นายสมเชาว์ เกษประทุม

ประวัติ นายสมเชาว์ เกษประทุม

ศิษย์เก่า 

  • พ.ศ. 2507 จบชั้น ป.กศ. ชั้นสูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยเป็นนักเรียนทุนของ จังหวัดชัยนาท และได้รับคัดเลือกไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2509 จบการศึกษา กศ.บ. (คณิตศาสตร์ – ฟิสิกส์) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2516 จบการศึกษา พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 
  • พ.ศ. 2518 ได้ประกาศนียบัตรทาง EDUCATIONAL PLANNING จาก INNOTECH ฟิลิปปินส์ 
  • พ.ศ. 2530 จบการศึกษา น.บ. จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

ประวัติการทำงาน 

  • พ.ศ. 2516 ศึกษาธิการอำเภอศรีสัชนาลัย ลาดหลุมแก้ว และธัญบุรี 
  • พ.ศ. 2521 ศึกษาธิการจังหวัดพังงา 
  • พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2529 ผู้อำนวยการกองวิชาการบริหารงานบุคคล สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2532 ผู้อำนวยการกองมาตรฐานตำแหน่ง สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2533 ผู้อำนวยการกองวินัยและนิติการ สำนักงาน ก.ค. 
  • พ.ศ. 2535 รองเลขาธิการ ก.ค. 

ประสบการณ์การทำงานที่สำคัญ 

  • เป็นอนุกรรมการต่างๆ ใน ก.ค. 30 คณะ 
  • เป็นอนุกรรมการต่างๆ ในคุรุสภา 5 คณะ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 

คุณอรุณ งามดี

ประวัติ คุณอรุณ งามดี 

อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 

การศึกษา  

  • ป.ป. รุ่นสุดท้าย (2499) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • อบ., ผม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ปริญญาโททางการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยบอสตันสหรัฐอเมริกา 

การทํางาน 

  • ผู้อ่านวยการโรงเรียนประชาสัมพันธ์ 
  • หัวหน้าสำนักงานแถลงข่าวไทยกรุงลอนดอน 
  • ผู้อำนวยการกองสำรวจประชามติ 
  • ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 
  • รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 
  • ปัจจุบันอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 

ประวัติส่วนตัว 

  • สมรสแล้ว มีธิดา 1 คนกำลังศึกษาที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน 

รศ. สันต์ ธรรมบำรุง

ประวัติ รศ. สันต์ ธรรมบำรุง 

อธิการสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

วันเกิด 30 สิงหาคม 2486 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดสัมปทวนอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา 
  • จบชั้นม. 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดชายเบญจมราชรังสฤษฎ์ 
  • เรียนโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา 
  • ได้ทุนเรียนวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ (ปี 2504 เพียง 1 ปี) 
  • ศึกษาต่อวิทยาลัยการศึกษาบางแสนในระดับปริญญาตรี 
  • ศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การทํางาน  

  • 2509-อาจารย์วิทยาลัยครูยะลา  
  • 2516-อาจารย์วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  
  • 2522-เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คนที่ 17 ของกรมการฝึกหัดครู  
  • 2525 เป็นรองศาสตราจารย์ (ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานอธิการ)  
  • 2529-อธิการวิทยาลัยครูสกลนคร  
  • 2532-อธิการวิทยาลัยครูเพชรบุรี  
  • 2536-อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ยุวดี บุญครอง

ประวัติ ยุวดี บุญครอง 

วันเกิด 16 เดือนเมษายน พ.ศ. 2501

ปัจจุบัน 

สมรสแล้วกับ คุณโฆสิต สุวินิจจิตร ยังไม่มีบุตร-ธิดาการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีวัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามศึกษาต่อจนสำเร็จป. กศ. ต้นจากวิทยาลัยครูจอมบึงจังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงเข้ามาเรียนต่อและสำเร็จการศึกษาระดับป. กศ. สูงวิชาเอกสังคมศึกษาจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2523 และสำเร็จการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรในปี พ.ศ. 2525 

อาชีพและหน้าที่การงาน  

  • 2523 อาจารย์ประจำชั้นโรงเรียนอำนวยวิทย์จังหวัดสมุทรปราการ  
  • 2525  พนักงานโฆษณาของ บริษัท บรรษัทเงินทุน  
  • 2526 ผู้จัดการฝ่ายขายโฆษณาหนังสือพิมพ์เดลิมิเรอ 
  • 2527 ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท มาร์เก็ตติ้งมีเดีย  
  • 2528 ฝ่ายโฆษณา บริษัท เมเจอร์กรุ๊ปกรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดียออฟมีเดียส์ จำกัด  
  • 2529  กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดียออฟมีเดียส์ จำกัด  
  • 2532 กรรมการ บริษัท ที. เอส. อีแอดเวอร์ไทซิ่ง  

ผลงานดีเด่นเกียรติและรางวัลที่ได้รับ 

  • ปัจจุบันมี บริษัท ในเครือที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบอยู่ บริษัท ดังนี้  
  • บริษัท มีเดียเอ็นเตอร์เทนเม้น  
  • บริษัท เอ็กเซลมีเดียส์  
  • บริษัท มีเดียบรอดคาสติ้งดคาสติ้ง  
  • บริษัท เขาเขียวดิเวลลอปเปอร์ 
  • บริษัท ทราเวิลวิชั่น จำกัด  
  • ผลงานของ บริษัท ในเครือมีเดียออฟมีเดียส์กรุ๊ปจะผลิตรายการโทรทัศน์หลากหลายรูปแบบรายการอัน ได้แก่  
    • ช่อง3  
      • เกมชิงแชมป์ 
      • กรุสมบัติ 
      • ฮอลลีวู้ดฟิล์ม 
    • ช่อง5 
      • แผ่นฟิล์มวันเสาร์ 
      • สุดยอดแผ่นดินจีน 
      • บ้านเลขที่ 5  
      • ละครหลังข่าว 
      • ละครระบำอสูรมาก 
      • เที่ยงวันกันเอง 
    • ช่อง9  
      • มีเดียสเปเชีล 
      • ภาพยนตร์ไซอิ๋ว 
      • เกมลุ้นข้ามโลก 
      • ละครลูกรักลูกชัง 
      • ภาพยนตร์จีน ขุนศึกตระกูลยายาง 

 

คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์

ประวัติ คุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ 

• กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบ้านฉางกรุ๊ป จำกัด 

• วุฒิสมาชิกปี 2535 ถึงปัจจุบัน 

ประวัติส่วนตัว 

• สมรสกับคุณพิไลวรรณ เชิดธรณินทร์  

• มีธิดา 1 คน ชื่อ ด.ญ. ธัญชนกเปี่ยม พงษ์สานต์ (ป. 5 สาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) 

นักธุรกิจหนุ่มหล่อรูปร่างสูงใหญ่เรียนจบทางด้านวิชาชีพครูวัยเพียง 39 ผู้นี้ คือคุณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ กรรมการสามารถประกอบอาชีพธุรกิจได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท บ้านฉางกรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจ 2516 อสังหาริมทรัพย์และกิจการอื่นอีกหลายอย่าง“ ผมเข้าเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในชั้นป. กศ. ต้นเมื่อปีชีวิตวัยเด็กผมเกิดในหมู่บ้านประมงคุณพ่อมีอาชีพเป็นชาวประมงทำสวนทำไร่และบ้านเกิดอยู่จังหวัดระยองบ้านเลขที่ 45/5 ตำบลพลาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองจบการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนบ้านพลาและจบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนระยองพิทยาคมเมื่อจบแล้วได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยมาอาศัยอยู่ที่วัดบรมนิวาสเพราะระยะนั้นต้องกวดวิชาเพื่อมุ่งที่จะเข้าเรียนวิทยาลัยครูให้ได้พระที่ผมมาอาศัยอยู่ท่านเดี๋ยวนี้ท่านคือท่านเจ้าคุณธรรมดิลกซึ่งปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะเชียงใหม่ผมได้พบท่านโดยบังเอิญเมื่อคราวที่ผมมีโอกาสไปบูรณะหลักเมืองเชียงใหม่“ ผมมีความตั้งใจจะเข้าเรียนวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นอย่างยิ่งเพราะคิดว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถทำงานช่วยคุณพ่อคุณแม่และน้องๆได้ซึ่งขณะนั้นขัดกับความคิดของคุณพ่อมากเพราะคุณพ่ออยากให้เรียนเตรียมทหารตอนนั้นเคยคิดว่าจะเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อยากเรียนครูโดยเฉพาะที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือมีญาติมาเรียนอยู่คือคุณนิวัฒน์นาคทองซึ่งที่พักอยู่หลังวัดชิโนรส แต่ก็ไม่ได้ไปพักด้วยอาศัยหลวงพ่อที่วัดบรมนิวาสสบายใจกว่าปัจจุบันคุณนิวัฒน์นาคทองเป็นอำนวยการโรงเรียนบ้านฉาง“ สมัยที่ผมเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ชอบอ่านหนังสือมักชอบเรียนด้วยตัวเองและชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์มากกว่าทางด้านภาษาเป็นลูกศิษย์คนโปรดของอาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์ถ้าวันไหนอาจารย์แสงไม่ว่างติดธุระจะบอกว่า“ ไพโรจน์สอนเพื่อน ๆ ให้ด้วย” เดี๋ยวนี้อาจารย์ที่สอนสมัยนั้นอาจารย์อำพันพงศ์ไพฑูรย์สอนศิลปะและอาจารย์ชนิดาได้ 3 ท่านคืออาจารย์แสงแสงสิงหศักดิ์สอนคณิตศาสตร์สุวรรณรัตน์สอนภาษาไทย“  

ส่วนความประทับใจเมื่อเรียนที่บ้านสมเด็จฯ นั้นประทับใจ พื่อนมากเพราะมีเพื่อนดีมีความจริงใจต่อกันสูงมากและอยากพบเพื่อน ๆ ที่เรียนรุ่นเดียวกันที่นี่มากอีกอย่างหนึ่งคือการไปฝึกสอนที่โรงเรียนวัดเกาะซึ่งอยู่ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญสมัยนั้นต้องนั่งเรือไปประทับใจอาจารย์นิเทศชื่อนฤมลแต่ว่านามสกุลไม่ได้เมื่อได้สอนเด็กได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงในการฝึกสอนชอบมากและจำได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขที่สุดนอกจากนี้ความประทับใจที่มิอาจลืมเลือนได้ก็คือการที่ได้เป็นนักกีฬาฟุตบอลของวิทยาลัยในตำแหน่งผู้รักษาประตูและเซ็นเตอร์ได้เป็นตัวแทนไปแข่งกับวิทยาลัยต่างจังหวัดหลายแห่งเป็นคนที่ชอบกีฬาเวลาเรียนถ้าเบื่อ ๆ ก็จะออกมานั่งริมสนามฟุตบอลเมื่อผมเรียนจบศ. ต้นที่แล้วได้เป็นตัวแทนของบ้านสมเด็จฯ ไปสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อป. กศ. สูง (อุตสาหกรรมศิลป์) ที่วิทยาลัยครูพระนครกับเพื่อนอีก 1 คนในชั้นเดียวกันชื่ออดิศรและสอบได้เข้าเรียนต่อทั้ง 2 คนเรียนจนจบป. กศ. สูงที่นั่นหลังจากแล้วได้ไปรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนระยองวิทยาคมอยู่ระยะหนึ่งโดยสอนช่างยนต์ช่างไฟฟ้าช่างโลหะ ฯลฯ หลังจากนั้นก็เดินทางไปอังกฤษเพื่อจะเรียนต่อ แต่บังเอิญไปพบเพื่อนที่นั่นชวนทำงาน บริษัท โรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งมีรายได้ดีมากคิดว่าถ้าเรียนจบแล้วทำงานก็ยังไม่ได้เงินมากเท่านี้จึงทำงานและฝึกหัดงานอยู่ 1 ปีจึงถูกส่งไปทำงานที่ตะวันออกกลางช่วงนั้นเมืองไทยมีวิกฤตเรื่องอู่ตะเภาและมีคนว่างงานมากประกอบกับตะวันออกกลางต้องการคนงานจึงติดต่อคนไปทำงานในตะวันออกกลางถึงหมื่นคนสมัยนั้นมีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันคือคุณประจวบไชยสาส์นและได้ทำงานจุดนี้อยู่ 4-5 ปีคุณประมาณอดิเรกสารสมัยนั้นท่านเป็นรองนายกฯ เรียกกลับมาใช้งานจึงกลับมาเมืองไทยดังนั้นจึงถือว่าการติดต่อคนงานไปทำงานก่อสร้างในตะวันออกกลางนั้นเป็นการประกอบธุรกิจครั้งแรกซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียวต่อมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งอีกคือการจัดตั้ง บริษัท ที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับการเงินระยะนี้วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนเข้าไปพัวพันกับธุรกิจมากขึ้นงานแรกเมื่อหันมาด้านนี้คือเสนอการตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนสมัยนั้นรัฐบาลไม่มีกฎหมายรับรองจัดตั้ง บริษัท ในประเทศไทยไม่ได้ขณะนั้นเศรษฐกิจแถบนี้มีปัญหาและเรื่องการขาดดุลกับญี่ปุ่นจึงพยายามระดมทุนจากมหาเศรษฐีน้ำมันจากตะวันออกกลางและผมเป็นคนแรกที่ชักชวนชาวตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ขณะนั้นตั้ง บริษัท ไม่ได้จึงไปจัดตั้ง บริษัท การงทุนนี้ที่ประเทศมาเลเซียโดยร่วมหุ้นกับเซคชาเล่ย์ 

ซึ่งเคยเป็นเจ้านายเก่าสมัยทำงานที่ตะวันออกกลางบุคคลผู้นี้เป็นคนฉลาดมากและเป็นคนสำคัญที่สร้างเศรษฐกิจให้ตะวันออกกลางทำงานอยู่กับท่าน 5 ปีได้ประสบการณ์มากมายและได้บินไปทั่วโลกช่วงนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของชีวิตที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับการลงทุนทั่วโลกถึง 21 ประเทศและสามารถสร้างงานให้คนไทยเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลได้เริ่มนำนโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกคุณไพโรจน์จึงได้เริ่มทำโครงการพัฒนาอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยองโดยได้ดำเนินการก่อตั้ง บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปเมื่อปี 2530 โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทในขณะนั้นโดยมีความตั้งใจว่าจะดำเนินธุรกิจเป็น บริษัท ธุรกิจพัฒนาที่ดินเพื่อพัฒนาชนบทปัจจุบัน บริษัท บ้านฉางกรุ๊ปประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีขณะนี้ได้นำ บริษัท เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ บริษัท มีความเป็น บริษัท มหาชนอย่างสมบูรณ์โดยมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 798 ล้านบาทนอกจากนี้คุณไพโรจน์ได้ทำงานอย่างทุ่มเทและต่อเนื่องจนทำให้ธุรกิจเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจว่าเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่มีสายตากว้างไกลและมีจุดยืนที่แน่นอนว่าจะดำเนินการกระจายความเจริญไปยังชนบทเพื่อให้ชนบทเติบโตไม่มาเจริญแออัดกันอยู่ในเมืองหลวง“ การที่ผมประสบความสำเร็จในด้านนี้นั้นมีผลเนื่องมาจากที่ผมได้เรียนวิชาชีพครูความเป็นครูทำให้มีจิตวิทยาในการทำงานมีน้ำใจสุภาพสุขุมสามารถเข้าใจคนและสิ่งสำคัญที่สุดคือมีคุณธรรมปัจจุบันพยายามจะสร้าง Concept ให้นักธุรกิจทั้งหลายหันมาสนใจในการพัฒนาการศึกษาในชนบทในท้องถิ่นคือช่วยกันกระจายการศึกษาให้เข้าถึงท้องถิ่นให้มากจะทำให้คนฉลาดขึ้นและมีคุณธรรมมากขึ้นการพัฒนาประเทศนั้นต้องพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครูเพราะครูเป็นผู้ประสานระหว่างรัฐกับประชาชนดังนั้นทุกวันนี้จึงมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจว่า“ อยากเห็นนักธุรกิจท้องถิ่นเข้ามามีบทบาททางการศึกษาให้มากเพื่อชาวชนบทจะได้พึ่งตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยส่วนกลางถ้านักธุรกิจมีคุณธรรมช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นให้เขาช่วยตนเองได้โดยส่วนรวมประเทศชาติของเราจะเจริญก้าวหน้ากว่านี้มาก“ ขณะนี้ผมตั้งงบประมาณในด้านการศึกษาไว้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีโดยดำเนินการตั้งโรงเรียนนานาชาติเริ่มสอน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กประถมศึกษาซึ่งจะช่วยลดภาระด้านนี้แก่และ NIDA ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทรัฐบาลในด้านการลงทุนทางการศึกษาและได้ติดต่อกับ ABAC คุณไพโรจน์เปี่ยมพงษ์สานต์ได้ให้แนวคิดในการบริหารพยายามสร้างทีมงานให้ได้โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับเขางานบุคคลว่า“ การบริหารที่ดีนั้นต้องให้โอกาสแก่ลูกน้องและเพราะเราจะได้ไม่เหนื่อยผมมักจะชี้แจงให้ลูกน้องเข้าใจเสมอว่า บริษัท บ้านฉางนั้นมีความต้องการจะสร้างความเจริญให้แก่ส่วนภูมิภาคอยากเห็นชนบทเจริญและต้องเข้าใจลูกน้องว่าแต่ละคนชอบงานอะไรครอบครัวเป็นอย่างไรถ้ายังไม่มีห่วงไม่มีครอบครัวสามารถลุยงานหนักในต่างจังหวัดได้ถ้าทำงานได้มากก็ได้เงินพิเศษมากตัวผมเองทำงานหนักเพื่อเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยว่าขนาดเรายังทำงานหนักทำงานวันละ 18 ชั่วโมงมากกว่าคนอื่น 2 เท่าตัวจึงได้รับความร่วมมือจากทีมงานเป็นอย่างดีปรัชญาในการดำเนินชีวิต“ ทำดีต้องได้ดีและเชื่อเรื่องเวรกรรม 

สิ่งที่ยึดเป็นกำลังใจในการทำงานคือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานว่าพัฒนาชนบทต้องอดทนและเสียสละ” และจะพยายามทำให้ดีที่สุดต่อไป 

อ้างอิง : หนังสือศรีสมเด็จ 37 หน้า 85-86 

คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติ คุณบุญชู ตรีทอง

ประวัติส่วนตัว 

  • เกิดเมื่อ 21 พฤษภาคม 2488 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • สมรสกับ คุณปริศนา ตรีทอง มีบุตรสาว 1 คน 

ประวัติการศึกษา 

  • ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • มัธยมศึกษาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง 
  • ป. กศ. ต้นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ปริญญาตรี กศ.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ประกาศนียบัตรวิชาวางแผน (WORLD BANK)  
  • ประกาศนียบัตรโทรคมนาคม (GERMANY)  

ประวัติการทำงาน 

  • 2511-2512 ครูโรงเรียนราษฎร์  
  • 2512-2527 นายช่างโทรคมนาคมทศท.  
  • 2527-2535 เจ้าของกิจการ บริษัท สิรินเทคโนโลยี จำกัด (ลาออกเมื่อ 29 กันยายน 2535)  

ปัจจุบัน 

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 

นายชูชาติ ศรีแสง

ประวัติ   นายชูชาติ ศรีแสง

วันเกิด   12 มีนาคม 2485  

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเนติบัณฑิตยสภา สำนักอบรมศึกษากฎหมาย 

ประวัติการทำงาน   

  • อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

ศิษย์เก่ารุ่น/สาขาวิชา : ปกศ.ต้น สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ผลงานที่โดดเด่น : 

  • รับราชการตำแหน่งครูจัตวา สถานเยาวชนบ้านปากเกร็ด กองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ที่ปรึกษาบริษัท เนติการ อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ จำกัด 

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ : 

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ 
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประถมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 

นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ

ประวัติ นายชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ 

วันเกิด 3 ธันวาคม 2485 

ศิษย์เก่า 

  • จบประถมศึกษาจาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 
  • จบมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิจิตรวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 
  • จบ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • จบ กศ.บ. จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร สาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ 
  • ประกาศนียบัตรสอนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่ของ สสวท. 
  • ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง 

ประวัติการทำงาน 

  • อาจารย์โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 
  • รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร 
  • กรรมการสภาคณาจารย์ มศว. ประสานมิตรทุกสมัย จนลาออกจากราชการ 
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  • ศิษย์เก่าดีเด่น 100 ปี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) 
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 
  • เลขาธิการพรรคประชากรไทย 
  • ประธานมูลนิธิชาวพิจิตร 
  • เลขาธิการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า 
  • กรรมการสภาประจำสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • กรรมการสภาผู้ทรงคุณวิทยาลัยทองสุข 
  • อุปนายกสมาคมชาวพิจิตร 
  • ประธานที่ปรึกษาชมรมข่าววิทยุและหนังสือพิมพ์ 

รางวัล / ผลงาน 

  • ได้รับการประกาศเป็น HERO OF THE YEAR ในสาขานักการเมืองท้องถิ่นดีเด่น 
  • พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2545 
  • ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 

รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย (พ.ศ.๒๕๕๕–๒๕๕๖)

ประวัติ ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย

ศิษย์เก่า ป.กศ สูง พ.ศ. 2505 

ปัจจุบัน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ประวัติการทำงาน

  • อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของทบวงมหาวิทยาลัย 
  • ผู้แทนของทบวงในสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของเอกชน 
  • อนุกรรมการประเมินทรัพย์สินของกระทรวงมหาดไทย 

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี (กศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ปริญญาโท (M.S.) สาขาวิชา English Education จาก Southern Oregon State College  ประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • ปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาวิชา Teaching English to Speakers of Other Languages (TESOL) จาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ประวัติ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์

เกิด วันที่ 8 มิถุนายน 2484

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
  • ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี  จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชั้น ป.กศ.  และ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  •  กศ.บ.(เกียรตินิยม)  ประถมศึกษา และ คณิตศาสตร์ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา  ประสานมิตร 
  •  M.A.(Ed. Adm.& Research)   Michigan State University 
  • Ph.D.(Higher Ed.)   Michigan State University 
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

ประวัติการทำงาน 

  • ๒๕๐๗ - ๒๕๑๗ เป็นครูสอนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดอินทาราม กาญจนบุรี 
  • ๒๕๑๗ -  ๒๕๑๙ เป็นนักวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๑๙ - ๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการกองวิจัยการศึกษา 
  • ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๒๙ - ๒๕๓๕ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • ๒๕๓๕ โอนย้ายมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๓๕ - ๒๕๓๗   เป็นอธิบดีกรมวิชาการ 
  • ๒๕๓๗ -  ๒๕๓๘   เป็นอธิบดีกรมการศาสนา 
  • ๒๕๓๘ -  ๒๕๓๙   เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา 
  • ๒๕๓๙ -  ๒๕๔๒   เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๔๒ -  ๒๕๔๔   เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ     มหาวชิรมงกุฏ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 

หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน 

  • เป็นข้าราชการบำนาญ  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำ กกต. 
  • เป็นประธานกรรมการบริหารชมรมขัาราชการและครูอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา 
  • เป็นนายกสภาวิทยาลัยเชียงราย 
  • เป็นุอปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 
  • เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี 
  • เป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
  • เป็นอนุกรรมการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต   ปปช 
  • เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นรองประธานฝ่ายการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นประธานมูลนิธิสามัญศึกษา 
  • เป็นประธานมูลนิธิคุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู 
  • เป็นเลขาธิการมูลนิธิดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์เพื่อส่งเสริมการอ่าน 
  • เป็นกรรมการมูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ชนถิ่นกันดาร 

เกียรติประวัติที่เคยได้รับ

  • ๒๕๐๑ -  ๒๕๐๗   เป็นนักเรียนทุนจังหวัดกาญจนบุรี
  • ๒๕๑๑ -  ๒๕๑๗ เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ สหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลพ่อดีเด่น
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา  เสาเสมาทองคำ
  • ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศข้าราชการผู้ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจากคณะกรรมการ ปปช. 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • ได้รับยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ Michigan State University สหรัฐอเมริกา 
  • ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีเมืองกาญจน์ 
  • ได้รับยกย่องเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น 
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ  

ผลงานเขียนเป็นหนังสือ 

  • การศึกษาคือยาหม้อใหญ
  • จารึกไว้ในพระศาสนา  จารึกไว้ในการศึกษา 
  • การศึกษา ปัจจัยที่ห้าของชีวิต 

บันทึกปลัดกระทรวง

  • ก้าวไปข้างหน้า 
  • เหลียวหลัง  แลหน้า  ตามอารมณ์ 
  • หนุ่มบ้านทุ่ง   คนบ้านทุ่ง 
  • คิดเป็นการศึกษา 
  • นิทานส่งเสริมประชาธิปไตยดอทคอม 

ถ้ามีคนถามว่าผมจบม.๘ มาจากโรงเรียนไหนผมมักจะตอบทุกคนด้วยความภาคภูมิใจ ว่าผมไม่เคยเรียนม.๗ ม.๘ แต่ผมเป็นนักเรียนฝึกหัดครูจบ ปก.ศ. และ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผมเป็นลูกสุริยะ 

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่าจะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพราะนี่คือความหวังอันสูงสุดในชีวิตในสมัยนั้น ด้วยความที่ฐานะทางบ้านขัดสนเอามากๆ ทางเลือกเมื่อผมจบม.๖ มีเพียงทางเดียว คือต้องสอบเข้าเรียนครูให้ได้และต้องให้ได้ทุนด้วย แต่สอบให้ได้ผมไม่ค่อยเป็นห่วงให้ได้ทุนก็คิดว่าพอลุ้น แต่ถ้าจะให้ดีต้องให้ได้ที่ ๑ ด้วย จะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จผมฝันอยากเป็น นักเรียนกรุงเทพฯถ้าได้มาอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาแม้จะอยู่ฝั่งธนบุรีก็พอ นับว่าเป็นกรุงเทพฯได้อยู่ผมประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เมื่อผมสอบได้ผมได้ทุน และผมได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จ 

ชีวิตที่บ้านสมเด็จฯ ช่วยให้ผมโตขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัวผมไม่ได้หมายถึงขนาดของร่างกาย เพราะตั้งแต่มาเรียนที่มีบ้านสมเด็จฯ แล้วผมไม่เคยสูงขึ้นอีกเลย แต่ผมหมายถึง โตขึ้นทางความรู้สึกนึกคิดเรียกว่ามีวุฒิภาวะมากขึ้น มีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีความทะเยอทะยานมากขึ้น มีความฝันมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น 

ผมเป็นนักเรียน ป.กศ. รุ่นที่ 4 ของกรมการฝึกหัดครูเข้าบ้านสมเด็จฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ สมัยนั้นนักเรียนทุนจากต่างจังหวัดต้องอยู่หอพัก ทุกคนส่วนใหญ่แต่ละจังหวัดรุ่นที่อยู่หอพักก็สักก็มากัน ๑ คนมีจังหวัดที่มีวิทยาลัยครูมา ๔ คนรวมทั้ง ๑๐๐ คนมีนักเรียนทุนส่วนกลางและต่อมาก็มีนักเรียนรอบบ่ายเพิ่มขึ้นอีกรวมทั้งรุ่นคงราว ๆ ๓๐๐ คนเศษที่สนิทสนมกันมากก็คงเป็นพวกที่อยู่หอพักด้วยกันเพราะเรากินด้วยกันเล่นด้วยกันดูหนังสือด้วยกันและหนีอาจารย์ไปเที่ยวด้วยกันบางทีเราก็ทะเลาะกันบ้างแล้วเราก็ดีกันบางทีเราก็แกล้งกัน แล้วเราก็ให้อภัยกันจากวันนั้นถึงวันนี้เรายังรักกัน ไม่เสื่อมคลายผมหมายถึงความรักฉันท์เพื่อนไม่ใช่ฉันท์คนรักก็ที่อยู่หอพักด้วยกันมี แต่ผู้ชายทั้งนั้นที่เป็นหญิงเขาเรียนรอบบ่ายเกือบจะไม่เคยได้เห็นกันเลย (ยกเว้นตอนที่แอบดูเขา) ด้วยเหตุนี้ละกระมังที่ทำให้ผมไม่มีแม่บ้านเป็นลูกสุริยะด้วยกัน 

ผมมีความประทับใจหลาย ๆ อย่างที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่นี่ผมได้พบอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติใคร ๆ ก็อยากเป็นลูกศิษย์ด้วย (สมัยนั้น) เช่น อาจารย์โชค สุคันธานิช อาจารย์ดิน เผือกสกนธ์ อาจารย์ใย ยรรยงอาจารย์สงัด ภูเขาทอ งโดยเฉพาะอาจารย์สงัด และอาจารย์ใย นี่ผมชอบเป็นพิเศษ และใฝ่ฝันอยากเก่งภาษาไทยเหมือนอาจารย์ ผมเลยศึกษาวรรณคดีไทยเป็นการใหญ่ ผมจำได้ว่าภายใน ๒ ปีที่เรียน ป.กศ. ผมอ่านหนังสือวรรณคดีที่มีอยู่ในห้องสมุดของวิทยาลัยได้หมดทุกเล่ม ก็เพราะอยากเป็นเช่นอาจารย์ตรงนี้ผมทำผิดพลาดไปถนัดเพราะผมศึกษาเร็วเกินไปต่อมาก็เลยหมดความสนใจ พอได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ประสานมิตรเลยหันไปเลือกเรียนเอกคณิตศาสตร์แทนภาษาไทย เพราะรู้สึกว่าในเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีสิ่งที่ผมไม่รู้อีกมากเหลือเกินผมตั้งใจว่าต่อไปจะศึกษาภาษาไทยเป็นงานอดิเรกแทน แล้วก็ยังไม่ได้เริ่มต้นอีกเลยจนทุกวันนี้ผมไปเรียนประสานมิตรได้สัก ๒-๓ เดือนกลับมาเที่ยวบ้านสมเด็จ พบอาจารย์ใยยรรยงท่านถามว่าพนมไปเรียนเอกอะไรผมตอบว่าเอกคณิตศาสตร์ดูท่าทางอาจารย์ผิดหวังผมมากอาจารย์พูดว่า “ครูคิดว่าเธอจะไปเรียนเอกไทยเสียอีก” 

ที่บ้านสมเด็จฯ นี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมไปอย่างหนึ่งคือผมเป็นคนบ้านนอกเกิดนอกเมืองกาญจน์ออกไปอีกพูดสำเนียงเหน่อ ๆ ต่อมาผมก็หัดพูดแบบคนเมืองกาญจน์ก็คิดว่าเข้าที่ดีแล้วมาเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เคยถูกล้อเลียนเห็นมี แต่จิระจากสุพรรณและประชุมจากเพชรบุรีที่ถูกล้อเลียนเป็นประจำจนอยู่มาวันหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์กฤษณาสยามเนตรเป็นผู้สอนผมเพิ่งมาอยู่ใหม่ ๆ ได้เดือนเศษยกมือขึ้นถามอาจารย์อาจารย์หัวเราะผมจนตัวงอผมอายหน้าแดงเอ๊ะ! นี่ผมทำอะไรผิดสักครูอาจารย์ก็บอกว่า“ พนมครูไม่ได้ว่าอะไรเธอหรอก แต่หัวเราะเสียงเธอมันเหน่อสิ้นดี” ผมจึงเข้าใจว่าที่พยายามดัดสำเนียงนั้นยังใช้ไม่ได้ต้องพยายามต่อไปให้เหมือนชาวกรุงเทพฯให้ได้ผมคิดว่าผมทำได้สำเร็จไม่มีใครล้อผมหรือหัวเราะผมอีกจนเมื่อสัก ๒-๓ ปีมานี้ไปพบคุณหมอประเวศวะสีเรียนท่านว่า“ คุณหมอครับผมก็เป็นคนเมืองกาญจน์  คุณหมอก็ตอบว่า“ รู้แล้วว่าไม่ต้องบอกหรอกฟังเสียงรู้ว่าคนเมืองกาญจน์” ก็เพิ่งจะรู้ตัวว่ายังเปลี่ยนไม่สำเร็จเท่าไร  

บ้านสมเด็จฯ ช่วยสร้างชีวิตผมทั้งชีวิตสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดผมมาเรียนด้วยความตั้งใจว่าอยู่ ๒ ปีให้จบ ป.กศ. แล้วจะออกไปเป็นครูเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันชวนไปสอบเทียบม. 4 ผมก็ไปสอบด้วยใจผมตอนนั้นคิดว่าจะพอจะลองสอบเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ ป.กศ. บ้านสมเด็จฯ เทียบม. 4 ได้หรือเปล่าสอบแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าพอเทียบได้หรือปทุมวันผมไม่ไปเพราะทางบ้านไม่มีเงินพอจะส่งให้เพื่อน ๆ ชวนให้ไปสอบเข้าวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนทุกคนเรียนพอเรียนจบ ป.กศ. วิทยาลัยก็ประกาศว่าผมได้คัดเลือกให้เรียนต่อ ป.กศ. สูงผมทำให้ทางบ้านผิดหวังรอให้ผมกลับไปเป็นครูเมื่อได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อพร้อมทุนอีกปีละ ๒,๕๐๐ บาทก็จำต้องให้ผมเรียนต่อไปพอจบ ป.กศ. สูงเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมอีกผมได้รับคัดเลือกจากวิทยาลัยส่งไปเรียนต่อที่ประสานมิตรพร้อมทุนปีละ ๒,๕๐๐ บาททางบ้านไม่มีทางเลือกจำต้องให้ผมไปเรียนต่ออีกจนจบปริญญาตรี 

ที่จริงตอนจบ ป.กศ. พี่ชายก็จะให้ออกไปสอนอยู่แล้วบอกไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ พอดีมีคนรู้จักได้ยินข่าวก็บอกเสียดายถ้าไม่ให้เรียนถามว่าถ้าจะเรียนต่อ ผมต้องการเงินสักเท่าไรเขาจะให้ยืมเอง พี่ชายผมบอกว่าไม่เอาพี่จะหาเงินให้เองผมก็เลยได้เรียนต่อเพราะทุนจากบ้านสมเด็จฯ และความรักกศักดิ์ศรีของพี่ชายด้วยประการฉะนี้ 

ชีวิตผมลืมอะไรไปหลายอย่าง แต่ที่ไม่เคยลืมเลยคือบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะสุขจะทุกข์สนุกเศร้าอย่างไรก็ไม่เคยลืมเพื่อนผมก็ไม่เคยลืมทุกปี ป.กศ. บ้านสมเด็จรุ่น ๔ ยังนัดพบใหญ่กันได้เป็นประจำครั้งละเกือบ 4 คนเราพบกันพูดถึงความหลังครั้งเก่าพูดถึงอาจารย์เก่าสถานที่เก่า ๆ อย่างมีความสุขถ้ามีคนถามว่าถ้าผมได้พรจากนางฟ้าผมอยากจะได้อะไรเป็นอันดับแรก ผมคงตอบว่าผมจะขอไปเป็นนักเรียนอย่างเก่าที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ต้องเอาเพื่อนเก่า ๆ ไปด้วยนะขึ้นให้ผมกลับไปเรียนกับศิษย์ปัจจุบันคงตามจีบเขาไม่ทันแน่ 

ผมเรียนหนังสือที่โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จฯ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ ถึงมัธยม 6 (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๕) ๑๐ ปีเต็ม ๆ ตอนนั้นผมยังเด็กมากเลยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องการให้ผมข้ามมาเรียนที่ฝั่งธนทั้งๆที่บ้านอยู่แถว ๆ เสาชิงช้าจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๙ มาโรงเรียนทุกวันสมัยที่เป็นนักเรียนผมรู้สึกว่าโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใครทั้งในด้านการเรียนและการกีฬาอาจารย์ที่สอนมีความสนิทสนมกับนักเรียนมากเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดีซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักเรียนน้อยคือชั้นละ ๑ ห้องเรียนอาจารย์จึงดูแลได้ทั่วถึงตอนนั้นอาจารย์ระเบียบยมจินดาเป็นครูประจำชั้นอาจารย์มโน กฤษณจินดา เป็นอาจารย์ใหญ่นอกจากนั้นมีอาจารย์บุตรวุฒิมานพเป็นอาจารย์พละที่เข้มแข็งอาจารย์สังวาลย์คคละนันท์ก็เคยเป็นครูประจำชั้นพวกเรามักเรียกกันติดปากว่าคุณย่าสังวาลย์อาจารย์อำไพ (วิทยวิโรจน์) อาจารย์บุญส่งก็เคยสอนทั้งนั้นผมจำได้ดีเพราะเรียนที่นี่มาตลอดและอาจารย์ก็สอนตามไปหลายชั้นเมื่อผมกลับมาบ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เห็นสภาพดั้งเดิมเสียแล้วตอนที่เรียนเป็นอาคารไม้แถวยาว ๆ มีตึกวิเศษศุภวัตรอยู่หลังศาลเจ้าพ่อเมื่อหน้าน้ำท่วมพวกเด็ก ๆ จะถอดรองเท้าลุยน้ำกันสนุกในส่วนที่เป็นวิทยาลัยครูปัจจุบันมีตึก ๓ ชั้นและอาคารไม้ยาว ๆ เช่นกันพวกนักเรียน & ฝึกหัดครูมักจะไม่ค่อยมายุ่งกับนักเรียนสาธิตคงจะเป็นเพราะคนละวัยก็ได้เพราะฉะนั้นเราเลยไม่ค่อยรู้จักกันอย่างไรก็ดีเมื่อจบมัธยม 5 แล้วผมก็เรียนฝึกหัดครูต่ออีก ๑ ปีเช่นกันผมไม่ใช่เด็กซนหรือโลดโผนนับว่าค่อนข้างเรียบร้อย แต่ความซนของเด็กสมัยนั้น ก็ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นไม่ผาดแผลงมาก ผมไม่ใช่คนเรียนหนังสือเก่ง แต่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กอ่านทุกชนิดทั้งนวนิยายสารคดีประวัติศาสตร์ปรัชญา ฯลฯ อ่านแล้วก็จำได้นานชีวิตในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีส่วนช่วยในการนําเนินชีวิตปัจจุบันพอควรคือได้นำคำสั่งสอนของคุณครูที่ไม่เพียง แต่สอนในด้านวิชาการเท่านั้นยังสอน จริยธรรมและคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ปลูกฝังความมีวินัยไว้เต็มเปี่ยม 

เพื่อนๆ นักเรียนต่างก็เป็นเพื่อนที่ดีรักใคร่ปรองดองกันเหมือนพี่น้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมาพวกเรามีกันอยู่ ๓๕ คนไม่มีผู้หญิงมาเรียนด้วยอาจารย์ระเบียบเป็นอาจารย์ประจำชั้นหลายปีอาจารย์สมศรี (เรืองเดช) อาจารย์อรรถศรีก็เคยเป็นครูประจำชั้นด้วยนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วอาจารย์บุญภักดิ์ ขวัญเจริญ ยังได้นำการสอนวิธีใหม่คือให้หัวเรื่องมค้นคว้ากันเองทำให้พวกเราได้ทำงานร่วมกันเพิ่มความสนิทสนมต่อกันยิ่งขึ้นบรรยากาศในห้องเรียนดีมากครูให้เวลากับนักเรียนมากเช่นกันตอนที่เข้าเรียนใหม่ ๆ ผมก็ร้องไห้ตามแม่เหมือนเด็กอื่นๆ จำได้ว่า ครูบุตร วุฒิมานพ เป็นคนจับผมไว้ไม่ให้วิ่งตามแม่ แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานแล้วผมก็ยังจำภาพเก่าๆ ได้ดี เช่น มีการหล่อเทียนพรรษาที่ศาลเจ้าพ่อ บางทีก็มีการชกมวยแก้บนให้เจ้าพ่อหลังสอบ แล้วผมยังคงภาคภูมิใจมากที่ได้เรียนที่บ้านสมเด็จฯ ไม่ใช่เพียงพวกเรา แต่คนในละแวกนี้เขารู้จักเราดีทั้งนั้นพวก บ.ส. , ม่วงขาว, ชาวสุริยะ ใครๆ ก็รู้จักใครๆ ก็ต้อนรับเราดีไม่เคยมีใครมาตั้งแง่กับเราเลย 

ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจึงทำให้ครูกับนักเรียนไม่ค่อยจะมีความผูกพันเหมือน แต่ก่อนชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่สะดวกสบายผู้ปกครองหรือพ่อแม่ไม่มีเวลาได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตอนผมเป็นเด็กคุณพ่อเป็นทหารคุณแม่ไม่ได้ทำงานจึงมีเวลาดูแลให้ผมทำการบ้านสอบถามและทบทวนวิชาให้ผมตัวเล็กนิดเดียวเลยไม่ได้เล่นกีฬาเวลาเข้าแถวยังต้องอยู่ปลายแถว แต่เวลาไปเชียร์ก็ไปเชียร์กับเขาทุกครั้งเพราะสนุกมากโรงเรียนของเราเก่งกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลครูที่ว่าสนิทสนมและรู้จักนักเรียนนั้นเมื่อเวลาก็เอาเรื่องเหมือนกันถ้าไม่ส่งการบ้านหรือทำความผิดอะไรก็จะต้องถูกตีด้วยกิ่งสนสังเกตได้ว่าต้นสนบริเวณโรงเรียนกิ่งจะหักเป็นแถบๆ

เมื่อจบมัธยม ๖ จากโรงเรียนสาธิตฯ ก็ไปเรียนต่อที่ฝึกหัดครู ๑ ปีจึงออกไปเรียนที่โรงเรียนพาณิชยการราชเทวี (เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้ว) ต่อมาก็เข้ารามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ขณะนั้นเรียนด้วยทำงานไปด้วย ผมเริ่มเข้าทำงานที่กระทรวงต่างประเทศด้วยวุฒิมัธยม ๘ ในตำแหน่งเสมียนเมื่อปี ๒๕๑๘ ต้องไปทำงานที่ประเทศลาวเพราะที่นั่นกำลังมีปัญหาเรื่องชายแดนอยู่ลาวมา ๔ ปีแล้วไปประจำอยู่เยอรมันอีก ๒ ปีจึงกลับมาประจำกระทรวงอีก ๒ ปีต่อมาได้ทุนไปเรียนภาษาที่ประเทศออสเตรเลียอีก ๔ เดือนวนเวียนอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศตามหน้าที่ตามปกติทำงานที่กระทรวงต่างประเทศนั้นจะอยู่ประจำกระทรวง ๔ ปีไปต่างประเทศ ๔ ปีขณะนี้ผมทำงานอยู่ในกองเอเชียตะวันออกคือรับผิดชอบเกี่ยวกับจีนมองโกเลียไต้หวันฮ่องกงมาเก๊าส่วนหนึ่งเรื่องของญี่ปุ่นกับเกาหลีอีกส่วนหนึ่งสำหรับผมทำเรื่องจีนฮ่องกงรวมทั้งไทเปด้วยเป็นการติดต่อกับส่วนการต่างประเทศของเขาคือต้องศึกษาถึงการจัดองค์กรต่างประเทศของประเทศเหล่านี้  

ผมมีครอบครัวแล้วภรรยาก็เขียนหนังสือเช่นกันใช้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรนามปากกา“ นิลุบล” เขียนสารคดีลงในนิตยสารผู้หญิงมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีประวัติอันยาวเช่นขวัญเรือนกุลสตรี ฯลฯ ลูกชายคนโตขณะนี้เรียนอยู่ที่นานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งใจว่าจะให้เรียนทางเศรษฐศาสตร์เมื่อจบการศึกษาแล้วจ ะกลับมาทำงานเมืองไทยแน่นอนลูกคนนี้มีแนวโน้มว่าชอบเขียนหนังสือเช่นกันเพราะเป็นเด็กมีจินตนาการชอบคิดฝันอายุ ๑๖ ปีไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เพราะเสียดายความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งลูกใช้ได้ดีมากเมื่อกลับจากตุรกี (ไปเรียนโรงเรียนนานาชาติเมื่อผมไปทำงานที่นั่น) ที่เลือกประเทศนิวซีแลนด์ เพราะคิดว่าเป็นประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมสิ่งที่จะชักนำให้เด็กเสียมีน้อยและลูกคนนี้ไว้วางใจได้ในเรื่องการดูแลตัวเองส่วนลูกชายที่โรงเรียนคนเล็กอายุ ๑๔ ปีขณะนี้เรียนชั้นมัธยมอัสสัมชันธนบุรีซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน บ้านอยู่ซอยเศรษฐกิจบางแค) ยังไม่ค่อยทราบทิศทางของลูกคนเล็กเพราะยังเล่นสนุกอยู่ถ้าใครไปที่บ้านก็จะพบว่าบ้านเต็มไปด้วยหนังสือเพราะสมาชิกทุกคนในบ้านชอบซื้อหนังสือเข้าบ้านมีความสุขอยู่กับการอ่านงานหนังสือที่มีส่วนช่วยเพิ่มพูนรายได้บ้างพอสมควรเมื่อหนังสือแต่ละเรื่องได้รับการพิมพ์หรือชื่อเรื่องไปทำละครก็จะได้รายได้เป็นระยะๆไป 

ในด้านการเขียนหนังสือนั้นเขียนมานานแล้วผลงานมีไม่มากนักคือเรื่องยาว ๑๒ เรื่องเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง เรื่องยาวแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาเขียนปีครึ่งถึง ๒ ปี เพราะเมื่อวางพล็อตเรื่องและตัวละครแล้วต้องค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินเรื่องซึ่งต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพิ่มเติมนั่นเองเวลาเขียนมักจะใช้เวลาเช้า ๆ ก่อนออกไปทำงานแต่ละวันเขียนได้ไม่มาก แต่เขียนไปได้เรื่อย ๆ ชีวิตการทำงานในกระทรวงต่างประเทศทำให้ได้เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว แต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยในด้านงานเขียนนักข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆอาจซึมซับไว้บ้าง แต่ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำมาเขียนคงเป็นแค่ผลพลอยได้ข้อมูลที่ช่วยในการเขียนได้มาจากการอ่านหนังสือเป็นหลักอย่างเรื่องต้องกันเรื่องอาหรับศาสนาอิสลามตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ด้วยจริง ๆ แล้วก็ยังไม่เคยไปประเทศแถบนั้นเลยเมื่อเขียนเรื่องลอดลายมังกรที่เขียนก่อนได้ไปประเทศจีนเสียอีกเวลาจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนแล้วจึงสร้างตัวละครผมสนใจธรรมชาติและมีความคิดว่าคนควรมีชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นของสิ่งแวดล้อมอยากให้ทุกคนมีความใฝ่ดี  

ในฐานะพี่อยากจะให้ข้อคิดบางประการกับน้องๆ คือ โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนซึ่งมีประวัติอันยาวนานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถมีผลงานต่อประเทศชาติโชคดีกว่าคนทั่วไปเมื่อมีโอกาสก็ควรรักษาโอกาสนั้นไว้ให้ดีและสืบทอดความดีของรุ่นพี่ที่ผ่านมารุ่นน้องก็เป็นความหวังของรุ่นพี่รุ่นพี่ของบ้านสมเด็จฯ ก็มี แต่จะแก่ไปหมดไปมี แต่รุ่นน้องที่จะอยู่ต่อไปพี่ก็หวังว่าจะมีคนที่จะมาสืบทอดรักษาชื่อเสียงของบ้านสมเด็จฯ ให้ดำรงคงอยู่ชั่วกาลนาน