นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

ประวัติ  นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

เกิด ไม่ทราบข้อมูล (ถึงแก่อสัญกรรม)

ศิษย์เก่า 

  • ๒๕๐๖ โรงเรียนอำนวยศิลป์ 
  • ๒๕๐๘ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ๒๕๑๒ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ๒๕๑๓ เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • ๒๕๔๑ ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
  • ๒๕๕๔ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรม / ดูงาน / สัมมนา 

  • ๒๕๒๒ โครงการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติรุ่นที่ ๒ กระทรวงการคลัง  
  • ๒๕๒๒ การบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชารุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.
  • ๒๕๓๒ หลักสูตรภาษีมูลค่าเพิ่มกรมศุลกากร
  • ๒๕๓๒ ระบบราคา GATT กรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ Working Visit ณ สำนักงานใหญ่ ประชาคมยุโรป และ ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป
  • ๒๕๓๖ นักบริหารระดับสูงหลักสูตรที่ ๑ รุ่นที่ ๑๒ สำนักงาน ก.พ. 
  • ๒๕๓๗ ดูงานศุลกากรด้าน TRADE FREEZONE ณ ประเทศดูไบ
  • ๒๕๓๗ ดูงานด้านศุลกากร ณ ประเทศญี่ปุ่น 
  • ๒๕๓๙ ประชุมอธิบดีศุลกากรกลุ่มประเทศเอเชีย-ยุโรป ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ๒๕๓๙ หารือข้อราชการเกี่ยวกับการศุลกากร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน-๒๕๓๙ คอมพิวเตอร์สำหรับ
  • ๒๕๔๒ ผู้บริหารกรมศุลกากรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) รุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.

ตำแหน่งในอดีต 

  •  ๒๕๒๗ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาเข้ากรมศุลกากร 
  • ๒๕๒๙ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาออกกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๐ ผู้อำนวยการกองเก็บอากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๓ สารวัตรศุลกากร ๘ การบริหารราชการส่วนกลาง 
  • ๒๕๓๔ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๘ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปรามกรมศุลกากร  
  • ๒๕๔๐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๑ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๓ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง 
  • ๒๕๔๕ รองปลัดกระทรวงการคลัง 

ประวัติและผลงาน

คุณชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นคนจังหวัดระยอง ครอบครัวมีฐานะลำบากยากจน แต่เรียนดีจึงรับทุนเรียนที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในระดับปกศ.ต้น สิ่งที่คุณชวลิต รำลึกถึงมากที่สุดระหว่างที่เรียนในวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ“ ห้องสมุด (ขณะนั้นห้องสมุดเดิมเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นตั้งอยู่บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติหรืออาคารในปัจจุบันผู้สัมภาษณ์) เนื่องจากไม่มีสตางค์ที่จะซื้ออาหารกลางวันในมื้อเที่ยงจึงรับประทานน้ำก๊อกแทนอาหารและเพื่อไม่ให้ว่างจึงเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือทั้งอ่านและยืมหนังสือมากเรียกว่าเกือบทุกเล่มที่มีในห้องสมุดบัตรยืมหนังสือเปลี่ยนบ่อยมากและเป็นคนส่งหนังสือตรงเวลา ความที่เป็นคนรักการอ่านจึงได้อ่านตำราของ พระยาอุปกิตศิลปะสารเกี่ยวกับตำราไวยากรณ์หรือวรรณคดีไทยทั้งหมด จนสามารถสอบผ่านวิชาวรรณคดีไทยที่ ถือว่ายากและน่าเบื่อที่สุดในสมัยนั้นมาได้ด้วยเกรด ๔ ทำให้ได้คะแนนเฉลี่ยดีขึ้นมากจบการศึกษาระดับ ป.กศ.ต้น ได้เป็นลำดับที่ ๓ ด้วยเกรดเฉลี่ย ๓.๗๕ และได้รับสิทธิ์ในการเรียนต่อ ป.กศ.สูง โดยอัตโนมัติไม่ต้องสอบคัดเลือกในส่วนของงานกิจกรรม จะไม่ค่อยได้ร่วมเนื่องจากมุ่งมั่นในการอ่านหนังสือตำรามากกว่า 

จุดมุ่งหมายในชีวิตคือการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงที่ฝึกสอนได้ไปฝึกที่โรงเรียนวัดแถว ๆ บุคคโลกลางวันฝึกสอนกลางคืนดูหนังสือตั้งแต่ ๑ ทุ่มถึงเที่ยงคืนทุกวันหนังหรือละครไม่เคยดูเลยเพราะตั้งใจเตรียมตัวสอบเอ็นทรานส์ เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์การเรียนวิทยาลัยครูจะมีจุดด้อยกว่าผู้ที่เรียนสายศิลป์หรือสายวิทยาศาสตร์มาวิชาที่ไม่สันทัดนัก คือวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับคนที่มีฐานะอาจจะไปเรียนเสริมพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ แต่สำหรับตัวเองแล้วไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จึงขอให้เพื่อนเป็นครูช่วยติววิชาคณิตศาสตร์ให้ซึ่งเพื่อนก็ยินดีผลปรากฏว่าสามารถสอบเข้าได้ แต่เพื่อนสอบเข้าไม่ได้เพราะเพื่อนมีความถนัดวิชาคณิตศาสตร์วิชาเดียว แต่วิชาอื่นไม่ถนัดส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้น มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศหรือศูนย์ภาษาใด ๆ แต่อาศัยความกล้าและความ“ ไม่กลัวโง่” กล่าวคือการไม่อายหรือไม่กลัวเสียเกียรติภูมิที่จะถามผู้รู้เป็นคนช่างสังเกต ช่างจดจำ จนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี 

หลังจากสอบเอ็นทรานส์เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ได้กลับบ้านเกิดที่ระยอง และบอกเพื่อนให้แจ้งผลการสอบให้ทราบทางโทรเลข เพื่อนไปดูผลการสอบแล้วไม่พบเนื่องจากชื่ออยู่ด้านล่าง ซึ่งขอบกระดานปิดทับอยู่หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็นคิดว่าคงสอบไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะถึงอย่างไรก็สามารถกลับไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในระดับป. กศ. สูงได้ แต่คงเป็นเพราะดวงดีมีเพื่อนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ชวนให้เข้ากรุงเทพฯด้วยเพราะเพื่อนไม่เคยมากรุงเทพฯ จึงทราบจากเพื่อนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยกัน แต่สอบไม่ได้ไปดูผลสอบให้ในเวลากลางคืนใช้ไฟฉายส่องดูอย่างละเอียด จึงพบชื่อคุณชวลิตอยู่ขอบล่างของกระดาน ทราบผลสอบเป็นวันที่ต้องไปสอบสัมภาษณ์มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ เสื้อผ้าไม่ได้เตรียมมา จึงยืมเสื้อเชิ้ตของเพื่อนเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ในเวลาวันนาฬิกาที่คณะนิติศาสตร์ และก็สามารถสอบผ่านเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามความมุ่งหวัง ซึ่งถือว่าเป็นจุดหักเหในชีวิตอย่างมากว่าหากไม่บังเอิญเพื่อนชวนเข้ากรุงเทพฯ วิถีชีวิตก็คงดำเนินไปอีกรูปแบบหนึ่ง ภายหลังทราบว่ามีเพื่อนจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยารุ่นเดียวกัน มาสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รวมทั้งหมด ๔ คน 

เรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเกียรตินิยมเหรียญเงิน เหตุที่ไม่ได้เหรียญทอง เนื่องจากสอบตกวิชา “หนี้” ของอาจารย์กำธร พันธุลาภ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด ทั้งมหาวิทยาลัยสอบเพียง ๓ ออกเป็นสามชั้นจรดปากกาไม่ลงพอปี ต่อมาลงเรียนวิชานี้อีกครั้งหนึ่งและก็สามารถ ๑๗ คนเท่านั้นข้อสอบมี ๓ ข้อข้อ ๑ และข้อ ๒ ทำได้ แต่ข้อซึ่งแบ่งเป็นสอบผ่านไปได้ด้วยคะแนน ๖๕ แต้มหลังจากจบนิติศาสตร์แล้วได้ไปสอบเรียนเนติบัณฑิตต่ออีก 5 ปีจบแล้วมีการสอบ ๒ ภาคสมัยนั้นต้องสอบผ่านทั้ง ๒ ภาคจึงจะมีสิทธิ์สอบปากเปล่าได้ แต่ปัจจุบันสามารถสอบทีละภาค ได้กรรมการสอบเป็นคุณหลวงคุณพระทั้งสิ้น คำถามจะถามเกี่ยวกับความแม่นยำของข้อกฎหมาย และ คำถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อกฎหมายต่างๆสอบในห้องประชุม มีการกันผู้เข้าสอบไม่ให้พบหน้ากัน เพื่อไม่ให้ข้อสอบรั่วไหลท่านเป็นเนติบัณฑิตรุ่นที่ ๒๓ แต่ละรุ่นมีผู้สอบเป็นจำนวนพันคน แต่สอบได้รุ่นละ ๒๓-๒๔ คนเท่านั้นสมัยก่อนนั้นในหลวงและพระราชินี จะเป็นผู้พระราชทานประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตยสภาเพราะจำนวนบัณฑิตยังไม่มากนักพิธี จัดขึ้นที่ห้องนภาลัยโรงแรมดุสิตธานีโดยมีการร่วมโต๊ะเสวย ก่อนความที่เป็นเด็กบ้านนอกยังไม่คุ้นกับการรับประทานอาหารในโรงแรม จึงถามเพื่อนข้างๆว่าทานอย่างไร เพราะซ้อนส้อมมีดวางเรียงรายมากมายเพื่อนบอกว่าให้สังเกตพระราชินีท่านเสวยอย่างไร เราก็ทำตามการรับประทานอาหารจึงผ่านมาได้ด้วยดีหลังจากนั้นในหลวง และพระราชินีทรงฉายพระรูปร่วมกับบัณฑิต และมีพิธีมอบประกาศนียบัตรเป็นลำดับสุดท้ายเริ่มงานที่กรมศุลกากรด้วยความบังเอิญไม่เคยรู้จัก หน่วยงานนี้มาก่อนเพื่อนเป็นตำรวจชวนมาสอบตอนนั้นสอบไว้ ๓ แห่งคือที่กรมบังคับคดีกรมคุมประพฤติและศาลคดีเด็กและเยาวชน แต่กรมศุลกากรเรียกตัวก่อนเหตุที่สอบเข้าได้เพราะ“ ดูหนังสือหนักฎีกาต่างๆแม่นมากไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญางานแรกอยู่กองสืบราชการลับได้เรียนรู้ทุกอย่างจากจุดนั้น และไต่เต้าจากตำแหน่งต่างๆเติบโตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้ราบรื่นเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบประสบวิบากกรรมในชีวิตมาก็มากโดนฟ้องร้อง ให้ออกจากราชการก็เคยเรียกว่าประสบการณ์“ โชคเลือด” เลยทีเดียวกรมศุลกากรกว่าจะขึ้นมาได้แต่ละซีนั้นลำบากมาก แต่ในที่สุดก็ฝ่าฟันมาได้จนถึงปัจจุบันการทำงานที่กรมศุลกากรให้ทุกอย่างในชีวิตทั้งทรัพย์สินเงินทองที่เป็นรางวัลจากการมุมานะบากบั่น ในการทำงานตลอดจนเกียรติยศชื่อเสียง จากชีวิตเด็กชนบทยากจนคนหนึ่งสามารถสร้างตัวจนเจริญก้าวหน้าได้ จนถึงปัจจุบันมิใช่เพราะโชคช่วย แต่เกิดจากความวิริยะอุตสาหะโดยเฉพาะในด้าน“ การอ่านและรู้แหล่งการเรียนรู้ที่ตนควร“ โคจร” ไปเพื่ออนาคตอันสดใสนั่นคือ“ ห้องสมุด” ซึ่งท่านเน้นในระหว่างการสนทนาอยู่เสมอว่า“ ผมได้ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดอย่างมากจริงๆ” นี่คือบทสรุปสุดท้ายของอดีต“ ลูกสุริยะ” คนหนึ่งที่สามารถ“ ตามฝัน” ด้วยความสามารถของตนได้อย่างสมภาคภูมิ 

 

ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

ประวัติ ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

วันเกิด ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๘๑

ประวัติการศึกษา

  • การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ 
  • Master of Arts Michigan State University 
  • Doctor of Philosophy  Michigan State University 

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน 

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต 

  • สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
  • นายกสภาสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
  • จัดทำโครงการพัฒนาจิตให้กับกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ประธานมูลนิธิวิปัสสนากรรมฐาน 
  • กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๘ 

ดร. สุรัฐศิลปอนันต์ 

ตำาแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

สถานที่ทํางาน กระทรวงศึกษาธิการถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๘๑-๖๓๐๖, ๒๘๒-๐๐๖๘  

ที่อยู่ ๓๒๙ ซอยองครักษ์บางกระบือกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๔๑-๓๕๖๐, ๒๔๑-๕๐๙๖ 

ชาติกำเนิด ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๑, หมู่ 5 ตำบลขามอำเภอจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิบิดาชื่อจรูญ (ครูประชาบาล) มารดาชื่อบุญพามา (ชาวนา) 

ประสบการณ์ประกอบอาชีพ 

  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน
  • รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เมษายน ๒๕๓๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
  • อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน, 5 ตุลาคม ๒๕๓๒ – เมษายน ๒๕๓๖ 
  • เลขาธิการ ก.ค. , ๑ ตุลาคม ๒๕๓๐ – ๕ ตุลาคม ๒๕๓๒
  • รองเลขาธิการ ก.ค. , ๒๕๒๓ – ๒๕๓๐
  • ผู้อำนวยการกองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ 
  • รองเลขาธิการคุรุสภา, ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒
  • ครูตรีโรงเรียนชัยภูมิ (สอนชั้น ม.ศ. ๑ – ๕) จังหวัดชัยภูมิ, ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕ 
  • ครูโรงเรียนเอกชน (ทั้งระดับประถมศึกษา และ มัธยม), ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒  

ผู้ริเริ่มและดำเนินการ 

  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษาจำนวน ๕๘ แห่งสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า ๕๐๐ ล้านบาทโดยรณรงค์ให้ประชาชนสร้างถวายประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท
  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ สถาบันการศึกษา และ พัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
  • จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชายแดน” จนรอบชายแดนของประเทศ(๙ แห่ง) 
  • จัดตั้ง“ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ๑๒๕ แห่ง 
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยทางดาวเทียม (ร่วมกับ“ ไทยคม) 
  • จัดการมัธยมศึกษาให้แก่ทหารเกณฑ์ในกองทัพบกเรือและอากาศ
  • เป็นผู้นำในการสร้างระบบบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (ระบบตำแหน่ง และ เงินเดือน) สำหรับประเทศไทยในระบบใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๓
  • เป็นผู้นำในการจัดทำกฎ ก.ค. , ระเบียบ ก.ค. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (เมื่อเป็นรองเลขาธิการ ก.ค. ) 

ที่ปรึกษา 

  • กรรมการและเลขานุการ คณะทํางานร่าง พ.ร.บ. กระจายอำนาจการจัดการศึกษา
  • คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรม
  • คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา 
  • คณะกรรมการประเมินสภาพการดำเนินงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • กรรมการประสานงานติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายของ ศธ.
  • คณะอนุกรรมการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาม.ต้น 
  • คณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาคารเรียน
  • คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน
  • คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติ“ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนบ้าน “

กรรมการแลพเลขานุการ  คณะกรรมการการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ 

ราชการระหว่างประเทศ รับผิดชอบราชการต่างประเทศทั้งปวงของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนประเทศไทยในองค์การยูเนสโกซีมีโออาเซียนและองค์การอื่น ๆ ในระยะนี้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ๕ โครงการสำคัญ  

  1. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาจากธนาคารโลก ๒ โครงการของกรมอาชีวศึกษากรมสามัญศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติวงเงินหลายพันล้านบาท 
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดทำนโยบายและการวางแผนร่วมกับองค์การ ค้าของรัฐบาลแคนาดา 
  3. โครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย 
  4. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 
  5. การวางแผนช่วยเหลือด้านการพัฒนาการศึกษา และสังคมประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า กัมพูชาและ เวียดนาม 

ประสบการณ์และความทรงจำในบ้านสมเด็จฯ  

เมื่อจบ ป.กศ. ต้น จากโรงเรียนฝึกหัดครูโคราช ได้รับคัดเลือกประเภทเรียนดีให้มาศึกษาต่อที่บ้านสมเด็จฯ ในระดับป.กศ.สูง เมื่อปี ๒๕๐๐ นับว่าเป็น ป.กศ.สูง รุ่นแรกของบ้านสมเด็จฯ มาเรียนอยู่๒ปี ได้เป็นหัวหน้าห้อง ก. ปกติห้อง ก. และห้องต้น ๆ เป็นนักเรียนเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนฝึกหัดครูต่างจังหวัดห้องต่อๆ ไปเป็นห้องที่นักศึกษาสอบคัดเลือกเข้ามาเรียน 

สำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดของดร. สุรัฐในระหว่างการเรียนที่บ้านสมเด็จฯ คือเรื่องครูบาอาจารย์ที่สอนสั่งล้วน แต่เป็นครูของครู ครูที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาอย่างยิ่ง เช่นวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่ท่านสนใจมากอาจารย์ออกสำเนียงได้ชัดเจนและถูกต้องในสมัยนั้นอาจารย์ภาษาอังกฤษคืออาจารย์ประยูรหมีทองอาจารย์คณิตศาสตร์คืออาจารย์เบญจมาศจันทร์เทียน เป็นต้นที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือครูอาจารย์เอาใจใส่นักเรียนมาก ทำให้พวกเรามีคุณภาพนี่คือลักษณะเด่นของคนบ้านสมเด็จฯ เมื่อเราจบออกไปทำงานไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นที่ยอมรับของวงการนั้นด้วยความสามารถที่โดดเด่นนั่นคงเป็นเพราะเรามีครูดีที่เอาใจใส่จนนักเรียนประสบความสำเร็จ ในที่สุดนอกจากนั้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ และการกีฬาได้สร้างเสริมให้พวกเราออกไปเข้าสังคมได้ดี  

อุดมการณ์ในการทำงาน 

ความสำเร็จใดไม่ว่าจะเป็นด้านการรับราชการ หรือการทำงานด้านธุรกิจก็ตาม ถือว่าเป็นผลไม่มีใครได้กำไรโดยไม่มีการลงทุนหมายถึงการลงทุนด้วยการเสียสละเสียเวลา หรือลงทุนด้วยกำลังกาย และกำลังใจผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิต และเมื่อกำหนดแล้วต้องเดินไปถึงจุดนั้นให้ได้โดยต้องทุ่มเททั้งแรงใจ และแรงกายใช้ความรู้ความสามารถความมานะ และ ความอดทนไม่มีใครเดินไปสู่จุดหมายที่ตนเองไม่ได้กำหนดเราจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตเลย ถ้าเราไม่ได้กำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิตไว้