พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์

ประวัติ พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์

วันเกิด  วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2457

ถึงแก่อสัญกรรม วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ศิษย์เก่า 

  • โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  
  • โรงเรียนการบิน  
  • ศึกษาวิชาการบิน และเสนาธิการ จากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา 

ประวัติการทำงาน  

  • พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล
    จอมพลถนอม กิตติขจร
  • พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2514  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
  • พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
    ในรัฐบาล   ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ 
  • พ.ศ. 2522  ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล
    พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  • เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน) เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๔ 
  • จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ 
  • จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๔ (อ.ป.ร.๔) เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๙ 
  • ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๑ 
  • เหรียญจักรมาลา เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๑ 
  • ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๔ 
  • ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๕ 
  • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๖ 
  • ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ 
  • ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓ (ภ.ป.ร.๓) เมื่อ ๔ กันยายน ๒๔๙๙ 
  • พ.ศ. 2499 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  (๕ ธันวาคม ๒๔๙๙) 
  • พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม ๒๕๐๓)  
  • ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ 
  • เหรียญราชการชายแดน เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ 
  • เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๒ (ภ.ป.ร.๒) เมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๖ 
  • เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามมหาเอเชียบูรพา) เมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๐๕ 
  • ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๖ 
  • พ.ศ. 2508 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) (๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๘) 
  • พ.ศ. 2511 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)  (๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑)  
  • เหรียญกล้าหาญ เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๖ 

ประวัติการทำงาน 

พล.อ.อ.ทวี เข้าทำงานการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค พลอากาศเอกทวี เป็นเลขาธิการพรรค  พล.อ.อ.ทวี เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ในปีนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2514 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรเช่นเดียวกัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์เช่นเดียวกัน แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชะลออยู่

ในปี พ.ศ. 2522 พล.อ.อ.ทวี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์   ชมะนันทน์ 

ผลงานที่สำคัญ 

ผลงานสำคัญของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์นั้นที่สำคัญจะเป็นเรื่องกีฬามากกว่าการเมือง ถึงแม้ว่าเขาจะมีตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญมากมายจนถึงขั้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีก็ตามโดยบทบาทด้านกีฬาของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์เริ่มใน พ.ศ. 2522 เมื่อพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีในยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ซึ่งช่วงนี้ผลงานด้านกีฬาในฐานะเป็นเจ้าของเหรียญทองและเหรียญเงิน บวกกับเป็นที่รู้จักของคนในวงการ ทำให้พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (Olympic Committee of Thailand: OCT) ต่อจากจอมพลประภาส จารุเสถียรที่หมดวาระลง

พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์รั้งตำแหน่งประธานโอลิมปิกแห่งประเทศไทยมากว่า 20 ปีที่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 จนถึงถึงแก่อนิจกรรม ซึ่งพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์มีผลงานที่เห็นกันชัดเจนอาทิ ไทยได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ 5 ครั้ง คือครั้งที่ 1(2504), 5(2512), 
6(2514), 8(2518), และครั้งที่ 10(2522) และยังมีผลงานในการเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์อีกด้วยนอกจากบทบาทต่อประเทศไทยแล้ว พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ยังมีบทบาทในงานกีฬาระดับโลกทั้งโอลิมปิกเกมส์ เอเชียนส์เกมส์ และซีเกมส์ ในฐานะที่ท่านเป็นมือขวาของเชค อาห์หมัด อัลซาบาร์ ประธานโอลิมปิกเอเชีย (Olympic Committee of Asia: OCA) และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (Olympic Committee of National: OCN) นอกจากนี้แล้วในกรณีที่ไทยขอเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ.2541 หลายประเทศออกมาโวยวายว่าประเทศไทยไม่พร้อม ไม่เหมาะกับการจัดแข่งขันครั้งนี้ แต่ด้วยความสนิทสนมอย่างแน่นแฟ้นกับพระราชบิดาของเชค อาห์หมัด อัลซาบาร์ ประธานโอลิมปิกเอเชียของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ทำให้ปัญหานี้หายไปพร้อมกับการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ พ.ศ. 2541 เหมือนเดิม ซึ่งมีอีกหลายครั้งในกรณีพิพาทระหว่างประเทศเช่นนี้ ล้วนเสร็จสิ้นไปด้วยดีทุกครั้งด้วยฝีมือของพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ 

ดร.บุญลือ ทองอยู่

ประวัติ  ดร.บุญลือ ทองอยู่

เกิด     วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔

ศิษย์เก่า

  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประวัติการทำงาน

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๕๗
  • ปัจจุบัน-นายกสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการผลงานที่โดดเด่นเกียรติประวัติ
  • อดีตรองเลขาธิการ ก.ค. กระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตผู้ตรวจสอบราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • หัวหน้างานวิจัยเศรษฐกิจการศึกษากองแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้อ่านวยการกองแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ

ประวัติ เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ

เกิด วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2486 ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ศิษย์เก่า 

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ อ.บางเขน กรุงเทพฯ 
  • จบประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้รับทุนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 
  • จบการศึกษาบัณฑิตจาก มศว.ประสานมิตร 

ประวัติการทำงาน 

  • หัวหน้างานบริการการศึกษา กองกิจการนักศึกษา 
  • ผู้อำนวยการวิทยาเขต รามคำแหง 2 
  • นักกิจการนักศึกษา เชี่ยวชาญ 9 
  • ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  • ประธานอำนวยการและเลขาธิการกิตติมศักดิ์สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย 
  • กรรมการสภาการจัดการแข่งขันสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ต่อเนื่องมา ๒๘ ปี 
  • กรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติต่อเนื่องมา ๒๖ ปี 
  • รองประธานและเลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย 

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • ปี พ.ศ.2538 รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนของชาติ จากการพิจารณาของสำนักงานเยาวชน
    แห่งชาติ 
  • ปี พ.ศ.2540ได้รับรางวัล “เพชรกรุงเทพ” ในฐานะบุคคลดีเด่น สาขากีฬาคนแรกจากการพิจารณาของกรุงเทพมหานคร 
  • ปี พ.ศ.2541 ได้รับโล่ผู้สร้างชื่อเสียงด้านกีฬาให้แก่ประเทศไทย จากการพิจารณาของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • ปี พ.ศ.2544 ได้รับโล่ “เชิดชูเกียรติบุคลากรทางการกีฬา” จากการพิจารณาของการกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • ปี พ.ศ.2545 ได้รับรางวัล “Grand Spirit Award” ในฐานะนักกีฬาผู้ทรงคุณค่าแห่งการกีฬาแห่งชาติ

ผลงานที่โดดเด่นเกียรติประวัติ 

  • ผู้แทนเทคนิคของสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (AVC) ควบคุมการแข่งขันวอลเลย์บอลซีเกมส์เอเชี่ยนเกมส์เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 
  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนของชาติจากสํานักงานเยาวชนแห่งชาติ 
  • รางวัล “เพชรกรุงเทพในฐานะบุคคลดีเด่นสาขากีฬา“ คนแรกจากกรุงเทพมหานคร 
  • โล่ “ผู้สร้างชื่อเสียงด้านกีฬาให้แก่ประเทศไทย” จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • รางวัลเกียรติยศ ๖๐ ปีโอลิมปิกไทย (วอลเลย์บอล) จากคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย 

ดร. สายหยุด จำปาทอง

ประวัติ ดร. สายหยุด จำปาทอง 

เกิด วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ 

ศิษย์เก่า 

  • โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รุ่น ป.ป. 2491  
  • มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ 

ประวัติการทำงาน   

  • พ.ศ. ๒๕๐๑ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี 
  • พ.ศ. ๒๕๐๙ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม  
  • พ.ศ. ๒๕๑๒ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูมหาสารคาม และรองอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม 
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 
  • พ.ศ. ๒๕๒๑  รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ 
  • พ.ศ. ๒๕๒๘  ได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานพิจารณาโครงการและโปรแกรมของ UNESCO 
  • พ.ศ. ๒๕๒๙  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการฝึกหัดครูอีกวาระหนึ่ง 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  • มหาปรมาภรณ์ช้ำงเผือก 

 

ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในความอุปภัมภ์ของวัดบางน้ำผึ้ง เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เจ้าอาวาสส่งให้เรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดทรงธรรม ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง มีผลการเรียนดีเยี่ยมจึงได้รับยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ต่อมาได้รับมอบทุนเรียนฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อจบการศึกษาได้รับคัดเลือกให้ศึกษาต่อประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม ในระหว่างที่ศึกษาชั้นปีที่ ๑ ได้สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการศึกษาผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา 

 

สัมภาษณ์โดย เอื้อมพร เธียรหิรัญ 

ในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทํางานเมื่อท่านสำเร็จการศึกษาระดับ ป.ป. ประโยคครูประถม) จาก“ บ้านสมเด็จเป็นความภาคภูมิใจของชาว“ บ้านสมเด็จฯ ” อย่างยิ่งที่ศิษย์รุ่น ๙๑ (2491) ได้ประสบความสำเร็จสูงสุดท่านสอบชิงทุนในนามบ้านสมเด็จฯ ได้เป็นคนแรกไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลานานถึง 7 ปีได้ศึกษาที่ดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่งมหาวิทยาลัย MANCHESTER มหาวิทยาลัย LONDON มหาวิทยาลัย INDIANA และมหาวิทยาลัย RUTGERS ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย INDIANA ในทาง Doctor of Law และได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯอย่างยิ่ง 

ความสําเร็จในชีวิตการทำงานท่านเคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการฝึกหัดครูรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเลขาธิการสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู       

ผมเป็นศิษย์เก่า“ บ้านสมเด็จฯ ” รุ่น 91 (2491) รุ่นเดียวกับนาวาตรีประสงค์สุ่นศิริสมัยนั้นผู้ชายจะเรียนฝึกหัดครูกันสองแห่งคือที่พระนครกับที่บ้านสมเด็จฯ ผู้หญิงจะเรียนที่“ เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์” และ“ สวนสุนันทาวุฒิบัตรสูงสุดสมัยนั้นมีถึงระดับ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) และถ้าจะเรียนต่อในระดับสูงกว่านี้ก็ต้องไปต่อหลังกระทรวง”  

ตอนที่ผมเรียนอยู่บ้านสมเด็จต้องเรียนรวมกับเพื่อน ๆ ที่ได้รับคัดเลือกมาจากนักเรียนยอดเยี่ยมของแต่ละจังหวัดผมจำได้ว่ามีการย้ายนักเรียนจาก“ พิบูลวิทยาลัย” และจาก“ อยุธยา” มารวมไว้ที่“ บ้านสมเด็จฯ ” ด้วยเราเป็นนักเรียนประจำ (นักเรียนกินนอน) คือเรียนรวมกันที่บ้านสมเด็จฯ และพักในหอพักบ้านสมเด็จฯ ในตึกเก่า ๆ ใกล้ตึกวิเศษ (อาคารดนตรีปัจจุบัน) ตึกหลังนี้ที่ผมพักได้ซื้อไปแล้ว 

รุ่นผมได้สร้างชื่อเสียงไว้ให้กับบ้านสมเด็จฯ ไว้มากครูอาจารย์รวมทั้งรุ่นน้อง ๆ ในปีถัดมาภาคภูมิใจกับความสามารถและความสำเร็จในชีวิตและการทำงานของรุ่นผมมาก 

พอผมจบ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) 2 ปีที่บ้านสมเด็จฯ ผมก็ไปต่อปม. หลังกระทรวงเรียนอยู่ได้ไม่ถึงปีผมก็เป็นคนแรกที่สอบชิงทุนป. ป. ในนามบ้านสมเด็จฯ ไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกานานถึง 7 ปีผมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และได้ประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพิ่มมาอีกผมยังได้เรียนสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนที่มหาวิทยาลัยลอนดอนอีกเมื่อผมกลับจากต่างประเทศผมก็เป็นผู้นำในการบุกเบิกงานพัฒนาชนบทที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานีผมรักงานมากและไม่เคยใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะมีตำแหน่งใหญ่โตอะไรได้ แต่ตั้งปณิธานไว้ว่าชีวิตนี้จะขออุทิศให้กับการทำงานและทำงานเพื่องานไม่เคยคิดที่จะให้ตัวเองโด่งดังอะไรรู้แต่ว่าอยากทำตัวให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติผมวางรากฐานงานฝึกสอนในชนบทและงานพัฒนาชีวิตในชุมชนของชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีไว้มากขณะนั้นองค์การ UNICEF และองค์การ UNESCO ให้ความช่วยเหลืออยู่อาจพูดได้ว่าผมใช้ชีวิตกับครูและชาวบ้านจนเข้าใจชีวิตและปัญหาตลอดจนความต้องการของชาวชนบทเป็นอย่างดีถ้าจะเปรียบเทียบความภูมิใจระหว่างตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ผมได้รับจากความมีน้ำใจของชาวบ้านผมภูมิใจในประการหลังมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมมีโอกาสไปแวะในถิ่นชนบทที่ผมเคยบุกเบิกงานมาในอดีตยังมีคนเก่าแก่ที่เป็นชาวบ้านซึ่งผมเคยไปร่วมงานยังมีชีวิตอยู่และจดจำผมได้เข้ามาหามากมายและแสดงความรู้สึกขอบคุณตลอดจนประทับใจในชีวิตการทำงานของผมเมื่อตอนที่ผมได้รับตำแหน่งใน ส.ป.ช. หลายคนแปลกใจว่าผมจะทำงานนี้ได้ไหมเพราะผมไม่เคยทำงานกับครูประถมผมได้พิสูจน์และแสดงให้เห็นแล้วว่าผมรู้จักชีวิตครูประถมเป็นอย่างดี 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  คชสิทธ

ประวัติ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  คชสิทธิ์

วันเกิด 12  พฤษภาคม  พ.ศ. 2495

ที่อยู่ปัจจุบัน  51/265  หมู่บ้านเมืองเอก  โครงการ 1 ตำบลหลักหก   อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี 12000

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

สถานที่ทำงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ ๑ หมู่ ๒๐ ถนนพหลโยธิน กม.๔๘ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ศิษย์เก่า 

  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร 
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ประวัติการทำงาน / การบริหาร 

  • พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๒๗ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาลัยครูเลย 

ประวัติการฝึกอบรม

  • พ.ศ. ๒๕๔๓ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ หลักสูตร “นักบริหารอุดมศึกษา
    สถาบันราชภัฏ” (นบร.) รุ่นที่ ๓
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่  ๑ 
  • พ.ศ. ๒๕๕๐  University of California at Stanilos หลักสูตร  “Teaching in Higher Education Level” 
  • พ.ศ.  ๒๕๕๓ หลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาการปกครองตามมาตรฐานที่ กศ.ป.รับรอง รุ่นที่ ๑
  • พ.ศ.  ๒๕๕๗  – สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  หลักสูตร “การนำองค์การและการวางแผนกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารหน่วยงาน การศึกษาอุดมศึกษา” (Leadership Development Program) 
  • วัดปัญญานันทาราม หลักสูตร “สติปัฐฐาน ๔ ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ  
    และร่วมฉลองธรรมสมโภช  ๑๐๒ ปีชาตกาล พระพรหมมังคลาจารย์ 
    (ปัญญานันทภิกขุ) 
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๗ – หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา  สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๒ – รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ฯ
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๖ – กรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ประเภทผู้แทนอาจารย์  (๒ วาระ) 
  • ที่ปรึกษาคณะครุศาสตร์ 
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑ – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
    วไลยอลงกรณ์ฯ
  • ประธานคณะกรรมการงานวิเทศสัมพันธ์
  • คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัย 
  •  พฤษภาคม  ๒๕๕๒ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • มิถุนายน – ตุลาคม ๒๕๕๒ – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 
  • กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ 
  • ตุลาคม 2552 – 2560 อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  
  • งหาคม 2554 – 2560 ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
  • กุมภาพันธ์ 2558 – ปัจจุบัน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.)  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • สิงหาคม 2559 – ปัจจุบัน คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี 
  • 2560 – ปัจจุบัน ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 

 

ความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเฉพาะด้าน การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน และการวิจัยทางการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ 

  • Kotchasit, Sombat and others. (2015). A Study of Professionalism-Based Teacher Education.  นำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการนานาชาติของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม. Kotchasit, Sombat and Pitchayakul, Thitiporn. (2016). A Development Model for Preparing 
  •  Rajabhat University Students in the Central Region for the ASEAN Community. นำเสนอใน Journal of Thai Interdisciplinary Research. Special Issue 2559  
  • Separated  Activity Among Student in Medium Six School, Pathumtani. นำเสนอในที่ประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 18 18 th  International Conference of Management and Beharioral Sciences of Ramader Plaza Hotel, Toronto, on Cannada June
  • Model for Perparing Rajabhat University  Development in the Central Region for the ASEAN Community. นำเสนอใน International journal of Advanced and Applied Sciences. 

 

พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

ประวัติ  พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

วันเกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศิษย์เก่า  

  • โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • โรงเรียนวัดนวลนรดิศ 
  • โรงเรียนเตรียมทหาร 
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 

ประวัติการทำงาน 

  • รองสารวัตรที่ปราจีนบุรี 
  • ผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี 
  • ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 

เมื่อคราวศรีสมเด็จ: 48 ผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวชีวิต ของศิษย์เก่าบ้านสมเด็จท่านหนึ่ง คือ  ท่าน ต่อพงษ์ อำพันธุ์ ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่เรียนอยู่สาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในศรีสมเด็จ :49 นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตของเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับ ท่านต่อพงษ์      อำพันธุ์ อีกท่านหนึ่งซึ่งผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสรู้จักท่านจากการแนะนำของ ท่านอาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโรงเรียนและศูนย์สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ พลตำรวจโทวุฒิ พัวเวส ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1

วันที่มีการรำลึก 1 ปี สึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ผู้เรียบเรียงได้รับเกียรติจาก พล.ต.ท. วุฒิพัวเวส ให้เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 1 หลังจากได้รับการต้อนรับด้วยเครื่องดื่มร้อน จากเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาพร้อมกับตำรวจอีกท่านหนึ่ง และเข้ามาทักทายผู้เรียบเรียงอย่างเป็นกันเองจึงทราบว่านั่นคือ พล.ต.ท. วุฒิ พัวเวส ที่เราจะมาสัมภาษณ์เพราะไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่ก็พอจะทราบแล้วว่าท่านดีใจ และยินดีให้เราสัมภาษณ์ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตให้ลูกสุริยะทุกคนท่านทักทายท่านก็ทิ้งท้ายก่อนให้สัมภาษณ์อย่างถ่อมตนว่า”ผมว่าผมยังไม่เหมาะที่จะได้รับเกียรติลงศรีสมเด็จในปีนี้ผมว่ามันยังไม่ถึงเวลา” ท่านบอกกับเราว่าท่านเกิดในกรุงเทพมหานครที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เกิดปีเดียวกับ ท่านต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ่อเป็นตำรวจ รับราชการในช่วงต้นฝั่งกรุงเทพมหานคร ต่อมาก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรีไปฝากเรียนที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมี ท่านอาจารย์มโน กฤษณะจินดาอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นกรุณารับผมเข้าเรียนในชั้นเรียน

ความประทับใจในโรงเรียนผมว่าในวัยของการเป็นนักเรียน ชั้นประถมถึงมัธยม ติดต่อกันในขณะนั้นในรุ่นที่เรียนกันมาก็พยายามนัดพบกันเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจว่าสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอนให้คนเป็นคนดีรุ่นผมทุกคนเป็นคนดีทั้งหมดเลย ไม่มีใครเป็นคนไม่ดีเลยทั้งที่ แต่ก่อนพวกนี้เกเรกันเอาเรื่องซึ่งเป็นเรื่องของวัยเด็กผมว่าเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจแล้วมีความผูกพันที่สำคัญคือ“ เจ้าพ่อ” อาจจะเป็นเพราะว่าเราได้รับการสั่งสมจนเชื่อว่าเจ้าพ่อท่านเป็นผู้มีพระคุณที่ให้สถานที่ซึ่งเป็นบ้านของท่านในการศึกษาเล่าเรียนแก่เราจนมีสิ่งสักการะแทนตัวท่านนั่นคือ  “ ศาลเจ้าพ่อ” ผมจึงถือว่าท่านมีคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างมากผมนับถือยกย่องและเคารพไหว้และนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติราชการคือ ซื่อตรง มีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นก็เป็นมิติแห่งการชื่นชมศรัทธาในด้านผู้ให้กำเนิดสถานศึกษา สภาพอาคารสถานที่ขณะนั้นก็จะมีตึกเรียน 1 ตึกเป็นตึก 3 ชั้นเวลาเข้าจากประตูสาธิตทางซ้ายมือจะเป็นสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ถัดไปก็เป็นหอประชุม 2 ชั้นถัดไปเป็นสนามฟุตบอลตรงข้ามหอประชุม ฝั่งสนามฟุตบอลก็คือศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่หน้าที่พักของฝึกหัดครู (ตึกวิเศษศุภวัตร) ตรงนั้นน่าจะเป็นทิศตะวันตกเพราะตะวันออกคือทางเข้าทางขวาของตะวันออกคือด้านทิศใต้จะเป็นตึกเรียนของผม (ตึกครุศาสตร์ปัจจุบัน)ตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีโรงกลึงติดกับวัดบางไส้ไก่ (อุตสาหกรรมศิลป์ปัจจุบัน) ตอนนั้นยังไม่มีตึกมัธยมสมัยนั้นผมจะเรียกสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ เพราะไม่ได้แยกมัธยมหรือประถม แต่ทราบว่าเดี๋ยวนี้แยกกัน และก็มีอนุบาลด้วย พอจบ ม.ศ. 3 มาผมสอบเข้าเตรียมทหารทีแรก 6,000 กว่าคนผ่านเข้ารอบ 600 คน แต่พอคัด 300 คนไม่ได้ไม่งั้นผมเข้ารุ่นเดียวกับท่านทักษิณไปแล้วพอสอบไม่ได้ผมก็ไปเข้าเรียนที่วัดนวลนรดิศอีกปีก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารใหม่สอบได้เป็นรุ่นที่ 11 ปีก่อนที่ไม่ได้เพราะผมตกโรคเค้าบอกว่าผมเป็นโรคตาซึ่งก็ไม่ใช่โรคติดต่อพอผมได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยที่ผ่านมาผมก็เลยเสนอให้รับพิจารณาตากุ้งยิงริดสีดวงตาเพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ส่วนรวมไม่เห็นด้วยจึงยังแก้ไม่สำเร็จรุ่นเดียวกับผมก็มี พ.อ. บุญฤทธิ์อุตมรูปและพล. ต. ท. ฉัตรชัยโปตระนันทน์เรียนที่เตรียมทหาร 2 ปีนายร้อยตำรวจ 4 ปีก็ได้รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจงานแรกไปเป็นรองสารวัตรที่ปราจีนบุรี เป็นผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี

ในการทำงานเบื้องต้นเลยต้องยึดหลัก 3 ประการหลักแรกคือกฎหมายและระเบียบหลักที่ 2 ยึดถือความยุติธรรมหลักที่ 3 คือศีลธรรมหมายความว่าถ้าเราทำอะไรที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่เราต้องถูกต้องตามกฎหมายตามระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความยุติธรรมในความยุติธรรมนั้น ก็ต้องมีศีลธรรมด้วยจึงเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปเรียนต่อปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะผมคิดว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมเราต้องฟังคนอื่นด้วยต้องเอาสิ่งที่คนอื่นคิด มาช่วยคิดผมเลยทำคำมั่นสัญญาของตำรวจภูธรภาค 1 ว่าประชาชนคือนายของเรา” ทำงานไม่ค่อยมีอุปสรรคเท่าไหร่คำสั่ง พร้อมปฏิบัติถูกต้องชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเพื่อถวายความจงรักภักดีเพราะผมเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสิ่งที่ภูมิใจในบ้านสมเด็จ ที่มีส่วนให้ผมก้าวมาถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ“ การให้” เจ้าพ่อให้ที่ดินเป็นที่เรียนของเราคนพอถึงจุดหนึ่งควรจะให้กับคนที่ควรจะให้หรือกับใครก็ได้ที่ให้แล้วเกิดประโยชน์นอกจากนี้ก็มีความจงรักภักดีความซื่อตรงอย่างน้อย 3 ส่วนที่ทำให้ผมมีวันนี้และที่ขาดไม่ได้คือ สจจ เว อมตา วาจา ถ้าผมให้สัญญาประชาคมแล้วผมยอมเสียหายหรือฉิบหายดีกว่าที่จะเสียคำพูด ท้ายที่สุดเป็นห่วงนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่า เรากำลังแข่งกันเรียนหรือกำลังแข่งกันหาสถานที่เรียนที่มันดี ๆ แข่งกันหาประกาศนียบัตรเพื่อยอมรับในความสามารถตรงนี้ฝากให้คิด และฝากสำหรับสถาบันการศึกษาที่มีโอกาสประสาทปริญญา คิดจะประสาทปริญญาเพื่อที่จะให้เค้ามีมหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิตหรือคิดถึงองค์ความรู้ ที่จะให้มหาบัณฑิตว่าควรจะรู้ขนาดไหนหรือเรียน เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นมหาบัณฑิตเท่านั้นดังนั้นต้องให้ความรู้อย่างแท้จริง  นั่นก็เป็นบทสรุปทิ้งท้าย ที่เห็นถึงบุคลิกและความเป็นตัวตนของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ได้เป็นอย่างดีที่สำคัญในความเป็นตัวตนนั้นได้ถือเอาแบบอย่างการบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมัยรัชกาลที่ 5 มาได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยนสมกับเป็นลูกสุริยะเลือดม่วงขาวที่เข้มข้นจริง ๆ

นายชูชาติ ศรีแสง

ประวัติ   นายชูชาติ ศรีแสง

วันเกิด   12 มีนาคม 2485  

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเนติบัณฑิตยสภา สำนักอบรมศึกษากฎหมาย 

ประวัติการทำงาน   

  • อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

ศิษย์เก่ารุ่น/สาขาวิชา : ปกศ.ต้น สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ผลงานที่โดดเด่น : 

  • รับราชการตำแหน่งครูจัตวา สถานเยาวชนบ้านปากเกร็ด กองการสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 
  • รับราชการตุลาการตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ที่ปรึกษาบริษัท เนติการ อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ จำกัด 

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ : 

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ 
  • เหรียญจักรพรรดิมาลา 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประถมาภรณ์ช้างเผือก 
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ

ประวัติ  นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ

เกิด  วันที่ 25 เมษายน 2489

ตำแหน่งสุดท้าย  องคมนตรี ในรัชกาลที่ 9

ถึงแก่อนิจกรรม  วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ศิษย์เก่า 

  •  ป.กศ. วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  •  นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม)  
  •  เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน   

  • ช่วยผู้พิพากษา 
  • ผู้พิพากษาประจำกระทรวง 
  • ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนครสวรรค์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง           
  • ผู้พิพากษาศาลหัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี  
  • ผู้พิพากษาศาลแพ่ง  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง  
  • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3  
  • รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้  
  • ผู้พิพากษาศาลฎีกา  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์  
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  
  • ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1  
  • รองประธานศาลฎีกา 

เครื่องราชอิสริยาภรณ

  • ตริตาภรณ์ช้างเผือก  
  • ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย  
  • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก  
  • ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย  
  • ประถมมาภรณ์ช้างเผือก  
  • มหาวชิรมงกุฎ

ชาญชัย ลิขิตจิตถะ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2489 จบการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรมจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 จบเนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2514 สมรสกับ เพ็ญศรี ลิขิตจิตถะ มีบุตรีชื่อ สุชีรา ลิขิตจิตถะ

เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย หัวหน้าศาลแขวงนครสวรรค์ หัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี หัวหน้าศาลประจำกระทรวง หัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่ หัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี ผู้พิพากษาศาลแพ่ง หัวหน้าคณะในศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองอธิบดีศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาศาลฎีกา หัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาในปี 2548 ต่อจากนายศุภชัย ภู่งาม เกษียณอายุราชการในปี 2549 และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ 

เมื่อวันที่ 25 เมษายน เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ พร้อมทั้งรับสั่ง เปิดสภาไม่ครบ 500-ขอนายกฯพระราชทานทำให้ประชาธิปไตยมั่ว การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปพิจารณาเลือกตั้ง 2 เมษา โมฆะหรือไม่ทรงย้ำกษัตริย์ไม่เคยทำตามใจชอบ 

อมาได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับคณะตุลาการทั้ง 3 ฝ่ายประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการเมือง เมื่อวันที่ 28 เมษายน ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนความเห็นข้อกฎหมายในหลายประเด็นแล้ว ทั้ง 3 ศาล มีความเห็นพ้องกันใน 3 ประเด็นว่า 1. แต่ละศาลจะเร่งรัดพิจารณาพิพากษาคดีและดำเนินการในส่วนที่อยู่อำนาจหน้าที่ของแต่ละศาล ให้รวดเร็วทันต่อของความเร่งด่วนในแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น, 2. การพิจารณา คดีความแต่ละศาล จะต้องใช้และตีความตัวบทกฎหมายเดียวกันนั้นต้องระมัดระวัง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสับสนของ ประชาชน และ 3. ในการดำเนินการของแต่ละศาลนั้นยังต้องยึดถือหลักความเป็นอิสระของศาล ตามเขตอำนาจแต่ละศาลให้ดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ด้วยความสุจริตและยุติธรรม โดยทั้ง 3 ประเด็นนี้เป็นข้อยุติที่ประธานทั้งสามศาลเห็นพ้องต้องกันอย่างไม่มีข้อแม้ ต่อมาคำวินิจฉัยทั้ง 3ศาลมีคำสั่งให้ระงับการเลือก ตั้ง สส.ใน จ.ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี รวม 9 จังหวัด 14 เขต ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2549 นี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น

ราชการพิเศษ 

พ.ศ. 2548 

  • ประธานกรรมการพัฒนาระบบการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลสูง 
  • ประธานอนุกรรมการกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 
  • ประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล 
  • กรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 

พ.ศ. 2547 

  • อนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อศึกษาวางแนวทางการใช้ดุลพินิจและเหตุผลในการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา

พ.ศ. 2546

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับหลักสูตรและแผนการพัฒนาข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม

เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเคยทาบทามให้ชายชัย ลิขิตจิตถะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยปผห อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ชาญชัยจึงถูกเลือกให้มาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 

ในการโฟนอินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2552 ได้กล่าวหาชาญชัยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวางแผนการรัฐประหาร 19 กันยายนที่บ้านของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ต่อมา ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวระหว่างการปราศรัยกับกลุ่มคนเสื้อแดง ผ่านระบบวิดีโอลิงก์ว่า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้เล่าให้ตนฟังว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น), นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม , นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ อ้างว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ วางแผนที่จะใช้ ปฏิญญาฟินแลนด์ และนายปีย์ ร่วมปรึกษาหารือกัน ที่บ้านพักของนายปีย์ ถนนสุขุมวิท ในอันที่จะวางแผนจัดตั้งขบวนการขับไล่ตน โดยเฉพาะการลอบสังหารตน และวางแผนสำรอง หากดำเนินการไม่สำเร็จ ซึ่งก็คือการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ทั้งพลเอก สุรยุทธ์ และนายปีย์ ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว 

การดำรงตำแหน่งรมว.ยุติธรรม

ชาญชัย ลิขิตจิตถะ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2549 และได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พร้อมทั้ง นางเพ็ญศรี ลิขิตจิตถะ ภรรยาของ ชาญชัย ลิขิตจิตถะในวันที่ 9 ตุลาคม มีทรัพย์สินมากกว่า (น้อยกว่า) หนี้สิน 4,385,488.76 บาท ส่วนของนางเพ็ญศรีมีทรัพย์สิน 3,977,758.27 บาท 

ชาญชัยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้มอบนโยบายว่า งานอันดับแรกที่จะเข้ามาสานต่อนโยบายเดิม คือ การเดินหน้าปราบปรามยาเสพติด ที่ผ่านมาเคยเป็นนโยบายที่เข้มงวดการกวาดล้างอย่างหนัก แต่ในระยะหลังเบาบางลงไป เพื่อปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป รวมถึงการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตัวเป็นคนดีในสังคม ตามด้วยมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนในทุกภูมิภาค สำหรับปัญหาการอำนวยความยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกชุดพยายามแก้ไข เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข บทบาทของกระทรวงยุติธรรมต้องทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ จะเข้าไปจัดการให้เกิดความยุติธรรม ผู้ต้องหาคนใดไม่มีทนายจะจัดหาทนายความให้ ในส่วนของประชาชนที่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ จะได้รับการคุ้มครองดูแลให้ปลอดภัย และชาญชัยยังได้เน้นย้ำในการดำเนินงานกองทุนยุติธรรม เพื่อความยุติธรรมโดยเสมอภาค

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 ชาญชัยได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดชุดปฏิบัติการ เข้าร่วมสอบสวนคลี่คลายคดีลอบวางระเบิดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยให้เข้าไปทำงานสนับสนุนตำรวจและหาข้อเท็จจริง ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์วางระเบิดกรุงเทพมหานครและนนทบุรีในวันส่งท้ายปีเก่า(31 ธันวาคม 2549)  

ชาญชัยลงนามในคำสั่งย้าย พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในขณะนั้น ไปช่วยราชการที่กระทรวงยุติธรรม และแต่งตั้งให้นายสุนัย มโนมัยอุดม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทน ชาญชัยให้เหตุผลว่าเขาไม่ต้องการให้ดีเอสไอเป็นกรมตำรวจย่อยๆ อีกกรมหนึ่ง เขาต้องการให้ดีเอสไอเป็นหน่วยสอบสวนพิเศษเหมือนเอฟบีไอของสหรัฐ โดยต้องการให้เป็นหน่วยงานที่คานกับตำรวจ ไม่ใช่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งคนที่ยืมตัวมาจาก สตช.ก็อยากคืนกลับไป วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 ได้ลงนามคำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ระดับ 9 จำนวน 2 ตำแหน่ง โดยให้ปรับเปลี่ยน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปเป็นรองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และให้ นายภิญโญ ทองชัย รองเลขาฯ ป.ป.ส.มาเป็นรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแทน โดยมีผลในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 สำหรับสาเหตุที่ต้องย้าย พล.ต.อ.สมบัติ ก็เพื่อให้การสอบสวนคดีอุ้มนายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม มีความคืบหน้า และเพื่อไม่ให้ดีเอสไอตกเป็นจำเลยของสังคมต่อไป

ชาญชัยออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการสอบสวนคดีการหายตัวของ นายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าจนถึงขณะนี้ยังหาพยานหลักฐานไม่ได้ว่า หลังจากนายสมชายถูกคนร้ายนำตัวขึ้นรถและขับออกจากย่านรามคำแหงแล้ว นายสมชายอยู่กับคนร้ายตลอดเวลาหรือไม่ แต่หลักฐานจากพยานแวดล้อมระบุว่า นายสมชายน่าจะเสียชีวิตแล้ว โดยจุดต้องสงสัยแห่งสุดท้าย ที่พบตัวนายสมชายคือพื้นที่จ.ราชบุรี ซึ่งดีเอสไอเตรียมที่จะนำกำลังลงพื้นที่ เพื่อค้นหาชิ้นส่วนศพของนายสมชาย ซึ่งอาจจะยังหลงเหลืออยู่  

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เสนอรายงานการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้คณะรัฐมนตรีทราบ โดยมีรายงานผลการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น จาก 15 กระทรวง ซึ่งยังมีส่วนราชการที่ยังไม่รายงานผลการดำเนินงานคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ นายชาญชัย ยังแจ้งให้รัฐมนตรีที่ดูแลหน่วยงานในสังกัดว่า ให้ทุกส่วนราชการ ส่งแบบรายงานผลการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้กระทรวงยุติธรรมรับทราบ ตามเวลาดังนี้ ครั้งที่ 1 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน ให้รายงานผลก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม ของทุกปี ครั้งที่ 2 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม ให้รายงานผลก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปีด้วย นายชาญชัยยังแจ้งถึงปัญหาในระดับโครงสร้าง ที่ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่น ยังมีอยู่ คือ 1.เด็กและเยาวชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ไหลบ่าเข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เกิดค่านิยมเชิงลบที่แปลกแยกจากวิถีเดิม 2.ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งร้องเรียน และไม่กล้าร้องเรียน เพราะกลัวอันตราย จะต้องเร่งสร้างการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนทุกระดับ 

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รวบรวมคำกล่าวมอบนโยบายในการปราบปรามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาประกอบสำนวนการสอบสวนในคดีฆ่าตัดตอน โดยหากพบว่าการมอบนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งผลให้มีการจัดชุดเฉพาะกิจออกปฏิบัติการฆ่าตัดตอนเพื่อลดเป้าบัญชีดำ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะตั้งข้อหาดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ฐานเป็นผู้สนับสนุน โฆษณา หรือจูงใจ ปลุกเร้าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรงนอกกฎหมาย ฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด 

วันที่ 23 มีนาคม 2550 ชาญชัยสั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เตรียมนำคดีบริษัทกุหลาบแก้ว จำกัด เป็นนอมินี เสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณาเพื่อลงมติว่าจะรับโอนเป็นคดีพิเศษ และนำเสนอแนวคิดเพื่อสังคมถูกนำเสนอออกมารายวัน เช่น เสนอกฎหมายเฉพาะสำหรับการบริหารจัดการเรื่องการดื่มสุราการเก็บภาษีเหล้า เบียร์ และเสนอแนวทางแก้ไข พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเก็บภาษีนักปั่นหุ้นใน 3 ประเด็นคือ 

  1. กฎหมายการซื้อขายหุ้นต้องระบุให้ชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดเข้าข่ายปั่น หุ้นหรือเก็งกำไร ถ้าพบต้องใช้มาตรการเสียภาษีย้อนหลังกับนักปั่นหุ้นทันที 
  2. กำหนดระยะเวลาการซื้อการคอบครองหุ้น ไม่ใช่ซื้อขายวันต่อวัน เพราะถือว่าเข้าข่ายนักเก็งกำไร 
  3. ต้องให้อภิสิทธิ์คุ้มครองนักลงทุนจริงๆ โดยไม่ต้องเสียภาษี 

แต่ต้องกำหนดกำไรในการซื้อขายในวงจำนวนมาก ประมาณ 100 ล้านบาทขึ้น เพื่อต้องการให้นำกำไรที่ได้มาให้สังคม เช่น การซื้อหุ้นนอกตลอดแต่นำมาขายในตลาดมีกำไรเป็น 10,000 ล้านบาท ดังนั้น ควรเก็บภาษีเป็นขั้นบันไดตามเปอร์เซ็นต์กำไร และเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อบังคับใช้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะโดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมา การมึนเมาสุราขณะขับขี่รถยนต์เกิดปัญหาผู้ที่เมาแล้วขับไม่ยินยอมให้เจ้า หน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ซึ่งกฎหมายไม่มีมาตรการบังคับ ทำให้ลงโทษผู้ที่เมาแล้วขับฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานคือ ปรับ 1,000 บาท ดังนั้น ต้องแก้กฎหมายให้มาตรการบังคับ ตรวจวัดแอลกอฮอล์เป็นผู้เมาแล้วขับ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเกิดอุบัติเหตุต้องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย 

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ออกประกาศกระทรวงยุติธรรมเรื่อง กำหนดอำนาจการคุมขังผู้ต้องขังของเรือนจำฉบับที่ 2 เรือนจำส่วนภูมิภาคตามข้อ 1 (ข) แห่งกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มีอำนาจการคุมขังผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษต่อไป ดังนี้ 1. เรือนจำอำเภอชัยบาดาล จำคุกไม่เกิน 15 ปี 2. เรือนจำอำเภอเกาะสมุย จำคุกไม่เกิน 10 ปี 

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว. กระทรวงยุติธรรม ถูกเลือกให้เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามากาเด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพ ครบถ้วนทั้งด้านฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสาธิตระบบนำร่องศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม ต้นแบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม พิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการ สำหรับหน่วยงานที่ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงานร่วมลงนาม 9 หน่วยงานประกอบด้วย กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ กรมการปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกิจการยุติธรรม และสำนักงาน ป.ป.ส. 

ภายหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ชาญชัยยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส 

องคมนตรี

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่าตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2550 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 ประกอบกับ มาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งดังต่อไปนี้ 1.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 2.นายศุภชัย ภู่งาม 3.นายชาญชัย ลิขิตจัตถะ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2551 เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

ในเวลาต่อมากลุ่มคนเสื้อแดงออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยเรียกร้องให้ประธานองคมนตรี องคมนตรี และนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ซึ่งชาญชัยเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกเรียกร้องด้วย 

ความพยายามลอบสังหารชาญชัย ลิขิตจิตถะ 

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 ชุดสืบสวนภูธรภาค 1 ได้ควบคุมตัวชายต้องสงสัย อายุประมาณ 35 ปี ขณะเดินอยู่ใกล้กับบ้านชาญชัย ไว้ได้ทันก่อนลงมือโดยผู้ต้องสงสัยสารภาพว่า ได้รับการติดต่อจ้างวานให้ลงมือสังหารชาญชัยภายในวันที่ 7 เมษายน เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างขยายผลตรวจ สอบข้อเท็จจริงตามคำให้การของผู้ต้องสงสัยที่ซัดทอดทหาร กลุ่มเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อยู่เบื้องหลังบงการลอบสังหารองคมนตรีเพื่อทำให้สถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย ต่อมาชาญชัยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า รู้สึกแปลกใจทีมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ไม่เคยมีปัญหากับใคร และไม่ทราบสาเหตุว่า จะมาทำร้ายกันทำไม จากนั้นตำรวจจึงส่งชุดป้องกันรักษาความปลอดภัยมาคุ้มกันทันที 

วันที่ 7 เมษายน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง พร้อมด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 และพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 แถลงการณ์การจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นจำนวน 3 คนประกอบด้วย นาย คนิช สุกาญจกาศ อายุ 30 ปี นายศักดิ์ชาย แซ่ลิ้ม อายุ 28 ปี นาย ภาณุพาศ รัตนาไพบูลย์ อายุ 31 ปีพร้อมอาวุธปืนขนาด . 38 จำนวน 1 กระบอก กระสุน 10 นัด จักรยานยนต์ 1 คัน ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานไปขออนุมัติหมายจับผู้ร่วมขบวนการอีก 2 คน คือ นาวาเอก (น.อ.) จักรกฤษณ์ เสขะนันท์(ภายหลังพ้นข้อกล่าวหา) สังกัดกองกิจการภายใน กองทัพเรือ และนายแจ็ค ไม่ทราบชื่อสกุล โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวนนำหลักฐานไปขออนุมัติหมายจับที่ศาลอาญา ถ.รัชดาฯ 

ผลงานทางวิชาการ 

หนังสือ “คู่มือการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาและสิทธิในการรับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความให้แก่ผู้ต้องหา” , 2548 

ถึงแก่อนิจกรรม 

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เมื่อเวลา 08.30 น. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 

ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์

ประวัติ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์

เกิด วันที่ 8 มิถุนายน 2484

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
  • ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี  จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชั้น ป.กศ.  และ ป.กศ.สูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  •  กศ.บ.(เกียรตินิยม)  ประถมศึกษา และ คณิตศาสตร์ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา  ประสานมิตร 
  •  M.A.(Ed. Adm.& Research)   Michigan State University 
  • Ph.D.(Higher Ed.)   Michigan State University 
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

ประวัติการทำงาน 

  • ๒๕๐๗ - ๒๕๑๗ เป็นครูสอนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดอินทาราม กาญจนบุรี 
  • ๒๕๑๗ -  ๒๕๑๙ เป็นนักวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๑๙ - ๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการกองวิจัยการศึกษา 
  • ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
  • ๒๕๒๙ - ๒๕๓๕ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • ๒๕๓๕ โอนย้ายมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๓๕ - ๒๕๓๗   เป็นอธิบดีกรมวิชาการ 
  • ๒๕๓๗ -  ๒๕๓๘   เป็นอธิบดีกรมการศาสนา 
  • ๒๕๓๘ -  ๒๕๓๙   เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา 
  • ๒๕๓๙ -  ๒๕๔๒   เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
  • ๒๕๔๒ -  ๒๕๔๔   เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ     มหาวชิรมงกุฏ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 

หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน 

  • เป็นข้าราชการบำนาญ  กระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำ กกต. 
  • เป็นประธานกรรมการบริหารชมรมขัาราชการและครูอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา 
  • เป็นนายกสภาวิทยาลัยเชียงราย 
  • เป็นุอปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 
  • เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี 
  • เป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
  • เป็นอนุกรรมการเสริมสร้างทัศนคติค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต   ปปช 
  • เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นรองประธานฝ่ายการศึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 
  • เป็นประธานมูลนิธิสามัญศึกษา 
  • เป็นประธานมูลนิธิคุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู 
  • เป็นเลขาธิการมูลนิธิดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์เพื่อส่งเสริมการอ่าน 
  • เป็นกรรมการมูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ชนถิ่นกันดาร 

เกียรติประวัติที่เคยได้รับ

  • ๒๕๐๑ -  ๒๕๐๗   เป็นนักเรียนทุนจังหวัดกาญจนบุรี
  • ๒๕๑๑ -  ๒๕๑๗ เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ณ สหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลพ่อดีเด่น
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา  เสาเสมาทองคำ
  • ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศข้าราชการผู้ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจากคณะกรรมการ ปปช. 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • ได้รับยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ Michigan State University สหรัฐอเมริกา 
  • ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีเมืองกาญจน์ 
  • ได้รับยกย่องเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น 
  • ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ  

ผลงานเขียนเป็นหนังสือ 

  • การศึกษาคือยาหม้อใหญ
  • จารึกไว้ในพระศาสนา  จารึกไว้ในการศึกษา 
  • การศึกษา ปัจจัยที่ห้าของชีวิต 

บันทึกปลัดกระทรวง

  • ก้าวไปข้างหน้า 
  • เหลียวหลัง  แลหน้า  ตามอารมณ์ 
  • หนุ่มบ้านทุ่ง   คนบ้านทุ่ง 
  • คิดเป็นการศึกษา 
  • นิทานส่งเสริมประชาธิปไตยดอทคอม 

ถ้ามีคนถามว่าผมจบม.๘ มาจากโรงเรียนไหนผมมักจะตอบทุกคนด้วยความภาคภูมิใจ ว่าผมไม่เคยเรียนม.๗ ม.๘ แต่ผมเป็นนักเรียนฝึกหัดครูจบ ปก.ศ. และ ป.กศ. จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผมเป็นลูกสุริยะ 

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่าจะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพราะนี่คือความหวังอันสูงสุดในชีวิตในสมัยนั้น ด้วยความที่ฐานะทางบ้านขัดสนเอามากๆ ทางเลือกเมื่อผมจบม.๖ มีเพียงทางเดียว คือต้องสอบเข้าเรียนครูให้ได้และต้องให้ได้ทุนด้วย แต่สอบให้ได้ผมไม่ค่อยเป็นห่วงให้ได้ทุนก็คิดว่าพอลุ้น แต่ถ้าจะให้ดีต้องให้ได้ที่ ๑ ด้วย จะได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จผมฝันอยากเป็น นักเรียนกรุงเทพฯถ้าได้มาอยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาแม้จะอยู่ฝั่งธนบุรีก็พอ นับว่าเป็นกรุงเทพฯได้อยู่ผมประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เมื่อผมสอบได้ผมได้ทุน และผมได้มาเรียนที่บ้านสมเด็จ 

ชีวิตที่บ้านสมเด็จฯ ช่วยให้ผมโตขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัวผมไม่ได้หมายถึงขนาดของร่างกาย เพราะตั้งแต่มาเรียนที่มีบ้านสมเด็จฯ แล้วผมไม่เคยสูงขึ้นอีกเลย แต่ผมหมายถึง โตขึ้นทางความรู้สึกนึกคิดเรียกว่ามีวุฒิภาวะมากขึ้น มีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีความทะเยอทะยานมากขึ้น มีความฝันมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น 

ผมเป็นนักเรียน ป.กศ. รุ่นที่ 4 ของกรมการฝึกหัดครูเข้าบ้านสมเด็จฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ สมัยนั้นนักเรียนทุนจากต่างจังหวัดต้องอยู่หอพัก ทุกคนส่วนใหญ่แต่ละจังหวัดรุ่นที่อยู่หอพักก็สักก็มากัน ๑ คนมีจังหวัดที่มีวิทยาลัยครูมา ๔ คนรวมทั้ง ๑๐๐ คนมีนักเรียนทุนส่วนกลางและต่อมาก็มีนักเรียนรอบบ่ายเพิ่มขึ้นอีกรวมทั้งรุ่นคงราว ๆ ๓๐๐ คนเศษที่สนิทสนมกันมากก็คงเป็นพวกที่อยู่หอพักด้วยกันเพราะเรากินด้วยกันเล่นด้วยกันดูหนังสือด้วยกันและหนีอาจารย์ไปเที่ยวด้วยกันบางทีเราก็ทะเลาะกันบ้างแล้วเราก็ดีกันบางทีเราก็แกล้งกัน แล้วเราก็ให้อภัยกันจากวันนั้นถึงวันนี้เรายังรักกัน ไม่เสื่อมคลายผมหมายถึงความรักฉันท์เพื่อนไม่ใช่ฉันท์คนรักก็ที่อยู่หอพักด้วยกันมี แต่ผู้ชายทั้งนั้นที่เป็นหญิงเขาเรียนรอบบ่ายเกือบจะไม่เคยได้เห็นกันเลย (ยกเว้นตอนที่แอบดูเขา) ด้วยเหตุนี้ละกระมังที่ทำให้ผมไม่มีแม่บ้านเป็นลูกสุริยะด้วยกัน 

ผมมีความประทับใจหลาย ๆ อย่างที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่นี่ผมได้พบอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติใคร ๆ ก็อยากเป็นลูกศิษย์ด้วย (สมัยนั้น) เช่น อาจารย์โชค สุคันธานิช อาจารย์ดิน เผือกสกนธ์ อาจารย์ใย ยรรยงอาจารย์สงัด ภูเขาทอ งโดยเฉพาะอาจารย์สงัด และอาจารย์ใย นี่ผมชอบเป็นพิเศษ และใฝ่ฝันอยากเก่งภาษาไทยเหมือนอาจารย์ ผมเลยศึกษาวรรณคดีไทยเป็นการใหญ่ ผมจำได้ว่าภายใน ๒ ปีที่เรียน ป.กศ. ผมอ่านหนังสือวรรณคดีที่มีอยู่ในห้องสมุดของวิทยาลัยได้หมดทุกเล่ม ก็เพราะอยากเป็นเช่นอาจารย์ตรงนี้ผมทำผิดพลาดไปถนัดเพราะผมศึกษาเร็วเกินไปต่อมาก็เลยหมดความสนใจ พอได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ประสานมิตรเลยหันไปเลือกเรียนเอกคณิตศาสตร์แทนภาษาไทย เพราะรู้สึกว่าในเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีสิ่งที่ผมไม่รู้อีกมากเหลือเกินผมตั้งใจว่าต่อไปจะศึกษาภาษาไทยเป็นงานอดิเรกแทน แล้วก็ยังไม่ได้เริ่มต้นอีกเลยจนทุกวันนี้ผมไปเรียนประสานมิตรได้สัก ๒-๓ เดือนกลับมาเที่ยวบ้านสมเด็จ พบอาจารย์ใยยรรยงท่านถามว่าพนมไปเรียนเอกอะไรผมตอบว่าเอกคณิตศาสตร์ดูท่าทางอาจารย์ผิดหวังผมมากอาจารย์พูดว่า “ครูคิดว่าเธอจะไปเรียนเอกไทยเสียอีก” 

ที่บ้านสมเด็จฯ นี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมไปอย่างหนึ่งคือผมเป็นคนบ้านนอกเกิดนอกเมืองกาญจน์ออกไปอีกพูดสำเนียงเหน่อ ๆ ต่อมาผมก็หัดพูดแบบคนเมืองกาญจน์ก็คิดว่าเข้าที่ดีแล้วมาเรียนที่บ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เคยถูกล้อเลียนเห็นมี แต่จิระจากสุพรรณและประชุมจากเพชรบุรีที่ถูกล้อเลียนเป็นประจำจนอยู่มาวันหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์อาจารย์กฤษณาสยามเนตรเป็นผู้สอนผมเพิ่งมาอยู่ใหม่ ๆ ได้เดือนเศษยกมือขึ้นถามอาจารย์อาจารย์หัวเราะผมจนตัวงอผมอายหน้าแดงเอ๊ะ! นี่ผมทำอะไรผิดสักครูอาจารย์ก็บอกว่า“ พนมครูไม่ได้ว่าอะไรเธอหรอก แต่หัวเราะเสียงเธอมันเหน่อสิ้นดี” ผมจึงเข้าใจว่าที่พยายามดัดสำเนียงนั้นยังใช้ไม่ได้ต้องพยายามต่อไปให้เหมือนชาวกรุงเทพฯให้ได้ผมคิดว่าผมทำได้สำเร็จไม่มีใครล้อผมหรือหัวเราะผมอีกจนเมื่อสัก ๒-๓ ปีมานี้ไปพบคุณหมอประเวศวะสีเรียนท่านว่า“ คุณหมอครับผมก็เป็นคนเมืองกาญจน์  คุณหมอก็ตอบว่า“ รู้แล้วว่าไม่ต้องบอกหรอกฟังเสียงรู้ว่าคนเมืองกาญจน์” ก็เพิ่งจะรู้ตัวว่ายังเปลี่ยนไม่สำเร็จเท่าไร  

บ้านสมเด็จฯ ช่วยสร้างชีวิตผมทั้งชีวิตสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดผมมาเรียนด้วยความตั้งใจว่าอยู่ ๒ ปีให้จบ ป.กศ. แล้วจะออกไปเป็นครูเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกันชวนไปสอบเทียบม. 4 ผมก็ไปสอบด้วยใจผมตอนนั้นคิดว่าจะพอจะลองสอบเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ ป.กศ. บ้านสมเด็จฯ เทียบม. 4 ได้หรือเปล่าสอบแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าพอเทียบได้หรือปทุมวันผมไม่ไปเพราะทางบ้านไม่มีเงินพอจะส่งให้เพื่อน ๆ ชวนให้ไปสอบเข้าวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนทุกคนเรียนพอเรียนจบ ป.กศ. วิทยาลัยก็ประกาศว่าผมได้คัดเลือกให้เรียนต่อ ป.กศ. สูงผมทำให้ทางบ้านผิดหวังรอให้ผมกลับไปเป็นครูเมื่อได้รับคัดเลือกให้เรียนต่อพร้อมทุนอีกปีละ ๒,๕๐๐ บาทก็จำต้องให้ผมเรียนต่อไปพอจบ ป.กศ. สูงเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมอีกผมได้รับคัดเลือกจากวิทยาลัยส่งไปเรียนต่อที่ประสานมิตรพร้อมทุนปีละ ๒,๕๐๐ บาททางบ้านไม่มีทางเลือกจำต้องให้ผมไปเรียนต่ออีกจนจบปริญญาตรี 

ที่จริงตอนจบ ป.กศ. พี่ชายก็จะให้ออกไปสอนอยู่แล้วบอกไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ พอดีมีคนรู้จักได้ยินข่าวก็บอกเสียดายถ้าไม่ให้เรียนถามว่าถ้าจะเรียนต่อ ผมต้องการเงินสักเท่าไรเขาจะให้ยืมเอง พี่ชายผมบอกว่าไม่เอาพี่จะหาเงินให้เองผมก็เลยได้เรียนต่อเพราะทุนจากบ้านสมเด็จฯ และความรักกศักดิ์ศรีของพี่ชายด้วยประการฉะนี้ 

ชีวิตผมลืมอะไรไปหลายอย่าง แต่ที่ไม่เคยลืมเลยคือบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจะสุขจะทุกข์สนุกเศร้าอย่างไรก็ไม่เคยลืมเพื่อนผมก็ไม่เคยลืมทุกปี ป.กศ. บ้านสมเด็จรุ่น ๔ ยังนัดพบใหญ่กันได้เป็นประจำครั้งละเกือบ 4 คนเราพบกันพูดถึงความหลังครั้งเก่าพูดถึงอาจารย์เก่าสถานที่เก่า ๆ อย่างมีความสุขถ้ามีคนถามว่าถ้าผมได้พรจากนางฟ้าผมอยากจะได้อะไรเป็นอันดับแรก ผมคงตอบว่าผมจะขอไปเป็นนักเรียนอย่างเก่าที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ต้องเอาเพื่อนเก่า ๆ ไปด้วยนะขึ้นให้ผมกลับไปเรียนกับศิษย์ปัจจุบันคงตามจีบเขาไม่ทันแน่ 

ผมเรียนหนังสือที่โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จฯ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ ถึงมัธยม 6 (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๕) ๑๐ ปีเต็ม ๆ ตอนนั้นผมยังเด็กมากเลยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องการให้ผมข้ามมาเรียนที่ฝั่งธนทั้งๆที่บ้านอยู่แถว ๆ เสาชิงช้าจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๙ มาโรงเรียนทุกวันสมัยที่เป็นนักเรียนผมรู้สึกว่าโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใครทั้งในด้านการเรียนและการกีฬาอาจารย์ที่สอนมีความสนิทสนมกับนักเรียนมากเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดีซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักเรียนน้อยคือชั้นละ ๑ ห้องเรียนอาจารย์จึงดูแลได้ทั่วถึงตอนนั้นอาจารย์ระเบียบยมจินดาเป็นครูประจำชั้นอาจารย์มโน กฤษณจินดา เป็นอาจารย์ใหญ่นอกจากนั้นมีอาจารย์บุตรวุฒิมานพเป็นอาจารย์พละที่เข้มแข็งอาจารย์สังวาลย์คคละนันท์ก็เคยเป็นครูประจำชั้นพวกเรามักเรียกกันติดปากว่าคุณย่าสังวาลย์อาจารย์อำไพ (วิทยวิโรจน์) อาจารย์บุญส่งก็เคยสอนทั้งนั้นผมจำได้ดีเพราะเรียนที่นี่มาตลอดและอาจารย์ก็สอนตามไปหลายชั้นเมื่อผมกลับมาบ้านสมเด็จฯ ก็ไม่เห็นสภาพดั้งเดิมเสียแล้วตอนที่เรียนเป็นอาคารไม้แถวยาว ๆ มีตึกวิเศษศุภวัตรอยู่หลังศาลเจ้าพ่อเมื่อหน้าน้ำท่วมพวกเด็ก ๆ จะถอดรองเท้าลุยน้ำกันสนุกในส่วนที่เป็นวิทยาลัยครูปัจจุบันมีตึก ๓ ชั้นและอาคารไม้ยาว ๆ เช่นกันพวกนักเรียน & ฝึกหัดครูมักจะไม่ค่อยมายุ่งกับนักเรียนสาธิตคงจะเป็นเพราะคนละวัยก็ได้เพราะฉะนั้นเราเลยไม่ค่อยรู้จักกันอย่างไรก็ดีเมื่อจบมัธยม 5 แล้วผมก็เรียนฝึกหัดครูต่ออีก ๑ ปีเช่นกันผมไม่ใช่เด็กซนหรือโลดโผนนับว่าค่อนข้างเรียบร้อย แต่ความซนของเด็กสมัยนั้น ก็ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นไม่ผาดแผลงมาก ผมไม่ใช่คนเรียนหนังสือเก่ง แต่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กอ่านทุกชนิดทั้งนวนิยายสารคดีประวัติศาสตร์ปรัชญา ฯลฯ อ่านแล้วก็จำได้นานชีวิตในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีส่วนช่วยในการนําเนินชีวิตปัจจุบันพอควรคือได้นำคำสั่งสอนของคุณครูที่ไม่เพียง แต่สอนในด้านวิชาการเท่านั้นยังสอน จริยธรรมและคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ปลูกฝังความมีวินัยไว้เต็มเปี่ยม 

เพื่อนๆ นักเรียนต่างก็เป็นเพื่อนที่ดีรักใคร่ปรองดองกันเหมือนพี่น้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมาพวกเรามีกันอยู่ ๓๕ คนไม่มีผู้หญิงมาเรียนด้วยอาจารย์ระเบียบเป็นอาจารย์ประจำชั้นหลายปีอาจารย์สมศรี (เรืองเดช) อาจารย์อรรถศรีก็เคยเป็นครูประจำชั้นด้วยนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วอาจารย์บุญภักดิ์ ขวัญเจริญ ยังได้นำการสอนวิธีใหม่คือให้หัวเรื่องมค้นคว้ากันเองทำให้พวกเราได้ทำงานร่วมกันเพิ่มความสนิทสนมต่อกันยิ่งขึ้นบรรยากาศในห้องเรียนดีมากครูให้เวลากับนักเรียนมากเช่นกันตอนที่เข้าเรียนใหม่ ๆ ผมก็ร้องไห้ตามแม่เหมือนเด็กอื่นๆ จำได้ว่า ครูบุตร วุฒิมานพ เป็นคนจับผมไว้ไม่ให้วิ่งตามแม่ แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานแล้วผมก็ยังจำภาพเก่าๆ ได้ดี เช่น มีการหล่อเทียนพรรษาที่ศาลเจ้าพ่อ บางทีก็มีการชกมวยแก้บนให้เจ้าพ่อหลังสอบ แล้วผมยังคงภาคภูมิใจมากที่ได้เรียนที่บ้านสมเด็จฯ ไม่ใช่เพียงพวกเรา แต่คนในละแวกนี้เขารู้จักเราดีทั้งนั้นพวก บ.ส. , ม่วงขาว, ชาวสุริยะ ใครๆ ก็รู้จักใครๆ ก็ต้อนรับเราดีไม่เคยมีใครมาตั้งแง่กับเราเลย 

ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจึงทำให้ครูกับนักเรียนไม่ค่อยจะมีความผูกพันเหมือน แต่ก่อนชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่สะดวกสบายผู้ปกครองหรือพ่อแม่ไม่มีเวลาได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตอนผมเป็นเด็กคุณพ่อเป็นทหารคุณแม่ไม่ได้ทำงานจึงมีเวลาดูแลให้ผมทำการบ้านสอบถามและทบทวนวิชาให้ผมตัวเล็กนิดเดียวเลยไม่ได้เล่นกีฬาเวลาเข้าแถวยังต้องอยู่ปลายแถว แต่เวลาไปเชียร์ก็ไปเชียร์กับเขาทุกครั้งเพราะสนุกมากโรงเรียนของเราเก่งกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลครูที่ว่าสนิทสนมและรู้จักนักเรียนนั้นเมื่อเวลาก็เอาเรื่องเหมือนกันถ้าไม่ส่งการบ้านหรือทำความผิดอะไรก็จะต้องถูกตีด้วยกิ่งสนสังเกตได้ว่าต้นสนบริเวณโรงเรียนกิ่งจะหักเป็นแถบๆ

เมื่อจบมัธยม ๖ จากโรงเรียนสาธิตฯ ก็ไปเรียนต่อที่ฝึกหัดครู ๑ ปีจึงออกไปเรียนที่โรงเรียนพาณิชยการราชเทวี (เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้ว) ต่อมาก็เข้ารามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ขณะนั้นเรียนด้วยทำงานไปด้วย ผมเริ่มเข้าทำงานที่กระทรวงต่างประเทศด้วยวุฒิมัธยม ๘ ในตำแหน่งเสมียนเมื่อปี ๒๕๑๘ ต้องไปทำงานที่ประเทศลาวเพราะที่นั่นกำลังมีปัญหาเรื่องชายแดนอยู่ลาวมา ๔ ปีแล้วไปประจำอยู่เยอรมันอีก ๒ ปีจึงกลับมาประจำกระทรวงอีก ๒ ปีต่อมาได้ทุนไปเรียนภาษาที่ประเทศออสเตรเลียอีก ๔ เดือนวนเวียนอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศตามหน้าที่ตามปกติทำงานที่กระทรวงต่างประเทศนั้นจะอยู่ประจำกระทรวง ๔ ปีไปต่างประเทศ ๔ ปีขณะนี้ผมทำงานอยู่ในกองเอเชียตะวันออกคือรับผิดชอบเกี่ยวกับจีนมองโกเลียไต้หวันฮ่องกงมาเก๊าส่วนหนึ่งเรื่องของญี่ปุ่นกับเกาหลีอีกส่วนหนึ่งสำหรับผมทำเรื่องจีนฮ่องกงรวมทั้งไทเปด้วยเป็นการติดต่อกับส่วนการต่างประเทศของเขาคือต้องศึกษาถึงการจัดองค์กรต่างประเทศของประเทศเหล่านี้  

ผมมีครอบครัวแล้วภรรยาก็เขียนหนังสือเช่นกันใช้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรนามปากกา“ นิลุบล” เขียนสารคดีลงในนิตยสารผู้หญิงมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีประวัติอันยาวเช่นขวัญเรือนกุลสตรี ฯลฯ ลูกชายคนโตขณะนี้เรียนอยู่ที่นานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งใจว่าจะให้เรียนทางเศรษฐศาสตร์เมื่อจบการศึกษาแล้วจ ะกลับมาทำงานเมืองไทยแน่นอนลูกคนนี้มีแนวโน้มว่าชอบเขียนหนังสือเช่นกันเพราะเป็นเด็กมีจินตนาการชอบคิดฝันอายุ ๑๖ ปีไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เพราะเสียดายความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งลูกใช้ได้ดีมากเมื่อกลับจากตุรกี (ไปเรียนโรงเรียนนานาชาติเมื่อผมไปทำงานที่นั่น) ที่เลือกประเทศนิวซีแลนด์ เพราะคิดว่าเป็นประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมสิ่งที่จะชักนำให้เด็กเสียมีน้อยและลูกคนนี้ไว้วางใจได้ในเรื่องการดูแลตัวเองส่วนลูกชายที่โรงเรียนคนเล็กอายุ ๑๔ ปีขณะนี้เรียนชั้นมัธยมอัสสัมชันธนบุรีซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน บ้านอยู่ซอยเศรษฐกิจบางแค) ยังไม่ค่อยทราบทิศทางของลูกคนเล็กเพราะยังเล่นสนุกอยู่ถ้าใครไปที่บ้านก็จะพบว่าบ้านเต็มไปด้วยหนังสือเพราะสมาชิกทุกคนในบ้านชอบซื้อหนังสือเข้าบ้านมีความสุขอยู่กับการอ่านงานหนังสือที่มีส่วนช่วยเพิ่มพูนรายได้บ้างพอสมควรเมื่อหนังสือแต่ละเรื่องได้รับการพิมพ์หรือชื่อเรื่องไปทำละครก็จะได้รายได้เป็นระยะๆไป 

ในด้านการเขียนหนังสือนั้นเขียนมานานแล้วผลงานมีไม่มากนักคือเรื่องยาว ๑๒ เรื่องเรื่องสั้นประมาณ ๒๐๐ เรื่อง เรื่องยาวแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาเขียนปีครึ่งถึง ๒ ปี เพราะเมื่อวางพล็อตเรื่องและตัวละครแล้วต้องค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินเรื่องซึ่งต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพิ่มเติมนั่นเองเวลาเขียนมักจะใช้เวลาเช้า ๆ ก่อนออกไปทำงานแต่ละวันเขียนได้ไม่มาก แต่เขียนไปได้เรื่อย ๆ ชีวิตการทำงานในกระทรวงต่างประเทศทำให้ได้เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว แต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยในด้านงานเขียนนักข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆอาจซึมซับไว้บ้าง แต่ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำมาเขียนคงเป็นแค่ผลพลอยได้ข้อมูลที่ช่วยในการเขียนได้มาจากการอ่านหนังสือเป็นหลักอย่างเรื่องต้องกันเรื่องอาหรับศาสนาอิสลามตลอดจนประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ด้วยจริง ๆ แล้วก็ยังไม่เคยไปประเทศแถบนั้นเลยเมื่อเขียนเรื่องลอดลายมังกรที่เขียนก่อนได้ไปประเทศจีนเสียอีกเวลาจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ๆ ก็ตามจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนแล้วจึงสร้างตัวละครผมสนใจธรรมชาติและมีความคิดว่าคนควรมีชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นของสิ่งแวดล้อมอยากให้ทุกคนมีความใฝ่ดี  

ในฐานะพี่อยากจะให้ข้อคิดบางประการกับน้องๆ คือ โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมานานแล้วควรมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนซึ่งมีประวัติอันยาวนานและมีศิษย์เก่าหลายคนที่มีชื่อเสียงมีความสามารถมีผลงานต่อประเทศชาติโชคดีกว่าคนทั่วไปเมื่อมีโอกาสก็ควรรักษาโอกาสนั้นไว้ให้ดีและสืบทอดความดีของรุ่นพี่ที่ผ่านมารุ่นน้องก็เป็นความหวังของรุ่นพี่รุ่นพี่ของบ้านสมเด็จฯ ก็มี แต่จะแก่ไปหมดไปมี แต่รุ่นน้องที่จะอยู่ต่อไปพี่ก็หวังว่าจะมีคนที่จะมาสืบทอดรักษาชื่อเสียงของบ้านสมเด็จฯ ให้ดำรงคงอยู่ชั่วกาลนาน 

นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

ประวัติ  นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล

เกิด ไม่ทราบข้อมูล (ถึงแก่อสัญกรรม)

ศิษย์เก่า 

  • ๒๕๐๖ โรงเรียนอำนวยศิลป์ 
  • ๒๕๐๘ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ๒๕๑๒ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ๒๕๑๓ เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • ๒๕๔๑ ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
  • ๒๕๕๔ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรม / ดูงาน / สัมมนา 

  • ๒๕๒๒ โครงการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติรุ่นที่ ๒ กระทรวงการคลัง  
  • ๒๕๒๒ การบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชารุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.
  • ๒๕๓๒ หลักสูตรภาษีมูลค่าเพิ่มกรมศุลกากร
  • ๒๕๓๒ ระบบราคา GATT กรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ Working Visit ณ สำนักงานใหญ่ ประชาคมยุโรป และ ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป
  • ๒๕๓๖ นักบริหารระดับสูงหลักสูตรที่ ๑ รุ่นที่ ๑๒ สำนักงาน ก.พ. 
  • ๒๕๓๗ ดูงานศุลกากรด้าน TRADE FREEZONE ณ ประเทศดูไบ
  • ๒๕๓๗ ดูงานด้านศุลกากร ณ ประเทศญี่ปุ่น 
  • ๒๕๓๙ ประชุมอธิบดีศุลกากรกลุ่มประเทศเอเชีย-ยุโรป ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ๒๕๓๙ หารือข้อราชการเกี่ยวกับการศุลกากร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน-๒๕๓๙ คอมพิวเตอร์สำหรับ
  • ๒๕๔๒ ผู้บริหารกรมศุลกากรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) รุ่นที่ ๒ สำนักงาน ก.พ.

ตำแหน่งในอดีต 

  •  ๒๕๒๗ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาเข้ากรมศุลกากร 
  • ๒๕๒๙ ผู้อำนวยการกองตรวจสินค้าขาออกกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๐ ผู้อำนวยการกองเก็บอากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๓ สารวัตรศุลกากร ๘ การบริหารราชการส่วนกลาง 
  • ๒๕๓๔ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๕ ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามกรมศุลกากร 
  • ๒๕๓๘ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปรามกรมศุลกากร  
  • ๒๕๔๐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๑ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต 
  • ๒๕๔๓ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง 
  • ๒๕๔๕ รองปลัดกระทรวงการคลัง 

ประวัติและผลงาน

คุณชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นคนจังหวัดระยอง ครอบครัวมีฐานะลำบากยากจน แต่เรียนดีจึงรับทุนเรียนที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในระดับปกศ.ต้น สิ่งที่คุณชวลิต รำลึกถึงมากที่สุดระหว่างที่เรียนในวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ“ ห้องสมุด (ขณะนั้นห้องสมุดเดิมเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นตั้งอยู่บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติหรืออาคารในปัจจุบันผู้สัมภาษณ์) เนื่องจากไม่มีสตางค์ที่จะซื้ออาหารกลางวันในมื้อเที่ยงจึงรับประทานน้ำก๊อกแทนอาหารและเพื่อไม่ให้ว่างจึงเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือทั้งอ่านและยืมหนังสือมากเรียกว่าเกือบทุกเล่มที่มีในห้องสมุดบัตรยืมหนังสือเปลี่ยนบ่อยมากและเป็นคนส่งหนังสือตรงเวลา ความที่เป็นคนรักการอ่านจึงได้อ่านตำราของ พระยาอุปกิตศิลปะสารเกี่ยวกับตำราไวยากรณ์หรือวรรณคดีไทยทั้งหมด จนสามารถสอบผ่านวิชาวรรณคดีไทยที่ ถือว่ายากและน่าเบื่อที่สุดในสมัยนั้นมาได้ด้วยเกรด ๔ ทำให้ได้คะแนนเฉลี่ยดีขึ้นมากจบการศึกษาระดับ ป.กศ.ต้น ได้เป็นลำดับที่ ๓ ด้วยเกรดเฉลี่ย ๓.๗๕ และได้รับสิทธิ์ในการเรียนต่อ ป.กศ.สูง โดยอัตโนมัติไม่ต้องสอบคัดเลือกในส่วนของงานกิจกรรม จะไม่ค่อยได้ร่วมเนื่องจากมุ่งมั่นในการอ่านหนังสือตำรามากกว่า 

จุดมุ่งหมายในชีวิตคือการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงที่ฝึกสอนได้ไปฝึกที่โรงเรียนวัดแถว ๆ บุคคโลกลางวันฝึกสอนกลางคืนดูหนังสือตั้งแต่ ๑ ทุ่มถึงเที่ยงคืนทุกวันหนังหรือละครไม่เคยดูเลยเพราะตั้งใจเตรียมตัวสอบเอ็นทรานส์ เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์การเรียนวิทยาลัยครูจะมีจุดด้อยกว่าผู้ที่เรียนสายศิลป์หรือสายวิทยาศาสตร์มาวิชาที่ไม่สันทัดนัก คือวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับคนที่มีฐานะอาจจะไปเรียนเสริมพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ แต่สำหรับตัวเองแล้วไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จึงขอให้เพื่อนเป็นครูช่วยติววิชาคณิตศาสตร์ให้ซึ่งเพื่อนก็ยินดีผลปรากฏว่าสามารถสอบเข้าได้ แต่เพื่อนสอบเข้าไม่ได้เพราะเพื่อนมีความถนัดวิชาคณิตศาสตร์วิชาเดียว แต่วิชาอื่นไม่ถนัดส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้น มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศหรือศูนย์ภาษาใด ๆ แต่อาศัยความกล้าและความ“ ไม่กลัวโง่” กล่าวคือการไม่อายหรือไม่กลัวเสียเกียรติภูมิที่จะถามผู้รู้เป็นคนช่างสังเกต ช่างจดจำ จนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี 

หลังจากสอบเอ็นทรานส์เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ได้กลับบ้านเกิดที่ระยอง และบอกเพื่อนให้แจ้งผลการสอบให้ทราบทางโทรเลข เพื่อนไปดูผลการสอบแล้วไม่พบเนื่องจากชื่ออยู่ด้านล่าง ซึ่งขอบกระดานปิดทับอยู่หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็นคิดว่าคงสอบไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะถึงอย่างไรก็สามารถกลับไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในระดับป. กศ. สูงได้ แต่คงเป็นเพราะดวงดีมีเพื่อนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ชวนให้เข้ากรุงเทพฯด้วยเพราะเพื่อนไม่เคยมากรุงเทพฯ จึงทราบจากเพื่อนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยกัน แต่สอบไม่ได้ไปดูผลสอบให้ในเวลากลางคืนใช้ไฟฉายส่องดูอย่างละเอียด จึงพบชื่อคุณชวลิตอยู่ขอบล่างของกระดาน ทราบผลสอบเป็นวันที่ต้องไปสอบสัมภาษณ์มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ เสื้อผ้าไม่ได้เตรียมมา จึงยืมเสื้อเชิ้ตของเพื่อนเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ในเวลาวันนาฬิกาที่คณะนิติศาสตร์ และก็สามารถสอบผ่านเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามความมุ่งหวัง ซึ่งถือว่าเป็นจุดหักเหในชีวิตอย่างมากว่าหากไม่บังเอิญเพื่อนชวนเข้ากรุงเทพฯ วิถีชีวิตก็คงดำเนินไปอีกรูปแบบหนึ่ง ภายหลังทราบว่ามีเพื่อนจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยารุ่นเดียวกัน มาสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รวมทั้งหมด ๔ คน 

เรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเกียรตินิยมเหรียญเงิน เหตุที่ไม่ได้เหรียญทอง เนื่องจากสอบตกวิชา “หนี้” ของอาจารย์กำธร พันธุลาภ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด ทั้งมหาวิทยาลัยสอบเพียง ๓ ออกเป็นสามชั้นจรดปากกาไม่ลงพอปี ต่อมาลงเรียนวิชานี้อีกครั้งหนึ่งและก็สามารถ ๑๗ คนเท่านั้นข้อสอบมี ๓ ข้อข้อ ๑ และข้อ ๒ ทำได้ แต่ข้อซึ่งแบ่งเป็นสอบผ่านไปได้ด้วยคะแนน ๖๕ แต้มหลังจากจบนิติศาสตร์แล้วได้ไปสอบเรียนเนติบัณฑิตต่ออีก 5 ปีจบแล้วมีการสอบ ๒ ภาคสมัยนั้นต้องสอบผ่านทั้ง ๒ ภาคจึงจะมีสิทธิ์สอบปากเปล่าได้ แต่ปัจจุบันสามารถสอบทีละภาค ได้กรรมการสอบเป็นคุณหลวงคุณพระทั้งสิ้น คำถามจะถามเกี่ยวกับความแม่นยำของข้อกฎหมาย และ คำถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อกฎหมายต่างๆสอบในห้องประชุม มีการกันผู้เข้าสอบไม่ให้พบหน้ากัน เพื่อไม่ให้ข้อสอบรั่วไหลท่านเป็นเนติบัณฑิตรุ่นที่ ๒๓ แต่ละรุ่นมีผู้สอบเป็นจำนวนพันคน แต่สอบได้รุ่นละ ๒๓-๒๔ คนเท่านั้นสมัยก่อนนั้นในหลวงและพระราชินี จะเป็นผู้พระราชทานประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตยสภาเพราะจำนวนบัณฑิตยังไม่มากนักพิธี จัดขึ้นที่ห้องนภาลัยโรงแรมดุสิตธานีโดยมีการร่วมโต๊ะเสวย ก่อนความที่เป็นเด็กบ้านนอกยังไม่คุ้นกับการรับประทานอาหารในโรงแรม จึงถามเพื่อนข้างๆว่าทานอย่างไร เพราะซ้อนส้อมมีดวางเรียงรายมากมายเพื่อนบอกว่าให้สังเกตพระราชินีท่านเสวยอย่างไร เราก็ทำตามการรับประทานอาหารจึงผ่านมาได้ด้วยดีหลังจากนั้นในหลวง และพระราชินีทรงฉายพระรูปร่วมกับบัณฑิต และมีพิธีมอบประกาศนียบัตรเป็นลำดับสุดท้ายเริ่มงานที่กรมศุลกากรด้วยความบังเอิญไม่เคยรู้จัก หน่วยงานนี้มาก่อนเพื่อนเป็นตำรวจชวนมาสอบตอนนั้นสอบไว้ ๓ แห่งคือที่กรมบังคับคดีกรมคุมประพฤติและศาลคดีเด็กและเยาวชน แต่กรมศุลกากรเรียกตัวก่อนเหตุที่สอบเข้าได้เพราะ“ ดูหนังสือหนักฎีกาต่างๆแม่นมากไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญางานแรกอยู่กองสืบราชการลับได้เรียนรู้ทุกอย่างจากจุดนั้น และไต่เต้าจากตำแหน่งต่างๆเติบโตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ชีวิตการทำงานก็ไม่ได้ราบรื่นเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบประสบวิบากกรรมในชีวิตมาก็มากโดนฟ้องร้อง ให้ออกจากราชการก็เคยเรียกว่าประสบการณ์“ โชคเลือด” เลยทีเดียวกรมศุลกากรกว่าจะขึ้นมาได้แต่ละซีนั้นลำบากมาก แต่ในที่สุดก็ฝ่าฟันมาได้จนถึงปัจจุบันการทำงานที่กรมศุลกากรให้ทุกอย่างในชีวิตทั้งทรัพย์สินเงินทองที่เป็นรางวัลจากการมุมานะบากบั่น ในการทำงานตลอดจนเกียรติยศชื่อเสียง จากชีวิตเด็กชนบทยากจนคนหนึ่งสามารถสร้างตัวจนเจริญก้าวหน้าได้ จนถึงปัจจุบันมิใช่เพราะโชคช่วย แต่เกิดจากความวิริยะอุตสาหะโดยเฉพาะในด้าน“ การอ่านและรู้แหล่งการเรียนรู้ที่ตนควร“ โคจร” ไปเพื่ออนาคตอันสดใสนั่นคือ“ ห้องสมุด” ซึ่งท่านเน้นในระหว่างการสนทนาอยู่เสมอว่า“ ผมได้ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดอย่างมากจริงๆ” นี่คือบทสรุปสุดท้ายของอดีต“ ลูกสุริยะ” คนหนึ่งที่สามารถ“ ตามฝัน” ด้วยความสามารถของตนได้อย่างสมภาคภูมิ