นายพะนอม แก้วกำเนิด

ประวัติ พะนอม แก้วกำเนิด  

ศิษย์เก่า  ป.ป. 2493 

ปัจจุบัน  อธิบดีกรมสามัญศึกษา 

ที่อยู่ บ้าน 109/4 ซอย 78 ถนนเพชรเกษมตำบลบางแวกเขตภาษีเจริญกทม. 10600 โทร. 412-1470 

ที่ทํางาน กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการกทม. 10300 โทร. 281-2310 

วันเกิด 23 กุมภาพันธ์ 2475

สถานศึกษา 

  • โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีจ. สุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2485-2490 ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา 
  • โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยากรุงเทพฯ พ.ศ. 2491-2493 ป.ป.  
  • โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2494 2495 ป.ม. วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรกรุงเทพฯ พ.ศ. 2497 2498 กศ.บ. มหาวิทยาลัยมิชิแกนสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2501-2502 MA. in Ed  

ประวัติการรับราชการ 

  • พ.ศ. 2496 2497 โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลาจ. สงขลากรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งครูตรงานที่รับผิดชอบแต่งงาน พ.ศ. 2499-2504 วิทยาลัยครูอุบลราชธานีจ. อุบลราชธานีตำแหน่งครูโทงานที่รับผิดชอบงานสอนหัวหน้ากิจกรรมนักเรียน  
  • พ.ศ. 2505-2506 สํานักงานโครงการพัฒนาการศึกษา (G.E.D. ) กรมวิสามัญศึกษาน่งศึกษานิเทศก์โทงานที่รับผิดชอบผู้ช่วยเลขาฯ โครงการ  
  • พ.ศ. 2506-2511 วิทยาลัยครูเพชรบุรีจ. เพชรบุรีกรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งอาจารย์ใหญ่งานที่รับผิดชอบบริหารการเรียนการสอนในระดับ ป.กศ.  
  • พ.ศ. 2512-2516 กองโรงเรียนราษฎร์กรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งผู้อำนวยการกองโรงเรียนราษฎร์งานที่รับผิดชอบบริหารงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยเอกชน  
  • พ.ศ. 2516-2519 หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษาตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์งานที่รับผิดชอบส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนระดับก่อนเรียนประถมศึกษามัธยมศึกษาการศึกษาสงเคราะห์และการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2518-2519 กรมสามัญศึกษาตำแหน่งรองอธิบดี  
  • พ.ศ. 2520-2522 กรมการฝึกหัดครูตำแหน่งรองอธิบดี  
  • พ.ศ. 2521-2523 สำนักงานปลัดกระทรวงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  
  • พ.ศ. 2522-2523 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติตำแหน่งเลขาธิการฯ งานที่รับผิดชอบวางนโยบายและประสานงานเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมของชาติ  
  • พ.ศ. 2523-2527 กรมการฝึกหัดครูตำแหน่งอธิบดีงานที่รับผิดชอบบริหารงานการฝึกหัดครูในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงฯ  
  • พ.ศ. 2527-2529 สำนักงานปลัดกระทรวงตำแหน่งรองปลัดฯ 
  • พ.ศ. 2529- ปัจจุบันกรมสามัญศึกษาตำแหน่งอธิบดีงานที่รับผิดชอบบริหารงานการมัธยมศึกษาการศึกษาสงเคราะห์และการศึกษาพิเศษ 

พลตรีจำลอง ศรีเมือง

ประวัติ พลตรีจำลอง ศรีเมือง 

ศิษย์เก่า มัธยมปีที่ 6 ปี 2495  

ปัจจุบัน ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร 

6 ปีเต็มที่ผมได้มีโอกาสมารับการอบรมบ่มสอนในสถานศึกษาแห่งนี้มีความใกล้ชิดกับนักเรียนฝึกหัดครู ซึ่งพวกเรานักเรียนมัธยมมีความรู้สึกเคารพเลื่อมใส นักเรียนฝึกหัดครูทุกคน แม้หลายคนจะไม่ได้ฝึกสอนเราก็ตามเราเห็นว่าเป็นครูที่ดีได้ทุกคน เมื่อวันนี้มาถึงผมก็อยากจะเห็นนักเรียนฝึกหัดครู เป็นปูชนียบุคคลเหมือนภาพเก่า ๆ ที่ยังติดตาตรึงใจผมอยู่ 

จำลอง ศรีเมือง เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ที่ย่านสำเหร่ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็นแขวงสำเหร่ เขตธนบุรี) บิดามีอาชีพค้าปลาสดชื่อ สมนึก ชุณรัตน์ ส่วนมารดาชื่อ บุญเรือน ประกอบอาชีพแม่ค้าเร่ ตั้งแต่ พล.ต.จำลองยังแบเบาะบิดาได้เสียชีวิตลง และต่อมามารดาได้สมรสใหม่กับ โชศน์ ศรีเมือง ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล ศรีเมือง ที่ พล.ต.จำลองใช้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ กับชื่อเล่น จำลองนั้นเดิมมีชื่อเล่นว่า “หนู” แต่พอเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก็ถูกเพื่อนฝูงตั้งให้ใหม่ว่า “จ๋ำ” ขณะที่ชื่อ “ลอง” นั้น เป็นชื่อเล่นที่คนอื่น ๆ ทั่วไปมักใช้เรียกขาน ส่วนที่มีคำว่า “หา” เรียกก่อหน้าชื่อ เพราะ พล.ต.จำลองเป็นผู้ที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรม เมื่อครั้งอุปสมบทก็ศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง และเคยออกมาระบุว่าตนเองปฏิบัติตนสมถะ นอนไม้กระดานแผ่นเดียว แม้แต่การอาบน้ำก็จะใช้น้ำเพียง 5 ขัน จึงได้ฉายาว่า “มหา 5 ขัน” และมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ สวมเสื้อม่อฮ่อมเป็นประจำ โดยสวมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และไว้ผมสั้นเกรียนม 

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ พ.ต.หญิง ศิริลักษณ์ เขียวละออ โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังได้ร่วมกันทำกิจกรรมสังคมหลาย ๆ อย่าง ทั้งด้านการปฏิบัติธรรม เรื่องการกินอาหารมังสวิรัติ ดูแลสุนัขจรจัด รวมถึงจัดตั้งโรงเรียนผู้นำ และ จำลอง เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่ามีความใกล้ชิดและเป็นสมาชิกคนสำคัญของสำนักสันติอโศก 

การศึกษา 

หลังเรียนจบชั้น ม.6 จำลอง จึงตัดสินใจเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยที่ก็สอบได้ และจบ จปร.รุ่น 7/2 เนื่องจากสมัยเป็นนักเรียนนายร้อย จำลอง กับพวกไปจัดฉายภาพยนตร์หารายได้ซื้ออุปกรณ์กีฬาและดนตรีเข้าสโมสรนักเรียนนายร้อย แต่การกระทำดังกล่าวไปผิดในข้อหาขัดคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งขณะนั้นคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก จึงถูกปลดจากหัวหน้านักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนลูกแถว และถูกลงโทษให้รับกระบี่ช้าออกไป ไม่พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่น ๆ 

วีรบุรุษภูผาที 

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ใน พ.ศ. 2511 ระหว่างสงครามเวียดนาม จำลองในขณะมียศ ร้อยเอก (ร.อ.) สังกัดเหล่าทหารสื่อสาร ได้เข้าไปปฏิบัติการพิเศษในประเทศลาว ณ ยุทธภูมิภูผาที ในชื่อรหัสว่า “โยธิน” มีวีรกรรมในการป้องกันสถานีเรดาห์จากการยึดครองของคอมมิวนิสต์จนได้รับฉายาว่า “วีรบุรุษภูผาที” 

ชีวิตนักการเมือง 

  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

จำลอง เริ่มชีวิตทางการเมืองเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ต่อมาได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เพราะไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไขกฎหมายทำแท้ง 

  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 

จำลอง มีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมาหลังจากลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2528 เบอร์ 8 ในนาม “กลุ่มรวมพลัง” โดยชนะได้รับคะแนนเสียง 408,233 คะแนน ถึงขนาดที่วงคาราบาว แต่งเพลงให้ชื่อ “มหาจำลองรุ่น 7” การชนะการเลือกตั้งในสมัยนั้นทำให้ท่านได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่เกิดในระบอบประชาธิปไตยที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครก่อนผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่เกิดหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านอื่นๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 จึงก่อตั้ง พรรคพลังธรรม ขึ้น โดยสื่อมักเรียกขานกันว่าเป็น “พรรคพลังผัก” เนื่องจากสนับสนุนให้คนเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินอาหารมังสวิรัติ กระแสความนิยมในตัว พล.ต.จำลองในฐานะนักการเมืองผู้สมถะ พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกระแส “จำลองฟีเวอร์” และเรียกกันติดปากว่า “มหาจำลอง” ชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่า ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2533 โดยได้รับคะแนนท่วมท้นถึง 703,671 คะแนน ทิ้งห่างผู้สมัครจากพรรคประชากรไทยคือ นายเดโช สวนานนท์ ถึง 419,894 คะแนน แต่ก่อนที่จะครบวาระ 4 ปี ก็ลาออก และผันตัวเองสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติ 

พฤษภาทมิฬ 

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับคะแนนความนิยมสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพ ฯ โดยสามารถกวาดที่นั่งได้ถึง 32 ที่นั่งจาก 35 ที่นั่ง และเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จำลอง เป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล สุจินดา คราประยูร โดยถูกจับกุมตัวกลางที่ชุมนุมเมื่อบ่ายวันทื่ 18 พฤษภาคม และในวันที่ 20 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสองเข้าเฝ้า โดยมีพระราชดำรัสสำคัญถึงการต่อสู้กันรังแต่จะทำให้บ้านเมืองพินาศ หลังจากนั้น จำลอง ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งทางการเมืองตามที่เคยได้ให้สัญญาไว้เมื่อครั้งชุมนุม ซึ่งหลังจากนี้ได้มีกระแสเสียงกล่าวหาว่า “จำลองพาคนไปตาย” จากฝ่ายตรงข้าม 

ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จำลอง ศรีเมือง ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรม ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 และได้ให้การสนับสนุน กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อจากตน จำลองเป็นผู้ผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟฟ้าธนายง สายสุขุมวิท และสายสีลม โดยมอบหมายให้ กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ทำการศึกษาเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน ที่ถูกยกเลิกไปในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และให้สัมปทานแก่บริษัท ธนายง ทำการก่อสร้างโดยบริษัท อิตาเลียนไทย 

รถไฟฟ้าธนายง เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่มีการก่อสร้าง ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอส มีชื่อทางการว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 

จำลอง ศรีเมือง ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีพร้อมกับรัฐมนตรีจากพรรคพลังธรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบาย สปก. 4-01 ของพรรคประชาธิปัตย์ และทำให้ ชวน หลีกภัย ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันนั้น 

สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร 

จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก ก็ด้วยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง. โดยในปี 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ดำ​​รงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสังกัดพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง อีกด้วย. พล.ต.จำลอง มีภาพของการเป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมา. จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2539 แต่ทว่าคราวนี้ พล.ต.จำลอง ไม่อาจชนะการเลือกตั้งได้เหมือนเมื่ออดีต เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอย โดยแพ้ให้แก่ นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้สมัครด้วยกัน. จากนั้นมาบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็ค่อย ๆ ลดลง โดยเจ้าตัวได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้นำ อบรมบุคลากรที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมต่อไปในอนาคตขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสมถะอยู่ที่นั่น แต่เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.ต.จำลอง ก็ยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่ เช่น คดีซุกหุ้น พล.ต.จำลอง ก็เป็นหนึ่งบุคคลที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในห้องพิพากษาด้วย. 

พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อเป็นผู้สนับสนุน นายมานะ มหาสุวีระชัย ผู้สมัครอิสระเบอร์ 5 อดีต ส.ส.พรรคพลังธรรม และประชาธิปัตย์ แต่นายมานะก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อเป็นผู้ประท้วงไม่ให้เบียร์ช้างเข้าตลาดหุ้น โดยเจ้าตัวอ้างเพื่อเหตุศีลธรรมของสังคม 

เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 

พลตรีจำลอง กำลังปราศรัยขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 

ในสถานการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 จำลอง ได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 5 แกนนำเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำอีก 4 คนคือ สนธิ ลิ้มทองกุล พิภพ ธงไชย สมศักดิ์ โกศัยสุข และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ โดยมี สุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย

รางวัลและเกียรติยศ  พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นนายกองเอก เมื่อ พ.ศ. 2529 

เครื่องราชอิสริยาภรณ

  • พ.ศ. 2532  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2530 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  
  • พ.ศ. 2515 –  เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)  
  • พ.ศ. 2512 –  เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)  
  • พ.ศ. 2515 –  เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)  
  • พ.ศ. 2531 –  เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1 

พ.ต.อ.มงคล กมลบุตร

ประวัติ  พ.ต.อ.มงคล กมลบุตร

ศิษย์เก่า  มัธยมปีที่6  2500 

ปัจจุบัน อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 

พ. ต. อ. มงคล กมลบุตร ใช้เวลาศึกษาอยู่ในบ้านสมเด็จฯ เป็นเวลาถึง 10 ปีเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 จนกระทั่งชั้นมัธยมปีที่ 6 พ. ต. อ. มงคลเป็นบุตรชายของอาจารย์สุจิตกมลบุตรอดีตอาจารย์บ้านสมเด็จฯ ที่อุทิศแรงกายและแรงใจให้กับบ้านสมเด็จฯ อย่างทุ่มเทตั้งแต่หนุ่มจนปลดเกษียณทางคณะกรรมการมีโอกาสได้พูดคุยสรุปได้ดังนี้ 

ประวัติการศึกษา  

  • 2491 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่บ้านสมเด็จฯ  
  • 2500 จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่บ้านสมเด็จฯ  
  • 2501 เข้าเรียนโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 1  
  • 2503 เรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (สามพราน)  
  • 2506 สำเร็จการศึกษา (น.ร.ต. รุ่นที่ 17)  เพื่อนร่วมรุ่นคือ พันโท นายแพทย์ประพัฒน์ นุตะมาน  

สิ่งประทับใจในโรงเรียน 

พวกเราเด็กชอบเล่นซุกซนทุกซอกทุกมุมในบ้านสมเด็จฯ พวกเราสำรวจจนทั่วเราได้อาจารย์ที่รักและเอาใจใส่ท่านติดตามผลการเรียนความประพฤติของพวกเราอย่างสม่ำเสมอบางครั้งพวกเราจะถูกทำโทษพวกเราระลึกถึงพระคุณของท่านตลอดเวลาและคิดอยู่เสมอว่าเราโตและเจริญมาได้จนถึงปัจจุบันเพราะอาจารย์และบ้านสมเด็จฯ อีกทั้งเจ้าพ่อที่พวกเราเคารพสักการะและหากมีโอกาสมาที่บ้านสมเด็จฯ พวกเราจะต้องยกมือขึ้นทำความเคารพและระลึกถึงท่านเจ้าพ่อเสมออยากจะฝากน้อง ๆ ศิษย์ปัจจุบันให้ขยันเรียนประพฤติดีมีหลักธรรมจงเป็นคนดีของพ่อแม่ครูอาจารย์และเป็นประชาชนที่ดีของประเทศ 

ปดร. โกวิท ประวาลพฤกษ์

ประวัติ ปดร. โกวิท ประวาลพฤกษ์

ศิษย์เก่า ป. กศ. สูง 2504  

ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ 

“ ไปวิทยาลัยทีไรคิดถึงหอพักจะต้องไปกราบไหว้เจ้าพ่อด้วยจิตศรัทธาหากไม่ได้ทุนรัฐบาลคงไม่มีโอกาสได้มาอยู่ที่บ้านสมเด็จฯ” 

นาวาอากาศโทพิชิต แรกชำนาญ

ประวัติ นาวาอากาศโทพิชิต แรกชำนาญ

ศิษย์เก่า มัธยมศึกษาปีที่6 2520 

ปัจจุบัน หัวหน้าแผนกแผนและโครงการกองแผนที่ และที่ดิน 

กรมส่งกำลังบำรุงกองทัพอากาศ 

ผลงานออกแบบอาคาร 

  • กองบัญชาการกองทัพอากาศ 
  • อาคารธูปะเตมีย์ 
  • กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ 
  • กองบัญชาการกรมอากาศโยธิน 
  • กองข่าวอากาศและค้นหากู้ภัย 
  • กรรมการบริหารงานก่อสร้างอาคารคุ้มเกล้าโรงพยาบาลภูมิพล 

นายเฉลียว วัชรพุกก์

ประวัติ นายเฉลียว วัชรพุกก์

วันเกิด วันที่ 29 มกราคม 2464  

สถานที่เกิด บ้านถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองฯ จังหวัดตาก 

บิดามารดา ขุนวัชรพุกกศึกษากร (แปลก วัชรพุกก์) – นางบุญมี วัชรพุกก์ 

สมรส นางสาวสำรวย นิภานันท์ เมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  

มีบุตรด้วยกัน 6 คน 

  1. ดร.ชาญวิทย์ วัชนพุกก์ 
  2. นางอัญชลิกา กาญจนวงศ์ 
  3. นางชนิกรรดา สวัสดิพานิช 
  4. พ.ต.อ ดร.ชายวุฒิ วัชรพุกก์ 
  5. นายชัยวัฒน์ วัชรพุกก์ 
  6. นางวันทนีย์ บูรณะประภา 

ศิษย์เก่า 

  • ชั้นประถม โรงเรียนวัดสีตลาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดตาก 
  • ชั้นมัธยมปีที่ 1-4 โรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมืองฯ จังหวัดตาก 
  • ชั้นมัธยมปีที่ 5-8 โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 
  • ปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2484) 
  • ปริญญาบัตร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 10 
    (พ.ศ. 2510 – 2511) 

ประวัติการทำงาน 

  • พ.ศ. 2485 นายช่างตรี กองวางแผนและหมวดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 
  • ที่จังหวัดนครสรรค์ (สะพานเดชาติวงศ์) กรมทางหลวง 
  • พ.ศ. 2487 นายช่างโท แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 
  • พ.ศ. 2490 นายช่างโท แขวงการทางตาก 
  • พ.ศ. 2498 นายช่างเอก แขวงการทางตาก 
  • พ.ศ. 2499 นายช่างเอก แขวงการทางพิษณุโลก 
  • พ.ศ. 2507 นายช่างใหญ่ ฝ่ายบำรุงรักษา และรักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองบำรุง 
  • พ.ศ. 2507 รองอธิบดีกรมทางหลวง 
  • พ.ศ. 2512 อธิบดีกรมทางหลวง 
  • พ.ศ. 2523 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (วิศวกร 11) สำนักนายกรัฐมนตรี 

ด้านนิติบัญญัติ 

  • 29 ธ.ค. 2513 – 17 พ.ย. 2514 สมาชิกวุฒิสภา 
  • 16 ธ.ค. 2515 – 11 ธ.ค. 2516 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
  • 23 ธ.ค. 2516 – 26 ม.ค. 2518 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
  • 15 พ.ย. 2520 – 22 เม.ย. 2522 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
  • 18 เม.ย. 2526 – 1 พ.ค. 2529 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 10 กรุงเทพมหานคร  พรรคประชากรไทย
  •  27 ก.ค. 2529 – ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราฎรจังหวัดตาก พรรคราษฎร์

ด้านบริหาร 

  • 7 พ.ค. 2526 – 11 ส.ค. 2529 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  • 11 ส.ค. 2529 – ปัจจุบัน  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 

กิจกรรมพิเศษ 

  • พ.ศ. 2511 – 2514 กรรมการอำนวยการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 
  • กรรมาธิการการคมนาคมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
  • พ.ศ. 2512 – 2517  นายกสมาคมทางหลวงแห่งประเทศไทย 
  • พ.ศ. 2519 – 2521 ประธานกรรมการสมาคม Road Engineering Association of Asia & Australasia 
  • พ.ศ. 2520 คณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ 
  • คณะกรรมการควบคุมการขนส่ง 
  • คณะกรรมการพิจารณาวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการก่อสร้างทางหลวงตามโครงการเงินกู้ 
  • คณะกรรมการจราจรแห่งชาติ 
  • คณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล ฝ่ายฆราวาส 
  • พ.ศ. 2512 – 2514 ประธานกรรมการตรวจการจ้างรัฐสภา 
  • พ.ศ. 2522 – 2521  คณะกรรมการท่าอากาศยานพาณิชย์สากล 
  • พ.ศ. 2522 กรรมการดำเนินการปีเกษตรกร 
  • พ.ศ. 2522 กรรมการสถาบันผู้รับงานก่อสร้าง และ  
  • ประธานคณะอนุกรรมการสถาบันผู้รับงานก่อสร้าง 
  • พ.ศ. 2524 คณะกรรมการสร้างงานในชนบท (ก.ส.ช.) 

การศึกษาดูงานต่างประเทศ 

ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ยุโรป 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  • พ.ศ. 2493 จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย  (จ.ม.) 
  • พ.ศ. 2493 เหรียญบรมราชาภิเษก 
  • พ.ศ. 2496 จตุรถาภรณ์ช้างเผือก  (จ.ช.) 
  • พ.ศ. 2500 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย  (ต.ม.) 
  • พ.ศ. 2501 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 4 
  • พ.ศ. 2509 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) 
  • พ.ศ. 2510 จักรพรรดิมาลา 
  • พ.ศ. 2511 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) 
  • พ.ศ. 2512 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 3 
  • พ.ศ. 2513 เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น 1 
  • พ.ศ. 2513  ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) 
  • พ.ศ. 2513 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) 
  • พ.ศ. 2514 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) 
  • พ.ศ. 2514 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) 
  • พ.ศ. 2515 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 2 
  • พ.ศ. 2517 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) 
  • พ.ศ. 2520 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) 
  • พ.ศ. 2521 ทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษ (ท.จ.ว.) 
  • พ.ศ. 2522 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 

นายธีระ วิทวุฒิศักดิ์

ประวัติ ธีระ วิทวุฒิศักดิ์

วันเกิด  26 พฤศจิกายน 2489 ที่อ. หัวไทรจ. นครศรีธรรมราช 

ศิษย์เก่า ป.กศ. 2506  

ปัจจุบัน หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

ประวัติการศึกษาและการทํางาน

  • 2504 จากบ้านมาเข้ากรุงเป็นนักเรียนทุนของบ้านสมเด็จฯ และเป็นรุ่นสุดท้ายที่มีโอกาสได้อยู่หอวิทยาลัยมีอ. บำรุง (ดร. บำรุงปานสุนทร) เป็นอาจารย์ผู้ปกครองระหว่างที่เรียนบ้านสมเด็จฯ เลือกเรียนวิชาเอกคณิตศาสตร์วิชาโทสังคมเรียนได้ 3 เดือนสมัครสอบเทียบม. 8 บ้านสมเด็จฯ ไปสมัครสอบ 25 คนสอบได้ 23 คนสมัยนั้นการสอบเทียบม. 8 นั้นยากมากคิดว่าเป็นเพราะเรามีอาจารย์ดีและมีความสามารถเช่นอ. มนูพิมพิสุทธิ์, อ. ศิริชัยจารุจินดา, อ. กฤษณาสยามเนตรสอนเก่งและยังกวดขันพวกเราจนพวกเราไปสอบสู้เขาได้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2506 จบระดับ ป.กศ. ได้เกรดสูงสุดในวิทยาลัยคือ 3.66  
  • 2507-2516 ศึกษาที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรจบปริญญาตรีและได้ไปสมัครสอบเป็นครูของกรมอาชีวะสอบได้ที่ 1 มีสิทธิเลือกโรงเรียนสอนตัดสินใจเลือกไปที่“ วิทยาลัยเทคนิคตาก  
  • 2512 ลาออกจากครูมาสอบปริญญาโท (บรรณารักษ์) ประสานมิตรขณะเรียนต้องช่วยตัวเองโดยการสอนเด็กได้เงิน 12 บาทต่อชั่วโมงเรียนได้ 1 เดือนก็ลองไปสอบระดับปริญญาโทที่นิด้าคณะพัฒนาเศรษฐกิจสอบได้เลยทำให้มีสิทธิเรียนปริญญาโทได้ 2 สถาบัน แต่ตัดสินใจเลือกเรียนที่นิด้าเพราะอยู่อาชีพครู“ จน” เรียนได้ 2 ปีจบเป็นมหาบัณฑิตรุ่นที่ 3 มีเพื่อนร่วมรุ่น 5 คน  
  • 2514 เริ่มทำงานที่ธนาคารทหารไทยฝ่ายวเคราะห์สินเชื่อต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพฯฝ่ายวิจัยวางแผนศึกษาภาวะตลาดสินค้าต้องศึกษาอย่างรวดเร็วกว้าง ๆ เพื่อนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อให้ทันท่วงที  
  • 2518 ทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสำนักงานใหญ่ในตำแหน่งหัวหน้าส่วน 5 ปีและเลื่อนเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย 6 เดือนและได้เป็นรองหัวหน้าฝ่ายตามลำดับที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยานี้ได้หัวหน้าที่ดีมากท่านสอนงานให้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การทำงานไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วต้องขอกล่าวว่า“ ข้าพเจ้าเติบโตขึ้นมาได้เพราะมีเจ้านาย”  
  • 2526 ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อคุมสินเชื่อสาขาในกรุงเทพฯและบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด 74 สาขา 

ปรัชญาในการทํางาน 

ตัวเอง ต้องมีความรับผิดชอบสูงขยันหมั่นเพียรงานที่ท้าทายไม่มีใครทำเราต้องลองทำและพยายามทำให้สำเร็จควรรับงานให้ได้มากขึ้นไม่ท้อแท้และที่สำคัญคือมองปัญหาให้เป็นเรื่องเล็กเราจึงจะโต งาน ไม่ปฏิเสธงานทุกชนิดในสายงานไม่เกี่ยงใครมีโอกาสทำงานมากก็ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นเนื่องจากมีประสบการณ์สูงบาง case ไม่มีในตำราต้องจับจุดหรือจับประเด็นนั้นมาวิเคราะห์ ครอบครัวมีส่วนช่วยอย่างมากครอบครัวที่ไม่มีปัญหาย่อมมีผลต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน archit บริวารดี เจ้านาย เราจะมีฝีมือมีความรู้เป็นที่ประจักษ์เพียงไรก็ตามหากนายไม่ส่งเสริมก็ไม่มีทาง “โต” 

ดร. สมชัย ชินะตระกูล

ประวัติ ดร. สมชัย ชินะตระกูล

วันเกิด 20 เมษายน 2489

ศิษย์เก่า ป. กศ. สูง พ.ศ. 2517  

ปัจจุบัน รองหัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ประวัติส่วนตัว บ้านเกิด บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองรีอ. เมืองจ. ชลบุรีเป็นบุตรคนที่ 4 ของพ่อแม่มี 3 คนและน้อง 2 คนพ่อแม่มีอาชีพทำไร่มันสำปะหลังแต่งงานแล้วมีบุตรสาว 2 คน

ประวัติการเรียน

  • จบป. 4 ที่ร. ร. ประชาบาลวัดนาเยือนต. นาป่าอ. เมืองจ. ชลบุรี พ.ศ. 2501  
  • ม.ศ. 3 ที่ร. ร. กล่อมปฐมวัยอ. เมืองจ. ชลบุรี พ.ศ. 2507  
  • ป.กศ. ที่วค. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2509  
  • ป. กศ. ชั้นสูงที่วค. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2511  
  • ก.คบ. ที่มศว. ประสานมิตร พ.ศ. 2513  
  • ก.ม. ที่มศว. ประสานมิตร พ.ศ. 2516  
  • เรียน กศ.ด. ที่ประสานมิตรจนเกือบจบขาด แต่เก็บข้อมูลเพื่อทำการวิจัย แต่เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ณ สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2522  
  • Ph.D. The University of Missouri-Columbia (UMC) w.M. 2526  

ประวัติการได้รับทุนการศึกษา

  • ระดับประถมศึกษาไม่เคยได้รับเลย 
  • มัธยมศึกษาได้รับทุนเรียนดี 5 ปี  
  • ป.กศ. และป. กศ. ชั้นสูงได้รับทุน ช.ฝ.ค.  
  • ปริญญาตรีไม่ได้รับทุน 
  • ปริญญาโทได้รับทุนภูมิพลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  • ปริญญาเอกได้รับทุนจาก The University of Missouri-Columbia (UMC) ทุนจาก The College of Education ของ UMC ทุนจาก The Altrusa Foundation nu Research Assistantship  

ประวัติการทํางาน

  • บรรจุเป็นอาจารย์ตรีวค. นครสวรรค์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 สอนวิชาคณิตศาสตร์จนได้อาจารย์โทและ  
  • ย้ายมาอยู่วค. บ้านสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2518 สอนวิชาคณิตศาสตร์  
  • ปัจจุบันเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 5 สอนวิชาคอมพิวเตอร์และเป็นรองหัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ประวัติการช่วยงานราชการ  

  • ช่วยงานเป็นผู้ชำนาญสาขาการวัดผลการศึกษาสสวท. พ.ศ. 2521  
  • ช่วยงานเป็นผู้ชำนาญสาขาคณิตศาสตร์สสวท. พ.ศ. 2527  
  • ช่วยงานเป็นที่ปรึกษาสาขาคอมพิวเตอร์สสวท. พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน  
  • เป็นกรรมการร่างหลักสูตรของ กศ.น. พ.ศ. 2527 2528 193 

นางสาววนิดา ว่องศิริกุลวัฒนา

ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา :  

• ปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ตำแหน่งปัจจุบัน :  

• เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (จป. วิชาชีพ) บจก. พี. เอส. พี. สเปเชียลตรีส์ (คลังน้ำมันสมุทรปราการ) 

ผลงานที่โดดเด่น : 

• เข้าร่วมโครงการสถานประกอบกิจการดีเด่นระดับประเทศกระทรวงแรงงานอย่างต่อเนื่อง 

• เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ เข้าร่วมโครงการ Fire & Flood Management กับชมรมความร่วมมือโตโยต้าประจำปี ๒๕๖๐  

• วิทยากรบรรยาย / แบ่งปันความรู้ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ และนักศึกษาชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

เกียรติคุณรางวัลที่ได้รับ : 

• รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นระดับประเทศจากกระทรวงแรงงานปี ๒๕๕๔-ปัจจุบัน 

• รางวัลกิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์จากกระทรวงแรงงานปี   ๒๕๕๔-ปัจจุบัน 

• รางวัล Best Practice for Fire & Flood Management จากชมรมความร่วมมือโตโยต้าประจำปี ๒๕๖๐ 

นางสาวอโนชา ศิริจร 

ประวัติ นางสาวอโนชา ศิริจร 

ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา   

  • ปริญญาตรี สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

ตำแหน่งปัจจุบัน  

  • พิธีกร / ผู้จัดการฝ่ายการผลิตรายการ สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี  

บริษัท อมรินทร์เทเลวิชั่น จำกัด  

ผลงานที่โดดเด่น 

  •  ผู้ดำเนินรายการรายการกบนอกกะลาช่อง 4 สังกัดบ. ทีวีบูรพา จำกัด  
  • ผู้ดำเนินรายการรายการตามอำเภอจานสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี 
  • ผู้ดำเนินรายการรายการอื่นใจไทยแลนด์สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี 

เกียรติคุณรางวัลที่ได้รับ 

  • รางวัล“ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” รายการชื่นใจไทยแลนด์สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวีจากกระทรวงวัฒนธรรม 
  • รางวัลเกียรติยศหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทองคำ” สาขาผู้ผลิตผลงานสิทธิผู้บริโภคอันเป็นที่ชื่นชอบของประชาคมอาเซียนประจำปี ๒๕๖๐ จากสมาคมสถาบันคุ้มครอง