ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา (๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘–ปัจจุบัน)

ชื่อ – สกุล:  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลินดา เกณฑ์มา 

หน่วยงานที่สังกัด : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชามนุษยศาสตร์และศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ตำแหน่งวิชาการ/ชำนาญการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (สาขาวิชาภาษาไทย) 

ตำแหน่งปัจจุบัน 

  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๖) 
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ธ.ค. ๒๕๖๔ – ธ.ค.๒๕๖๖) 
  • นายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  • คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร (กศจ.) 
  • คณะกรรมการการยกระดับคุณภาพการศึกษา กรุงเทพมหานคร 
  • คณะอนุกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) (พ.ศ.๒๕๖๔ – ปัจจุบัน) 
  • คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันการศึกษา (กพอ.) (พ.ศ.๒๕๖๔ – ปัจจุบัน) 
  • อนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา 
  • คณะทำงานดาเนินงานโครงการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการ กับการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน  กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

การศึกษา 

• ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 

• ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

ลำดับที่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ได้รับ 
ต.ม. : ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (112) 5 ธ.ค. 2537 
ต.ช. : ตริตาภรณ์ช้างเผือก (104) 5 ธ.ค. 2539 
ท.ม. : ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (111) 5 ธ.ค. 2541 
ท.ช. : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (103) 5 ธ.ค. 2545 
ร.จ.พ. : เหรียญจักรพรรดิมาลา (117) 5 ธ.ค. 2551 

ข้อมูลด้านวิชาการ 

  1. วุฒิการศึกษา 
  • ปริญญาตรี คุณวุฒิ : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (ภาษาไทย) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

  • ปริญญาโท คุณวุฒิ : การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) (ภาษาและวรรณคดีไทย) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 

  • ประกาศนียบัตรหลังปริญญาโท (๑ ปี) : หลักสูตร ความเป็นผู้นำทางการศึกษา โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • ปริญญาเอก คุณวุฒิ : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) 

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

  1. ผลงานทางด้านวิชาการและด้านงานวิจัย  

ผลงานด้านวิชาการและงานวิจัย 
เอกสารประกอบการสอน 
____________. (2550). ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และการจัดการความรู้ (Thai for Learning and Knowledge Management) ผู้เขียนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 
____________. (2551). ภาษาไทยธุรกิจ (Usage of Thai Language in Business). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 
____________. (2552). การฟังและการพูดเพื่อสัมฤทธิผล (Listening and Speaking for Achievement). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 

____________. (2561). วาทศาสตร์ (Rhetoric). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด 

งานวิจัย 
____________. (2550). ศักยภาพของการเป็นชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าสัก ตำบลดาวเรือง  
อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 
____________. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริม จิตสำนึกต่อการส่วนร่วมในสังคม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ 
เจ้าพระยา. 
____________. (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับคนไทยในต่างประเทศ (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม. 
____________. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2560). รูปแบบการมีส่วนร่วมของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (วิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันการสร้างชาติ (NBI). 

____________. (2560).รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (วิจัยร่วม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2561). ภาพสะท้อนความรุนแรงในครอบครัวจากละครโทรทัศน์ไทยช่วงปี 2559 – 2560 (วิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

____________. (2562). การประเมินโครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัยเข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 

  1. ประสบการณ์การอบรม และศึกษาดูงาน 
  • การฝึกอบรมด้านการบริหาร อาทิ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ธรรมภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา สถาบันคลังสมอง  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ การบริหารความขัดแย้งในมหาวิทยาลัย สถาบันครั้งสมอง  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติรุ่นที่ 2 สถาบันสร้างชาติ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 รุ่นที่ 2 ก.พ.ร. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ การประเมินคุณภาพภายนอกระดับมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 1 สมศ. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ การประเมินผู้ประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สกอ. 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ การเป็นผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร สกอ.  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ พัฒนาศักยภาพ ภาษาอังกฤษ (Business English G3) GLOBISH ACADEMIA (THAILAND)  
  1. การฝึกอบรมด้านการพัฒนาทักษะสื่อสาร อาทิ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ The Intensive English Presentation Workshop (45 hrs.) EDENZ Auckland New Zealand. 2015  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ The English Communication Skill Development for Executives (Upper-Intermediate) (60 hrs.) ECC Institute (Siam Paragon Branch) Thailand. 20-27/05/2015  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ International Business Communication Skills for University Leaders (18 hrs.) Phoenix Academy Australia. 27-29/07/2017  
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ Effective Academic Communications and Public Speaking (36 hrs.) House of Griffin International Thailand. 9-22/06/2019 

การศึกษาดูงานต่างประเทศ อาทิ 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศึกษาดูงานด้านบทบาทสภาวิชาการและสภามหาวิทยาลัย ณ Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศึกษาดูงานด้านการจัดตั้งวิทยาลัยการดนตรี ณ Yong Conservatory of Music School ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ณ National Pingtung University (NPTU) ประเทศไต้หวัน 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะ ภาษาด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัย / หน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านภาษา ณ Edith Cowan University ประเทศออสเตรเลีย 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดองค์กร และการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์และเยี่ยมชมสตูดิโอที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ณ Dong-Ah Institute of Media and Arts ร่วมกับคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดการองค์กร และด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ณ Yunnan Around Asia International Education Center (YAAE) Lijiang Teachers College (LJ-EDU) ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสร้างสรรค์ โครงการเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีสากลสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล และร่วมชมการแข่งขันผลิตผลงานแอนิเมชั่นนานาชาติ ของนักศึกษาสาขาแอนนิเมชั่นฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในงาน International Animation Challenge 2019 ณ Rubika ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ 

ตอนที่ ๓ ตำแหน่งและผลสำเร็จการศึกษาด้านบริหาร  

การบริหารงานอุดมศึกษา ในตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ ๑) ด้านการบริหารจัดการ ๒) ด้านการพัฒนาบุคลากร ๓) ด้านคุณภาพบัณฑิต ๔) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ และ ๕) ด้านการบริหารงานด้านอื่นๆ 

  1. ด้านการบริหารจัดการ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต จำนวน ๑๖๓,๙๖๐,๐๐๐ บาท และอาคารเรียนรวม ๑๒ ชั้น จำนวน ๑๓๔,๗๗๐,๐๐๐ บาท และได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายใต้พื้นที่จำกัดให้เป็นระเบียบ เพิ่มโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ตลอดจนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน และสวัสดิการแก่บุคลากร และนักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาปรับโครงสร้างอาคารและหน่วยงานใหม่ได้สำเร็จ อาทิ โรงเรียนสาธิต บ้านพักรับรอง(โรงแรม) วิทยาลัยการดนตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานสภา ศูนย์ภาษา โรงพิมพ์และศูนย์หนังสือ ศูนย์สนับสนุนนักศึกษาพิการ DSS (Disability Support Services) ศูนย์เรียนรู้ธนบุรีศึกษา และศูนย์อาหาร เป็นต้น 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ด้านการบริหารจัดการองค์กรให้ทันสนมัย เอื้อต่อการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ และบุคลากรให้ก้าวหน้าและมั่นคงในสายงาน ตลอดจนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้สำเร็จ ไม่น้อยกว่า ๗๐ ฉบับ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) จากสำนักงานคณะกรรมการป้องการและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้นำพามหาวิทยาลัยมีคะแนนเป็น อันดับที่ ๑ ของประเทศจากจำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมประเมินจำนวน ๘๙ มหาวิทยาลัย ต่อเนื่องถึง ๒ ปี (ได้คะแนน ๘๗.๗๑ และ ๙๓.๕๗ ตามลำดับ 
  • ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับการจัดอันดับ โดย Cybermetrics แห่งสภาวิจัย (CSIC) จากประเทศสเปนให้อยู่ใน ลำดับที่ ๑๒-๑๓ ในจำนวนราชภัฏ ๓๘ แห่ง (จากลำดับที่ ๒๐ –๒๑ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗) และได้รับการจัดลำดับ เว็บไซต์โดย UniRank หรือ 4International Colleges and Universities 2019 ให้อยู่ใน ลำดับที่ ๔๗ ของประเทศในจำนวน ๑๕๗ แห่ง (จากลำดับที่ ๗๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓) 

๒. ด้านการพัฒนาบุคลากร 

  • ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ คณาจารย์ได้รับการส่วเสริมให้พัฒนาศักยภาพทางวิชาการและมีตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นได้ มากที่สุด ถึงร้อยละ ๔๘.๗๓ (ข้อมูลเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ (จากร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘  และในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการพัฒนาให้เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจำนวน ๙ คน และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ คณาจารย์และบุคลากรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ศึกษาอบรม ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศอย่างทั่วถึง มีอาจารย์ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการนำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย ระดับชาติไม่น้อยกว่า ๖๐ รางวัล 

. ด้านคุณภาพบัณฑิต 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ บัณฑิตด้านครุศาสตร์สอบครูคืนถิ่นได้มากเป็นอันดับที่ ๓ ของประเทศ ในปี    พ.ศ. ๒๕๖๑ และภาพรวมปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สอบรับราชการได้สูงถึง ร้อยละ ๗๘ 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพจนได้เป็น ๑ ใน ๓๗ หลักสูตรของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสภาวิชาชีพให้เป็นหลักสูตรคุณภาพดีมาก 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ –  ๒๕๖๒ นักศึกษาได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาแบบให้เปล่าปีละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ทุน และสนับสนุนให้เข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ ได้รับรางวัลการประกวดแข่งขันทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติไม่น้อยกว่า ๑๐๐ รางวัล 
  • ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวนนักศึกษาสมัครเรียน ๓,๒๐๐ คน โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน ต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทั้งสิ้น ๑๘,๖๘๗ คน) 

. ด้านเครือข่ายความร่วมมือ 

  • ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ได้ร่วมมือสถาบันขงจื้อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาดำเนินงานด้านการสอนและอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทั้งภายในและภายนอก จนได้รับรางวัลสถาบันขงจื้อ ยอดเยี่ยมระดับโลกถึง ๓ ครั้ง ในรอบ ๑๐ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ ได้รับรางวัลศูนย์สอบภาษาจีนยอดเยี่ยมระดับชาติ 
  •  ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐเอกชน และประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศ และได้เข้ามาให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เครือข่าย ตลอดจนมีเครือข่ายศิษย์เก่าเข้ามาให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยมากท่สุดเป็นประวัติการณ์ 

. ด้านการบริหารงานอื่นๆ 

  1. ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มกรุงเทพฯ 

พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นเจ้าภาพการจัดงาน เนื่องในวัน “ครบรอบ ๑๒๔ ปี การสถาปนาการฝึกหัดครูไทย และคล้ายวันสถาปนากรมการฝึกหัดครู” 

พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นเจ้าภาพการจัดงาน ต้อนรับ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในการเข้าตรวจเยี่ยม และติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มกรุงเทพมหานคร เพื่อติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การผลิต และพัฒนาครู 

พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ เป็นคณะกรรมการกลุ่มร่างยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระยะ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวางแผนการดำเนินงาน เครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มกรุงเทพฯ และกรุงเทพมหานคร 

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นเจ้าภาพ และทำโคงการจิตอาสา “เฉลิมพระเกียรติ ทำดีด้วยหัวใจ” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖๗ ปี พรรษา พระบามสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มกรุงเทพฯ และกรุงเทพมหานคร 

  1. นายกสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้ารพยาในพะรราชูปถัมภ์ 

พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ จัดงานคืนสู่เหย้า “สานสายใยรวมใจลูกสุริยะ” เพื่อประกาศยกย่อง ศิษย์เก่าดีเด่น และสร้าง/ขยายเครือข่ายศิษย์เก่าให้กว้างขวางอย่างต่อเนื่องทุกปี 

พ.ศ.๒๘๘๕ – ๒๕๖๒ มอบทุนการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษาทุกปี ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ บาท และเป็นตัวแทนศิษย์เก่าบริจาคเงินและร่วมงานการกุศล ตลอดจนเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง 

ประสานสัมพันธ์ เครือข่ายศิษย์เก่า และประชุมคณะกรรมการการบริหารสมาคมฯ เพื่อวางแผนการดำเนินกิจการสมาคมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ ๖ ครั้ง 

เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๘ ประจำปี ๒๕๖๐ ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานคร) ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

  1. คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร 

ร่วมประชุมวางแผนและให้ข้อเสนอแนะนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษาอย่างน้อยปีละ ๘ ครั้ง ตอนที่ ๔ วิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการบริหารและพัฒนามหาวิทยา และการตั้งเป้าหมายของแต่ละบุคคลในองศ์กรให้สอดคล้องร่วมกัน (Objectives and Key Results : OKR) 

เปิดแผนการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็น SMART University 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา  เกณฑมา อธิการบดี 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้มีการพัฒนา ทบทวน และปรับปรุงแผนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมในโลกยุคดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการปรับวิสัยทัศน์ นโยบาย และทำแผนยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมทุกมิติมากยิ่งขึ้น เพื่อนำพามหาวิทยาลัยก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง เน้นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในอนาคตบนเส้นทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และศักยภาพที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัย ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ว่า  “มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในด้านการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การดนตรี อุตสาหกรรมบริการ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล”   

หลักการสำคัญที่นำมากำหนดเป็นนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในช่วง ๒๕๕๗-ปัจจุบัน (๒๕๖๔) ได้แก่การวิเคราะห์กรอบแผนยุทธศาสตร์ของชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)  แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579  แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐  พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗  พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒  และ กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทบทวนและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช  
สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นให้สถาบันราชภัฏทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม  

เป้าหมายหลักของแผนคือ การมุ่งพัฒนามหาวิทยาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ  (SMART University) 3 ประการ ได้แก่ SMART university SMART instructor  และ SMART Leaner ซึ่งหมายถึง 1. การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ  2. การมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูง  และ 3. การสร้างบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์เหมาะสมแห่งยุคศตวรรษที่ 21  ทั้งนี้  ภารกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องมุ่งให้เกิดความ SMART ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร  สภาพความเป็นอยู่  สถานที่ ห้องเรียน  คณาจารย์และบุคลากร การจัดการเรียนการสอน เครื่องมืออุปกรณ์การสอน  ระบบการให้บริการ  เทคโนโลยี รวมถึงนักศึกษา  การดำเนินโครงการและกิจกรรมต้องมีการกำหนดเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน (Specific) สามารถวัดผลได้ (Measurable) อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ (Achievable) สอดรับกันทั้งมหาวิทยาลัย (Relevant) และมีกรอบเวลาที่กำหนดไว้ (Time-bound) อย่างชัดเจน                               

แนวคิดในทำงานคือ “การสืบสานงานเดิม ส่งเสริมงานใหม่ สร้างความมั่นใจสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตที่มีคุณภาพ”   งานเดิม ได้แก่ งานตามแผนยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติภารกิจนำศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่มีสู่การพัฒนาท้องถิ่น และการน้อมนำพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมุ่งหมายให้การศึกษาสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะ  
4 ประการ มาปฏิบัติให้ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  งานใหม่   ได้แก่ งานปฏิรูปยกระดับมหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่สร้างบัณฑิต   สร้างวิจัย และสร้างนวัตกรรม   ให้สอดคล้องกับบทบาทของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาภายใต้เศรษฐกิจกระแสใหม่ ในยุค Thailand 4.0 ตามนโยบายของภาครัฐ 

 นโยบายและแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำพามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นการเป็น SMART University ประกอบไปด้วย นโยบาย 5 ยก ได้แก่ 1. ยกระดับคุณภาพการศึกษาของ บัณฑิตอย่างมืออาชีพ  (Professional Learning)  2. ยกระดับการสร้างองค์ความรู้/วิจัย (Area-based Research)  3. ยกระดับการบริการและพัฒนาท้องถิ่น (Local Development)  4. ยกระดับการเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม (Cultural Preservation) และ  
5. ยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยยุคใหม่ (Modern Management)  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบัณฑิตให้สมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะทางสังคม และทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 โดยมีผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การสร้างพลเมืองที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ (Learner Person) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-Creator ) และ พลเมืองที่เข้มแข็งเพื่อสันติสุขของสังคม (Active Citizen)    

นโยบายและแนวทางในการดำเนินงานในแต่ละด้านมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ 

ด้านที่ 1.  การยกระดับคุณภาพการศึกษาของบัณฑิต อย่างมืออาชีพ   (Professional Learning) เป้าหมายด้านนี้คือการสร้าง SMART Student ,  Learner หรือ บัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อมด้วยศาสตร์ ศิลป์ และคุณธรรม และมีอัตลักษณ์เฉพาะของมหาวิทยาลัย ที่เน้นการสร้างบัณฑิต ให้มี จิตสาธารณะ ทักษะสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี  มีความเป็นไทย มีวินัยและเข้าใจหลักสากล  และพร้อมด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพลเมืองในยุคศตวรรษที่ 21   โดยใช้แนวคิด 4 ป. ได้แก่ ปรับ  เปลี่ยน  ปลด  และเปิด    

ปรับ  1 ปรับเพิ่มหลักสูตรความเป็นเลิศ หรือหลักสูตรโดดเด่นที่สอดรับกับศักยภาพของมหาวิทยาลัยทุกระดับ ในรูปแบบที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนได้มากขึ้น อาทิ หลักสูตรนานาชาติ  หลักสูตรความร่วมมือลักษณะ Dual Study Program  หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ และ หลักสูตรฝึกทักษะระยะสั้นเพื่อการ Up-Skill,  Re-Skill, New-Skill   ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างหลักสูตร MOOCs ที่ผู้เรียนสามารถนำมาเทียบโอนหน่วยกิตได้                                                                               

ปรับ  2 ปรับ ลด ยุบ ควบรวมหลักสูตรที่ล้าสมัยที่ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้จบออกไปประกอบอาชีพที่สอดรับกับความต้องการของสังคมได้ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะกำลังคนที่มีความสามารถหรือทักษะใหม่จำนวนเพิ่มมากขึ้น  

ปรับ 3  ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  สิ่งเอื้ออำนวยความสะดวก  สภาพแวดล้อม และปรับภูมิทัศน์ ปรับเสริมเพิ่มเติมอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ ให้เหมาะสมกับแนวคิดการจัดการศึกษาในยุคดิจิตัลที่เน้นการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาและทักษะใหม่เพื่อการยกระดับคุณภาพของหลักสูตร และการเรียนการสอนให้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปรับ 4  ปรับศักยภาพอาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญรองรับภาระงานและหลักสูตรใหม่ๆ ส่งเสริมให้อาจารย์สร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิตัลที่ทันสมัย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนให้มากขึ้น 

เปลี่ยน 1. เปลี่ยนรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนในทุกหลักสูตรให้ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล เน้นความทันสมัยและยืดหยุ่นสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป กำหนดให้สอนแบบ  Active Learning  เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง อาทิ  การเรียนรู้การทำงานในลักษณะบูรณาการ (Work Integrated Learning)  สหกิจศึกษา (Co-operative Education) และ การเรียนรู้ด้วยการให้บริการสังคม (Service Learning) เน้นรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ (Massive Open Courses : MOOCs) ให้มากขึ้น 

เปลี่ยน 2. เปลี่ยนแนวคิดหรือวิธีการทำงานที่คุ้นเคยกับการใช้เฉพาะอาจารย์และบุคลากรในหลักสูตรเท่านั้น มาเป็นการเน้นความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เชี่ยวชาญ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการการศึกษาในเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อสร้างความ SMART และสร้างมูลค่าเพิ่มให้บัณฑิตแตกต่างจากที่อื่น     

ปลด 1. ปลดล็อคอุปสรรคระหว่างคณะ หน่วยงาน และองค์กรเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัย และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ด้วยการแก้ไขประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานในเชิงรุกและพัฒนาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความถูกต้องและประสิทธิภาพประสิทธิผลด้านการใช้จ่ายงบประมาณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อาทิ ระเบียบการเทียบโอนหน่วยกิต  Credit Bank / Co-operative Learning  ข้อบังคับเรื่องภาระงาน  และข้อบังคับการจัดการศึกษา ที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น                                                                                  

เปิด 1 เปิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีโอกาสเรียนรู้โดยไม่มีข้อจำกัด สามารถเรียนรู้ได้หลายช่องทางมากขึ้น ทั้งการเรียนในระบบเพื่อเป้าหมายใบปริญญาบัตร  และการเรียนนอกระบบที่ผู้เรียนมุ่งพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการงานทำงาน โดยเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิตัลที่ทันสมัย    

เปิด 2.  เปิดโลกทัศน์เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานของคณาจารย์และบุคลากร โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาและการบริหารงานยุคใหม่ ที่นำระบบดิจิตอลและนำข้อมูลเข้ามาใช้ในการทำงาน  
การจัดการเรียนการสอน การตัดสินใจและอำนวยความสะดวกมากขึ้น    

เปิด 3. เปิดแนวคิดการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนงานแบบจตุรภาคี   (Quadruple Helix)   เน้นการผนึกกำลังทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน สังคม และมหาวิทยาลัยในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเปิดกว้างขยายรับเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ด้านที่ 2    การยกระดับการสร้างองค์ความรู้และการสร้างงานวิจัย (Area-based Research) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นมหาวิทยาลัยที่ประเมินตนเองอยู่ในกลุ่ม ที่ 3  หรือกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบัน  ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยตอบโจทย์เชิงพื้นที่ (ตาม พรบ. 2547) ทิศทางของงานวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่งานวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมของประชนในท้องถิ่น เป้าหมายของนโยบายด้านนี้คือ การสร้างงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล   ชุมชนได้รับการพัฒนา มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับ   ยกระดับคุณภาพทุกมิติ   แนวทางที่สำคัญของการดำเนินงานด้านนี้ได้แก่       

1. ส่งเสริมและสร้างนักวิจัยระดับสูงให้มีในทุกหลักสูตรด้วยระบบพี่เลี้ยง   (Mentor in Residence)  
ตั้งคณะกรรมการให้คำปรึกษาอย่างครบวงจร เน้นการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา และส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนให้มากขึ้น                 

 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มอาจารย์ทำวิจัยเชิงพื้นที่ในลักษณะการบูรณาการระหว่างศาสตร์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในรูปโครงการความร่วมมือวิจัย มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายศึกษาและหาข้อมูล (Area-Based)   ปรับทิศทางการสร้างงานวิจัยเชิงระบบที่สอดรับกับศักยภาพ สามารถนำไปแก้ปัญหา หรือพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง          

3. ดำเนินการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ซึ่งเป็นแหล่งทุนสนับสนุน (Sources of Funding ) ทั้งในรูปแบบทุนระยะยาว (Multiyear) และระยะสั้น เน้นดำเนินการวิจัยร่วมกับภาคีเครือข่าย 
จตุรภาคีทุกภาคส่วน  และส่งเสริมสนับสนุนให้แปลงงานวิจัยเป็นนวัตกรรม เพื่อนำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม    

4  พัฒนาฐานข้อมูล การจัดเก็บ การจดลิขสิทธิ์ การจดสิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา และการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ การเผยแพร่ผลงาน ตลอดจนการร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศจัดเวทีนำเสนอผลงาน สร้างฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านคลังปัญญา  

ด้านที่ 3    การยกระดับการบริการวิชาการและการพัฒนาท้องถิ่น (Local Development)  มุ่งการบริการวิชาการทั้งในรูปแบบให้เปล่า  และแบบสร้างรายได้    ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ทุกหลักสูตร   กำหนดให้อาจารย์ใช้ท้องถิ่นเป็นห้องเรียนและห้องฝึกปฏิบัติการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้แก่นักศึกษา  เน้นการร่วมมือกันกับชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมชุมชน  นวัตกรรมมวลชน และนวัตกรรมแก้จน  จากงานวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแนวคิด SEP for SDG :  Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development Goals  ซึ่งในแต่ละปี มหาวิทยาลัยได้นำเสนอแผนเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ ปีละไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการบริการวิชาการลงสู่ท้องถิ่น ในการแก้ปัญหาการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รับผิดชอบ ใน กรุงเทพมหานคร 16  เขต และในต่างจังหวัด 2 แห่งได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร และ จังหวัดสุพรรณบุรี   โดยยึดแนวทางการทำงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเข้าถึงมวลชน  ( Bottom up)  ร่วมคิดค้นโครงการ (Top down) และ ประสานเครือข่ายนักพัฒนา (Relationship) 

ด้านที่ 4  การยกระดับการเป็นผู้นำด้านอนุรักษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย  (Cultural Preservation)   นโยบายด้านนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่น คิดค้นนวัตกรรมด้วยการใช้รากฐานทางวัฒนธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy )   แนวทางการดำเนินงานได้แก่     
1. ส่งเสริมการสร้างหลักสูตร การจัดโครงการ กิจกรรม งานวิจัย และนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีความรักในศิลปวัฒนธรรมไทย    

2. ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นด้านความเป็นผู้นำด้านการแสดงศิลปวัฒนธรรม และด้านการดนตรีเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม และเพิ่มแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยที่ทันสมัยและหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น 

3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ท้องถิ่น ด้วยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องไปให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม  

                                                                                                                                  ด้านที่ 5  การยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยยุคใหม่ (Modern Management) เป้าหมายคือการสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็น SMART University ด้วยหลักธรรมาภิบาล  แนวทางสำคัญที่ต้องเร่งยกระดับด้านนี้ 3 เรื่อง ได้แก่   

  1 ด้านปัจจัยพื้นฐาน 3 ประการได้แก่ การบริหารจัดการ งบประมาณ ได้นำแนวคิด งด ลด ยกเลิก และทบทวน เข้ามาใช้ในการวางแผนการใช้จ่ายให้เพียงพอตามภารกิจให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด    การวางแผนจัดหารายได้จากความ โดดเด่น และศักยภาพของอาจารย์ ด้วยการดำเนินโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้จากงบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และการรับทำวิจัยจากแหล่งทุนสนับสนุนนภายนอก เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น  นำระบบดิจิตัลเข้ามาช่วย ควบคุม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่าง โปร่งใส   การบริหารด้านบุคลากร  เน้นการสร้างระบบคัดเลือกคนดี คนเก่ง การส่งเสริมพัฒนา การรักษาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในสายงาน  การพัฒนากองทุนสวัสดิการให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง  
แก่บุคลากร และ ในส่วนของสภาพแวดล้อม  เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือสื่อการเรียนการสอน และสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกที่จำเป็น  การปรับปรุงอาคารสถานที่ และปรับสภาพภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้สะอาด ทันสมัย พร้อมต่อการใช้งาน ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ของการพัฒนา มีการนำระบบเทคโนโลยีและระบบดิจิตัลเข้ามาใช้ให้ครอบคลุมทุกภารกิจ เพื่อให้เป็น SMART University อย่างแท้จริง                                                                                                                 

การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนในรูปแบบจตุรภาคี  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศ อยู่แล้วมากกว่า 100 เครือข่าย   
มหาวิทยาลัยมุ่งเน้น การนำองค์กรเครือข่ายเข้ามาร่วมออกแบบหลักสูตรสัมมนาแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ร่วมการทำวิจัย ประชุม และร่วมจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เข้มข้นมากขึ้น รวมถึง การจัดทำ Co-operative Education /Learning  กับองค์กร และมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพโดดเด่นเพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น   

3. การเร่งสร้างค่านิยมองค์กร MORALITY  การสร้างความตระหนักให้บุคลากรยึดค่านิยมองค์กรให้ถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างองค์กรแห่งคุณภาพได้อย่างแท้จริง การเน้น 
การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการ ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ประเมินผล อย่างครอบคลุมทุกมิติ    

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นแผนการทำงานที่เกิดจากนโยบายของอธิการบดี ที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรได้มีส่วนร่วมนำเป็นกรอบแนวคิดและจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ซึ่งในทุกรอบปีจะมีการประชุมสัมมนาทบทวนงานนโยบายเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อปรับแผน ให้การดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างความเป็นเลิศและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันบนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้   เชื่อได้ว่า การมุ่งมั่นทุ่มเท การร่วมมือร่วมใจสมัครสมานสามัคคี และความเป็นหนึ่งเดียวกันของสมาชิกในองค์กร จะเป็นพลังยิ่งใหญ่ที่จะสร้างให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้เป็น “บ้านแห่งความสำเร็จ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา”   เป็น SMART University  ได้อย่างแท้จริง 

ตอนที่ ๕ เกียรติประวัติ ผลงานที่ภาคภูมิใจ การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม 

  1. เกียรติประวัติที่สร้างชื่อเสียงในภาพรวมให้แก่องค์กร 

๑.๑  ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาคะแนน สูงสุด ด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 

๑.๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจาก สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนเป็นศูนย์จัดการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ ระดับภูมิภาค 

๑.๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ National Pingtung University ประเทศไต้หวัน มอบโล่ประกาศยกย่องให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในฐานะเครือข่ายความร่วมมือที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของ NPTU 

๑.๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบโล่ประกาศยกย่องให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะให้ความร่วมมือรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนำเสนองานวิชาการระดับนานาชาติ IS Thai Sim GA 2018 ประจำปี ๒๕๖๑ 

๑.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับมอบโล่รางวัลสถาบันขงจื้อยอดเยี่ยมระดับโลก จาก นางหมิว เหยียนตง รองประธานาธิบดี ในงานประชุมขงจื้อโลก ประจำปี ๒๕๖๑ 

๑.๖ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง ศูนย์สอบวัดระดับภาษาจีนยอดเยี่ยมระดับชาติประจำปี ๒๕๖๑ จาก Tianjin normal university ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย อธิการบดี เป็นผู้มอบ 

๑.๗ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับพระราชทานโล่รางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ชนะเลิศในการจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

. เกียรติประวัติส่วนตัวที่สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับในสังคม 

๒.๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ นักบริหารการศึกษาดีเด่น จากสมัชชานักจัดรายการข่าวฯ แห่งประเทศไทย (สว.นท) โดยนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีเป็นผู้มอบ 

๒.๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์พยงค์ จูฑา นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้มอบ 

๒.๓ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง สตรีตัวอย่างแห่งปี จากมูลนิธิ           เพื่อสังคมไทย โดย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

๒.๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่องให้เป็น นักบริการและพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี จากสถาบันพัฒนาศักยภาพท้องถิ่น โดย พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

๒.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับมอบโล่ประกาศยกย่อง ผู้ให้การสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาโรงเรียนในสังกัด สพป. เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ปี ๒๕๖๑ โดย เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้มอบ 

๒.๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้รับโล่ประกาศยกย่อง เป็นนักบริหารดีเด่นและสตรีตัวอย่างแห่งปี จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย โดย พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นผู้มอบ 

รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย (พ.ศ.๒๕๕๕–๒๕๕๖)

ประวัติ ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย

ศิษย์เก่า ป.กศ สูง พ.ศ. 2505 

ปัจจุบัน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ประวัติการทำงาน

  • อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของทบวงมหาวิทยาลัย 
  • ผู้แทนของทบวงในสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของเอกชน 
  • อนุกรรมการประเมินทรัพย์สินของกระทรวงมหาดไทย 

การศึกษา 

  • ปริญญาตรี (กศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 
  • ปริญญาโท (M.S.) สาขาวิชา English Education จาก Southern Oregon State College  ประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • ปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาวิชา Teaching English to Speakers of Other Languages (TESOL) จาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา

รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน (พ.ศ.๒๕๔๖–๒๕๕๕)

ข้อมูลพื้นฐานส่วนตัว

  • ชื่อ ว่าที่ ร.ต. สุพล     นามสกุล    วุฒิเสน
  • เกิดวันที่    ๒      เดือนมีนาคม  พ.ศ.   ๒๔๘๖  
  • ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่  ๑๙/๕๓  หมู่ที่ ๗  ตำบล  คลองหลวงแพ่ง

อำเภอ เมือง   จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ๒๔๐๐๐

  • สถานที่ทำงานปัจจุบัน  ประสานงานกับหลายมหาวิทยาลัย  (ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธนบุรี  กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ฯลฯ)
  • ประวัติการทำงาน (ระบุปี พ.ศ.)
  • พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๘             อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี

                                          วิทยาลัยครูอุดรธานี

  • พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๒             อธิการ วิทยาลัยครูสุรินทร์
  • พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๖             อธิการ , อธิการบดี  วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา

                                          สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา

                                          สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

  • พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๕๕              อธิการบดี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                                          มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

                        (เป็นผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ๒๕๒๘ – ๒๕๕๕ รวม ๒๘ ปี)

ด้านวิชาการ

         ๑. ๑ คุณวุฒิทางการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๒๗      Ph.D. (International/Intercultural Education). The Florida State University, USA. 1984

พ.ศ. ๒๕๑๖      M.A. (Comparative International Development Planning in Education), Stanford University, USA. 1973

พ.ศ. ๒๕๑๓      M.A.T. (Social / Asian Studies),University of the Philippines. Quezon City The Philippines, 1970     

พ.ศ. ๒๕๐๗ ปริญญาตรี กศ.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) อื่นๆ…

วุฒิบัตรการฝึกอบรม : สถาบันพระปกเกล้า ๒๕๔๔ การกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงจากการการศึกษาและการปฏิรูประบบราชการ

วุฒิบัตรการฝึกอบรม : ทบวงมหาวิทยาลัย ๒๕๔๓ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา

Certificate : World University President Summit Bangkok 2006

Certificate :Queensland Higher Education Rajabhat Presidents Program, Australia, 2002

Certificate :Institutional Management in Higher Education, UNESCO/ SEAMEO, 2000

Certificate :Presidential Seminar on the Presentation of the Honorary Doctoral Award to His Royal Highness the Crown Prince, Edith Cowan University, Australia, 1997

Certificate :Graduate Training Program, Edith Cowan University, Australia, 1995

Certificate : Chunga-Seminar and Korea Study Tour, Human Resource Development Project, Chung-Ang University, Seoul, Korea, 1-5 june 1994

 Certificate :Entrepreneurship Educational, Southern Illinois University at Carbondale, 1988

Certificate : Presidential Seminar, Western Carolina University, USA, 1986

Certificate : Planning for Integrated Regional Development, UNCRD Nagoya, Japan, 1977

         ๑.๒ ผลงานทางวิชาการ  (ตำรา / บทความทางวิชาการ / งานวิจัย)

ตำรา / บทความทางวิชาการ / งานวิจัย ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ (เฉพาะบทความ / งานวิจัย) พ.ศ.
๑. TRENDS Model World University President Summit Bangkok ๒๕๔๙
๒.ทิศทางวิสัยทัศน์และประเด็นสำคัญของการพัฒนา      การศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๔๓
๓.พันธกิจของการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาต่อการพัฒนาประเทศ วารสารคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๒
๔.อาจารย์กับกระบวนการตื่นตัวทางวิชาการ ราชภัฏราชนครินทร์ ๒๕๔๒
๕.ราชภัฏราชนครินทร์อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา มติชน ๒๕๔๒,๑๔ ก.พ.
๖.ปฏิบัติการต่อเนื่องโครงการ่วมมือกับควีนแลนด์ ราชภัฏฉะเชิงเทรา ๒๕๔๑
๗.Cooperation Among Higher Ed. Inst ฯลฯ UNESCO, BANGKOK ๒๕๔๑
๘.กศ.บป.กับการพัฒนาคนทำงาน สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ๒๕๔๐
๙.Joint Programs Thai- Australian University AVCC- Australia ๒๕๓๙
๑๐.Innovative Approaches Towards Youth Problem UNICEF, BANGKOK ๒๕๓๘
๑๑. บทบาทสถาบันการศึกษาในโครงการอีสานเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๓๗
๑๒.การควบคุมการศึกษาของไทยฯลฯ คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๖
๑๓. การวิจัยในสภาพธรรมชาติ ฯลฯ วิจัยสนเทศ, กศ.น. ๒๕๓๕
๑๔.การตวจสอบและชี้นำโดยนักวิชาการ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ๒๕๓๔
๑๕.วิทยาลัยครูในฐานะปฏิบัติการสำคัญทางวัฒนธรรม คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๓
๑๖. The working condition for Civil –officer ฯลฯ NCC-Norway ๒๕๓๒
๑๗.ความเติบโตของวิชาชีพครู ฯลฯ คุรุปริทัศน์ ๒๕๓๐
๑๘.เงื่อนไขแนวปฏิบัติของนักวิชาการท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย ๒๕๓๑
๑๙.ความดีความชอบที่ส่งเสริมการเป็นสถาบันอุดมศึกษา คุรุปริทัศน์ ๒๕๒๘
๒๐. ความเจริญทางการศึกษาต้องปรับให้ทันปัญหา คุรุปริทัศน์ ๒๕๒๗
๒๑. The Sarvodaya Movement UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๖
๒๒. Experiences in developing Inst-Materials UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๕
๒๓. Exploring New Direction in Teacher Education UNESCO, BANGKOK ๒๕๒๔
๒๔. กรมหลวงผู้เป็นอัจฉริยะในการเป็นนักการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อาทิตยคุณธรรมของการศึกษาไทย สกอ. ๒๕๕๑
๑.เงื่อนไขสำคัญในหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนในพื้นที่ชนบทยากจนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สภาวิจัยแห่งชาติ ๒๕๒๘-๒๕๓๙
๒.ครูกับการพัฒนาชนบท : กรณีโครงการอบรมครูประจำการ  วิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The Internationnal Dev’t research Centre (IDRC) ๒๕๓๑
๓. Teachers College Extension Centre in Rural Areas as Means   to Practical Educationnal Reform : A Preliminary Study UNCRD – Nagoya ๒๕๒๐
๔.Effective Change –Agents of Rural Areas in Udorn and   Nongkai Provinces สภาการศึกษาแห่งชาติ NEC ๒๕๓๓
๕.Linking of Formal and Non –formal Ed. Experiment Project in   NE- Thailand UNESCO, BANGKOK  
๖.อิทธิพลของตัวการในการเปลี่ยนแปลงสังคมรายกรณีชนบท  อุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ๒๕๒๙
๗. The Teachers Training Regional Network and Educational  Innovation FSU, Ford Foundation ,IDRC ๒๕๒๗

   ๑.๓ ตำแหน่งทางวิชาการ  (ถ้ามี)

ตำแหน่งทางวิชาการ  รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์พิเศษ    Faculty of Computing, Health and Science ,  Edith Cowan University,  Perth, Australia

ศาสตราจารย์พิเศษ    Tianjin Normal  University,  Tianjin, PR.China

ศาสตราจารย์พิเศษ    Chamroeun University of Technology,  Phnom Penh, Cambodia

๒.  ประสบการณ์ด้านการบริหาร

         กรรมการสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  (ปัจจุบัน )

         กรรมการสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  (ปัจจุบัน)

         กรรมการสภามหาวิทยาลัยธนบุรี  พ.ศ. 2556 ( ปัจจุบัน)

         บริหารสถานศึกษา

อธิการบดี       สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.๒๕๕๕

                     (จากปี ๒๕๔๖)    

อธิการ           วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา  สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา

อธิการบดี       สถาบันราชภัฏราชนครินทร์            พ.ศ.๒๕๔๖ (จากปี๒๕๓๒)                    

อธิการ           วิทยาลัยครูสุรินทร์                         พ.ศ.๒๕๓๒ (จากปี๒๕๒๘)

ประธานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ                  พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑

อนุกรรมาธิการ การอุดมศึกษา, วุฒิสภา                พ.ศ.๒๕๕๑

กรรมาธิการวิสามัญร่างพรบ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ, สภาผู้แทนราษฎร     พ.ศ.๒๔๔๖

         บริหารงานอุดมศึกษา

อนุกรรมการด้านนโยบายและแผนอุดมศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒๕๕๑
อนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ๒๕๕๑
ประธานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๒๕๕๐
กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ สภาผู้แทนราษฎร ๒๔๔๗ (จากปี ๒๔๔๖)
กรรมการต่างๆกรมการฝึกหัดครู สถาบัน     ราชภัฏและหน่วยงานราชการอื่นๆทุกระดับตามคำเชิญ    
  • งานบริการสังคม

2557                            ประธานมูลนิธิสถาบันราชภัฏราชนครินทร์ในพระอุปถัมภ์ ฯ

๒๕๕๑- ปัจจุบัน            ทูตสันติภาพของ Interreligious and International Federation for World – Peace

     Thailand

๒๕๔๙                          สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ(ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาฯ)

๒๕๔๘                          กรรมการสรรหา คณะกรมการ ป.ป.ช.

๒๕๓๘                          ประธานกรรมการพัฒนาคลองแสนแสบ (ส่วนต่อเนื่องไปฉะเชิงเทรา คำสั่ง ศธ.)

๒๕๓๗                          ประธานกรรมการในการจัดอบรมครูประจำการประถมศึกษา (คำสั่ง ศธ.)

๔. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

๑.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงให้ตามเสด็จหลายครั้ง  ถวายรายงานร่วมเขียนหนังสือ ๑ เล่ม ได้รับพระประทานนาม “ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์” อันยิ่งกว่ารางวัล  และเกียรติคุณใดๆ

๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก

๓. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย Sahametrei Grand cros ของราชอาณาจักรกัมพูชา

๔. ศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาลัยครูอุดรธานี,วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร)

ดูประวัติเพิ่มเติม : อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน1

รศ.สันต์ ธรรมบำรุง (พ.ศ.๒๕๓๖–๒๕๔๖)

รองศาสตราจารย์สันต์ ธรรมบำรุง 

ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2๔86 รวมอายุ 52 ปี 

การศึกษา 

ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต วิชาเอก สังคมศึกษา  

ปริญญาโท ครุศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอก นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร  

การฝึกอบรม  

– กอ.รมน.  

– เตรียมนักบริหาร ปี 2526 ของกรมการฝึกหัดครู  

– นักบริหารระดับสูง ของ ก.พ. รุ่น 1/7  33  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา 3 เดือน (บริหาร)  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทุน JICA (สำหรับผู้บริหาร)  

– การศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา 13 วัน  

การรับราชการ  

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ตรี สังกัดวิทยาลัยครูยะลา กรมการฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปัจจุบันรับราชการ ณ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อายุราชการถึงปัจจุบัน 27 ปี 10 เดือน

ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร  

  1. หัวหน้าฝ่ายฝึกสอน  
  1. หัวหน้าสำนักงานอธิการ  
  1. อธิการวิทยาลัยครูสกลนคร  
  1. อธิการวิทยาลัยครูเพชรบุรี  
  1. อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  1. อธิการรักษาการในตำแหน่งอธิการบดีสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

ผลงานทางวิชาการ  

(1) งานวิจัย 

ก. ลักษณะของอาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาที่พึงประสงค์ของอาจารย์  

ข. ผู้บริหาร นักศึกษาภาคปกติ และ กศ.บป. 

(2) งานตำรา – เรียบเรียง  

ก. การฝึกสอน 

ข. การมัธยมศึกษา 

ค. การสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  

ง. หลักการสอน  

งานตำราที่หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครูนำไปตีพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ ได้แก่           การสอนสังคมศึกษา หลักการนิเทศการสอน หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร  

(3) งานบทความ  

ก. สถานภาพและบทบาทของอาจารย์วิทยาลัยครูเปรียบเทียบ อาจารย์มหาวิทยาลัย และทหาร  ตำรวจ  

ข. การเขียนตำรา  

ค. การเขียนผลงานทางวิชาการ  

ง. การประเมินผลงานทางวิชาการ  

จ. สถานภาพ บทบาท หน้าที่ของหัวหน้า สำนักงานอธิการ  

ผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัล หรือได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ  

– ผู้สอนดีเด่นของวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ 2528  

– กรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ ของกรมการฝึกหัดครู  

– ประธานกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการของ ก.ค. ชุด 4 (การศึกษา)  

– ประธานตรวจผลงานของกลุ่มวิชาการกลุ่ม ส.ป.ช. ของ ก.ค.  

– กรรมการสภาการฝึกหัดครูจากตัวแทนคณะกรรมการ 2527-2528  

– ประธานเผยแพร่สร้างความเข้าใจงานประชาสัมพันธ์ของ กศ.บป. ตามคำสั่งของกรมการฝึกหัดครู  

– การอบรมอาจารย์ 2 ระดับ 7 ของข้าราชการสังกัดกรมการฝึกหัดครู  

– ประธานการทำหลักสูตรการอบรมอาจารย์ 2 ระดับ 7 ของกรมการฝึกหัดครู  

– กรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู  

– ได้รับการยกย่องในการแนะนำอาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ  

– ศิษย์เก่าดีเด่น พ.ศ. 2537 ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

– วิทยากรอบรมรองอธิการ หลักสูตร นักบริหารอุดมศึกษา  

– วิทยาการอบรมหัวหน้าสำนักงานอธิการ  

– ได้รับการยกย่องในการหาเงินบริจาคเพื่อพัฒนาสถาบัน เช่น สร้างห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ศูนย์เวชศึกษา อาคารศูนย์วัฒนธรรมฯลฯ เป็นเงินประมาณ 15 ล้านบาท  

– ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับชุมชน สถาบันกับวัด  

– เป็นผู้ริเริ่มวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ         แนวทางแก้ไขของจังหวัดเพชรบุรี  

– เป็นกรรมการ อ.ก.ค. จังหวัดเพชรบุรี  

– กปจ. จังหวัดสกลนคร 

7. แนวความคิดในการพัฒนาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี  

เป้าหมายในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีดังต่อไปนี้  

1. การพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ “ให้มีความรู้คู่คุณธรรมนำพัฒนา” โดยจะเน้นหลักการจัดระบบ      การเรียนการสอน การใช้นวัตกรรมมาประกอบการเรียนการสอนการพัฒนาห้องปฏิบัติการ  

2. การพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้บุคลากรมีผลงานทางวิชาการ ส่งเสริมการศึกษา ดูงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาอบรมหลักสูตรระยะสั้น การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในและต่างประเทศ  

3. พัฒนาสำนักวิทยบริการให้เป็นระบบที่ทันสมัย ให้มีเครื่องช่วยสอน เครื่องช่วยเรียน สิ่งตีพิมพ์       และหนังสือให้มากพอกับความต้องการของคณาจารย์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในห้องสมุดเพื่อบริการได้รวดเร็ว  

4. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมสาธิตและมัธยมสาธิต  

5. ส่งเสริมและให้บริการเป็นที่ปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการแก่ครูอาจารย์ทุกสังกัด  

6. ส่งเสริมการผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู โดยพัฒนารูปแบบการผลิตครูที่มีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูประจำการให้มีประสิทธิภาพ  

7. พัฒนาระบบศูนย์คอมพิวเตอร์ให้ใช้ประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนงานทะเบียน และสำนักส่งเสริมวิชาการ รวมทั้งจัดให้มีระบบเครือข่าย Internet ของสารสนเทศ  

9. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ  

10. การเปิดบัณฑิตศึกษา เพื่อเน้นความเป็นอุดมศึกษาที่สมบูรณ์ เพราะศักยภาพของสถาบันเราพร้อม  จะมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น และเตรียมการเปิดคณะนิเทศศาสตร์และคณะศิลปกรรม  

11. การประชาสัมพันธ์ จะเน้นการประชาสัมพันธ์โดยจะเน้นผู้บริหารเป็นผู้ประกอบการ การทำงานประชาสัมพันธ์จะต้องทำเป็นระบบ สร้างภาพพจน์ให้ดี ให้คนมีความเชื่อถือศรัทธา ให้มีวารสารทั้งภายใน        และภายนอก  

12. การจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม เน้นการใช้อาคารเรียน 15 ชั้น ให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุด มีเครื่องมือ    และนวัตกรรมที่เป็นเครื่องช่วยสอน และปฏิบัติงานสมบูรณ์แบบคือจัดให้มีวีดีโอ ทีวี เครื่องฉายข้ามศีรษะ       จอภาพของแต่ละห้องให้พร้อม การให้มี Student Union ปรับปรุงบ้านพระยาประสงค์ จะรื้ออาคาร 6 อาคาร 7 เพื่อสร้างเป็นอาคารเรียนและสำนักวิทยบริการ  

13. การบริหารงาน ยืดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย การบริหารแบบเชิงธุรกิจ      การกระจายอำนาจลงสู่คณะ/สำนัก/ศูนย์ การทำงานที่เป็นระบบ  

14. การจัดตั้งศูนย์พัฒนาภาษา  

15. ปณิธานในการทำงานของข้าพเจ้า  

15.1 ถือว่าสถาบันฯ คือบ้าน โดยจะพัฒนาบ้านนี้ให้ดีที่สุด ทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ       และอุทิศเวลาให้กับการทำงานได้อย่างเต็มที่  

15.2 การบริหารงานจะดำเนินการเป็นทีม และรับฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ว่าประสงค์     จะพัฒนาสถาบันไปอย่างไร  

15.3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของสถาบันเป็นหลัก 15.4 การบริหารงานจะคำนึงถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะอาจารย์และนักศึกษา โดยการแก้ปัญหาด้วยการประสานประโยชน์  

15.5 สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสถาบันให้เป็นสังคมวิชาการเน้นการวิจัยการศึกษาค้นคว้า การผลิตเอกสารตำรา การส่งเสริมให้เขียนบทความ โดยจัด Student Room ให้แก่คณาจารย์            และนักศึกษา 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ (พ.ศ.๒๕๓๒–๒๕๓๖)

รองศาสตราจารย์ฉลอง  ภิรมย์รัตน์ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๕ ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย ๔ คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๓๘/๓๕๙    ซอยลาดพร้าว ๔๗ อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ 

  1. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๘ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์จังหวัดกระบี่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี        โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา และได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ จบวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับปริญญา M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ในปีเดียวกัน  

  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ตำแหน่งครูตรี ประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2505  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 251๔-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ.๒๕๑๗-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2520-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2521  

– กรรมการสภาฝึกหัดครู พ.ศ. 2521  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ.๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528- 2532  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2532- 2536 

การฝึกอบรมและดูงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่อง การขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติชเคาน์ซิล พ.ศ. 2523           – อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  

5. ผลงานดีเด่น  

– ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์  

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ  

– ผู้ริเริ่มจัดตั้งโครงการ กองทุนสุริยะ ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการ เพื่อคณาจารย์และคนงานทุกท่าน 

– ผู้ริเริ่มโครงการของงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนรวม 15 ชั้น หลังแรกของกระทรวงศึกษาธิการ 

ประวัติและผลงาน 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ 

รองศาสตราจารย์ ระดับ  

กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2475 ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย 4 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 38/359 ซอยลาดพร้าว 47 อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร 10310 

. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-2505 ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท  

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่  
  • เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่, โรงเรียนสุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเบญจม       ราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา  
  • ได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-2500  
  • ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2505  
  • ปริญญาโท M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธย (ป.ม.) ในปีเดียวกัน 
  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ตำแหน่งครูตรีประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2504  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2514-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2517-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๐-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๑  

– กรรมการสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๒๑  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528-25๓2  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๓๒-2536 

ตำแหน่งครั้งสุดท้าย  

  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ  

4. การฝึกอบรมและดูแลงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES           พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่องการขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติช เคาน์ซิล          พ.ศ. 2523  

– อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

5. ผลงานดีเด่น  

–  ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ 

6. ผลงานทางวิชาการบางเล่ม  

กระบวนการกลุ่ม 2521  

– รายงานการวิจัยเรื่อง ความศรัทธาในอาชีพครู ของนักศึกษาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ 2525 

จิตวิทยาสังคม 2521  

จิตวิทยา อปกติ 2523  

การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 2525 

7. เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ช.)   

จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)   

ตติยาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)   

ตริยาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)  

ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)  

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)  

ปรมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)  

ปรมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)  

มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) 

พระพุทธภิรมย์รัตน์  

บูชาครูผู้ก่อผู้สรรค์สร้างหอวัฒนธรรมภูเก็จ 

ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ ได้ตั้งหอวัฒนธรรมภูเก็จขึ้นเมื่อ พ.ศ 2524 มอบหมายให้หอวัฒนธรรมปู่ภูเก็จ     กับภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รวมกันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา        จากวัดมงคลนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มาเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ เห็นชอบ 2 ชื่อ ที่จะใช้เป็นนามพระพุทธรูปคือ พระพุทธรัตนภิรมย์ กับพระพุทธภิรมย์รัตน์     แต่ชื่อที่เกี่ยวข้องเรียกขานกันเป็นประจำ คือ พระพุทธภิรมย์รัตน์ ประดิษฐานอยู่ที่หอวัฒนธรรมภูเก็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  

ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อมี พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และตราสัญลักษณ์สถาบัน โดยพิจารณาจากตรา    พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้ว    จึงได้อัญเชิญตรานี้และพระพุทธภิรมย์รัตน์ นำไปปรึกษาท่านอาจารย์ชัย ปุรินทโก เจ้าอาวาสวัดบางโทง        อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ สร้างเป็นเหรียญมงคล “สมาธิชัยแห่งความสำเร็จทางปัญญาด้วยความรื่นเริงยิ่ง” เกจิอาจารย์ปลุกเสกครั้งสุดท้ายเมื่อวันฉัตรมงคลที่ 5 พฤษภาคม 2547  

รองศาสตราจารย์ สุรพันธ์ ยันต์ทอง (พ.ศ.๒๕๒๘–๒๕๓๒)

อธิการนักพัฒนา สร้างสรรค์วิทยาลัยให้มีบรรยากาศทางวิชาการ เปิดการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ระดับปริญญาดรีในสาขาวิชาการอื่น เพิ่มจากสายวิชาชีพครู 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ๆ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 

วัยเยาว์ เกิด ๒๖ มกราคม ๒๔๗๓ 

สถานที่เกิด อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 

บิดา-มารดา นายลม และนางทอง ยันต์ทอง 

ครอบครัว

• พ.ศ. ๒๕๐๒ สมรสกับนางวาสนา ยันต์ทอง (ถึงแก่กรรม) 

มีธิดา ๒ คนคือ นางสาวลิริพิมพ์ และนางสาววรสิริ ยันต์ทอง 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ สมรสกับนางอรุณ ยันต์ทอง มีบุตร ๑ คนคือ นายรณพันธ์ ยันต์ทอง 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๖ โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านด่าน “สุววรณราษฎร์จรูญ”  

• พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๑ โรงเรียนบางปลาม้า “สุงสุมารผดุงวิทย์” 

• พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๖ โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๓ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

• พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๔๐๙ State University of New York (College at New Paltz) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๔ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ อาจารย์ประจำกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๗ ศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๙ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช 

• พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ อธิการวิทยาลัยรูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๑ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

นายบุญเลิศ ศรีหงส์ (พ.ศ.๒๕๒๑–๒๕๒๘)

สร้างยิมเนเซียม ใช้เป็นภาควิชาพลศึกษา และสันทนาการ มีประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ทำให้วิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่นเปิดสอนหลักสูตรป.กศ.ชั้นสูง เทคนิคการอาชีพ และหลักสูตรระดับอนุปริญญา ๒ ปี สายวิชาการอื่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗และ ๒๕๒๘ ตามลำดับพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๒๓ 

วัยเยาว์ เกิด ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒ 

สถานที่เกิด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 

บิดา-มารดา ร.อ.หลวงภาณีสุนทรสาร และนางสารภี ศรีหงส์ 

ครอบครัว สมรสกับนางทับทิม ศรีหงส์ มีบุตร-ธิดา ๓ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐ ศึกษาที่โรงเรียนสตรีอุตรดิตถ์ จบชั้นประถมปีที่ ๓ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๖ ศึกษาที่โรงเรียนเปี่ยมเมธีวิทยาลัย จบชั้นประถมปีที่ ๕ 

• พ.ศ. ๒๔๘๗ ศึกษาที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยม ปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ประกาศนียบัตรประโยคเตรียมอักษรศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๖ ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาตัวตนเอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมูล 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๑ ศึกษาที่ Indiana University, U.S. A. ได้ปริญญา Master of Scicnce in Education  (M.S. in Ed.) 

การรับราชการ  

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ครูตรี โรงเรียนอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๙๙ อาจารตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท วิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๕ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์เอก  

• พ.ศ. ๒๕๐๗ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี ลพบุรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๙ ลาออกจากราชการ 

ม.ร.ว.ทวีโภค เกษมศรี (พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๒๑)

เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครูคนสุดท้าย และเป็นอธิการคนแรก สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ บูรณะปรับปรุงศาลสมเด็จฯ สร้างตึกคณะวิชาครุศาสตร์ หอสมุดกลางและตึกคณะวิชาวิทยาศาสตร์เปิดให้การศึกษาและฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ 

วัยเยาว์ เกิด ปี ๒๔๗๐ สถานที่เกิด ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ชั้นประถม ถึง ม.๗ ชั้นสูงสุดในขณะนั้น 

• พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จบ ม. ๘ แผนกฝรั่งเศส 

• พ.ศ. ๒๔๗๙ สมัครสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๕ อาจารย์โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แผนกฝึกหัดครูประถม และรับราชการอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นเวลายาวนานกว่า ๓๕ ปี โดยมิได้โยกย้ายไปที่ใด 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑ เกษียณอายุราชการ 

นายจรูญ มิลินทร์ (พ.ศ.๒๕๑๑–๒๕๑๘)

เป็นสมัยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่องฟูทางวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. และ ป.กศ. ชั้นสูง สำหรับบุคคลภายนอก สร้างอาคาร ๒ และอาคาร ๓ ปลายสมัยผู้อำนวยการจรูญ มิลินทร์ มีประกาศใช้พระบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.๒๕๑๘ ทำให้วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตทางสายครุศาสตร์ถึงระดับปริญญาตรี 

วัยเยาว์ เกิด ๒๔ เมษายน ๒๔๗๑ 

สถานที่เกิด อำภอเมือง จังหวัดหนองคาย 

บิดา-มารดา นายเสรี และนางสุดสงวน มิลินทร์ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๐๐ สมรสกับนางสำลี มิลินทร์ มีธิดา ๑ คน ชื่อ นางสาวธิติพร มิลินทร์ 

การศึกษา  

• พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๗๙  ศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลตำบลวัดธาตุ ได้ประกาศนียบัตรประโยคประถมปีที่ ๔ 

• พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๕  ศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๘ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมบ้านสมเด็จเจ้พระยา และโรงเรียนฝึกหัด 

• ครูประถมพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม พระนคร ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ -๒๔๘๘ ศึกษาที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ -๒๔๙๙ ศึกษาที่ Indiana Universily, U.S.A. ได้ปริญญา Master of Science in Education (M.S.in Ed.) 

• พ.ศ. ๒๕๑๓ -๒๕๑๔ ศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๑๓ จบหลักสูตร วป.อ. 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ครูตรีโรงเรียนสมุทรปราการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ ครูตรีประจำกรมวิสามัญศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ ครูตรีโรงเรียนสระบุรี 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ อาจารย์ตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

• พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๕ เลขาธิการคุรุสภา 

• พ.ศ. ๒๕๓๑ ออกจากราชกาวเพื่อรับบำนาญ 

นายศิริ ศุขกิจ (พ.ศ.๒๕๐๘–๒๕๑๑)

ใช้นโยบายปรับปรุงส่งเสริมระเบีบวินัยของราชการและครูอาจารย์ สร้างตึกคหกรรมศาสตร์ ใช้เป็นภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สืบต่อมาจนทุกวันนี้ 

วัยเยาว์ เกิด ๒๒ มีนาคม ๒๔๕๑ 

สถานที่เกิด อำเภอหนองแขม กรุงเทพมหานคร 

บิดา-มารดา นายสอน และนางสาย ศุขกิจ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๗ สมรสกับนางสาวนันทา ศุกระชาติ มีบุตร-ธิดา ๕ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๖o โรงเรียนมัธยมวัดมหาธาตุ เป็นเวลา ๕ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๒ 

• พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นเวลา ๖ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๘ 

• พ.ศ. ๒๔๗๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวลา ๔ ปี ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยม แผนกวิทยาศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับทุนยูซอม ไปศึกษและดูงานในด้านบริหารการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปี 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๗๕ รับราชการครั้งแรก เป็นครูน้อยโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๘๒ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย 

• พ.ศ. ๒๔๘๓ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดตาก 

• พ.ศ. ๒๔๙๔ ครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดรูนครสวรรค์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู อุดรธานี 

• พ.ศ. ๒๕๐๒ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๒ ครบเกษียณอายุ