โอภาส มงคลวิเชียร (เบิดพลาสติก)

ประวัติ โอภาส มงคลวิเชียร (เบิดพลาสติก)  

 ศิษย์เก่า ประถมศึกษาตอนปลาย 2521 

ชื่อเล่น เบิ๊ด พลาสติก 

วันเกิด 3 พฤษภาคม 2508 

ครอบครัว มีคุณพ่อคุณแม่, กับน้องอีก 2 คนหญิง 1 ชาย 1 

การศึกษา 

  • อนุบาลถึงป. 7 สาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ  
  • ม.ศ. 1-ม.ศ. 3 ทวีธาภิเษก  
  • ม.ศ. 4-ม.ศ. 5 ชิโนรสวิทยาลัย 
  • แล้วก็กลับมาถิ่นเดิมปัจจุบันเรียนวค. บ้านสมเด็จฯ เอกดนตรีชั้นปีที่ 3 

งานอดิเรก เล่นกีตาร์, ฟังเพลง, แต่งเพลง 

ความสามารถพิเศษ เล่นเครื่องดนตรีได้หลายอย่างเช่นซอ, ขลุ่ย, ระนาด, Guitar, Piano, Sax ฯลฯ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าวงดนตรี The Plastic และเล่นในตำแหน่ง Guitar Solo ร้องนำซึ่งมีผลงานเพลงไทยออกมา 2 ชุดแล้วคือชุดหัวใจพลาสติกและชุดเธอที่รัก

ส่วนร่วมในผลงานเพลงไทย ชุดแรกแต่งเพลงโทรถึงเธอส่วนชุดหลังคือเพลงห่างเหินกับผู้ชายมีหนวด  

เกียรติยศที่ได้รับ ได้รางวัลวงดนตรีเยาวชนดีเด่นจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยปี 2528  

ความใฝ่ฝัน คือต้องแบ่งเวลาให้ถูกอดีตเคยอยากเป็นนายแพทย์หรือไม่ก็สถาปนิกปัจจุบันอยากประสบความสำเร็จในการเรียนรวมถึงการเล่นดนตรีด้วยอนาคตประสบความสำเร็จในอาชีพไม่ว่าจะเป็นครูดนตรีที่ดีหรือนักดนตรีที่มีชื่อเสียงก็ต้องม่วง-ขาวอยู่แล้วเพราะอยู่มารวมแล้ว 10 ปีได้นิสัยส่วนตัว: รักความเป็นระเบียบอ่อนไหวง่าย 

อิทธิพลเกี่ยวกับดนตรี ก็คงเป็นเอกดนตรี (ตึกวิเศษ) ที่ทำให้รักและแยกไม่ออกระหว่างดนตรีกับตัวเองหมายถึงดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดนตรี คิดว่าปัจจุบันนักดนตรีของไทยพัฒนาขึ้นมากทั้งในทางปฏิบัติและทฤษฎีถ้าเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้นรับรองไม่แพ้ใครส่วนทางด้านดนตรีไทยก็ควรมีการอนุรักษ์และสืบทอดกันเพราะเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 

ประทับใจอะไรในบ้านสมเด็จ อาจารย์ทุกท่านมีความเป็นกันเองและมีความเมตตาต่อศิษย์ทำให้รักและเคารพต่อท่านมากเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่เป็นคนดีเวลาเดือดร้อนพึ่งพาอาศัยกันได้ทุกแห่งทุกที่ในบริเวณบ้านสมเด็จฯ มีความรู้สึกรักหวงแหนและคิดว่าเมื่อใดเรามีโอกาสจะตอบแทนพระคุณได้ก็จะยินดีรับใช้อย่างเต็มใจยิ่ง 

 

ดร. สายหยุด จำปาทอง

ประวัติ ดร. สายหยุด จำปาทอง 

เกิด วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ 

ศิษย์เก่า 

  • โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รุ่น ป.ป. 2491  
  • มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ 

ประวัติการทำงาน   

  • พ.ศ. ๒๕๐๑ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี 
  • พ.ศ. ๒๕๐๙ ปฏิบัติหน้าที่ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม  
  • พ.ศ. ๒๕๑๒ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูมหาสารคาม และรองอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม 
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 
  • พ.ศ. ๒๕๒๑  รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ 
  • พ.ศ. ๒๕๒๘  ได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานพิจารณาโครงการและโปรแกรมของ UNESCO 
  • พ.ศ. ๒๕๒๙  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการฝึกหัดครูอีกวาระหนึ่ง 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  • มหาปรมาภรณ์ช้ำงเผือก 

 

ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในความอุปภัมภ์ของวัดบางน้ำผึ้ง เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เจ้าอาวาสส่งให้เรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดทรงธรรม ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง มีผลการเรียนดีเยี่ยมจึงได้รับยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ต่อมาได้รับมอบทุนเรียนฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อจบการศึกษาได้รับคัดเลือกให้ศึกษาต่อประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม ในระหว่างที่ศึกษาชั้นปีที่ ๑ ได้สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการศึกษาผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา 

 

สัมภาษณ์โดย เอื้อมพร เธียรหิรัญ 

ในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทํางานเมื่อท่านสำเร็จการศึกษาระดับ ป.ป. ประโยคครูประถม) จาก“ บ้านสมเด็จเป็นความภาคภูมิใจของชาว“ บ้านสมเด็จฯ ” อย่างยิ่งที่ศิษย์รุ่น ๙๑ (2491) ได้ประสบความสำเร็จสูงสุดท่านสอบชิงทุนในนามบ้านสมเด็จฯ ได้เป็นคนแรกไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลานานถึง 7 ปีได้ศึกษาที่ดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่งมหาวิทยาลัย MANCHESTER มหาวิทยาลัย LONDON มหาวิทยาลัย INDIANA และมหาวิทยาลัย RUTGERS ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย INDIANA ในทาง Doctor of Law และได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัย RUTGERS นับเป็นเกียรติภูมิแก่บ้านสมเด็จฯอย่างยิ่ง 

ความสําเร็จในชีวิตการทำงานท่านเคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการฝึกหัดครูรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเลขาธิการสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู       

ผมเป็นศิษย์เก่า“ บ้านสมเด็จฯ ” รุ่น 91 (2491) รุ่นเดียวกับนาวาตรีประสงค์สุ่นศิริสมัยนั้นผู้ชายจะเรียนฝึกหัดครูกันสองแห่งคือที่พระนครกับที่บ้านสมเด็จฯ ผู้หญิงจะเรียนที่“ เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์” และ“ สวนสุนันทาวุฒิบัตรสูงสุดสมัยนั้นมีถึงระดับ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) และถ้าจะเรียนต่อในระดับสูงกว่านี้ก็ต้องไปต่อหลังกระทรวง”  

ตอนที่ผมเรียนอยู่บ้านสมเด็จต้องเรียนรวมกับเพื่อน ๆ ที่ได้รับคัดเลือกมาจากนักเรียนยอดเยี่ยมของแต่ละจังหวัดผมจำได้ว่ามีการย้ายนักเรียนจาก“ พิบูลวิทยาลัย” และจาก“ อยุธยา” มารวมไว้ที่“ บ้านสมเด็จฯ ” ด้วยเราเป็นนักเรียนประจำ (นักเรียนกินนอน) คือเรียนรวมกันที่บ้านสมเด็จฯ และพักในหอพักบ้านสมเด็จฯ ในตึกเก่า ๆ ใกล้ตึกวิเศษ (อาคารดนตรีปัจจุบัน) ตึกหลังนี้ที่ผมพักได้ซื้อไปแล้ว 

รุ่นผมได้สร้างชื่อเสียงไว้ให้กับบ้านสมเด็จฯ ไว้มากครูอาจารย์รวมทั้งรุ่นน้อง ๆ ในปีถัดมาภาคภูมิใจกับความสามารถและความสำเร็จในชีวิตและการทำงานของรุ่นผมมาก 

พอผมจบ ป.ป. ประโยคครูประถมศึกษา) 2 ปีที่บ้านสมเด็จฯ ผมก็ไปต่อปม. หลังกระทรวงเรียนอยู่ได้ไม่ถึงปีผมก็เป็นคนแรกที่สอบชิงทุนป. ป. ในนามบ้านสมเด็จฯ ไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกานานถึง 7 ปีผมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และได้ประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพิ่มมาอีกผมยังได้เรียนสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนที่มหาวิทยาลัยลอนดอนอีกเมื่อผมกลับจากต่างประเทศผมก็เป็นผู้นำในการบุกเบิกงานพัฒนาชนบทที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานีผมรักงานมากและไม่เคยใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะมีตำแหน่งใหญ่โตอะไรได้ แต่ตั้งปณิธานไว้ว่าชีวิตนี้จะขออุทิศให้กับการทำงานและทำงานเพื่องานไม่เคยคิดที่จะให้ตัวเองโด่งดังอะไรรู้แต่ว่าอยากทำตัวให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติผมวางรากฐานงานฝึกสอนในชนบทและงานพัฒนาชีวิตในชุมชนของชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีไว้มากขณะนั้นองค์การ UNICEF และองค์การ UNESCO ให้ความช่วยเหลืออยู่อาจพูดได้ว่าผมใช้ชีวิตกับครูและชาวบ้านจนเข้าใจชีวิตและปัญหาตลอดจนความต้องการของชาวชนบทเป็นอย่างดีถ้าจะเปรียบเทียบความภูมิใจระหว่างตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ผมได้รับจากความมีน้ำใจของชาวบ้านผมภูมิใจในประการหลังมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมมีโอกาสไปแวะในถิ่นชนบทที่ผมเคยบุกเบิกงานมาในอดีตยังมีคนเก่าแก่ที่เป็นชาวบ้านซึ่งผมเคยไปร่วมงานยังมีชีวิตอยู่และจดจำผมได้เข้ามาหามากมายและแสดงความรู้สึกขอบคุณตลอดจนประทับใจในชีวิตการทำงานของผมเมื่อตอนที่ผมได้รับตำแหน่งใน ส.ป.ช. หลายคนแปลกใจว่าผมจะทำงานนี้ได้ไหมเพราะผมไม่เคยทำงานกับครูประถมผมได้พิสูจน์และแสดงให้เห็นแล้วว่าผมรู้จักชีวิตครูประถมเป็นอย่างดี 

 

นายสมพงษ์ พละสูรย์ (คำหมาน คนไค)

ประวัติ สมพงษ์ พละสูรย์ (คำหมาน คนไค)  

ศิษย์เก่า  ป.กศ.สูง พ.ศ. 2502 

ปัจจุบัน ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 

วันเกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2480 ที่บ้านดอยเมยต. นาจิกอ. อำนาจเจริญจ. อุบลราชธานีเป็นบุตรคนเดียวของนายยอด – นางทุมพละสูรย์มีอาชีพทำนา

ประวัติการศึกษา 

  • คําหมาน คนได เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมเมื่อปี พ.ศ. 2488 ที่ร. ร. วัดบ้านดอยเมย จ. อุบลราชธานีต่อมา พ.ศ. 2492 เข้าเรียนชั้นมัธยมที่ร. ร. เบญจมมหาราชในตัวจังหวัด  
  • พ.ศ. 2498 เข้าเรียนที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจ. ธนบุรี ป.ป. ปี 2500 ขณะเรียนอยู่ป. กศ. ต้นปี 2 สอบม. 8 แผนกอักษรศาสตร์ได้  
  • พ.ศ. 2502 สำเร็จชั้นป. กศ. สูงเข้าเป็นครูประชาบาลในจังหวัดทางภาคอีสาน  
  • พ.ศ. 2507 เรียนต่อที่วิทยาลัยประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2509 จบปริญญาตรีทางการศึกษา  
  • พ.ศ. 2511 ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยนอร์ทเธอร์นโคโลราโดสหรัฐอเมริกาสำเร็จปริญญาโทสาขาบริหารศึกษา 

ประวัติการทํางาน  

  • พ.ศ. 2502 เข้าเป็นครูประชาบาลในจังหวัดทางภาคอีสานภาคอีสาน 
  • พ.ศ. 2513 เป็นศึกษานิเทศก์เขต 10  
  • พ.ศ. 2516 เป็นหัวหน้าศึกษานิเทศก์จ. อุบลราชธานี  
  • พ.ศ. 2520 เป็นนักวิชาการศึกษา 6 ประจำศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 

ผลงาน  

เริ่มเขียนบทความทางการศึกษา ทั้งในแง่ของปัญหาข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขส่งไปลงในวารสารท้องถิ่นในจังหวัด 2509 เขียนบทความทางการศึกษาลงในชาวกรุงและเริ่มเขียนสารคดีและเรื่องสั้นไปด้วย 

งานที่ผ่านมา 20 เรื่องเรื่องยาว 2 เรื่อง และหรรษาคดีอีกประมาณ 20 เรื่องได้ตีพิมพ์ในหนังสือต่างๆ ดังนี้

  1. รจนา
  2.  พาที 
  3. คนไท 
  4. ต่วยตูน
  5. เมืองยิ้ม
  6. ฟ้าเมืองไทย 
  7. วิทยาสาร 
  8. ประชาบาล 
  9. การศึกษาเอกชนฯ  

งานที่เขียนได้รางวัล

  1. บันทึกของครูประชาบาล ได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดหนังสือประจำปี 2520  
  2. จดหมายครูบ้านนอกได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดีในการประกวดหนังสือประจำปี 2524  

การเข้ามาสู่วงการเขียนหนังสือ 

ค่าหมาน คนไคไ ด้รับความสนับสนุนจาก เสถียรทจันทิมา ธรบรรณาธิการวิทยาสารและ กานต์มณี ศักดิ์เจริญ จากสำนักพิมพ์บรรณกิจ  

งานเขียนของ คำหมาน คนไค มีพื้นฐานอยู่บนความจริงของสังคม ที่เขาเคยได้พบมา เขาเป็นเพียง เขาเป็นเพียงนักเขียนทีต้องถ่ายทอดชีวิตความจริงออกมาเป็นตัวหนังสือ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวเหล่านั้นให้แก่ประชาชนในสังคมเดียวกัน ได้อ่านและได้คิด 

ผลงานที่ได้รับรางวัลในการประกวดหนังสือ และผลงานที่ประชาชนนิยม 

  • บันทึกของครูประชาบาล 
  • จดหมายครูบ้านนอก 
  • จดหมายจากครูคำหมาน 
  • ครูบ้านนนอก 

นายสมชาย นิลวรรณ

ประวัติ สมชาย นิลวรรณ  

ศิษย์เก่า รุ่น 2500  

ปัจจุบัน นักธุรกิจนักจัดรายการ, นักหนังสือพิมพ์และพิธีกรระดับชาติ 

เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่เข้ามาศึกษาที่วิทยาลัยและได้นำวิชาครูจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประกอบกับความสามารถของตัวเองทำให้ประชาชนยอมรับในผลงานของเขาชื่อเสียงติดปากประชาชนชาวบ้านสมเด็จฯ รู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของเขาบุคคลที่กล่าวถึงผู้นี้คือ“ คุณสมชาย นิลวรรณ “

ผลงาน 

  • นักธุรกิจ 
  • นักจัดรายการ: รายการเพลงรายการแฟชั่นโชว์ทางโทรทัศน์ 
  • ผู้กำกับละคอนทีวี: กำกับละคอนทีวีหลายเรื่อง แต่ที่ดังมากคือเรื่อง“ ประชาชนชาวแฟลต” และ“ จิตไม่ว่าง 
  • นักหนังสือพิมพ์: ขณะนี้กำลังทำอยู่คือ KIDDY เป็นวารสารที่พิมพ์ในต่างประเทศ 

 

นายสนั่น แก้วปู่วัด

ประวัติ สนั่น แก้วปู่วัด  

ศิษย์เก่า ป.กศ.สูง พ.ศ.2509 

ปัจจุบัน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดนินสุขาราม กทม.

ประวัติ  

  • พ.ศ. 2507 จบ ป.กศ. จากวค. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • พ.ศ. 2509 จบป. กศ. สูงจากวค. บ้านสมเด็จเจ้าพระยาเริ่มทำงานครั้งแรกที่ร. ร. แสงอรุณจ. ธนบุรีเป็นเวลา 6 เดือนต่อจากนั้นลาออกมาสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีระหว่างนั้นก็ได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร  
  • พ.ศ. 2511 ได้ย้ายมาเป็นครูที่ร. ร. วัดกำแพงเขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานครและสำเร็จปริญญาตรีจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรในปี พ.ศ. 2514 ผลงานตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ทำหน้าที่ครูผู้สอนและอีก 10 ปีที่ทำหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนได้อุทิศตัวให้แก่งานราชการด้วยความอุตสาหะจนทำให้โรงเรียนได้รับชื่อเสียงและเป็นผลดีต่อการศึกษาคือ 
  • พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดนินสุขารามระหว่างนั้นก็ได้ศึกษาต่อปริญญาโทภาควิชาบริหารการศึกษาที่คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำเร็จปริญญาโทในปี พ.ศ. 2524  
  • ปัจจุบันเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดนินสุขารามเขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร  

ผลงาน 

  • พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนผู้นำหลักสูตรประวัติการ  
  • พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น  
  • พ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลพระราชทานห้องสมุดดีเด่นและรางวัลชมเชยโรงเรียนดีเด่นจากกรุงเทพมหานคร 
  • จัดโรงเรียนได้ร่มรื่นสวยงามมีบรรยากาศและมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในหลาย ๆ ด้านมีการศึกษาและคณะครูจากโรงเรียนต่าง ๆ มาเยี่ยมชมโรงเรียนอยู่เสมอ 
  • ให้ความร่วมมือแก่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ รับนักศึกษามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้การแนะนำช่วยเหลือและพัฒนาให้นักศึกษามีประสบการณ์ในวิชาชีพอย่างดี 
  • เป็นวิทยากรให้การอบรมแก่ครูผู้ช่วยฝ่ายวิชาการและครูแนะแนวสังกัดกรุงเทพมหานครในเรื่องการบริหารงานวิชาการและเรื่องคุณภาพชีวิต 
  • เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในเรื่องการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาและการใช้หลักสูตรประถมศึกษา 

นางสาววรัญญา วรากร

ประวัติ วรัญญา วรากร  

ศิษย์ปัจจุบัน กศ.บป.  

วันเกิด 30 ธันวาคม 2508 มีพี่น้อง 4 คนเป็นลูกคนที่ 2  

ประวัติการศึกษา 

  • ระดับประถมมัธยมเรียนที่โรงเรียนเทเวศร์วิทยา 
  • ระดับปวช. และปวส. เรียนที่โรงเรียนพาณิชยการราชดำเนินธนบุรี 
  • ระดับปริญญา-สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ความสําเร็จในสังคม 

  • ปี 2522 ได้ตำแหน่งนางนพมาศสวนสามพรานและขวัญใจช่างภาพ 
  • ปี 2524 ได้ตำแหน่งนางสงกรานต์นนทบุรี 
  • ปี 2525 ได้ตำแหน่งมิสพัทยาและขวัญใจช่างภาพ 
  • ปี 2526 ได้ตำแหน่ง มิส.เอ.ซี. และขวัญใจช่างภาพ 
  • ปี 2527 ได้ครองตำแหน่งรองนางสาวไทยอันดับ 1 และขวัญใจช่างภาพในการประกวดของสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย 
  • ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการละครปริศนาทีวีสีช่อง 3  

ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยาลัย 

ควรรณรงค์ ด้านประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่ว ไปได้ทราบว่าผลงานของวิทยาลัยมีอะรไบ้างโดยเฉพาะศิษย์เก่าของบ้านสมเด็จฯ ที่ใหญ่ ๆ มีชื่อเสียงและมีความสำเร็จในหน้าที่ราชการมีมากมายอาทิพลตรีจำลองศรีเมืองพวกศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ชื่อเสียงของวิทยาลัยดังขึ้นให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ 

ความรู้สึกที่มีต่อวิทยาลัย 

รู้สึกว่าเป็นโชคของผู้ที่ทำงานแล้วที่วิทยาลัยให้โอกาสมาเพิ่มเติมความรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและสังคมโดยทั่วไปวิชาการต่าง ๆ ที่วิทยาลัยจัดโปรแกรมให้เรียนสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าได้เช่นวิชาภาษาไทยส่วนวิชาอื่น ๆ ก็ทำให้เราเข้าใจถึงสภาวการณ์ของบ้านเมืองสภาพเศรษฐกิจและภาวะการเงินของประเทศอันจะก่อให้เกิดความสามารถในการพัฒนาตัวเองให้พร้อมที่จะรับผิดชอบการงานของตนและสังคมได้ดียิ่งขึ้น 

เรือเอก นายแพทย์กิติชัย กุมภลำ

ประวัติ เรือเอก นายแพทย์กิติชัย กุมภลำ   

ศิษย์เก่า มัธยมปีที่ 6 2505  

ปัจจุบัน แพทย์ประจำโรงพยาบาลเปาโล 

ประวัติการศึกษา 

  • เข้าศึกษาที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ ตั้งแต่ 2495 ชั้นประถมปีที่ 1 จบมัธยมปีที่ 4 ปี  
  • 2505 เรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  
  • 2508 เรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิทยาศาสตร์การแพทย์  
  • 2513 ศึกษาจบเข้ารับราชการเป็นเรือเอกประจำโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์สัตหีบต่อมาย้ายมาอยู่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า  
  • 2518 ลาออกมาอยู่ที่โรงพยาบาลเปาโลแผนกสูตินรีเวชจนกระทั่งปัจจุบัน 

ความประทับใจ 

เมื่อวัยเรียนประทับใจในการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จฯ สอนให้เด็กเชื่อมั่นในตัวเองได้แสดงออกอย่างกว้างขวางนอกจากในเรื่องระบบการเรียนการสอนแล้วยังประทับใจคือตึกสามชั้นที่บ้านสมเด็จฯ ขณะนั้นเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยอีกอย่างหนึ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือเจ้าพ่อเคยแวะไปเยี่ยมบ้านสมเด็จฯ สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือการสักการะเจ้าพ่อสำหรับเพื่อนร่วมรุ่นที่ดัง ๆ มีหลายคน … พิชิตแรกชำนาญ, สังคมวิริยะกิจประภัสสรเสวิกุล, ประพัฒน์ตงคมาลี 

สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างคือสระน้ำมรกตข้างหอประชุมเราร้องเพลงกันในหมู่เพื่อน ๆ
เสมอ ๆ ว่า“ น้ำในสระมีขยะลอยลิ่วพริ้ว ๆ เป็นประกายแสนงาม” พอรู้ว่าจะสร้างสระน้ำใกล้เคียงมาตรฐานขึ้นแทนสระมรกตรู้สึกดีใจมากเพราะเด็ก ๆ จะได้ว่ายน้ำเพื่อสุขภาพกันเสียที 

นายพิษณุ เข็มพิลา

ประวัติ พิษณุ เข็มพิลา

ศิษย์เก่า ปริญญาตรี 2527 

ปัจจุบัน อาจารย์วิทยาลัยครูมหาสารคาม 

พิษณุ เข็มพิลา เป็นศิษย์ตัวอย่างผู้เสียสละของบ้านสมเด็จฯ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่มาศึกษาอยู่ในบ้านสมเด็จฯ เขาเสียสละทั้งแรงกายและแรงใจฝึกซ้อมจนกระทั่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวเอกเป็นประจำเรื่องที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือเรื่องพระนาละแสดงที่หอประชุมวชิราวุธเป็นพระอินทร์มีผู้ชมนับหมื่นชื่นชมกับผลงานของพิษณุมากการแสดงครั้งนี้สร้างชื่อเสียงให้กับบ้านสมเด็จฯ มากทำให้คณะกรรมการจัดทำหนังสือมีความสนใจจึงขอสัมภาษณ์นายพิษณุเข็มพิลาสรุปได้ดังนี้ 

ประวัติส่วนตัว

  • 2522 เข้าศึกษาระดับป. กศ. ต้นที่วิทยาลัยครูมหาสารคามส่วนร่วม  
  • 2524 เข้าศึกษาระดับป. กศ. สูงที่วิทยาลัยครูสกลนครเกียรติ  
  • 2527 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ วิชาเอกนาฏศิลป์ 
  • 2529 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและสอบบรรจุกรมการฝึกหัดครูได้ที่ 1 ในกรมการฝึกหัดครูทั้ง ๆ ที่มีผู้สมัครสอบหลายร้อยคน  
  • 2529 บรรจุเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม 

การศึกษาเพิ่มเติม 

นิสัยพิษณุ เข็มพิลาก่ อนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนาฏศิลป์ชั้นแนวหน้าได้แสวงหาความรู้ทักษะและประสบการณ์จากอาจารย์เป็นพิเศษหลายท่านทุกท่านรักและเต็มใจที่จะฝึกซ้อมให้อย่างสุดความสามารถอาทิท่านอาจารย์เฉลยศุขะวณิช, อาจารย์อุดมอังศธรและอาจารย์กฤษณาบัวสรวง 

นายพะนอม แก้วกำเนิด

ประวัติ พะนอม แก้วกำเนิด  

ศิษย์เก่า  ป.ป. 2493 

ปัจจุบัน  อธิบดีกรมสามัญศึกษา 

ที่อยู่ บ้าน 109/4 ซอย 78 ถนนเพชรเกษมตำบลบางแวกเขตภาษีเจริญกทม. 10600 โทร. 412-1470 

ที่ทํางาน กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการกทม. 10300 โทร. 281-2310 

วันเกิด 23 กุมภาพันธ์ 2475

สถานศึกษา 

  • โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีจ. สุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2485-2490 ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา 
  • โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยากรุงเทพฯ พ.ศ. 2491-2493 ป.ป.  
  • โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2494 2495 ป.ม. วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรกรุงเทพฯ พ.ศ. 2497 2498 กศ.บ. มหาวิทยาลัยมิชิแกนสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2501-2502 MA. in Ed  

ประวัติการรับราชการ 

  • พ.ศ. 2496 2497 โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลาจ. สงขลากรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งครูตรงานที่รับผิดชอบแต่งงาน พ.ศ. 2499-2504 วิทยาลัยครูอุบลราชธานีจ. อุบลราชธานีตำแหน่งครูโทงานที่รับผิดชอบงานสอนหัวหน้ากิจกรรมนักเรียน  
  • พ.ศ. 2505-2506 สํานักงานโครงการพัฒนาการศึกษา (G.E.D. ) กรมวิสามัญศึกษาน่งศึกษานิเทศก์โทงานที่รับผิดชอบผู้ช่วยเลขาฯ โครงการ  
  • พ.ศ. 2506-2511 วิทยาลัยครูเพชรบุรีจ. เพชรบุรีกรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งอาจารย์ใหญ่งานที่รับผิดชอบบริหารการเรียนการสอนในระดับ ป.กศ.  
  • พ.ศ. 2512-2516 กองโรงเรียนราษฎร์กรมวิสามัญศึกษาตำแหน่งผู้อำนวยการกองโรงเรียนราษฎร์งานที่รับผิดชอบบริหารงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยเอกชน  
  • พ.ศ. 2516-2519 หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษาตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์งานที่รับผิดชอบส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนระดับก่อนเรียนประถมศึกษามัธยมศึกษาการศึกษาสงเคราะห์และการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2518-2519 กรมสามัญศึกษาตำแหน่งรองอธิบดี  
  • พ.ศ. 2520-2522 กรมการฝึกหัดครูตำแหน่งรองอธิบดี  
  • พ.ศ. 2521-2523 สำนักงานปลัดกระทรวงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง  
  • พ.ศ. 2522-2523 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติตำแหน่งเลขาธิการฯ งานที่รับผิดชอบวางนโยบายและประสานงานเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมของชาติ  
  • พ.ศ. 2523-2527 กรมการฝึกหัดครูตำแหน่งอธิบดีงานที่รับผิดชอบบริหารงานการฝึกหัดครูในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงฯ  
  • พ.ศ. 2527-2529 สำนักงานปลัดกระทรวงตำแหน่งรองปลัดฯ 
  • พ.ศ. 2529- ปัจจุบันกรมสามัญศึกษาตำแหน่งอธิบดีงานที่รับผิดชอบบริหารงานการมัธยมศึกษาการศึกษาสงเคราะห์และการศึกษาพิเศษ 

พลตรีจำลอง ศรีเมือง

ประวัติ พลตรีจำลอง ศรีเมือง 

ศิษย์เก่า มัธยมปีที่ 6 ปี 2495  

ปัจจุบัน ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร 

6 ปีเต็มที่ผมได้มีโอกาสมารับการอบรมบ่มสอนในสถานศึกษาแห่งนี้มีความใกล้ชิดกับนักเรียนฝึกหัดครู ซึ่งพวกเรานักเรียนมัธยมมีความรู้สึกเคารพเลื่อมใส นักเรียนฝึกหัดครูทุกคน แม้หลายคนจะไม่ได้ฝึกสอนเราก็ตามเราเห็นว่าเป็นครูที่ดีได้ทุกคน เมื่อวันนี้มาถึงผมก็อยากจะเห็นนักเรียนฝึกหัดครู เป็นปูชนียบุคคลเหมือนภาพเก่า ๆ ที่ยังติดตาตรึงใจผมอยู่ 

จำลอง ศรีเมือง เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ที่ย่านสำเหร่ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็นแขวงสำเหร่ เขตธนบุรี) บิดามีอาชีพค้าปลาสดชื่อ สมนึก ชุณรัตน์ ส่วนมารดาชื่อ บุญเรือน ประกอบอาชีพแม่ค้าเร่ ตั้งแต่ พล.ต.จำลองยังแบเบาะบิดาได้เสียชีวิตลง และต่อมามารดาได้สมรสใหม่กับ โชศน์ ศรีเมือง ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล ศรีเมือง ที่ พล.ต.จำลองใช้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ กับชื่อเล่น จำลองนั้นเดิมมีชื่อเล่นว่า “หนู” แต่พอเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก็ถูกเพื่อนฝูงตั้งให้ใหม่ว่า “จ๋ำ” ขณะที่ชื่อ “ลอง” นั้น เป็นชื่อเล่นที่คนอื่น ๆ ทั่วไปมักใช้เรียกขาน ส่วนที่มีคำว่า “หา” เรียกก่อหน้าชื่อ เพราะ พล.ต.จำลองเป็นผู้ที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรม เมื่อครั้งอุปสมบทก็ศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง และเคยออกมาระบุว่าตนเองปฏิบัติตนสมถะ นอนไม้กระดานแผ่นเดียว แม้แต่การอาบน้ำก็จะใช้น้ำเพียง 5 ขัน จึงได้ฉายาว่า “มหา 5 ขัน” และมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ สวมเสื้อม่อฮ่อมเป็นประจำ โดยสวมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และไว้ผมสั้นเกรียนม 

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ พ.ต.หญิง ศิริลักษณ์ เขียวละออ โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังได้ร่วมกันทำกิจกรรมสังคมหลาย ๆ อย่าง ทั้งด้านการปฏิบัติธรรม เรื่องการกินอาหารมังสวิรัติ ดูแลสุนัขจรจัด รวมถึงจัดตั้งโรงเรียนผู้นำ และ จำลอง เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่ามีความใกล้ชิดและเป็นสมาชิกคนสำคัญของสำนักสันติอโศก 

การศึกษา 

หลังเรียนจบชั้น ม.6 จำลอง จึงตัดสินใจเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยที่ก็สอบได้ และจบ จปร.รุ่น 7/2 เนื่องจากสมัยเป็นนักเรียนนายร้อย จำลอง กับพวกไปจัดฉายภาพยนตร์หารายได้ซื้ออุปกรณ์กีฬาและดนตรีเข้าสโมสรนักเรียนนายร้อย แต่การกระทำดังกล่าวไปผิดในข้อหาขัดคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งขณะนั้นคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก จึงถูกปลดจากหัวหน้านักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนลูกแถว และถูกลงโทษให้รับกระบี่ช้าออกไป ไม่พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่น ๆ 

วีรบุรุษภูผาที 

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ใน พ.ศ. 2511 ระหว่างสงครามเวียดนาม จำลองในขณะมียศ ร้อยเอก (ร.อ.) สังกัดเหล่าทหารสื่อสาร ได้เข้าไปปฏิบัติการพิเศษในประเทศลาว ณ ยุทธภูมิภูผาที ในชื่อรหัสว่า “โยธิน” มีวีรกรรมในการป้องกันสถานีเรดาห์จากการยึดครองของคอมมิวนิสต์จนได้รับฉายาว่า “วีรบุรุษภูผาที” 

ชีวิตนักการเมือง 

  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

จำลอง เริ่มชีวิตทางการเมืองเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ต่อมาได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เพราะไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไขกฎหมายทำแท้ง 

  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 

จำลอง มีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมาหลังจากลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2528 เบอร์ 8 ในนาม “กลุ่มรวมพลัง” โดยชนะได้รับคะแนนเสียง 408,233 คะแนน ถึงขนาดที่วงคาราบาว แต่งเพลงให้ชื่อ “มหาจำลองรุ่น 7” การชนะการเลือกตั้งในสมัยนั้นทำให้ท่านได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่เกิดในระบอบประชาธิปไตยที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครก่อนผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่เกิดหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านอื่นๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 จึงก่อตั้ง พรรคพลังธรรม ขึ้น โดยสื่อมักเรียกขานกันว่าเป็น “พรรคพลังผัก” เนื่องจากสนับสนุนให้คนเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินอาหารมังสวิรัติ กระแสความนิยมในตัว พล.ต.จำลองในฐานะนักการเมืองผู้สมถะ พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกระแส “จำลองฟีเวอร์” และเรียกกันติดปากว่า “มหาจำลอง” ชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่า ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2533 โดยได้รับคะแนนท่วมท้นถึง 703,671 คะแนน ทิ้งห่างผู้สมัครจากพรรคประชากรไทยคือ นายเดโช สวนานนท์ ถึง 419,894 คะแนน แต่ก่อนที่จะครบวาระ 4 ปี ก็ลาออก และผันตัวเองสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติ 

พฤษภาทมิฬ 

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับคะแนนความนิยมสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพ ฯ โดยสามารถกวาดที่นั่งได้ถึง 32 ที่นั่งจาก 35 ที่นั่ง และเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จำลอง เป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล สุจินดา คราประยูร โดยถูกจับกุมตัวกลางที่ชุมนุมเมื่อบ่ายวันทื่ 18 พฤษภาคม และในวันที่ 20 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสองเข้าเฝ้า โดยมีพระราชดำรัสสำคัญถึงการต่อสู้กันรังแต่จะทำให้บ้านเมืองพินาศ หลังจากนั้น จำลอง ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งทางการเมืองตามที่เคยได้ให้สัญญาไว้เมื่อครั้งชุมนุม ซึ่งหลังจากนี้ได้มีกระแสเสียงกล่าวหาว่า “จำลองพาคนไปตาย” จากฝ่ายตรงข้าม 

ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จำลอง ศรีเมือง ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรม ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 และได้ให้การสนับสนุน กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อจากตน จำลองเป็นผู้ผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟฟ้าธนายง สายสุขุมวิท และสายสีลม โดยมอบหมายให้ กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ทำการศึกษาเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน ที่ถูกยกเลิกไปในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และให้สัมปทานแก่บริษัท ธนายง ทำการก่อสร้างโดยบริษัท อิตาเลียนไทย 

รถไฟฟ้าธนายง เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่มีการก่อสร้าง ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอส มีชื่อทางการว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 

จำลอง ศรีเมือง ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีพร้อมกับรัฐมนตรีจากพรรคพลังธรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบาย สปก. 4-01 ของพรรคประชาธิปัตย์ และทำให้ ชวน หลีกภัย ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันนั้น 

สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร 

จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก ก็ด้วยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง. โดยในปี 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ดำ​​รงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสังกัดพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง อีกด้วย. พล.ต.จำลอง มีภาพของการเป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมา. จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2539 แต่ทว่าคราวนี้ พล.ต.จำลอง ไม่อาจชนะการเลือกตั้งได้เหมือนเมื่ออดีต เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอย โดยแพ้ให้แก่ นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้สมัครด้วยกัน. จากนั้นมาบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็ค่อย ๆ ลดลง โดยเจ้าตัวได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้นำ อบรมบุคลากรที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมต่อไปในอนาคตขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสมถะอยู่ที่นั่น แต่เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.ต.จำลอง ก็ยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่ เช่น คดีซุกหุ้น พล.ต.จำลอง ก็เป็นหนึ่งบุคคลที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในห้องพิพากษาด้วย. 

พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อเป็นผู้สนับสนุน นายมานะ มหาสุวีระชัย ผู้สมัครอิสระเบอร์ 5 อดีต ส.ส.พรรคพลังธรรม และประชาธิปัตย์ แต่นายมานะก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อเป็นผู้ประท้วงไม่ให้เบียร์ช้างเข้าตลาดหุ้น โดยเจ้าตัวอ้างเพื่อเหตุศีลธรรมของสังคม 

เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 

พลตรีจำลอง กำลังปราศรัยขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 

ในสถานการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 จำลอง ได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 5 แกนนำเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำอีก 4 คนคือ สนธิ ลิ้มทองกุล พิภพ ธงไชย สมศักดิ์ โกศัยสุข และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ โดยมี สุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย

รางวัลและเกียรติยศ  พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นนายกองเอก เมื่อ พ.ศ. 2529 

เครื่องราชอิสริยาภรณ

  • พ.ศ. 2532  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2530 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  
  • พ.ศ. 2515 –  เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)  
  • พ.ศ. 2512 –  เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)  
  • พ.ศ. 2515 –  เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)  
  • พ.ศ. 2531 –  เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1