอจบ ม.ศ. 3 มาผมสอบเข้าเตรียมทหารทีแรก 6,000 กว่าคนผ่านเข้ารอบ 600 คน แต่พอคัด 300 คนไม่ได้ไม่งั้นผมเข้ารุ่นเดียวกับท่านทักษิณไปแล้วพอสอบไม่ได้ผมก็ไปเข้าเรียนที่วัดนวลนรดิศอีกปีก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารใหม่สอบได้เป็นรุ่นที่ 11 ปีก่อนที่ไม่ได้เพราะผมตกโรคเค้าบอกว่าผมเป็นโรคตาซึ่งก็ไม่ใช่โรคติดต่อพอผมได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยที่ผ่านมาผมก็เลยเสนอให้รับพิจารณาตากุ้งยิงริดสีดวงตาเพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ส่วนรวมไม่เห็นด้วยจึงยังแก้ไม่สำเร็จรุ่นเดียวกับผมก็มี พ.อ. บุญฤทธิ์อุตมรูปและพล. ต. ท. ฉัตรชัยโปตระนันทน์เรียนที่เตรียมทหาร 2 ปีนายร้อยตำรวจ 4 ปีก็ได้รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจงานแรกไปเป็นรองสารวัตรที่ปราจีนบุรี เป็นผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี

ในการทำงานเบื้องต้นเลยต้องยึดหลัก 3 ประการหลักแรกคือกฎหมายและระเบียบหลักที่ 2 ยึดถือความยุติธรรมหลักที่ 3 คือศีลธรรมหมายความว่าถ้าเราทำอะไรที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่เราต้องถูกต้องตามกฎหมายตามระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความยุติธรรมในความยุติธรรมนั้น ก็ต้องมีศีลธรรมด้วยจึงเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปเรียนต่อปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะผมคิดว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมเราต้องฟังคนอื่นด้วยต้องเอาสิ่งที่คนอื่นคิด มาช่วยคิดผมเลยทำคำมั่นสัญญาของตำรวจภูธรภาค 1 ว่าประชาชนคือนายของเรา” ทำงานไม่ค่อยมีอุปสรรคเท่าไหร่คำสั่ง พร้อมปฏิบัติถูกต้องชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเพื่อถวายความจงรักภักดีเพราะผมเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสิ่งที่ภูมิใจในบ้านสมเด็จ ที่มีส่วนให้ผมก้าวมาถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ“ การให้” เจ้าพ่อให้ที่ดินเป็นที่เรียนของเราคนพอถึงจุดหนึ่งควรจะให้กับคนที่ควรจะให้หรือกับใครก็ได้ที่ให้แล้วเกิดประโยชน์นอกจากนี้ก็มีความจงรักภักดีความซื่อตรงอย่างน้อย 3 ส่วนที่ทำให้ผมมีวันนี้และที่ขาดไม่ได้คือ สจจ เว อมตา วาจา ถ้าผมให้สัญญาประชาคมแล้วผมยอมเสียหายหรือฉิบหายดีกว่าที่จะเสียคำพูด ท้ายที่สุดเป็นห่วงนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่า เรากำลังแข่งกันเรียนหรือกำลังแข่งกันหาสถานที่เรียนที่มันดี ๆ แข่งกันหาประกาศนียบัตรเพื่อยอมรับในความสามารถตรงนี้ฝากให้คิด และฝากสำหรับสถาบันการศึกษาที่มีโอกาสประสาทปริญญา คิดจะประสาทปริญญาเพื่อที่จะให้เค้ามีมหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิตหรือคิดถึงองค์ความรู้ ที่จะให้มหาบัณฑิตว่าควรจะรู้ขนาดไหนหรือเรียน เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นมหาบัณฑิตเท่านั้นดังนั้นต้องให้ความรู้อย่างแท้จริง  นั่นก็เป็นบทสรุปทิ้งท้าย ที่เห็นถึงบุคลิกและความเป็นตัวตนของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ได้เป็นอย่างดีที่สำคัญในความเป็นตัวตนนั้นได้ถือเอาแบบอย่างการบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมัยรัชกาลที่ 5 มาได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยนสมกับเป็นลูกสุริยะเลือดม่วงขาวที่เข้มข้นจริง ๆ

นายชูชาติ ศรีแสง

ประวัติ   นายชูชาติ ศรีแสง

วันเกิด   12 มีนาคม 2485  

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเนติบัณฑิตยสภา สำนักอบรมศึกษากฎหมาย 

ประวัติการทำงาน   

  • อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

ศิษย์เก่ารุ่น/สาขาวิชา : ปกศ.ต้น สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ผลงานที่โดดเด่น : 

  • รับราชการตำแหน่งครูจัตวา สถานเยาวชนบ้านปากเกร็ด กองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ที่ปรึกษาบริษัท เนติการ อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ จำกัด 

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ : 

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ 
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประถมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 

นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ

ประวัติ นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ 

วันเกิด 3 ธันวาคม 2485 

ศิษย์เก่า 

  • จบประถมศึกษาจาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 
  • จบมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิจิตรวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 
  • จบ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • จบ กศ.บ. จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร สาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ 
  • ประกาศนียบัตรสอนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่ของ สสวท. 
  • ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง 

ประวัติการทำงาน 

  • อาจารย์โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 
  • รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร 
  • กรรมการสภาคณาจารย์ มศว. ประสานมิตรทุกสมัย จนลาออกจากราชการ 
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  • ศิษย์เก่าดีเด่น 100 ปี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) 
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 
  • เลขาธิการพรรคประชากรไทย 
  • ประธานมูลนิธิชาวพิจิตร 
  • เลขาธิการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า 
  • กรรมการสภาประจำสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวิทยาลัยทองสุข 
  • อุปนายกสมาคมชาวพิจิตร 
  • ประธานที่ปรึกษาชมรมข่าววิทยุและหนังสือพิมพ์ 

รางวัล / ผลงาน 

  • ได้รับการประกาศเป็น HERO OF THE YEAR ในสาขานักการเมืองท้องถิ่นดีเด่น 
  • พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2545 
  • ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 

นายพยงค์ จูฑา

เกิดวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ อายุ ๗๘ ปี  

ประวัติการศึกษา  

ประกาศนียบัตรครูชั้นต้น โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ  

วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

แพทศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล  

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน  

นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๘  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2559  

นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลธนบุรี  

ตำแหน่งหน้ำที่สำคัญในอดีต  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๑๘๐ วัน  

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุดที่ได้รับ  

มหาวชิรมงกุฎ  ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ 

พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง

พลตำรวจเอกอัศวิน  ขวัญเมือง

ประวัติการศึกษา

ระดับประถมศึกษา              

โรงเรียนวัดนางบวช อำเภอบางนางบวช                                                                       จังหวัดสุพรรณบุรี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น       

โรงเรียนท่าช้างวิทยา อำเภอบางนางบวช                                                                       จังหวัดสุพรรณบุรี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

สอบเทียบของกระทรวงศึกษาธิการ

นักเรียนพลตำรวจ

โรงเรียนตำรวจภูธร ๗ จังหวัดนครปฐม

ระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (นายร้อยตำรวจ รุ่นที่ ๓๐)

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

หลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ ๑๖

หลักสูตรวิทยาป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๔๕

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑

ประวัติการรับราชการที่สำคัญ

ตำแหน่ง

ปี พ.ศ.

รอง สวส.สน.สำเหร่                                       

๒๕๒๐-๒๕๒๑

รอง สวส.สภ.อ.อู่ทอง                                       

๒๕๒๑-๒๕๒๔

รอง สวป.สภ.อ.เมืองนครปฐม                          

๒๕๒๔-๒๕๒๘

สว.สภ.อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี                          

๒๕๒๘-๒๕๓๒

ผบก.ภ.จ.เชียงราย                                            

๒๕๔๑-๒๕๔๒

ผู้บังคับการกองปราบปราม                               

๒๕๔๒-๒๕๔๔

บัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๒                             

๒๕๔๙-๒๕๕๐

บัญชาการตำรวจนครบาล                               

๒๕๕๐-๒๕๕๑

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

๒๕๕๑-๒๕๕๓

รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒              

๒๕๕๓

ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) ด้านการสืบสวน                        

๒๕๕๓-๒๕๕๔

รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๑                

๒๕๕๓-๒๕๕๔

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                          

๒๕๕๖-๒๕๕๙

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙-ปัจจุบัน

 

ตำแหน่งปัจจุบัน

                    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙

ประสบการณ์การทำงาน

  • ด้านการรับราชการตำรวจ

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๒๐

รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล สำเหร่

๒๕๒๒

รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

๒๕๒๔

รองสารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

๒๕๒๕

เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอก

๒๕๒๖

สารวัตร แผนก ๕ กองกํากับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรภาค ๓ จังหวัดนครปฐม

๒๕๒๘

สารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

๒๕๓๑

เลื่อนยศเป็นพันตำรวจโท

๒๕๓๒

รองผู้กำกับวิทยาการ กองบังคับการตำรวจภูธร ภาค ๓ จังหวัดนครปฐม

๒๕๓๔

ผู้กำกับการวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

๒๕๓๖

รักษาการผู้กำกับการสารวัตรสืบสวนภาค ๗ จังหวัดนครปฐม

๒๕๓๘

รองผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม

๒๕๔๑

ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเชียงราย

๒๕๔๒

ผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม

๒๕๔๔

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๒๕๔๗

รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๒๕๔๙

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒

๒๕๕๐

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๒๕๕๑

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

๒๕๕๓

ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) ด้านการสืบสวน                        

 

  • ด้านการปกครองท้องถิ่น (รูปแบบพิเศษ)

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๕๖

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานปกครองและทะเบียน

๒๕๕๙

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

  • ด้านการเป็นกรรมการ/อนุกรรมการ

๓.๑ กรรมการหน่วยงานหรือองค์กร

ปี พ.ศ.

ประสบการณ์

๒๕๔๓

กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย

๒๕๕๑

กรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

๒๕๕๘

สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

๒๕๕๘

กรรมการบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร

๒๕๖๐

กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)

๒๕๖๐

อนุกรรมการด้านอำนาจหน้าที่และภารกิจตำรวจ

 

กรรมการมูลนิธิกรุงเทพมหานคร

ดูประวัติเพิ่มเติม : พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 

ปริญญาที่ได้รับ : ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 14 ตุลาคม 2563

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ปริญญาที่ได้รับ : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 26 มกราคม 2542

พระธรรมวุฒาจารย์ (ไสว วัฑฒโน)

ปริญญา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ 

ประวัติ : พระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) ชื่อเดิม นายไสว ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔  บิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ มารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ มีพี่น้องจำนวน  ๙ คน ดังนี้ 

  1. นางสุนีย์ บูระพาพร (ค้าขาย) 
  1. นายอัมพร ประสัตถพงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จ พระอริยวงคตญาณ)  
  1. นางสุมลรัตน์ อ่อนโยน (ถึงแก่กรรม) 
  1. นายไสว ประสัตถพงศ์ (พระเทพสุเมธี) 
  1. นางเพ็ญศรี วิเชียรทอง (ถึงแก่กรรม) 
  1. นายสวัสดิ์ ประสัตถพงศ์ (อดีตวิศวกร บริษัท การบินไทย) 
  1. นายสุกันท์  ประสัตถพงศ์ (นายแพทย์) 
  1. นางเตือนจิต มิ่งคำเลิศ (ข้าราชบำนาญอดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียนราชิโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี) 
  1. นางพิณรัตน์ เปี่ยมราศรีสกุล (ค้าขาย)  

มีภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ ๑ ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 

ด้านการศึกษาและบรรพชา  

พระเทพสุเมธี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดพเนินพลูวิทยาคาร จังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ และเมื่ออายุครบ ๑๓ ปี  เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดตรีญาติ แขวง/ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีพระครูเมธีธรรมนุยุต (เม้ย) วัดลาดเมรังกร เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะเป็นสามเณรได้เข้าศึกษาเล่าเรียนจนจบนักธรรมเอก 

ด้านอุปสมบท 

พระเทพสุเมธี อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕  ณ วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีพระครูเมธีธรรมาพุยุต (เม้ย) วัดเมรังกร เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระครูศรีธรรมานุศาสน์ วัดศรีสุริยวงศาราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 

ลำดับสมณะศักดิ์ที่ได้รับ 

  • ราชทินนาม พระเทพสุเมธี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชาคณะชั้นเทพ 
  • ราชทินนาม พระราชวราภรณ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชาคณะชั้นราช 
  • ราชทินนาม พระสิริวัฒนสุธี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง  
  • ราชาทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก  
  • ราชทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต พระครูสัญญาบัตรรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  
  • ราชทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔  
  • ราชทินนาม พระครูศรีธรรมานุศาสน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ 

 ดูประวัติเพิ่มเติม : พระธรรมวุฒาจารย์ (ไสว วัฑฒโน) , ปริญญากิตติมศักดิ์-หนังสือพระธรรมวุฒาจาร