ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

ประวัติ ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

วันเกิด ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๘๑

ประวัติการศึกษา

  • การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ 
  • Master of Arts Michigan State University 
  • Doctor of Philosophy  Michigan State University 

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน 

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต 

  • สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
  • นายกสภาสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
  • จัดทำโครงการพัฒนาจิตให้กับกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ประธานมูลนิธิวิปัสสนากรรมฐาน 
  • กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๘ 

ดร. สุรัฐศิลปอนันต์ 

ตำาแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

สถานที่ทํางาน กระทรวงศึกษาธิการถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๘๑-๖๓๐๖, ๒๘๒-๐๐๖๘  

ที่อยู่ ๓๒๙ ซอยองครักษ์บางกระบือกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๔๑-๓๕๖๐, ๒๔๑-๕๐๙๖ 

ชาติกำเนิด ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๑, หมู่ 5 ตำบลขามอำเภอจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิบิดาชื่อจรูญ (ครูประชาบาล) มารดาชื่อบุญพามา (ชาวนา) 

ประสบการณ์ประกอบอาชีพ 

  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน
  • รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เมษายน ๒๕๓๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
  • อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน, 5 ตุลาคม ๒๕๓๒ – เมษายน ๒๕๓๖ 
  • เลขาธิการ ก.ค. , ๑ ตุลาคม ๒๕๓๐ – ๕ ตุลาคม ๒๕๓๒
  • รองเลขาธิการ ก.ค. , ๒๕๒๓ – ๒๕๓๐
  • ผู้อำนวยการกองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ 
  • รองเลขาธิการคุรุสภา, ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒
  • ครูตรีโรงเรียนชัยภูมิ (สอนชั้น ม.ศ. ๑ – ๕) จังหวัดชัยภูมิ, ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕ 
  • ครูโรงเรียนเอกชน (ทั้งระดับประถมศึกษา และ มัธยม), ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒  

ผู้ริเริ่มและดำเนินการ 

  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษาจำนวน ๕๘ แห่งสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า ๕๐๐ ล้านบาทโดยรณรงค์ให้ประชาชนสร้างถวายประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท
  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ สถาบันการศึกษา และ พัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
  • จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชายแดน” จนรอบชายแดนของประเทศ(๙ แห่ง) 
  • จัดตั้ง“ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ๑๒๕ แห่ง 
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยทางดาวเทียม (ร่วมกับ“ ไทยคม) 
  • จัดการมัธยมศึกษาให้แก่ทหารเกณฑ์ในกองทัพบกเรือและอากาศ
  • เป็นผู้นำในการสร้างระบบบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (ระบบตำแหน่ง และ เงินเดือน) สำหรับประเทศไทยในระบบใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๓
  • เป็นผู้นำในการจัดทำกฎ ก.ค. , ระเบียบ ก.ค. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (เมื่อเป็นรองเลขาธิการ ก.ค. ) 

ที่ปรึกษา 

  • กรรมการและเลขานุการ คณะทํางานร่าง พ.ร.บ. กระจายอำนาจการจัดการศึกษา
  • คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรม
  • คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา 
  • คณะกรรมการประเมินสภาพการดำเนินงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • กรรมการประสานงานติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายของ ศธ.
  • คณะอนุกรรมการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาม.ต้น 
  • คณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาคารเรียน
  • คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน
  • คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติ“ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนบ้าน “

กรรมการแลพเลขานุการ  คณะกรรมการการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ 

ราชการระหว่างประเทศ รับผิดชอบราชการต่างประเทศทั้งปวงของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนประเทศไทยในองค์การยูเนสโกซีมีโออาเซียนและองค์การอื่น ๆ ในระยะนี้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ๕ โครงการสำคัญ  

  1. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาจากธนาคารโลก ๒ โครงการของกรมอาชีวศึกษากรมสามัญศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติวงเงินหลายพันล้านบาท 
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดทำนโยบายและการวางแผนร่วมกับองค์การ ค้าของรัฐบาลแคนาดา 
  3. โครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย 
  4. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 
  5. การวางแผนช่วยเหลือด้านการพัฒนาการศึกษา และสังคมประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า กัมพูชาและ เวียดนาม 

ประสบการณ์และความทรงจำในบ้านสมเด็จฯ  

เมื่อจบ ป.กศ. ต้น จากโรงเรียนฝึกหัดครูโคราช ได้รับคัดเลือกประเภทเรียนดีให้มาศึกษาต่อที่บ้านสมเด็จฯ ในระดับป.กศ.สูง เมื่อปี ๒๕๐๐ นับว่าเป็น ป.กศ.สูง รุ่นแรกของบ้านสมเด็จฯ มาเรียนอยู่๒ปี ได้เป็นหัวหน้าห้อง ก. ปกติห้อง ก. และห้องต้น ๆ เป็นนักเรียนเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนฝึกหัดครูต่างจังหวัดห้องต่อๆ ไปเป็นห้องที่นักศึกษาสอบคัดเลือกเข้ามาเรียน 

สำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดของดร. สุรัฐในระหว่างการเรียนที่บ้านสมเด็จฯ คือเรื่องครูบาอาจารย์ที่สอนสั่งล้วน แต่เป็นครูของครู ครูที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาอย่างยิ่ง เช่นวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่ท่านสนใจมากอาจารย์ออกสำเนียงได้ชัดเจนและถูกต้องในสมัยนั้นอาจารย์ภาษาอังกฤษคืออาจารย์ประยูรหมีทองอาจารย์คณิตศาสตร์คืออาจารย์เบญจมาศจันทร์เทียน เป็นต้นที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือครูอาจารย์เอาใจใส่นักเรียนมาก ทำให้พวกเรามีคุณภาพนี่คือลักษณะเด่นของคนบ้านสมเด็จฯ เมื่อเราจบออกไปทำงานไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นที่ยอมรับของวงการนั้นด้วยความสามารถที่โดดเด่นนั่นคงเป็นเพราะเรามีครูดีที่เอาใจใส่จนนักเรียนประสบความสำเร็จ ในที่สุดนอกจากนั้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ และการกีฬาได้สร้างเสริมให้พวกเราออกไปเข้าสังคมได้ดี  

อุดมการณ์ในการทำงาน 

ความสำเร็จใดไม่ว่าจะเป็นด้านการรับราชการ หรือการทำงานด้านธุรกิจก็ตาม ถือว่าเป็นผลไม่มีใครได้กำไรโดยไม่มีการลงทุนหมายถึงการลงทุนด้วยการเสียสละเสียเวลา หรือลงทุนด้วยกำลังกาย และกำลังใจผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิต และเมื่อกำหนดแล้วต้องเดินไปถึงจุดนั้นให้ได้โดยต้องทุ่มเททั้งแรงใจ และแรงกายใช้ความรู้ความสามารถความมานะ และ ความอดทนไม่มีใครเดินไปสู่จุดหมายที่ตนเองไม่ได้กำหนดเราจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตเลย ถ้าเราไม่ได้กำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิตไว้