ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์

ประวัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช  นิลพันธุ์

ศิษย์เก่ารุ่น/สาขาวิชา

  • ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ระดับปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • สมาชิกวุฒิสภา 
  • คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม (คปท.) 
  • คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) 
  • ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
  • คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 
  • คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 
  • คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
  • คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (กศจ.) 
  • คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)  

ผลงานที่โดดเด่น  

  • คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย ๑ ใน ๔๐ โรงเรียนแรกของประเทศ) 
  • คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยและคณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน อนุบาลนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑  
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ

  • ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.) 
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  พ.ศ. ๒๕๕๖  
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  ในงานประชุมวิชาการโครงการ ๑๒๐ ปี การฝึกหัดครูไทย ถวายองค์ราชัน ธ ผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๔  
  • ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม 

ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม

ประวัติ ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม

ประวัติการทำงาน

  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • กรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  • ศิษย์เก่าดีเด่นกิตติมศักดิ์ผู้สร้างชื่อเสียงแก่สถาบัน 

นายสมชัย วุฑฒิปรีชา

ประวัติ   นายสมชัย วุฑฒิปรีชา

วันเกิด  23 ตุลาคม พ.ศ. 2474

การศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 
  • ระดับปริญญาโทด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา

ประวัติการทำงาน 

  • พ.ศ. 2533-2535 เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  
  • พ.ศ. 2535  ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 
  • พ.ศ. 2535-2543 เป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 
  •  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) 
  •  เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  คชสิทธ

ประวัติ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  คชสิทธิ์

วันเกิด 12  พฤษภาคม  พ.ศ. 2495

ที่อยู่ปัจจุบัน  51/265  หมู่บ้านเมืองเอก  โครงการ 1 ตำบลหลักหก   อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี 12000

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

สถานที่ทำงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ ๑ หมู่ ๒๐ ถนนพหลโยธิน กม.๔๘ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ศิษย์เก่า 

  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร 
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ประวัติการทำงาน / การบริหาร 

  • พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๒๗ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาลัยครูเลย 

ประวัติการฝึกอบรม

  • พ.ศ. ๒๕๔๓ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ หลักสูตร “นักบริหารอุดมศึกษา
    สถาบันราชภัฏ” (นบร.) รุ่นที่ ๓
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่  ๑ 
  • พ.ศ. ๒๕๕๐  University of California at Stanilos หลักสูตร  “Teaching in Higher Education Level” 
  • พ.ศ.  ๒๕๕๓ หลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาการปกครองตามมาตรฐานที่ กศ.ป.รับรอง รุ่นที่ ๑
  • พ.ศ.  ๒๕๕๗  – สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  หลักสูตร “การนำองค์การและการวางแผนกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารหน่วยงาน การศึกษาอุดมศึกษา” (Leadership Development Program) 
  • วัดปัญญานันทาราม หลักสูตร “สติปัฐฐาน ๔ ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ  
    และร่วมฉลองธรรมสมโภช  ๑๐๒ ปีชาตกาล พระพรหมมังคลาจารย์ 
    (ปัญญานันทภิกขุ) 
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๗ – หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา  สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒ – รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ฯ
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๖ – กรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ประเภทผู้แทนอาจารย์  (๒ วาระ) 
  • ที่ปรึกษาคณะครุศาสตร์ 
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑ – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
    วไลยอลงกรณ์ฯ
  • ประธานคณะกรรมการงานวิเทศสัมพันธ์
  • คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัย 
  •  พฤษภาคม  ๒๕๕๒ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • มิถุนายน – ตุลาคม ๒๕๕๒ – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 
  • กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ 
  • ตุลาคม 2552 – 2560 อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  
  • งหาคม 2554 – 2560 ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
  • กุมภาพันธ์ 2558 – ปัจจุบัน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.)  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • สิงหาคม 2559 – ปัจจุบัน คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี 
  • 2560 – ปัจจุบัน ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 

 

ความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเฉพาะด้าน การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน และการวิจัยทางการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ 

  • Kotchasit, Sombat and others. (2015). A Study of Professionalism-Based Teacher Education.  นำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการนานาชาติของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม. Kotchasit, Sombat and Pitchayakul, Thitiporn. (2016). A Development Model for Preparing 
  •  Rajabhat University Students in the Central Region for the ASEAN Community. นำเสนอใน Journal of Thai Interdisciplinary Research. Special Issue 2559  
  • Separated  Activity Among Student in Medium Six School, Pathumtani. นำเสนอในที่ประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 18 18 th  International Conference of Management and Beharioral Sciences of Ramader Plaza Hotel, Toronto, on Cannada June
  • Model for Perparing Rajabhat University  Development in the Central Region for the ASEAN Community. นำเสนอใน International journal of Advanced and Applied Sciences. 

 

นายสุขสันต์ สุขสมบูรณ์

วันเกิด : วันที่ 17 ตุลาคม 2577 

สถานที่เกิด : บ้านทุ่ม ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดของแก่น 

สมรส : นางถนอมเกียรติ สุขสมบูรณ์ มีบุตร 3 คน 

  • นายนพนันท์  
  • นางสาวณัฐพร 
  • นายนรศักดิ์  

ศิษย์เก่า 

  • 2497 ป.ป. โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • 2508 กศ.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 
  • 2535 M.PA. Master of Public จาก Kentucky State University 

และได้ไปอบรมดูงานต่างประเทศหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ 

ประวัติการทำงาน 

  • ผู้ตรวจราชการกรมการฝึกหัดครู 

อ้างอิง : หนังสือศรีสมเด็จ 38 หน้าที่ 81 

นายสมเชาว์ เกษประทุม

ประวัติ นายสมเชาว์ เกษประทุม

ศิษย์เก่า 

  • พ.ศ. 2507 จบชั้น ป.กศ. ชั้นสูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยเป็นนักเรียนทุนของ จังหวัดชัยนาท และได้รับคัดเลือกไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2509 จบการศึกษา กศ.บ. (คณิตศาสตร์ – ฟิสิกส์) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2516 จบการศึกษา พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 
  • พ.ศ. 2518 ได้ประกาศนียบัตรทาง EDUCATIONAL PLANNING จาก INNOTECH ฟิลิปปินส์ 
  • พ.ศ. 2530 จบการศึกษา น.บ. จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

ประวัติการทำงาน 

  • พ.ศ. 2516 ศึกษาธิการอำเภอศรีสัชนาลัย ลาดหลุมแก้ว และธัญบุรี 
  • พ.ศ. 2521 ศึกษาธิการจังหวัดพังงา 
  • พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2529 ผู้อำนวยการกองวิชาการบริหารงานบุคคล สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2532 ผู้อำนวยการกองมาตรฐานตำแหน่ง สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2533 ผู้อำนวยการกองวินัยและนิติการ สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2535 รองเลขาธิการ ก.ค. 

ประสบการณ์การทำงานที่สำคัญ 

  • เป็นอนุกรรมการต่างๆ ใน ก.ค. 30 คณะ 
  • เป็นอนุกรรมการต่างๆ ในคุรุสภา 5 คณะ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 

คุณอรุณ งามดี

ประวัติ คุณอรุณ งามดี 

อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 

การศึกษา  

  • ป.ป. รุ่นสุดท้าย (2499) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • อบ., ผม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ปริญญาโททางการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยบอสตันสหรัฐอเมริกา 

การทํางาน 

  • ผู้อ่านวยการโรงเรียนประชาสัมพันธ์ 
  • หัวหน้าสำนักงานแถลงข่าวไทยกรุงลอนดอน 
  • ผู้อำนวยการกองสำรวจประชามติ 
  • ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 
  • รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 
  • ปัจจุบันอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 

ประวัติส่วนตัว 

  • สมรสแล้ว มีธิดา 1 คนกำลังศึกษาที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน 

รศ. สันต์ ธรรมบำรุง

ประวัติ รศ. สันต์ ธรรมบำรุง 

อธิการสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

วันเกิด 30 สิงหาคม 2486 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดสัมปทวนอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา 
  • จบชั้นม. 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดชายเบญจมราชรังสฤษฎ์ 
  • เรียนโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา 
  • ได้ทุนเรียนวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ (ปี 2504 เพียง 1 ปี) 
  • ศึกษาต่อวิทยาลัยการศึกษาบางแสนในระดับปริญญาตรี 
  • ศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การทํางาน  

  • 2509-อาจารย์วิทยาลัยครูยะลา  
  • 2516-อาจารย์วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  
  • 2522-เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คนที่ 17 ของกรมการฝึกหัดครู  
  • 2525 เป็นรองศาสตราจารย์ (ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานอธิการ)  
  • 2529-อธิการวิทยาลัยครูสกลนคร  
  • 2532-อธิการวิทยาลัยครูเพชรบุรี  
  • 2536-อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ยุวดี บุญครอง

ประวัติ ยุวดี บุญครอง 

วันเกิด 16 เดือนเมษายน พ.ศ. 2501

ปัจจุบัน 

สมรสแล้วกับ คุณโฆสิต สุวินิจจิตร ยังไม่มีบุตร-ธิดาการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีวัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามศึกษาต่อจนสำเร็จป. กศ. ต้นจากวิทยาลัยครูจอมบึงจังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงเข้ามาเรียนต่อและสำเร็จการศึกษาระดับป. กศ. สูงวิชาเอกสังคมศึกษาจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2523 และสำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรในปี พ.ศ. 2525 

อาชีพและหน้าที่การงาน  

  • 2523 อาจารย์ประจำชั้นโรงเรียนอำนวยวิทย์จังหวัดสมุทรปราการ  
  • 2525  พนักงานโฆษณาของ บริษัท บรรษัทเงินทุน  
  • 2526 ผู้จัดการฝ่ายขายโฆษณาหนังสือพิมพ์เดลิมิเรอ 
  • 2527 ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท มาร์เก็ตติ้งมีเดีย  
  • 2528 ฝ่ายโฆษณา บริษัท เมเจอร์กรุ๊ปกรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดียออฟมีเดียส์ จำกัด  
  • 2529  กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดียออฟมีเดียส์ จำกัด  
  • 2532 กรรมการ บริษัท ที. เอส. อีแอดเวอร์ไทซิ่ง  

ผลงานดีเด่นเกียรติและรางวัลที่ได้รับ 

  • ปัจจุบันมี บริษัท ในเครือที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบอยู่ บริษัท ดังนี้  
  • บริษัท มีเดียเอ็นเตอร์เทนเม้น  
  • บริษัท เอ็กเซลมีเดียส์  
  • บริษัท มีเดียบรอดคาสติ้งดคาสติ้ง  
  • บริษัท เขาเขียวดิเวลลอปเปอร์ 
  • บริษัท ทราเวิลวิชั่น จำกัด  
  • ผลงานของ บริษัท ในเครือมีเดียออฟมีเดียส์กรุ๊ปจะผลิตรายการโทรทัศน์หลากหลายรูปแบบรายการอัน ได้แก่  
    • ช่อง3  
      • เกมชิงแชมป์ 
      • กรุสมบัติ 
      • ฮอลลีวู้ดฟิล์ม 
    • ช่อง5 
      • แผ่นฟิล์มวันเสาร์ 
      • สุดยอดแผ่นดินจีน 
      • บ้านเลขที่ 5  
      • ละครหลังข่าว 
      • ละครระบำอสูรมาก 
      • เที่ยงวันกันเอง 
    • ช่อง9  
      • มีเดียสเปเชีล 
      • ภาพยนตร์ไซอิ๋ว 
      • เกมลุ้นข้ามโลก 
      • ละครลูกรักลูกชัง 
      • ภาพยนตร์จีน ขุนศึกตระกูลยายาง 

 

คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์

ประวัติ คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ 

• กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบ้านฉางกรุ๊ป จำกัด 

• วุฒิสมาชิกปี 2535 ถึงปัจจุบัน 

ประวัติส่วนตัว 

• สมรสกับคุณพิไลวรรณ เชิดธรณินทร์  

• มีธิดา 1 คน ชื่อ ด.ญ. ธัญชนกเปี่ยม พงษ์สานต์ (ป. 5 สาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) 

นักธุรกิจหนุ่มหล่อรูปร่างสูงใหญ่เรียนจบทางด้านวิชาชีพครูวัยเพียง 39 ผู้นี้ คือคุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ กรรมการสามารถประกอบอาชีพธุรกิจได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท บ้านฉางกรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจ 2516 อสังหาริมทรัพย์และกิจการอื่นอีกหลายอย่าง“ ผมเข้าเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในชั้นป. กศ. ต้นเมื่อปีชีวิตวัยเด็กผมเกิดในหมู่บ้านประมงคุณพ่อมีอาชีพเป็นชาวประมงทำสวนทำไร่และบ้านเกิดอยู่จังหวัดระยองบ้านเลขที่ 45/5 ตำบลพลาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองจบการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนบ้านพลาและจบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนระยองพิทยาคมเมื่อจบแล้วได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยมาอาศัยอยู่ที่วัดบรมนิวาสเพราะระยะนั้นต้องกวดวิชาเพื่อมุ่งที่จะเข้าเรียนวิทยาลัยครูให้ได้พระที่ผมมาอาศัยอยู่ท่านเดี๋ยวนี้ท่านคือท่านเจ้าคุณธรรมดิลกซึ่งปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะเชียงใหม่ผมได้พบท่านโดยบังเอิญเมื่อคราวที่ผมมีโอกาสไปบูรณะหลักเมืองเชียงใหม่“ ผมมีความตั้งใจจะเข้าเรียนวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นอย่างยิ่งเพราะคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถทำงานช่วยคุณพ่อคุณแม่และน้องๆได้ซึ่งขณะนั้นขัดกับความคิดของคุณพ่อมากเพราะคุณพ่ออยากให้เรียนเตรียมทหารตอนนั้นเคยคิดว่าจะเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อยากเรียนครูโดยเฉพาะที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือมีญาติมาเรียนอยู่คือคุณนิวัฒน์นาคทองซึ่งที่พักอยู่หลังวัดชิโนรส แต่ก็ไม่ได้ไปพักด้วยอาศัยหลวงพ่อที่วัดบรมนิวาสสบายใจกว่าปัจจุบันคุณนิวัฒน์นาคทองเป็นอำนวยการโรงเรียนบ้านฉาง“ สมัยที่ผมเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ชอบอ่านหนังสือมักชอบเรียนด้วยตัวเองและชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์มากกว่าทางด้านภาษาเป็นลูกศิษย์คนโปรดของอาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์ถ้าวันไหนอาจารย์แสงไม่ว่างติดธุระจะบอกว่า“ ไพโรจน์สอนเพื่อน ๆ ให้ด้วย” เดี๋ยวนี้อาจารย์ที่สอนสมัยนั้นอาจารย์อำพันพงศ์ไพฑูรย์สอนศิลปะและอาจารย์ชนิดาได้ 3 ท่านคืออาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์สอนคณิตศาสตร์สุวรรณรัตน์สอนภาษาไทย“  

ส่วนความประทับใจเมื่อเรียนที่บ้านสมเด็จฯ นั้นประทับใจ พื่อนมากเพราะมีเพื่อนดีมีความจริงใจต่อกันสูงมากและอยากพบเพื่อน ๆ ที่เรียนรุ่นเดียวกันที่นี่มากอีกอย่างหนึ่งคือการไปฝึกสอนที่โรงเรียนวัดเกาะซึ่งอยู่ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญสมัยนั้นต้องนั่งเรือไปประทับใจอาจารย์นิเทศชื่อนฤมลแต่ว่านามสกุลไม่ได้เมื่อได้สอนเด็กได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงในการฝึกสอนชอบมากและจำได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขที่สุดนอกจากนี้ความประทับใจที่มิอาจลืมเลือนได้ก็คือการที่ได้เป็นนักกีฬาฟุตบอลของวิทยาลัยในตำแหน่งผู้รักษาประตูและเซ็นเตอร์ได้เป็นตัวแทนไปแข่งกับวิทยาลัยต่างจังหวัดหลายแห่งเป็นคนที่ชอบกีฬาเวลาเรียนถ้าเบื่อ ๆ ก็จะออกมานั่งริมสนามฟุตบอลเมื่อผมเรียนจบศ. ต้นที่แล้วได้เป็นตัวแทนของบ้านสมเด็จฯ ไปสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อป. กศ. สูง (อุตสาหกรรมศิลป์) ที่วิทยาลัยครูพระนครกับเพื่อนอีก 1 คนในชั้นเดียวกันชื่ออดิศรและสอบได้เข้าเรียนต่อทั้ง 2 คนเรียนจนจบป. กศ. สูงที่นั่นหลังจากแล้วได้ไปรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนระยองวิทยาคมอยู่ระยะหนึ่งโดยสอนช่างยนต์ช่างไฟฟ้าช่างโลหะ ฯลฯ หลังจากนั้นก็เดินทางไปอังกฤษเพื่อจะเรียนต่อ แต่บังเอิญไปพบเพื่อนที่นั่นชวนทำงาน บริษัท โรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งมีรายได้ดีมากคิดว่าถ้าเรียนจบแล้วทำงานก็ยังไม่ได้เงินมากเท่านี้จึงทำงานและฝึกหัดงานอยู่ 1 ปีจึงถูกส่งไปทำงานที่ตะวันออกกลางช่วงนั้นเมืองไทยมีวิกฤตเรื่องอู่ตะเภาและมีคนว่างงานมากประกอบกับตะวันออกกลางต้องการคนงานจึงติดต่อคนไปทำงานในตะวันออกกลางถึงหมื่นคนสมัยนั้นมีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันคือคุณประจวบไชยสาส์นและได้ทำงานจุดนี้อยู่ 4-5 ปีคุณประมาณอดิเรกสารสมัยนั้นท่านเป็นรองนายกฯ เรียกกลับมาใช้งานจึงกลับมาเมืองไทยดังนั้นจึงถือว่าการติดต่อคนงานไปทำงานก่อสร้างในตะวันออกกลางนั้นเป็นการประกอบธุรกิจครั้งแรกซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียวต่อมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งอีกคือการจัดตั้ง บริษัท ที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับการเงินระยะนี้วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนเข้าไปพัวพันกับธุรกิจมากขึ้นงานแรกเมื่อหันมาด้านนี้คือเสนอการตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนสมัยนั้นรัฐบาลไม่มีกฎหมายรับรองจัดตั้ง บริษัท ในประเทศไทยไม่ได้ขณะนั้นเศรษฐกิจแถบนี้มีปัญหาและเรื่องการขาดดุลกับญี่ปุ่นจึงพยายามระดมทุนจากมหาเศรษฐีน้ำมันจากตะวันออกกลางและผมเป็นคนแรกที่ชักชวนชาวตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ขณะนั้นตั้ง บริษัท ไม่ได้จึงไปจัดตั้ง บริษัท การงทุนนี้ที่ประเทศมาเลเซียโดยร่วมหุ้นกับเซคชาเล่ย์ 

ซึ่งเคยเป็นเจ้านายเก่าสมัยทำงานที่ตะวันออกกลางบุคคลผู้นี้เป็นคนฉลาดมากและเป็นคนสำคัญที่สร้างเศรษฐกิจให้ตะวันออกกลางทำงานอยู่กับท่าน 5 ปีได้ประสบการณ์มากมายและได้บินไปทั่วโลกช่วงนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของชีวิตที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับการลงทุนทั่วโลกถึง 21 ประเทศและสามารถสร้างงานให้คนไทยเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลได้เริ่มนำนโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกคุณไพโรจน์จึงได้เริ่มทำโครงการพัฒนาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองโดยได้ดำเนินการก่อตั้ง บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปเมื่อปี 2530 โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทในขณะนั้นโดยมีความตั้งใจว่าจะดำเนินธุรกิจเป็น บริษัท ธุรกิจพัฒนาที่ดินเพื่อพัฒนาชนบทปัจจุบัน บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีขณะนี้ได้นำ บริษัท เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ บริษัท มีความเป็น บริษัท มหาชนอย่างสมบูรณ์โดยมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 798 ล้านบาทนอกจากนี้คุณไพโรจน์ได้ทำงานอย่างทุ่มเทและต่อเนื่องจนทำให้ธุรกิจเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจว่าเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่มีสายตากว้างไกลและมีจุดยืนที่แน่นอนว่าจะดำเนินการกระจายความเจริญไปยังชนบทเพื่อให้ชนบทเติบโตไม่มาเจริญแออัดกันอยู่ในเมืองหลวง“ การที่ผมประสบความสำเร็จในด้านนี้นั้นมีผลเนื่องมาจากที่ผมได้เรียนวิชาชีพครูความเป็นครูทำให้มีจิตวิทยาในการทำงานมีน้ำใจสุภาพสุขุมสามารถเข้าใจคนและสิ่งสำคัญที่สุดคือมีคุณธรรมปัจจุบันพยายามจะสร้าง Concept ให้นักธุรกิจทั้งหลายหันมาสนใจในการพัฒนาการศึกษาในชนบทในท้องถิ่นคือช่วยกันกระจายการศึกษาให้เข้าถึงท้องถิ่นให้มากจะทำให้คนฉลาดขึ้นและมีคุณธรรมมากขึ้นการพัฒนาประเทศนั้นต้องพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครูเพราะครูเป็นผู้ประสานระหว่างรัฐกับประชาชนดังนั้นทุกวันนี้จึงมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจว่า“ อยากเห็นนักธุรกิจท้องถิ่นเข้ามามีบทบาททางการศึกษาให้มากเพื่อชาวชนบทจะได้พึ่งตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยส่วนกลางถ้านักธุรกิจมีคุณธรรมช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นให้เขาช่วยตนเองได้โดยส่วนรวมประเทศชาติของเราจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้มาก“ ขณะนี้ผมตั้งงบประมาณในด้านการศึกษาไว้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีโดยดำเนินการตั้งโรงเรียนนานาชาติเริ่มสอน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กประถมศึกษาซึ่งจะช่วยลดภาระด้านนี้แก่และ NIDA ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทรัฐบาลในด้านการลงทุนทางการศึกษาและได้ติดต่อกับ ABAC คุณไพโรจน์เปี่ยมพงษ์สานต์ได้ให้แนวคิดในการบริหารพยายามสร้างทีมงานให้ได้โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับเขางานบุคคลว่า“ การบริหารที่ดีนั้นต้องให้โอกาสแก่ลูกน้องและเพราะเราจะได้ไม่เหนื่อยผมมักจะชี้แจงให้ลูกน้องเข้าใจเสมอว่า บริษัท บ้านฉางนั้นมีความต้องการจะสร้างความเจริญให้แก่ส่วนภูมิภาคอยากเห็นชนบทเจริญและต้องเข้าใจลูกน้องว่าแต่ละคนชอบงานอะไรครอบครัวเป็นอย่างไรถ้ายังไม่มีห่วงไม่มีครอบครัวสามารถลุยงานหนักในต่างจังหวัดได้ถ้าทำงานได้มากก็ได้เงินพิเศษมากตัวผมเองทำงานหนักเพื่อเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยว่าขนาดเรายังทำงานหนักทำงานวันละ 18 ชั่วโมงมากกว่าคนอื่น 2 เท่าตัวจึงได้รับความร่วมมือจากทีมงานเป็นอย่างดีปรัชญาในการดำเนินชีวิต“ ทำดีต้องได้ดีและเชื่อเรื่องเวรกรรม 

สิ่งที่ยึดเป็นกำลังใจในการทำงานคือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานว่าพัฒนาชนบทต้องอดทนและเสียสละ” และจะพยายามทำให้ดีที่สุดต่อไป 

อ้างอิง : หนังสือศรีสมเด็จ 37 หน้า 85-86