ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด

ชื่อและนามสกุล : ท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด

วันเกิด : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2488

อายุ : 62 ปี สัญชาติ ลาว เชื้อชาติ ลาว

สถานที่เกิด : เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว

สถานะครอบครัว : คู่สมรสซื้อ นางบุนกองมะนี เล่งสะหวัด มีบุตร 3 คน

ประวัติการศึกษา

ปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

ปริญญาเอกตุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา National Economic Management from the National Economic University, Vietnam

ดํารงตําแหน่ง : รองนายกรัฐมนตรีและผู้ประจําการรัฐบาล

ประวัติการทํางาน

พ.ศ. 2504 : เข้าร่วมงานปฏิวัติกับขบวนการประเทศลาว

พ.ศ. 2504 – 2507 : ย้ายไปปฏิบัติงานในศูนย์กลางพรรคในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ

พ.ศ. 2507 – 2518 : เป็นเลขานุการคณะบริหารศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (LPRP CC)

พ.ศ. 2518 – 2525 : เป็นหัวหน้าสํานักงานคณะบริหารศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

พ.ศ. 2525 – 2531 : เป็นรองหัวหน้าคณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รองนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2532 – 2534 : เป็นเอกอัครราชทูตลาว ประจําประเทศบัลแกเรีย

พ.ศ. 2534 : สมาชิกที่มาจากการเลือกของประเทศ เมื่อประชุมสภาครั้งที่ 5

พ.ศ. 2534 – 2536 : หัวหน้าคณะรัฐมนตรี

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 : เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ นอกประเทศ, ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยเด็กและสตร์ (National Commission for Mothers and Children (NCMC)

พ.ศ. 2539 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก LPRP cc ในการประชุมสภาครั้งที่ 6

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 : เป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ภายนอกประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว, ประธานกรรมการ NCMC

มีนาคม พ.ศ. 2544 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก LPRP cc ในการประชุมสภาครั้งที่ 7

พ.ศ. 2545 : เป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ภายนอกประเทศ แห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประธานกรรมการ NCMC และ NCAW

มีนาคม พ.ศ. 2549 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก Politburo ในการประชุมสภาครั้งที่ 8

ปัจจุบัน :  เป็นรองนายกรัฐมนตรี, ผู้ประจําการรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว, ประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธาน คณะกรรมการแห่งชาติต้านมรดกโลก

ดูประวัติเพิ่มเติม : ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด

ฯพณฯ เต็ง เส่ง

นาม : ฯพณฯ เต็ง เส่ง

สัญชาติ : พม่า ศาสนา พุทธ

วัน เดือน ปีเกิด : ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่เกิด : เมืองงา ปู ตอ เขตปาเตง รัฐอิรวดี 

สถานภาพ : สมรสกับท่านผู้หญิงดอว์ ดิน ดิน วิน และมีบุตรสาว ๓ คน

– ฯพณฯ เต็ง เส่ง สําเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเมือง เงา ป ตอ เขตปาเตง รัฐอิรวดี จากนั้นเข้ารับราชการทหารในสังกัดกองทัพบก พ.ศ.๒๕๐๖ และ สําเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๑๐

– เข้ารับราชการในตําแหน่งนายพลกองจัตวา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๓๘ และได้เลื่อนยศ เป็นพลตรีโดยดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหาร พ.ศ. ๒๕๓๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เลื่อนยศเป็น พลเอกประจํากระทรวงกลาโหมและเกษียณอายุราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓

– ลงสมัครเลือกตั้งทั่วไปในฐานะผู้สมัครประจําเขตการเลือกตั้งซาบูธิริ เมืองเน ปี ดอว์ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้รับเลือกตั้งให้เป็นตัวแทนประจําสภาพิดท ฤทต่อ

– วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งรักษาการประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐแห่งสภาพพม่าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พิดองซุ รุมต่อ ภายหลังจาก การเข้าร่วมการกล่าวคําปฏิญาณตนในวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการ

ดูประวัติเพิ่มเติม : ฯพณฯ เต็ง เส่ง

Assoc. Prof. Dr.Soukkongseng Saignaleuth

วัน เดือน ปีเกิด : 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2493

สถานที่เกิด : บ้านผังสาลี อ.ผงสาลี จ.ผงสาลี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สถานภาพ : สมรส มีบุตร 3 คน

ตําแหน่งงาน : อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

สถานที่อยู่ปัจจุบัน : 1 บ้านนาทุ่ม อําเภอไชธานี จังหวัดนครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประวัติการศึกษา :

พ.ศ. 2507 ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตั้งสาลี

พ.ศ. 2510 มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผังสาลี

พ.ศ. 2515 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนผู้งสาลี

พ.ศ. 2524 ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสร้างครู (ตงโดก)

พ.ศ. 2532 ปริญญาโท (Ms.Master of Philosophy) มหาวิทยาลัยมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

พ.ศ. 2561 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สถานที่ทํางานปัจจุบัน :
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อําเภอไชธานี จังหวัดนครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Dr.Nguyen Van Khanh

วัน เดือน ปีเกิด : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2498

ตําแหน่ง : อธิการบดี มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ประวัติการศึกษา : จบปริญญาเอก เมื่อปี 1990

ประวัติการทํางาน :

ปี 2006-ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งอธิการบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 2003-2006 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1999 2003 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย ปี 1995-1999 ดํารงตําแหน่งรองคณบดีคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1990-1995 ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์เวียดนาม คณะประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1977 1987 ดํารงตําแหน่งอาจารย์คณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

ปัจจุบัน
– ที่ปรึกษาการทําวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี

Dr.Gao Yubao

วัน เดือน ปีเกิด : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 สถานที่เกิด : มองโกเลียในประเทศจีน

สถานภาพ : สมรส มีบุตร 1 คน

ประวัติการศึกษา :

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2527

จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2528

จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเกษตรวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2535

ประสบการณ์การทํางาน :

ในปี พ.ศ. 2530-2541 ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาและรองคณบดีวิทยาลัย Life Sciences, Nankai University

ในปี พ.ศ. 2541-2547 ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี Nankai University

ในปี พ.ศ. 2546-2547 ดํารงตําแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, Nankai University

ในปี พ.ศ. 2547-2550 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี Tianjin Normal University

ในปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งอธิการบดี Tianjin Normal University

ตําแหน่งทางสังคม ผลงานวิจัยและสิ่งพิมพ์ :

– กรรมการด้านชีววิทยาในสังคมของสาธารณรัฐประชาชนจีน

– ประธานด้านชีววิทยาในสังคมของเมืองเทียนสิน

– บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชีววิทยาและหนังสือพิมพ์นิเวศวิทยาของพืช

– ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบนิเวศวิทยาของประเทศ

– สมาชิกกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินและทดสอบการเรียน

– ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบและประเมินค่าที่สําคัญของประเทศ- ร่วมสนับสนุนและดํารงตําแหน่งกรรมการในการก่อตั้ง “การทดสอบระบบนิเวศน์และชีววิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับส่วนภูมิภาคในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน โครงการแก้ปัญหาสําคัญของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเวลา 5 ปีครั้งที่ 6 และ ครั้งที่ 7 รวมถึงสภากองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

– จัดตั้งกองทุนวิจัยและค้นคว้าวิทยาศาสตร์ของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาของประเทศโดยกระทรวงศึกษาธิการและกองทุนวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ จํานวน 5 กองทุน

– ก่อตั้งกองทุนวิจัยทะเลทรายหลานโจวร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

– แกนนําหลักในการช่วยเหลือโครงการการวิจัย ให้ความสําคัญในด้าน วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนปริญญาเอกของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน
2 รายการ รวมไปถึง “โครงการแห่งชาติ 073” จํานวน 2 รายการ

– สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการปลูกป่าในสภาวะแห้งแล้ง

– วารสารวิชาการกว่า 140 เล่ม โดยเน้นเรื่องสําคัญในประเทศ

– ร่วมจัดทําแผนที่เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จํานวน 6 ชิ้น วิทยานิพนธ์ 3 เล่ม และตําราเรียนเฉพาะสาขา จํานวน 2 เล่ม

รางวัลและความสําเร็จ : 
– รางวัลอันดับที่ 2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้าแห่งชาติ

– รางวัลอันดับที่ 1 Provincial or Ministerial Science and Technology (สองครั้ง)

– รางวัลอันดับที่ 1 ตําราดีเยี่ยม Provincial or Ministerial

– รางวัลความสําเร็จทางด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการวิจัย 2 รางวัล

– คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษตั้งแต่ปี 2549

การวิจัยที่สนใจในปัจจุบัน :

– การปรับตัวของทุ่งหญ้าและป่าที่ปลูกในสภาพแห้งแล้งจากมุมมองของนิเวศวิทยาทางสรีรวิทยา
และระบบนิเวศวิทยา

– สัมพันธ์และวิวัฒนาการ ของเชื้อรากับพืชน้ำ

– กลยุทธ์เพื่อการปรับตัวในระบบนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ที่สําคัญในทุ่งหญ้าภาคเขตเหนือและ ฟาร์มที่ปลูกเอง

Dr.Chea Chamroeun

Dr.Chea Chamroeun

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ 

ประวัติ
วัน เดือน ปีเกิด : วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2513 (ตามทะเบียนแต่ปีเกิดตามจริงคือ 2503)

สถานที่เกิด : แสงกัด เลขที่ 7 พนมเปญ สัญชาติ : กัมพูชา


สถานภาพ : สมรส ชื่อคู่สมรส นางชาบ ชันมานิกา มีบุตร-ธิดา 4 คน


ที่อยู่ : เลขที่ 18 ถนน406 แสงกต ทัมนพเทต กานชั้มคามน พนมเปญ โทรศัพท์ +855 088 777 77, +855 120 000 00, อีเมล : [email protected]


บรรดาศักดิ์ : ได้รับพระราชทานคํานําหน้าชื่อ “ออกญา” จากกษัตริย์ของกัมพูชา เจ้านโรดมสีหมุน ตามประกาศในพระราชกฤษฎีกา ที่ NoNS/RKT/0905/398 วันที่ 9 มีนาคม 2548


การศึกษา :
2550 ปริญญาเอกด้านกฎหมาย

2548 ปริญญาโทต้านรัฐศาสตร์

2547 ปริญญาโทด้านกฎหมาย

2544 ปริญญาตรีด้านกฎหมาย

2534 ปริญญาตรีด้านการบริหารมวลชน

2530 ประกาศนียบัตรชั้นมัธยม

ประวัติการทํางาน

การทํางานภาครัฐ :

2551-ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (จังหวัด แตนดาล) และ คณะกรรมาธิการ การทํางาน ด้านการศึกษา, วัยรุ่น, กีฬา, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, ศาสนาและลัทธิ

2547-2551 ที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐบาลกัมพูชา (ตําแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี)

2547-2545 คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ และ ประธานคณะอนุกรรมการการตรวจสอบและดูแลการเลือกตั้ง (ตําแหน่งเทียบเท่าเลขาธิการของรัฐ)

การทํางานภาคสังคม :
2550-ปัจจุบัน ประธานสมาพันธ์วอลเลย์บอลแห่งกัมพูชา (VFC)

2545-ปัจจุบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยชามเงินโปลีเทคโนโลยี (CUP)

2538-ปัจจุบัน ประธานคณะกรรมาธิการประสานงาน องค์กรพัฒนาเอกชนของกัมพูชา”
NGO Federation”

2533-ปัจจุบัน อาจารย์สอนวิชา การจัดการ ภาวะผู้นํา การพูดในที่ชุมชนและการบริหาร

2533-2550 ประธานองค์การพัฒนาเยาวชนชาวเขมร (KYDO)

2547-2550 ประธานสถาบันการพัฒนาและสิทธิมนุษยชนสําหรับชาวกัมพูชา (CHDH)

2527-2535 ครูวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยม

2526-2535 บุคลากรให้คําปรึกษากลุ่ม UNBRO


การทํางานภาคธุรกิจ
2549-ปัจจุบัน ประธานบริษัท Security Standard Group


รางวัลเกียรติยศ :
2552 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0800/888 (เหรียญระดับโมฮาสีเรวัติ, Mohasereywath, ของราชอาณาจักรกัมพูชา)

2552 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญทองแห่งความภาคภูมิ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา) ให้ไว้ตามกฤษฎีกาย่อยที่1208ANK

2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross โปรดเกล้าพระราชทานจากพระราชินี Preah Kossomak Nearireath ให้ไว้ ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0008/1040 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ, Mohasereywath, จากพระราชินี Preah Kossomsak Nearireath)

2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross โสวาธารา ให้ไว้ตามพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0408/388 (เหรียญโมฮาสีเรวัติระดับ โสวาธารา Sowathara )

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross โมนสาราพน ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/10077492 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ ระดับโมนิสาราพน Mornisaraphon)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross โมนิสาราพน ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1007/402 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ ระดับโมนสาราพน Mornisaraphon)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่NS/RKT/0607/238 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญการสร้างชาติให้โตยกัมพูชา ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 31BANK

2549 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา grand officer ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1007/492 (เหรียญโมฮาสาราพน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2548 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา cornrnander ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1205/505 (เหรียญเทพฟ้าเดน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา officer โมนิสาราพน ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 804ANK (เหรียญโมนิสาราพน ระดับสนา)

2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญการสร้างชาติ ให้โดยรัฐบาลกัมพูชา ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 19ANK

2545 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา Chevalier ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/i101/430 (เหรียญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ระดับ อสาครึท)

2545 รางวัลการทํางานจากคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ

ผลงานตีพิมพ์ :
หนังสือเรื่อง Principle of Democracy (จํานวน 16 หน้า)

หนังสือเรื่อง Basis Administration (จํานวน 323 หน้า)

หนังสือเรื่อง General Management for Non-Government Organization (จํานวน 80 หน้า)

2541 หนังสือเรื่อง Basis Leadership (จํานวน 153 หน้า)

2545 หนังสือเรื่อง Human Resource Management (จํานวน 250 หน้า)

2552 หนังสือเรื่อง Advance Organizational Management (กําลังเขียน)


ข้อมูลอื่นๆ :
การฝึกอบรม รับการฝึกอบรมการทหาร(สัญญาบัตร)และประกาศนียบัตรด้านการอบรมวิชาชีพครู


งานอดิเรก :
อ่านหนังสือและทํางานวิจัย


งานช่วยเหลือสังคม :
ช่วยเหลือสังคมด้านต่างๆ และงานองค์กรพัฒนาเอกชน

Mohamed Mustafa Ishak

นายโมฮำหมัด  มุสตาฟา บิน อิซัค

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ 

Dr.Jose Sulaiman chignon

Dr.Jose Sulaiman chignon

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ 

วัน เดือน ปีเกิด : 30 พฤษภาคม 1931

สถานที่เกิด : Victoria, Tarnaulipas, Mexico

สถานภาพ : สมรส มีบุตร 6 คน

ตําแหน่ง :

ประธานสหพันธ์มวยโลก (161 ประเทศ) ตั้งแต่ปี 1975

CEO ของสถาบันธุรกิจหลายแห่ง

ประธานสหพันธ์และพิพิธภัณฑ์แห่งการกีฬาแมกซิกัน ตั้งแต่ปี 1998

ผู้บริหารธุรกิจและกฎหมายธุรกิจ ดํารงตําแหน่งสําคัญในสถาบันการศึกษา Institute and Escuela Superior de Comercio,

ประวัติการศึกษา :

ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ Newport University of California, Campus Mexico, 1997

ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์และปรัชญา London Institute of Technology & Research, 1998

ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวัฒนธรรมทางวัตถุ Russian State Academy of Physical Culture, Moscow, 1999

ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ฯ American Sports University, San Bernardio, California, 2008

รางวัลที่ได้รับ :

ได้รับรางวัลระดับนานาชาติกว่า 32 รางวัล อาทิ

– รางวัลด้านมนุษยชน จากกษัตริย์ฮวน คาลอส แห่งสเปน 1977

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จาก รัชกาลที่ 9 แห่งประเทศไทย 1993

– รางวัลบุคคลแห่งปี ประเทศแมกซิโก 2001

– รางวัลเกียรติยศแห่งวงการกีฬา จากทั้งสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ประเทศไทย ลาตินอเมริกา แอฟริกาใต้

นอกจากนั้น ยังได้รับเกียรติจากประมุขของประเทศต่างๆ จํานวนมาก (เช่น ประเทศไทย อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ สเปน เม็กซิโก เลบานอน เนปาล ปานามา นิการากัว ตูนิเซีย เซเนกัล เกาหลี เวเนซุเอลา รัสเซีย โครเอเชีย) อาทิ
1. รัชกาลที่ 9 ประเทศไทย

2. Pope John Paul II

3. ประธานาธิบดีเรแกน สหรัฐอเมริกา

4. กษัตริย์ Juan Carlos ll สเปน

5. ประธานาธิบดี Giscard D’Estaing ฝรั่งเศส

คุณูปการในวงการมวยโลก :

ในฐานะผู้นําของสมาชิกจากทั่วโลกในสภามวยโลก ท่านได้ริเริ่มงานที่เป็นประโยชน์ อาทิ

– การประชุมการแพทย์โลกครั้งแรก จาก 83 ประเทศ และแพทย์กว่า 300 คน, 1997

– บริจาคเงินแก่ UCLA กว่า 1,000,000 ดอลล่าร์ เพื่อการวิจัยทางการแพทย์

– การริเริ่มรูปแบบการแข่งขันใหม่แก่วงการมวย อาทิ การลตรอบการชกจาก 15 ยก เป็น 12 ยก การกําหนดเกณฑ์การควบคุมน้ำหนักก่อนการแข่งขันใหม่ เพื่อป้องกันนักมวยจากการสูญเสีย น้ำหนักมากเกินไป และอาการขาดน้ำ

กิจกรรมที่ผ่านมาอื่นๆ :

ประธานขององค์กรต่างๆ อาทิ

– ประธานอนุกรรมการด้านสังคมของ UN ใน Tamaulipas

– ประธานลึกเบสบอล Tarnaulipas

– ที่ปรึกษากาชาดแห่ง Tamaulipas

– ศาสตราจารย์ด้านการบริหารธุรกิจ การบัญชี และกีฬา

– ประธานบริหารองค์กรด้านกีฬาต่างๆ

ดูประวัติเพิ่มเติม : Dr.Jose Sulaiman chignon

Dr.John Martyn Renner

ดร.จอห์น  เร็นเน่อร์ 

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ 

Zahi Hawass

นายซาฮี  ฮาวาส 

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒

ดร.ซาฮี ฮาวาส ถือเป็นนักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงระดับโลก ปัจจุบันดํารงตําแหน่งเลขานุการสภาสูงสุด แห่งโบราณวัตถุและผู้อํานวยการขุดหาโบราณวัตถุแห่งกิซ่า ซาค์คาราและบาฮาริยา โอเอซิส

ดร.ฮาวาส ได้รับทุนฟุลไบรท์เพื่อศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาโดยสําเร็จดุษฎีนิพนธ์ด้านอียิปต์วิทยาจาก มหาวิทยาลัยเพนนินซิลเวอร์เนียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ต่อมาได้เขียนบทความวิชาการจํานวนมากและได้รับยกย่อง สูงสุดในฐานะนักอียิปต์วิทยา

ดร.ฮาวาส ได้เข้าร่วมค้นพบโบราณวัตถุสําคัญๆ จํานวนมาก ทั้งนี้รวมถึงบรรดาหลุมศพของผู้ก่อสร้าง พีระมิดที่กิซา และยังค้นพบเกี่ยวกับการก่อสร้างพีระมิดหลายแห่งโดยท่านเป็นผู้ค้นพบพีระมิดประจํา ฟาโรห์คูฟูจึงทําให้เกิดการเปิดเผยความลับเบื้องหลังสิ่งที่อาจเรียกว่าประตูทางเข้าภายในพิระมิด นอกจากนี้ยังได้ ค้นพบหุบเขาแห่งมัมมีทองคํา (Valley of the Golden Mummies) จากการขุดซากโบราณวัตถุที่บาฮาริยา โอเอซิส ซึ่งคาดว่าจะเป็นพระเจ้าตุลในช่วงสมัยกรีก-โรมัน อีกทั้งยังได้เป็นผู้ค้นพบหลุมศพของผู้ว่าการแห่งบาฮาริยาและ ครอบครัวซึ่งอยู่ข้างใต้บริเวณบ้านเรือนในเมืองอัล-บาวิตี การค้นพบในครั้งนี้ถือเป็นการผจญภัยอันน่าอัศจรรย์ใจ ที่สุดเรื่องหนึ่งในด้านโบราณคดี การขุดซากโบราณวัตถุในแถบซาค์คารานําไปสู่การค้นพบด้านโบราณคดีที่สําคัญใน บริเวณโดยรอบพีระมิดเตติ อีกหลายประการ อาทิ หลุมศพของแพทย์คาร์ และ “พีระมิดแบบไร้ยอด” ดร.อาวาส ได้นําคณะทํางานชาวอียิปต์เข้าไปสํารวจความลึกลับของมัมมี่แห่งพระเจ้าตุลโดยใช้วิธีซีทีสแกน นอกจากนี้ ดร.ฮาวาส ยังได้บรรยายถึงการค้นพบสิ่งต่างๆ นั้นต่อผู้ฟังระดับสาธารณชนและสื่อมวลชนทั่วโลก รวมถึงการถวาย รายงานต่อพระราชา พระราชินีพระองค์ต่างๆ ด้วย

ดร.ฮาวาส เป็นผู้ให้ความสําคัญเรื่องการอนุรักษ์และปกป้องโบราณสถานต่างๆ ในอียิปต์เป็นอันมาก โดยดําเนินการโครงการอนุรักษ์ขนาดใหญ่เช่นการจัดทําที่ตั้งของสปิ้งซ์ได้เป็นผลสําเร็จและกําลังดําเนินจัดทํา แผนการจัดการพื้นที่โบราณสถานต่างๆ จํานวนมาก อาทิ พื้นที่เหมืองโอเบลิสก์ที่ยังไม่สมบูรณ์ในอัสวันและ วัดต่างๆ ในพื้นที่คอม ออมโบ เอ็ดฟูและเด็นเดรา ปัจจุบันได้ดําเนินการกําหนดแผนบริหารจัดการพื้นที่บริเวณ ลูซอร์ กิซา และซาค์คารา ได้เป็นผลสําเร็จ

ดูประวัติเพิ่มเติม : ดร.ซาฮี ฮาวาส