ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด

ชื่อและนามสกุล : ท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด

วันเกิด : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2488

อายุ : 62 ปี สัญชาติ ลาว เชื้อชาติ ลาว

สถานที่เกิด : เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว

สถานะครอบครัว : คู่สมรสซื้อ นางบุนกองมะนี เล่งสะหวัด มีบุตร 3 คน

ประวัติการศึกษา

ปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

ปริญญาเอกตุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา National Economic Management from the National Economic University, Vietnam

ดํารงตําแหน่ง : รองนายกรัฐมนตรีและผู้ประจําการรัฐบาล

ประวัติการทํางาน

พ.ศ. 2504 : เข้าร่วมงานปฏิวัติกับขบวนการประเทศลาว

พ.ศ. 2504 – 2507 : ย้ายไปปฏิบัติงานในศูนย์กลางพรรคในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ

พ.ศ. 2507 – 2518 : เป็นเลขานุการคณะบริหารศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (LPRP CC)

พ.ศ. 2518 – 2525 : เป็นหัวหน้าสํานักงานคณะบริหารศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

พ.ศ. 2525 – 2531 : เป็นรองหัวหน้าคณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รองนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2532 – 2534 : เป็นเอกอัครราชทูตลาว ประจําประเทศบัลแกเรีย

พ.ศ. 2534 : สมาชิกที่มาจากการเลือกของประเทศ เมื่อประชุมสภาครั้งที่ 5

พ.ศ. 2534 – 2536 : หัวหน้าคณะรัฐมนตรี

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 : เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ นอกประเทศ, ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยเด็กและสตร์ (National Commission for Mothers and Children (NCMC)

พ.ศ. 2539 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก LPRP cc ในการประชุมสภาครั้งที่ 6

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 : เป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ภายนอกประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว, ประธานกรรมการ NCMC

มีนาคม พ.ศ. 2544 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก LPRP cc ในการประชุมสภาครั้งที่ 7

พ.ศ. 2545 : เป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ประธานคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ภายนอกประเทศ แห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประธานกรรมการ NCMC และ NCAW

มีนาคม พ.ศ. 2549 : ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก Politburo ในการประชุมสภาครั้งที่ 8

ปัจจุบัน :  เป็นรองนายกรัฐมนตรี, ผู้ประจําการรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว, ประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธาน คณะกรรมการแห่งชาติต้านมรดกโลก

ดูประวัติเพิ่มเติม : ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด

ฯพณฯ เต็ง เส่ง

นาม : ฯพณฯ เต็ง เส่ง

สัญชาติ : พม่า ศาสนา พุทธ

วัน เดือน ปีเกิด : ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่เกิด : เมืองงา ปู ตอ เขตปาเตง รัฐอิรวดี 

สถานภาพ : สมรสกับท่านผู้หญิงดอว์ ดิน ดิน วิน และมีบุตรสาว ๓ คน

– ฯพณฯ เต็ง เส่ง สําเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเมือง เงา ป ตอ เขตปาเตง รัฐอิรวดี จากนั้นเข้ารับราชการทหารในสังกัดกองทัพบก พ.ศ.๒๕๐๖ และ สําเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๑๐

– เข้ารับราชการในตําแหน่งนายพลกองจัตวา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๓๘ และได้เลื่อนยศ เป็นพลตรีโดยดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหาร พ.ศ. ๒๕๓๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เลื่อนยศเป็น พลเอกประจํากระทรวงกลาโหมและเกษียณอายุราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓

– ลงสมัครเลือกตั้งทั่วไปในฐานะผู้สมัครประจําเขตการเลือกตั้งซาบูธิริ เมืองเน ปี ดอว์ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้รับเลือกตั้งให้เป็นตัวแทนประจําสภาพิดท ฤทต่อ

– วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งรักษาการประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐแห่งสภาพพม่าโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พิดองซุ รุมต่อ ภายหลังจาก การเข้าร่วมการกล่าวคําปฏิญาณตนในวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการ

ดูประวัติเพิ่มเติม : ฯพณฯ เต็ง เส่ง

Assoc. Prof. Dr.Soukkongseng Saignaleuth

วัน เดือน ปีเกิด : 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2493

สถานที่เกิด : บ้านผังสาลี อ.ผงสาลี จ.ผงสาลี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สถานภาพ : สมรส มีบุตร 3 คน

ตําแหน่งงาน : อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

สถานที่อยู่ปัจจุบัน : 1 บ้านนาทุ่ม อําเภอไชธานี จังหวัดนครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประวัติการศึกษา :

พ.ศ. 2507 ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตั้งสาลี

พ.ศ. 2510 มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผังสาลี

พ.ศ. 2515 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนผู้งสาลี

พ.ศ. 2524 ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสร้างครู (ตงโดก)

พ.ศ. 2532 ปริญญาโท (Ms.Master of Philosophy) มหาวิทยาลัยมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

พ.ศ. 2561 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สถานที่ทํางานปัจจุบัน :
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อําเภอไชธานี จังหวัดนครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Dr.Nguyen Van Khanh

วัน เดือน ปีเกิด : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2498

ตําแหน่ง : อธิการบดี มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ประวัติการศึกษา : จบปริญญาเอก เมื่อปี 1990

ประวัติการทํางาน :

ปี 2006-ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งอธิการบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 2003-2006 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1999 2003 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย ปี 1995-1999 ดํารงตําแหน่งรองคณบดีคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1990-1995 ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์เวียดนาม คณะประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฮานอย

ปี 1977 1987 ดํารงตําแหน่งอาจารย์คณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

ปัจจุบัน
– ที่ปรึกษาการทําวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี

มนธิดา สีตะธนี

วัน เดือน ปีเกิด : 20 เมษายน 2492

สถานะภาพ : สมรส มีบุตร 2 คน

ตําแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (การศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

การศึกษา :

พ.ศ. 2517 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2511 วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2508 มัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสตรีวิทยา

ประวัติการทํางาน :

พ.ศ. 2543-2559 ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2538-2543 สํานักวิชาการและผู้ประสานงานระหว่างประเทศ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2534-2538 พํานักในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2527-2534 ผู้ชํานาญการ ระดับ 7 (การเผยแพร่การศึกษา) ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2524-2597 นักวิชาการศึกษา 8 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา

พ.ศ. 2519-2524 นักวิชาการศึกษา 4-5 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2512-2519 ครูตรี-โท กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ :

พ.ศ. 2521 ได้รับทุน ASEAN เพื่อฝึกงานด้านพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 16 สัปดาห์ที่ University of Singapore ได้ศึกษาดูงานศูนย์วิทยาศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์

พ.ศ. 2527 ได้รับเชิญจาก Camegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานด้านพิพิธภัณฑ์เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย

พ.ศ. 2527-2528 ได้รับทุนจาก Carnegie Museum of Natural History ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝึกงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่ Carnegie Museum of Natural History เมืองพิตชเบิรก และศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ในรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2528 ได้รับทุนจาก Senckerberg Museum of Natural History ฝึกงานและ ศึกษาดูงานเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ที่ Senckenberg Museum of Natural Historyเมืองแฟรงเฟิรต เยอรมนีตะวันตก

พ.ศ. 2544 ได้รับเชิญจาก British Council เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “International Networking Event: Towards Democratic Science” และศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และการดําเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ได้เข้าร่วมการประชุม “Public Communication of Science and Technology (PCST 2001) สถาบัน CERN กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

พ.ศ. 2546 ได้ร่วมมือกับ Centre for Science Education, Sheffield Halan University จัดศึกษาดูงานในสหราชอาณาจักรให้กับครูแกนนํา 22 คน โดยได้ดูงาน ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ การจัดกิจกรรมการศึกษาในสวนพฤกษศาสตร์และการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน

พ.ศ. 2546-2548 ได้รับเชิญจาก Centre for Science Education, Sheffield Halan University เข้าร่วมงาน “Annual Meeting of Science Education 2003, 2004, 2005” ในสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2547-2540 ได้รับเชิญจาก Intel Foundation เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “Intel Educator Academy 2004, 2005, 2008” และเข้าร่วมงาน “Intel International Science and Engineering Fair” ในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2549 ได้รับเชิญจาก National Resources Center เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “LASER K-8 Education Strategic Planning Institute” ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2550 ได้ร่วมมือกับ British Council จัดการศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอน สาขาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสหราชอาณาจักรให้กับผู้บริหารและอาจารย์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

พ.ศ. 2550-2552 ได้รับเชิญจากสถาบันเกอเธ่ ศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2512-2519
หลังจากได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2512 ได้ปฏิบัติงานให้กับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2518

ในระหว่างนั้น ได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการกับกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยร่วมเป็นคณะทํางานพัฒนา หลักสูตรและเขียนตําราคณิตศาสตร์แนวใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นได้เป็นวิทยากรผู้หนึ่งในการอบรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ให้กับครูคณิตศาสตร์ทั่วประเทศ

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534
ปี พ.ศ. 2519 ได้โอนจากกรมสามัญศึกษาไปฏิบัติงานกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในตําแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา และในปี พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ชํานาญการ (ด้านการเผยแพร่การศึกษา)

ในการทํางานในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534 ได้รับผิดชอบในตําแหน่งหัวหน้าโครงการจัดแสดง นิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยได้จัดแสดงนิทรรศการถาวรตามหัวเรื่องที่กําหนด จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว และจัดกิจกรรมการศึกษาในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมทั้งได้เป็นวิทยากรและเป็นผู้เขียนสคริปต์รายการวิทยุในบางช่วงเวลา นอกจากนั้นได้ออกปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อสํารวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างวัตถุทางธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ในการปฏิบัติงานที่ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับทุน ASEAN ทุนจาก Carnegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา และ ทุนจาก Senckenburg Museum เยอรมนีตะวันตก ให้รับการฝึกงานและศึกษา ดูงานในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนีตะวันตก อันทําให้สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในงานการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2538-2552
ในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 ได้พํานักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังจากการเดินทางกลับมายัง ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 ได้เริ่มปฏิบัติงานที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิบัติงานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2552 ได้ดําเนินงาน คือ

ปี พ.ศ. 2538-2543 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

ปี พ.ศ. 2543-2552 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2543-2552 การพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์

ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2543 ได้รับผิดชอบโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศแคนาดาและสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ การพัฒนาความร่วมมือกับ National Research Council ประเทศแคนาดา และ British Council สหราชอาณาจักร ทําให้ มีผลงานความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ช่วยพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ อีกมาก อาทิเช่น ความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เปรู และโปแลนด์ นอกจากนั้นได้เป็นบุคคลหลักผู้หนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจัดตั้งศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค หรือ APEC Center for Technology Foresight ขึ้นในประเทศไทย โดยมี สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินงาน ซึ่งเป็นการดําเนินงานที่ได้ รับร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มประเทศเอเปค 21 ประเทศ จะเห็นได้ว่าผลงานด้านต่างประเทศโดยรวมได้สร้างงานที่มีประโยชน์ ให้กับ สวทช. และมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ปี พ.ศ. 2543-2552 ได้เปลี่ยนหน้าที่ในการทํางานโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศมาเป็นงานด้านการพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ริเริ่มโครงการสร้างความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก่สาธารณชนในสวทช. โดยได้ใช้พื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ในการทํางานด้านต่างประเทศ มาเชื่อมโยงพัฒนางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ กับสังคมไทย

ผลการดําเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2552 รวมถึงการผลิตหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิตวารสารราย 2 เดือน การผลิตเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิต สารคดีและรายการโทรทัศน์ การจัดกิจกรรมการศึกษาและการจัดกิจกรรมค่ายต้นแบบสําหรับเด็กและเยาวชน การจัดทํา หลักสูตรและเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ การจัดหลักสูตรและเป็นวิทยากร การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมไทย การส่งเสริมการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ และการจัดประกวดผลงานนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communication Awards) การจัดนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ

นอกจากนั้นได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการและ การบรรยายพิเศษในโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการพัฒนา การสื่อสารวิทยาศาสตร์

ความสนใจในงานด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การศึกษาค้นคว้า และการมีโอกาสได้ ศึกษาดูงานในประเทศต่างๆ รวมทั้งการมีโอกาสได้ทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทําให้ได้ สะสมประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมได้อย่างกว้างขวาง มีผลงาน ผลิตออกมาจํานวนมาก ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือที่ร่วมสร้างผลงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนังสือที่เขียนได้ ทําหน้าที่เป็นบรรณาธิการ และเป็นที่ปรึกษา รวม 9 เรื่อง ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นํา ไปจัดพิมพ์เผยแพร่แก่โรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนั้นได้จัดทําวารสารราย 2 เดือน ชื่อ Science in Action ที่ได้รับ ความนิยมจากผู้อ่านอย่างมาก

ในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือได้ดําเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคลากรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อันรวมถึง หน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษา สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ สื่อ โดยได้พัฒนาความร่วมมือในการดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่ง ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชนไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็น มหาวิทยาลัยหนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือ

การพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความก้าวหน้ามาเป็นลําดับและมีผลงานการดําเนินงาน ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการผลิตหนังสือส่งเสริม การศึกษาธรรมชาติและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโทของคณะวิทยาศาสตร์ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เน้นการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ท้องถิ่นสู่สังคมไทย ทั้งนี้ได้มีบทบาทร่วมกับคณะทํางานในการพัฒนาหลักสูตร และเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 3 แห่ง

ผลงานที่ได้ดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย ได้ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ในเด็กและเยาวชน ได้พัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และได้ พัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ทั้งนี้การดําเนินงานได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออันจะทําให้เกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืนแก่สังคมไทยในอนาคต

Dr.Gao Yubao

วัน เดือน ปีเกิด : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 สถานที่เกิด : มองโกเลียในประเทศจีน

สถานภาพ : สมรส มีบุตร 1 คน

ประวัติการศึกษา :

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2527

จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2528

จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเกษตรวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ในปี พ.ศ. 2535

ประสบการณ์การทํางาน :

ในปี พ.ศ. 2530-2541 ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาและรองคณบดีวิทยาลัย Life Sciences, Nankai University

ในปี พ.ศ. 2541-2547 ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี Nankai University

ในปี พ.ศ. 2546-2547 ดํารงตําแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, Nankai University

ในปี พ.ศ. 2547-2550 ดํารงตําแหน่งรองอธิการบดี Tianjin Normal University

ในปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งอธิการบดี Tianjin Normal University

ตําแหน่งทางสังคม ผลงานวิจัยและสิ่งพิมพ์ :

– กรรมการด้านชีววิทยาในสังคมของสาธารณรัฐประชาชนจีน

– ประธานด้านชีววิทยาในสังคมของเมืองเทียนสิน

– บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชีววิทยาและหนังสือพิมพ์นิเวศวิทยาของพืช

– ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบนิเวศวิทยาของประเทศ

– สมาชิกกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินและทดสอบการเรียน

– ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบและประเมินค่าที่สําคัญของประเทศ- ร่วมสนับสนุนและดํารงตําแหน่งกรรมการในการก่อตั้ง “การทดสอบระบบนิเวศน์และชีววิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับส่วนภูมิภาคในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน โครงการแก้ปัญหาสําคัญของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเวลา 5 ปีครั้งที่ 6 และ ครั้งที่ 7 รวมถึงสภากองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

– จัดตั้งกองทุนวิจัยและค้นคว้าวิทยาศาสตร์ของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาของประเทศโดยกระทรวงศึกษาธิการและกองทุนวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ จํานวน 5 กองทุน

– ก่อตั้งกองทุนวิจัยทะเลทรายหลานโจวร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

– แกนนําหลักในการช่วยเหลือโครงการการวิจัย ให้ความสําคัญในด้าน วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนปริญญาเอกของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน
2 รายการ รวมไปถึง “โครงการแห่งชาติ 073” จํานวน 2 รายการ

– สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการปลูกป่าในสภาวะแห้งแล้ง

– วารสารวิชาการกว่า 140 เล่ม โดยเน้นเรื่องสําคัญในประเทศ

– ร่วมจัดทําแผนที่เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จํานวน 6 ชิ้น วิทยานิพนธ์ 3 เล่ม และตําราเรียนเฉพาะสาขา จํานวน 2 เล่ม

รางวัลและความสําเร็จ : 
– รางวัลอันดับที่ 2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้าแห่งชาติ

– รางวัลอันดับที่ 1 Provincial or Ministerial Science and Technology (สองครั้ง)

– รางวัลอันดับที่ 1 ตําราดีเยี่ยม Provincial or Ministerial

– รางวัลความสําเร็จทางด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการวิจัย 2 รางวัล

– คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษตั้งแต่ปี 2549

การวิจัยที่สนใจในปัจจุบัน :

– การปรับตัวของทุ่งหญ้าและป่าที่ปลูกในสภาพแห้งแล้งจากมุมมองของนิเวศวิทยาทางสรีรวิทยา
และระบบนิเวศวิทยา

– สัมพันธ์และวิวัฒนาการ ของเชื้อรากับพืชน้ำ

– กลยุทธ์เพื่อการปรับตัวในระบบนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ที่สําคัญในทุ่งหญ้าภาคเขตเหนือและ ฟาร์มที่ปลูกเอง

Dr.Chea Chamroeun

Dr.Chea Chamroeun

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ 

ประวัติ
วัน เดือน ปีเกิด : วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2513 (ตามทะเบียนแต่ปีเกิดตามจริงคือ 2503)

สถานที่เกิด : แสงกัด เลขที่ 7 พนมเปญ สัญชาติ : กัมพูชา


สถานภาพ : สมรส ชื่อคู่สมรส นางชาบ ชันมานิกา มีบุตร-ธิดา 4 คน


ที่อยู่ : เลขที่ 18 ถนน406 แสงกต ทัมนพเทต กานชั้มคามน พนมเปญ โทรศัพท์ +855 088 777 77, +855 120 000 00, อีเมล : [email protected]


บรรดาศักดิ์ : ได้รับพระราชทานคํานําหน้าชื่อ “ออกญา” จากกษัตริย์ของกัมพูชา เจ้านโรดมสีหมุน ตามประกาศในพระราชกฤษฎีกา ที่ NoNS/RKT/0905/398 วันที่ 9 มีนาคม 2548


การศึกษา :
2550 ปริญญาเอกด้านกฎหมาย

2548 ปริญญาโทต้านรัฐศาสตร์

2547 ปริญญาโทด้านกฎหมาย

2544 ปริญญาตรีด้านกฎหมาย

2534 ปริญญาตรีด้านการบริหารมวลชน

2530 ประกาศนียบัตรชั้นมัธยม

ประวัติการทํางาน

การทํางานภาครัฐ :

2551-ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (จังหวัด แตนดาล) และ คณะกรรมาธิการ การทํางาน ด้านการศึกษา, วัยรุ่น, กีฬา, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, ศาสนาและลัทธิ

2547-2551 ที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐบาลกัมพูชา (ตําแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี)

2547-2545 คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ และ ประธานคณะอนุกรรมการการตรวจสอบและดูแลการเลือกตั้ง (ตําแหน่งเทียบเท่าเลขาธิการของรัฐ)

การทํางานภาคสังคม :
2550-ปัจจุบัน ประธานสมาพันธ์วอลเลย์บอลแห่งกัมพูชา (VFC)

2545-ปัจจุบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยชามเงินโปลีเทคโนโลยี (CUP)

2538-ปัจจุบัน ประธานคณะกรรมาธิการประสานงาน องค์กรพัฒนาเอกชนของกัมพูชา”
NGO Federation”

2533-ปัจจุบัน อาจารย์สอนวิชา การจัดการ ภาวะผู้นํา การพูดในที่ชุมชนและการบริหาร

2533-2550 ประธานองค์การพัฒนาเยาวชนชาวเขมร (KYDO)

2547-2550 ประธานสถาบันการพัฒนาและสิทธิมนุษยชนสําหรับชาวกัมพูชา (CHDH)

2527-2535 ครูวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยม

2526-2535 บุคลากรให้คําปรึกษากลุ่ม UNBRO


การทํางานภาคธุรกิจ
2549-ปัจจุบัน ประธานบริษัท Security Standard Group


รางวัลเกียรติยศ :
2552 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0800/888 (เหรียญระดับโมฮาสีเรวัติ, Mohasereywath, ของราชอาณาจักรกัมพูชา)

2552 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญทองแห่งความภาคภูมิ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา) ให้ไว้ตามกฤษฎีกาย่อยที่1208ANK

2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross โปรดเกล้าพระราชทานจากพระราชินี Preah Kossomak Nearireath ให้ไว้ ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0008/1040 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ, Mohasereywath, จากพระราชินี Preah Kossomsak Nearireath)

2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross โสวาธารา ให้ไว้ตามพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/0408/388 (เหรียญโมฮาสีเรวัติระดับ โสวาธารา Sowathara )

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย grand cross โมนสาราพน ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/10077492 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ ระดับโมนิสาราพน Mornisaraphon)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross โมนิสาราพน ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1007/402 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ ระดับโมนสาราพน Mornisaraphon)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพายgrand cross ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่NS/RKT/0607/238 (เหรียญโมฮาสีเรวัติ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2550 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญการสร้างชาติให้โตยกัมพูชา ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 31BANK

2549 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา grand officer ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1007/492 (เหรียญโมฮาสาราพน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2548 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา cornrnander ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1205/505 (เหรียญเทพฟ้าเดน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา)

2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา officer โมนิสาราพน ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 804ANK (เหรียญโมนิสาราพน ระดับสนา)

2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญการสร้างชาติ ให้โดยรัฐบาลกัมพูชา ให้ไว้ตามประกาศกฤษฎีกาย่อยที่ 19ANK

2545 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตรา Chevalier ให้ไว้ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/i101/430 (เหรียญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ระดับ อสาครึท)

2545 รางวัลการทํางานจากคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ

ผลงานตีพิมพ์ :
หนังสือเรื่อง Principle of Democracy (จํานวน 16 หน้า)

หนังสือเรื่อง Basis Administration (จํานวน 323 หน้า)

หนังสือเรื่อง General Management for Non-Government Organization (จํานวน 80 หน้า)

2541 หนังสือเรื่อง Basis Leadership (จํานวน 153 หน้า)

2545 หนังสือเรื่อง Human Resource Management (จํานวน 250 หน้า)

2552 หนังสือเรื่อง Advance Organizational Management (กําลังเขียน)


ข้อมูลอื่นๆ :
การฝึกอบรม รับการฝึกอบรมการทหาร(สัญญาบัตร)และประกาศนียบัตรด้านการอบรมวิชาชีพครู


งานอดิเรก :
อ่านหนังสือและทํางานวิจัย


งานช่วยเหลือสังคม :
ช่วยเหลือสังคมด้านต่างๆ และงานองค์กรพัฒนาเอกชน

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน

ประวัติ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน  

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ 


ศิษย์เก่ารุ่น / สาขาวิชา 

  • ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูง 
  • วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ป. กศ. สูงรุ่น ๑๐)  

การศึกษาสูงสุด 

  • Doctor of Philosophy annan Geography-Admin. Leadership North Texas State University U.S.A) ค.ศ.๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๒๑) 
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๕๘  

ตําแหน่งปัจจุบัน 

  • คณะกรรมการการอุดมศึกษา (ก.ก.อ. ) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
  • นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘-ปัจจุบัน 
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙-ปัจจุบัน 

ผลงานที่โดดเด่นเกียรติประวัติ 

  • รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 
  • อธิการบดี 4 สมัย ๑๔ ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งแรกที่พัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 

นางเฉลย ศุขะวนิช

นางเฉลย ศุขะวนิช 

ปริญญา : ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ปีการศึกษา ๒๕๒๙ 

นายวิฑูรย์ ภัทรเลาหะ

นายวิฑูรย์ ภัทรเลาหะ 

ปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 

 วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ปีการศึกษา ๒๕๓๒