พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์

ประวัติ พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์

วันเกิด  วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2457

ถึงแก่อสัญกรรม วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ศิษย์เก่า 

  • โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  
  • โรงเรียนการบิน  
  • ศึกษาวิชาการบิน และเสนาธิการ จากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา 

ประวัติการทำงาน  

  • พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล
    จอมพลถนอม กิตติขจร
  • พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2514  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
  • พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
    ในรัฐบาล   ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ 
  • พ.ศ. 2522  ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล
    พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  • เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน) เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๔ 
  • จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ 
  • จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๔ (อ.ป.ร.๔) เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๙ 
  • ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๑ 
  • เหรียญจักรมาลา เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๑ 
  • ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๔ 
  • ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๕ 
  • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๖ 
  • ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ 
  • ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓ (ภ.ป.ร.๓) เมื่อ ๔ กันยายน ๒๔๙๙ 
  • พ.ศ. 2499 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  (๕ ธันวาคม ๒๔๙๙) 
  • พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม ๒๕๐๓)  
  • ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ 
  • เหรียญราชการชายแดน เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๒ (ภ.ป.ร.๒) เมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๖ 
  • เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามมหาเอเชียบูรพา) เมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๐๕ 
  • ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๖ 
  • พ.ศ. 2508 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) (๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๘) 
  • พ.ศ. 2511 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)  (๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑)  
  • เหรียญกล้าหาญ เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๖ 

ประวัติการทำงาน 

พล.อ.อ.ทวี เข้าทำงานการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค พลอากาศเอกทวี เป็นเลขาธิการพรรค  พล.อ.อ.ทวี เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ในปีนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2514 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรเช่นเดียวกัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์เช่นเดียวกัน แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่

ในปี พ.ศ. 2522 พล.อ.อ.ทวี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์   ชมะนันทน์ 

ผลงานที่สำคัญ 

ผลงานสำคัญของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์นั้นที่สำคัญจะเป็นเรื่องกีฬามากกว่าการเมือง ถึงแม้ว่าเขาจะมีตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญมากมายจนถึงขั้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีก็ตามโดยบทบาทด้านกีฬาของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์เริ่มใน พ.ศ. 2522 เมื่อพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีในยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ซึ่งช่วงนี้ผลงานด้านกีฬาในฐานะเป็นเจ้าของเหรียญทองและเหรียญเงิน บวกกับเป็นที่รู้จักของคนในวงการ ทำให้พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (Olympic Committee of Thailand: OCT) ต่อจากจอมพลประภาส จารุเสถียรที่หมดวาระลง

พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์รั้งตำแหน่งประธานโอลิมปิกแห่งประเทศไทยมากว่า 20 ปีที่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 จนถึงถึงแก่อนิจกรรม ซึ่งพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์มีผลงานที่เห็นกันชัดเจนอาทิ ไทยได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ 5 ครั้ง คือครั้งที่ 1(2504), 5(2512), 
6(2514), 8(2518), และครั้งที่ 10(2522) และยังมีผลงานในการเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์อีกด้วยนอกจากบทบาทต่อประเทศไทยแล้ว พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ยังมีบทบาทในงานกีฬาระดับโลกทั้งโอลิมปิกเกมส์ เอเชียนส์เกมส์ และซีเกมส์ ในฐานะที่ท่านเป็นมือขวาของเชค อาห์หมัด อัลซาบาร์ ประธานโอลิมปิกเอเชีย (Olympic Committee of Asia: OCA) และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (Olympic Committee of National: OCN) นอกจากนี้แล้วในกรณีที่ไทยขอเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ.2541 หลายประเทศออกมาโวยวายว่าประเทศไทยไม่พร้อม ไม่เหมาะกับการจัดแข่งขันครั้งนี้ แต่ด้วยความสนิทสนมอย่างแน่นแฟ้นกับพระราชบิดาของเชค อาห์หมัด อัลซาบาร์ ประธานโอลิมปิกเอเชียของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ทำให้ปัญหานี้หายไปพร้อมกับการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ พ.ศ. 2541 เหมือนเดิม ซึ่งมีอีกหลายครั้งในกรณีพิพาทระหว่างประเทศเช่นนี้ ล้วนเสร็จสิ้นไปด้วยดีทุกครั้งด้วยฝีมือของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ 

ดร. สายหยุด จำปาทอง

ประวัติ ดร. สายหยุด จำปาทอง 

เกิด วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ 

ศิษย์เก่า 

  • โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รุ่น ป.ป. 2491  
  • มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ 

ประวัติการทำงาน   

  • พ.ศ. ๒๕๐๑ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี 
  • พ.ศ. ๒๕๐๙ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม  
  • พ.ศ. ๒๕๑๒ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูมหาสารคาม และรองอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม 
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 
  • พ.ศ. ๒๕๒๑  รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ 
  • พ.ศ. ๒๕๒๘  ได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานพิจารณาโครงการและโปรแกรมของ UNESCO 
  • พ.ศ. ๒๕๒๙  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการฝึกหัดครูอีกวาระหนึ่ง 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  • มหาปรมาภรณ์ช้ำงเผือก 

 

ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในความอุปภัมภ์ของวัดบางน้ำผึ้ง เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เจ้าอาวาสส่งให้เรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดทรงธรรม ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง มีผลการเรียนดีเยี่ยมจึงได้รับยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ต่อมาได้รับมอบทุนเรียนฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อจบการศึกษาได้รับคัดเลือกให้ศึกษาต่อประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม ในระหว่างที่ศึกษาชั้นปีที่ ๑ ได้สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการศึกษาผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา 

 

สัมภาษณ์โดย เอื้อมพร เธียรหิรัญ 

ในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทํางานเมื่อท่านสำเร็จการศึกษาระดับ ป.ป. ประโยคครูประถม) จาก“ บ้านสมเด็จเป็นความภาคภูมิใจของชาว“ บ้านสมเด็จฯ ” อย่างยิ่งที่ศิษย์รุ่น ๙๑ (2491) ได้ประสบความสำเร็จสูงสุดท่านสอบชิงทุนในนามบ้านสมเด็จฯ ได้เป็นคนแรกไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลานานถึง 7 ปีได้ศึกษาที่ดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่งมหาวิทยาลัย MANCHESTER มหาวิทยาลัย LONDON มหาวิทยาลัย INDIANA และมหาวิทยาลัย RUTGERS ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย INDIANA ในทาง Doctor of Law และได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯอย่างยิ่ง 

ความสําเร็จในชีวิตการทำงานท่านเคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการฝึกหัดครูรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเลขาธิการสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู       

ผมเป็นศิษย์เก่า“ บ้านสมเด็จฯ ” รุ่น 91 (2491) รุ่นเดียวกับนาวาตรีประสงค์สุ่นศิริสมัยนั้นผู้ชายจะเรียนฝึกหัดครูกันสองแห่งคือที่พระนครกับที่บ้านสมเด็จฯ ผู้หญิงจะเรียนที่“ เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์” และ“ สวนสุนันทาวุฒิบัตรสูงสุดสมัยนั้นมีถึงระดับ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) และถ้าจะเรียนต่อในระดับสูงกว่านี้ก็ต้องไปต่อหลังกระทรวง”  

ตอนที่ผมเรียนอยู่บ้านสมเด็จต้องเรียนรวมกับเพื่อน ๆ ที่ได้รับคัดเลือกมาจากนักเรียนยอดเยี่ยมของแต่ละจังหวัดผมจำได้ว่ามีการย้ายนักเรียนจาก“ พิบูลวิทยาลัย” และจาก“ อยุธยา” มารวมไว้ที่“ บ้านสมเด็จฯ ” ด้วยเราเป็นนักเรียนประจำ (นักเรียนกินนอน) คือเรียนรวมกันที่บ้านสมเด็จฯ และพักในหอพักบ้านสมเด็จฯ ในตึกเก่า ๆ ใกล้ตึกวิเศษ (อาคารดนตรีปัจจุบัน) ตึกหลังนี้ที่ผมพักได้ซื้อไปแล้ว 

รุ่นผมได้สร้างชื่อเสียงไว้ให้กับบ้านสมเด็จฯ ไว้มากครูอาจารย์รวมทั้งรุ่นน้อง ๆ ในปีถัดมาภาคภูมิใจกับความสามารถและความสำเร็จในชีวิตและการทำงานของรุ่นผมมาก 

พอผมจบ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) 2 ปีที่บ้านสมเด็จฯ ผมก็ไปต่อปม. หลังกระทรวงเรียนอยู่ได้ไม่ถึงปีผมก็เป็นคนแรกที่สอบชิงทุนป. ป. ในนามบ้านสมเด็จฯ ไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกานานถึง 7 ปีผมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และได้ประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพิ่มมาอีกผมยังได้เรียนสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนที่มหาวิทยาลัยลอนดอนอีกเมื่อผมกลับจากต่างประเทศผมก็เป็นผู้นำในการบุกเบิกงานพัฒนาชนบทที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานีผมรักงานมากและไม่เคยใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะมีตำแหน่งใหญ่โตอะไรได้ แต่ตั้งปณิธานไว้ว่าชีวิตนี้จะขออุทิศให้กับการทำงานและทำงานเพื่องานไม่เคยคิดที่จะให้ตัวเองโด่งดังอะไรรู้แต่ว่าอยากทำตัวให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติผมวางรากฐานงานฝึกสอนในชนบทและงานพัฒนาชีวิตในชุมชนของชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีไว้มากขณะนั้นองค์การ UNICEF และองค์การ UNESCO ให้ความช่วยเหลืออยู่อาจพูดได้ว่าผมใช้ชีวิตกับครูและชาวบ้านจนเข้าใจชีวิตและปัญหาตลอดจนความต้องการของชาวชนบทเป็นอย่างดีถ้าจะเปรียบเทียบความภูมิใจระหว่างตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ผมได้รับจากความมีน้ำใจของชาวบ้านผมภูมิใจในประการหลังมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมมีโอกาสไปแวะในถิ่นชนบทที่ผมเคยบุกเบิกงานมาในอดีตยังมีคนเก่าแก่ที่เป็นชาวบ้านซึ่งผมเคยไปร่วมงานยังมีชีวิตอยู่และจดจำผมได้เข้ามาหามากมายและแสดงความรู้สึกขอบคุณตลอดจนประทับใจในชีวิตการทำงานของผมเมื่อตอนที่ผมได้รับตำแหน่งใน ส.ป.ช. หลายคนแปลกใจว่าผมจะทำงานนี้ได้ไหมเพราะผมไม่เคยทำงานกับครูประถมผมได้พิสูจน์และแสดงให้เห็นแล้วว่าผมรู้จักชีวิตครูประถมเป็นอย่างดี 

 

นายพยงค์ จูฑา

เกิดวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ อายุ ๗๘ ปี  

ประวัติการศึกษา  

ประกาศนียบัตรครูชั้นต้น โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ  

วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

แพทศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล  

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน  

นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๘  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2559  

นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลธนบุรี  

ตำแหน่งหน้ำที่สำคัญในอดีต  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒ สมัย  

รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๑๘๐ วัน  

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุดที่ได้รับ  

มหาวชิรมงกุฎ  ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ 

ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

ประวัติ ดร.สุรัฐ  ศิลปอนันต์ 

วันเกิด ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๘๑

ประวัติการศึกษา

  • การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ 
  • Master of Arts Michigan State University 
  • Doctor of Philosophy  Michigan State University 

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน 

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต 

  • สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
  • นายกสภาสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒
  • ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
  • จัดทำโครงการพัฒนาจิตให้กับกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ประธานมูลนิธิวิปัสสนากรรมฐาน 
  • กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๘ 

ดร. สุรัฐศิลปอนันต์ 

ตำาแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

สถานที่ทํางาน กระทรวงศึกษาธิการถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๘๑-๖๓๐๖, ๒๘๒-๐๐๖๘  

ที่อยู่ ๓๒๙ ซอยองครักษ์บางกระบือกรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๒๔๑-๓๕๖๐, ๒๔๑-๕๐๙๖ 

ชาติกำเนิด ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๑, หมู่ 5 ตำบลขามอำเภอจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิบิดาชื่อจรูญ (ครูประชาบาล) มารดาชื่อบุญพามา (ชาวนา) 

ประสบการณ์ประกอบอาชีพ 

  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน
  • รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เมษายน ๒๕๓๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
  • อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน, 5 ตุลาคม ๒๕๓๒ – เมษายน ๒๕๓๖ 
  • เลขาธิการ ก.ค. , ๑ ตุลาคม ๒๕๓๐ – ๕ ตุลาคม ๒๕๓๒
  • รองเลขาธิการ ก.ค. , ๒๕๒๓ – ๒๕๓๐
  • ผู้อำนวยการกองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ 
  • รองเลขาธิการคุรุสภา, ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒
  • ครูตรีโรงเรียนชัยภูมิ (สอนชั้น ม.ศ. ๑ – ๕) จังหวัดชัยภูมิ, ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕ 
  • ครูโรงเรียนเอกชน (ทั้งระดับประถมศึกษา และ มัธยม), ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒  

ผู้ริเริ่มและดำเนินการ 

  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษาจำนวน ๕๘ แห่งสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า ๕๐๐ ล้านบาทโดยรณรงค์ให้ประชาชนสร้างถวายประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท
  • จัดตั้งและก่อสร้าง“ สถาบันการศึกษา และ พัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
  • จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชายแดน” จนรอบชายแดนของประเทศ(๙ แห่ง) 
  • จัดตั้ง“ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ๑๒๕ แห่ง 
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยทางดาวเทียม (ร่วมกับ“ ไทยคม) 
  • จัดการมัธยมศึกษาให้แก่ทหารเกณฑ์ในกองทัพบกเรือและอากาศ
  • เป็นผู้นำในการสร้างระบบบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (ระบบตำแหน่ง และ เงินเดือน) สำหรับประเทศไทยในระบบใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ๒๕๒๓
  • เป็นผู้นำในการจัดทำกฎ ก.ค. , ระเบียบ ก.ค. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู (เมื่อเป็นรองเลขาธิการ ก.ค. ) 

ที่ปรึกษา 

  • กรรมการและเลขานุการ คณะทํางานร่าง พ.ร.บ. กระจายอำนาจการจัดการศึกษา
  • คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรม
  • คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา 
  • คณะกรรมการประเมินสภาพการดำเนินงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • กรรมการประสานงานติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายของ ศธ.
  • คณะอนุกรรมการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาม.ต้น 
  • คณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาคารเรียน
  • คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการอาหารกลางวัน
  • คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติ“ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนบ้าน “

กรรมการแลพเลขานุการ  คณะกรรมการการศึกษาการศาสนาและวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ 

ราชการระหว่างประเทศ รับผิดชอบราชการต่างประเทศทั้งปวงของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนประเทศไทยในองค์การยูเนสโกซีมีโออาเซียนและองค์การอื่น ๆ ในระยะนี้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ๕ โครงการสำคัญ  

  1. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาจากธนาคารโลก ๒ โครงการของกรมอาชีวศึกษากรมสามัญศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติวงเงินหลายพันล้านบาท 
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดทำนโยบายและการวางแผนร่วมกับองค์การ ค้าของรัฐบาลแคนาดา 
  3. โครงการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย 
  4. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) 
  5. การวางแผนช่วยเหลือด้านการพัฒนาการศึกษา และสังคมประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า กัมพูชาและ เวียดนาม 

ประสบการณ์และความทรงจำในบ้านสมเด็จฯ  

เมื่อจบ ป.กศ. ต้น จากโรงเรียนฝึกหัดครูโคราช ได้รับคัดเลือกประเภทเรียนดีให้มาศึกษาต่อที่บ้านสมเด็จฯ ในระดับป.กศ.สูง เมื่อปี ๒๕๐๐ นับว่าเป็น ป.กศ.สูง รุ่นแรกของบ้านสมเด็จฯ มาเรียนอยู่๒ปี ได้เป็นหัวหน้าห้อง ก. ปกติห้อง ก. และห้องต้น ๆ เป็นนักเรียนเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนฝึกหัดครูต่างจังหวัดห้องต่อๆ ไปเป็นห้องที่นักศึกษาสอบคัดเลือกเข้ามาเรียน 

สำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดของดร. สุรัฐในระหว่างการเรียนที่บ้านสมเด็จฯ คือเรื่องครูบาอาจารย์ที่สอนสั่งล้วน แต่เป็นครูของครู ครูที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาอย่างยิ่ง เช่นวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่ท่านสนใจมากอาจารย์ออกสำเนียงได้ชัดเจนและถูกต้องในสมัยนั้นอาจารย์ภาษาอังกฤษคืออาจารย์ประยูรหมีทองอาจารย์คณิตศาสตร์คืออาจารย์เบญจมาศจันทร์เทียน เป็นต้นที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือครูอาจารย์เอาใจใส่นักเรียนมาก ทำให้พวกเรามีคุณภาพนี่คือลักษณะเด่นของคนบ้านสมเด็จฯ เมื่อเราจบออกไปทำงานไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นที่ยอมรับของวงการนั้นด้วยความสามารถที่โดดเด่นนั่นคงเป็นเพราะเรามีครูดีที่เอาใจใส่จนนักเรียนประสบความสำเร็จ ในที่สุดนอกจากนั้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ และการกีฬาได้สร้างเสริมให้พวกเราออกไปเข้าสังคมได้ดี  

อุดมการณ์ในการทำงาน 

ความสำเร็จใดไม่ว่าจะเป็นด้านการรับราชการ หรือการทำงานด้านธุรกิจก็ตาม ถือว่าเป็นผลไม่มีใครได้กำไรโดยไม่มีการลงทุนหมายถึงการลงทุนด้วยการเสียสละเสียเวลา หรือลงทุนด้วยกำลังกาย และกำลังใจผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิต และเมื่อกำหนดแล้วต้องเดินไปถึงจุดนั้นให้ได้โดยต้องทุ่มเททั้งแรงใจ และแรงกายใช้ความรู้ความสามารถความมานะ และ ความอดทนไม่มีใครเดินไปสู่จุดหมายที่ตนเองไม่ได้กำหนดเราจะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตเลย ถ้าเราไม่ได้กำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิตไว้