ขุนวิเทศดรุณการ (พ.ศ.๒๔๔๘–๒๔๕๘)

ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชสีมาจารย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ มีสถานภาพเป็นโรงเรียนประจำ โดยเล็งเห็นว่าโรงเรียนประจำสามารถฝึกอบรมความเป็นครูได้อย่างแท้จริง 

วัยเยาว์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๒bสถานที่เกิด พระนครชื่อเดิมกวย กนิษฐานนท์ 

บิดา-มารดา ขุนประเสริฐอักษร (พึ่ง กนิษฐานนท์) และ นางเชย กนิษฐานนท์ 

การศึกษา 

• พ.ศ.๒๔๔๖ วุฒิครูประกาศนียบัตรมัธยมพิเศษ 

การรับราชการ

• ครูโรงเรียนวัดบพิตรภิมุข 

• ครูโรงเรียนข้ราชการพลเรือน 

• ครูโรงเวียนฝึกหัดดฝั่งตะวันดก (บ้านสมเด็จๆ) ปี พ.ศ. ๒๙ ๔d 

• ทำหารแทนนายตรวจแขวงตะวันตกเหนือ 

• ธรรมการมณทลนครราชสีมา 

• ส่วนบรรดาศักดิ์นั้นได้เลื่อนขึ้นเป็นหลวงวิเทศดรุณการ พระวิเทศดรุณการ ตามสำคับ และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยราชสีมาจารย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๙๗๑ 

พระบำเหน็จวรญาณ (เหม ผลพันธิน) (พ.ศ.๒๔๔๖– ๒๔๔๗)

ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโอวาทวรกิจ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก ผลิตครูประมาณ (ป.ป.) และครูมูล (ป.) เพื่อเตรียมครูให้พอเพียงในส่วนภูมิภาค ให้ความสะดวกแห่นักเรียนซึ่งมาจากหัวเมือง โดยให้กินอยู่ประจำในโรงเรียน 

วัยเยาว์ เกิด ๑๕ ขันวาคม ๒๔๒๓ สถานที่เกิด หลังวัดราชนัดดา พระนคร

บิดา-มารดา  หลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย ผลพันธิน) และ นางธรรมานุวัติจำนง (เพิ้ง ผลพันธิน) 

ครอบครัว ไม่พบข้อมูล ถึงแก่อนิจกรรม ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๓๔ สอบไล่ได้ประโยคสอง จากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง 

• พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๓๗ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม 

(เป็นนักเรียนที่จบรุ่นแรก) 

• พ.ศ. ๒๔๓๗ อุปสมบท ณ วัดเทพริดาราม ๑ พรรษา 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๓๗ ครูสอนภาษาไทย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ 

• พ.ศ. ๒๔๔๓ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสายสวลีสัณฐาคาร อาจารย์พิเศษโรงเรียนกรมแผนที่ สระปทุม 

• พ.ศ. ๒๔๔๕ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมสูงเทพคิรินทร์ 

• พ.ศ. ๒๔๔๖ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดรู ฝั่งตะวันตก ณ โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๕๐ ผู้ตรวจการโรงเรียนแขวงม้ชมของกรมศึกษาธิการ ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทยาลัย 

• อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาสับ) ผู้อำนวยการโรงเรียนพาณิชยการ 

• พ.ศ. ๒๔๕๗ พนักงานสอบไล่ กรมศึกษาธิการข้าหลวงตรวจการศึกษาภาคหนึ่ง อยุธยา นครไซยศรี  ราชบุรี ปราจีนบุรี และจันทบุรี 

• พ.ศ. ๒๔๖๐ เจ้ากรมวิสามัญศึกษา จัดอาชีวศึกษและโรงเรียนสตรี  

• ปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ 

• พ.ศ. ๒๔๖๘ ลาออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญ 

เอ ซี. คาร์เตอร์ (Arthur Cecil Carter) (พ.ศ.๒๔๓๙-๒๔๔๖)

อาจารย์ใหญ่คนแรก ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนราชวิทยาลัย ภาษาอังกฤษว่า King’s College  โดยใช้คฤหาสน์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งกรุงสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

เอ. ซี. คาร์เตอร์ เป็นชาวอังกฤษ มีคุณวุฒิ B.A. เริ่มเข้ามารับราชการกรุงสยาม เมื่อ ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๕) เคยเป็นพระอาจารย์ของพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารในสมัยนั้น (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) 

• พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชวิทยาลัย (King’s College) เป็นคนแรก 

• พ.ศ. ๒๔๕๘ กลับไปประเทศอังกฤษ แต่ยังคงรับราชการฉลองพระเดชพระคุณในกระทรวงธรรมกรทำหน้าที่ผู้จัดการศึกษาของนักเรียนไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลในประเทศอังกฤษ (Superintendent of Government Students)