เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ

ประวัติ เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ

เกิด วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2486 ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ศิษย์เก่า 

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ อ.บางเขน กรุงเทพฯ 
  • จบประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้รับทุนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 
  • จบการศึกษาบัณฑิตจาก มศว.ประสานมิตร 

ประวัติการทำงาน 

  • หัวหน้างานบริการการศึกษา กองกิจการนักศึกษา 
  • ผู้อำนวยการวิทยาเขต รามคำแหง 2 
  • นักกิจการนักศึกษา เชี่ยวชาญ 9 
  • ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
  • ประธานอำนวยการและเลขาธิการกิตติมศักดิ์สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย 
  • กรรมการสภาการจัดการแข่งขันสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ต่อเนื่องมา ๒๘ ปี 
  • กรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติต่อเนื่องมา ๒๖ ปี 
  • รองประธานและเลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย 

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • ปี พ.ศ.2538 รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนของชาติ จากการพิจารณาของสำนักงานเยาวชน
    แห่งชาติ 
  • ปี พ.ศ.2540ได้รับรางวัล “เพชรกรุงเทพ” ในฐานะบุคคลดีเด่น สาขากีฬาคนแรกจากการพิจารณาของกรุงเทพมหานคร 
  • ปี พ.ศ.2541 ได้รับโล่ผู้สร้างชื่อเสียงด้านกีฬาให้แก่ประเทศไทย จากการพิจารณาของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • ปี พ.ศ.2544 ได้รับโล่ “เชิดชูเกียรติบุคลากรทางการกีฬา” จากการพิจารณาของการกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • ปี พ.ศ.2545 ได้รับรางวัล “Grand Spirit Award” ในฐานะนักกีฬาผู้ทรงคุณค่าแห่งการกีฬาแห่งชาติ

ผลงานที่โดดเด่นเกียรติประวัติ 

  • ผู้แทนเทคนิคของสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (AVC) ควบคุมการแข่งขันวอลเลย์บอลซีเกมส์เอเชี่ยนเกมส์เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 
  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนของชาติจากสํานักงานเยาวชนแห่งชาติ 
  • รางวัล “เพชรกรุงเทพในฐานะบุคคลดีเด่นสาขากีฬา“ คนแรกจากกรุงเทพมหานคร 
  • โล่ “ผู้สร้างชื่อเสียงด้านกีฬาให้แก่ประเทศไทย” จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 
  • รางวัลเกียรติยศ ๖๐ ปีโอลิมปิกไทย (วอลเลย์บอล) จากคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย 

พล.อ.ประมณฑ์ ผลาสินธุ์

ประวัติ พล.อ.ประมณฑ์ ผลาสินธุ์

วันเกิด 4 ตุลาคม ๒๔๗๘  

ที่อยู่  บ้านข้างวัดหงส์รัตนารามอำเภอบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร 

สมรส  พ. อ. หญิงพวงเพ็ญ ผลาสินธุ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  มีบุตรธิดา 3 คนคือ 

  • พ. ท. ปริพัฒน์ผลาสินธุ์ 
  • พ. ท. ปิยพลผลาสินธุ์ 
  • น. ส. มนทกานต์ผลาสินธุ์ 

ประวัติการศึกษา 

  • ๒๔๙๑ โรงเรียนมัธยมสาธิตบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • ๒๔๙๗ โรงเรียนเตรียมนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  
  • ๒๕๐๙ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก  
  • ๒๕๒๑ วิทยาลัยการทัพบก  
  • ๒๕๓๑ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

ประวัติการทํางาน  

  • ๒๕๐๕ ผู้บังคับหมวดปืนเล็กกองร้อยอิสระ (เกาหลี) ผลัดที่ ๑๔  
  • ๒๕๐๗ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบากองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓  
  • ๒๕๑๒ นายทหารยุทธการกรมสนับสนุนกองพลอาสาสมัครเวียดนาม  
  • ๒๕๒๒ หัวหน้ากองนโยบายและแผนกรมยุทธการทหารบก  
  • ๒๕๒๘ เจ้ากรมยุทธการทหารบก  
  • ๒๕๓๑ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารทหารบกฝ่ายยุทธการ  
  • ๒๕๓๓ รองเสนาธิการทหารบก  
  • ๒๕๓๕ เสนาธิการทหารบก  
  • ๒๕๓๖ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก  
  • ๒๕๓๗ เสนาธิการทหารปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกความทรง 

ความทรงจำในบ้านสมเด็จพล. อ. ประมณฑ์ผลาสินธุ์มีความผูกพันกับบ้านสมเด็จฯ อย่างแน่นแฟ้น เพราะนอกจากตัวพล. อ. ประมณฑ์แล้วคุณพ่อและพี่ชายอีก ๒ คนก็ยังเป็นศิษย์เก่ามัธยมบ้านสมเด็จฯ อีกด้วยท่านเรียนโรงเรียนนี้ตั้งแต่ชั้นม. ๒ ถึงม. ๖ มีเลขประจำตัว ๕๐๑๗ รุ่นเดียวกับพล. อ. ต. กุงอัตตะนันท์พล. ร. อ. พรหมินทร์โพธิพละ, สมบุญศิลศรซึ่งจบวิศวะจุฬาฯ ทำงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ยังติดต่อกันสม่ำเสมอคือคุณมิตรภาพชลานุเคราะห์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

ในสมัยเรียนพล. อ. ประมณฑ์เป็นเด็กซนที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับอาจารย์ฝ่ายปกครองคนหนึ่งเหมือนกันสมัยนั้นนักเรียนมักจะกลัวครูยิ่งกว่ากลัวพ่อแม่ แต่ครูจะคลุกคลีและดูแลนักเรียนเหมือนลูกหลานสั่งสอนตักเตือนทั้งเรื่องการเรียนและความประพฤติครูที่ประทับใจมิรู้ลืมคือคุณครูพรพิมลและคุณครูบูรพาพุทธมาตย์เมื่อมีการพบปะสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนชมรม 4 (เพื่อนบ้านสมเด็จฯ กลุ่มเล็ก ๆ ที่จัดให้มีกิจกรรมช่วยเหลือเกื้อกูลและพบปะสังสรรค์กันประจำโดยมีคุณมิตรภาพเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง) ก็จะเชิญคุณครูทั้งสองมาเป็นขวัญใจเสมอ แต่ในระยะหลังสมาชิกชมรม ๙ ต่างมีภารกิจมากมายการพบปะสังสรรค์จึงห่างออกไป 

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สมมาตร แก้วโรจน์

ประวัติ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สมมาตร แก้วโรจน์

อายุ 56 ปี

ตำแหน่ง

  • รับราชการตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9
  • นายแพทย์
  • ภาควิชาออร์โธปิดิกส์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

ภรรยา 

  • รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงศรีประไพ (บุณยศานติ) แก้วโรจน์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 

บุตร / ธิดา  

  • นายกฤษณ์แก้วโรจน์อายุ 18 ปีนักศึกษาแพทย์ปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
  • นางสาวกุลกานต์แก้วโรจน์อายุ 17 ปีนักศึกษาแพทย์ปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
  • นายกันต์แก้วโรจน์อายุ 15 ปี  นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท  

การศึกษา 

  • มัธยมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2498 
  • มัธยมปีที่ 8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2500  
  • อนุปริญญาวิทยาศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2503  
  • ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2507 
  • วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ) แพทยสภา พ.ศ. 2515  
  • วุฒิบัตรจากวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติ พ.ศ. 2518  
  • วุฒิบัตรจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2518  
  • วุฒิบัตรจากสมาคมเวชศาสตร์การกีฬานานาชาติ 

การศึกษาอบรมและดูงานเพิ่มเติม  

  • ศึกษาและอบรมระยะสั้นเรื่องการผ่าตัดและรักษาโรคของกระดูกสันหลังที่โรงพยาบาลควีนแมรี่และโรงพยาบาลชเชสส์ออฟเคนท์มหาวิทยาลัยฮ่องกงประเทศฮ่องกง พ.ศ. 2518  
  • ศึกษาอบรมและฝึกงานด้านปฏิบัติในเรื่องกระดูกหักและข้อเคลื่อน ณ สถาบัน เอ.โอ. เมืองดาวอสประเทศสวิต role เซอร์แลนด์ พ.ศ. 2523 
  • ศึกษาและดูงานเกี่ยวกับศัลยกรรมกระดูกและข้อและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์รัฐมิสซูรีประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2525  
  • ศึกษาและดูงานด้านศัลยกรรมเฉพาะโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย) ที่โรงพยาบาลเมาท์ไซนายเมืองนิวยอร์กประเทศ Erfurcouch สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2525  
  • ดูงานด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อที่โรงพยาบาลการ์กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสและดูงานเกี่ยวกับศัลยกรรมเปลี่ยนข้อที่โรงพยาบาลฮัมบวร์กแซร์ประเทศเยอรมนีตะวันตก W.A. 2528  

ประวัติการรับราชการ 

  • นายแพทย์โทโรงพยาบาลพระประแดงกรมการแพทย์และอนามัยกระทรวงสาธารณสุขบรรจุตุลาคม 2512 
  • อาจารย์, หน่วยศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อ 1 พฤษภาคม 2516  
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์หน่วยศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อ 30 มิถุนายน 2520 
  • รองศาสตราจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิคส์และเวชศาสตร์ ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อ 1 มกราคม 2525 
  • รองหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิคส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2557 
  • หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิคส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อ 13 เมษายน 2530 -กรรมการประจำคณะในฐานะผู้แทนคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีตั้งแต่ 9 มีนาคม 2534 จนปัจจุบัน 

อาจารย์ แน่งน้อย จามรมาน

ประวัติ  อาจารย์ แน่งน้อย จามรมาน 

วันเกิด 10 กันยายน 2482 

ประวัติการทำงาน

  • อาจารย์ผุ้สอนดีเด่น  สาขาครุศาสตร์ เนื่องในโอกาส ๑oo ปี  
  • การฝึกหัดครูไทย พ.ศ.๒๕๓๕ 

ทุนการศึกษา  

  • ทุนเรียนฉลาด โรงเรียนสตรีวิทยา  
  • ทุนเรียนดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การรับราชการ 

  • พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๘ หัวหน้าหมวดวิทบสศาสตร์ โรงเรียนวัดธรรมสถิตวราราม 
  • พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๑ หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์โรงเรียนดาราคาม  
  • พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๗  หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • พ.ศ. ๒๕๒๗-ปัจจุบัน อาจารย์ ๒ ระดับ 5 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ประสบการณ์และผลงานโดยสังเขป 

  • กรรมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนตัวอย่างเพื่อทดลองใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑  
  • กรรมการพัฒนาหลักสูตร ค.บ. ๒ ปีสาขาประถมศึกษา 
  • กรรมการและเลขานุการปรับปรุงรายวิชาวิธีสอนระดับประถมศึกษาของการฝึกหัดครูในกลุ่มวิชาชีพครู 
  • วิทยากรการอบรมครูไม่มีวุฒิเขตบางขุนเทียน 
  • วิทยากรการอบรมครูแบบเข้มวิชาการบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา 
  • วิทยากรอบรมครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่เรื่องความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)  
  • อาจารย์สอนเสริมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสาขาศึกษาศาสตร์ 
  • เป็นผู้ผลิตและร่วมจัดทำสื่อการเรียนรายวิชาศึกษา ๑๓๑, วิดีทัศน์เรื่อง“ การสอนซ่อมเสริมและ“ ครูดีเป็นผู้นำ” ภาพนิ่งเรื่อง“ การสอนซ่อมเสริม” ฯลฯ  
  • อาจารย์นิเทศนักศึกษาเอกประถมศึกษา 
  • ร่วมดำเนินการวิจัยเรื่อง“ ความคิดเห็นของคณาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่มีต่อการปรับปรุงองค์ประกอบในการปฏิบัติงานและเพื่อเสริมแรงจูงใจในการทำงาน 
  • กรรมการมูลนิธิสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ฯลฯ 

ร้อยตรี บรรณเลิศ รัชตกุล

ประวัติ ร้อยตรี บรรณเลิศ รัชตกุล 

ตำแหน่ง  รองอธิบดีกรมป่าไม้ฝ่ายวิชาการ 

ตำแหน่งพิเศษ  วิสามัญของ ก.พ. 

ที่ทำงาน  กรมป่าไม้ โทร ๕๗๙-๑๕๖๒ 

ผมเป็นศิษย์เก่า ป.ป. รุ่น ๒๔๙๔ ไปอยู่จังหวัดไหนก็พยายามติดต่อกับเพื่อน ๆ และชาวบ้านสมเด็จฯ เสมอเมื่อปี ๒๕๒๙ เป็นป่าไม้เขตปัตตานีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(ม.อ. ) ก็มีเพื่อนหลายคนคนหนึ่งเป็นหมอร่ำรวยมากปี ๒๕๓๐ เป็นป่าไม้เขตนครราชสีมาก็ได้ติดต่อกับเพื่อนอีกหลายคน 

ส่วนชีวิตที่หักเหมาเรียนวนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ก็เพราะมีเหตุอันเป็นไปเมื่อตอนที่จบ ป.ป. เขาให้ไปรวมกันที่กระทรวงศึกษาฯ มาจากฝึกหัดครูหลายแห่งด้วยกันแล้วก็แบ่งสรรแยกย้ายกันไปสอนตามโรงเรียนต่างๆรอบกรุงเทพฯพวกผมก็มีรถบัสของโรงเรียนวัดสุทธิฯ มารับพวกเราก็พากันขึ้นรถไปโดยที่ไม่ทราบว่าคนที่ขับรถมารับเป็นอาจารย์ใหญ่เกิดมีการยั่วเย้ากันระหว่างทางตามประสาคะนองเมื่อมาถึงอาจารย์ใหญ่ผมมานั่งพิจารณาดูเห็นว่าตัวเองคงจะเป็นครูไม่ได้ดีแน่เลยไปปรึกษาอาจารย์เก่า ๆ ดูพอดีเกษตรฯ เปิดสอบผมเห็นว่าวนศาสตร์ก็น่าเรียนเหมือนกันก็เลยไปสอบดูและสอบได้พร้อม ๆ กับอภินันท์ปลอดเปลี่ยวขณะนี้ก็ทำงานที่กรมป่าไม้อีกคนชื่อรังสรรค์ ไปเรียนนายเรืออากาศรุ่น ๓  

เมื่อมาเรียนเกษตรฯ แล้วถึงได้รู้ว่าบ้านสมเด็จฯ ให้อะไรกับเราไว้มากมายชีวิตนักเรียนประจำที่บ้านสมเด็จฯ เต็มไปด้วยระเบียบวินัยทำให้อยู่ที่เกษตรฯ ได้อย่างสบายแม้จะมี tradition ที่รุนแรงมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นก็ไม่รู้สึกอึดอัดอะไรตอนอยู่เกษตรก็ไม่คิดจะเล่นกีฬาพอดีลูกรักบี้วิ่งผ่านหน้าเลยรับและเตะออกไปอาจารย์เสรีไตรรัตน์เลยเรียกให้เล่นเมื่อตอนอยู่บ้านสมเด็จฯ ก็เล่นกีฬาทุกอย่างทั้งต่อยมวยทั้งรักบี้ปีนั้นบ้านสมเด็จฯ ส่งรักบี้แข่งเป็นปีแรกก็ได้เล่นเป็นต้นมาความเป็นนักกีฬาก็ช่วยได้ในด้านความแข็งแรงของร่างกายและความอดทนเพราะตอนเรียนป่าไม้ต้องออกเดินสำรวจป่ารองเท้าไม่มีชิ้นดีและยังเป็นรองเท้าผ้าใบนันยางสมัยก่อนยิ่งถูกน้ำยิ่งรัดตัวเดินจนเท้าเลือดออกส้นเท้าโผล่ แต่ก็ยังทนได้ด้วยความบึกบึนที่เคยฝึกฝนมา 

พลอากาศโท ถาวร เกิดสินธุ์

ประวัติ พลอากาศโท ถาวร เกิดสินธุ์

ประวัติส่วนตัว

  • ศิษย์เก่า ร.ร. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๓  
  • ปัจจุบัน ผู้ว่าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 
  • ที่ทำงาน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 

พลอากาศโทถาวรเกิดสินธุ์เป็นศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอีกท่านหนึ่งที่นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในชีวิตการทำงานเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นเรื่ออากาศตรีและเนื่องจากมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับต่อมาจึงได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญ ๆ อีกหลายตำแหน่งอาทิเช่นเสนาธิการกรมสรรพาวุ ธ ทหารอากาศเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธบริการและล่าสุดก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการท่าอากาศยานคือตำแหน่งประจำกองบัญชาการทหารอากาศ 

นับย้อนหลังในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองครอบครัวของพลอากาศโทถาวรเกิดสินธุ์ได้ย้ายหนีระเบิดจากบ้านพักเดิมแถววงเวียนเล็กไปอยู่ที่อำเภออัมพวาเสร็จสงครามแล้วจึงได้สมัครสอบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้วสมัครเข้าเรียนต่อมัธยมปีที่ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อปีการศึกษา ๒๔๘๗ พลอากาศโทถาวรเกิดสินธุ์เป็นรุ่นพี่พลตรีจำลองศรีเมือง ๓ ปี 

ตอนที่เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาใหม่ ๆ เป็นระยะสงครามเลิกไม่มีที่เรียนเพราะมีฝรั่งมาพักอยู่ชั่วคราวจึงต้องไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เรียนช่วงบ่ายต่อมาไม่นานนักก็ย้ายกลับมาที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามเดิมจนกระทั่งจบชั้นมัธยมปีที่ 5 จึงสอบเข้าชั้นมัธยมปีที่ ๗ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไทเป็นนักเรียนเตรียมฯ รุ่นที่ ๑๓ และเป็นนักเรียนที่มีอายุน้อยที่สุดในชั้นเมื่อจบชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษาแล้วจึงสอบเข้าเรียนต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียนอยู่เพียง ๒ ปีก็เปลี่ยนใจไปสอบเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศทั้งนี้เนื่องจากแรงจูงใจจากการไปดูหนังเรื่อง“ บ้านไร่นาเรา”  

เพื่อนร่วมรุ่นที่เรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาด้วยกันคือคุณฝังพุฒบุญเลี้ยงและคุณบรรจงจันทรประภาซึ่งปัจจุบันทั้งสองท่านต่างก็ทำงานนำร่องกรมเจ้าท่านักเรียนชั้นเดียวกันมีประมาณ ๓๐ คนอาจารย์ประจำชั้นท่านหนึ่งคืออาจารย์บูรพาพุทธมาตย์อาจารย์ผู้สอนที่ประทับใจและจําได้ดีมาจนกระทั่งทุกวันนี้คืออาจารย์พรพิมลพุทธมาตย์ที่จำได้เพราะ“ สวยดี” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน เสถียรยานนท์

ประวัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน เสถียรยานนท์ 

วันเกิด วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓  บุตร นายประทีป เสถียรยานนท์ กับ นางเสมอ เสถียรยานนท์

ประวัติการทำงาน

  • อาจารย์ผู้สอนดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องในโอกาส ๑๐๐  
  • ปีการฝึกหัดครูไทย พ.ศ. ๒๕๓๕  

การศึกษา

  • ปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต (เกียรตินิยม) วิชาเอกเคมีวิชาโทคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน 
  • ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกเคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การรับราช 

  • พ.ศ. ๒๕๑๘  อาจารย์ ๑ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • พ.ศ. ๒๕๒๗  หัวหน้าภาควิชาเคมีวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
  • พ.ศ. ๒๕๓๐  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ ๗ 
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ ปัจจุบัน หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันราชภัฏ-บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประสบการณ์และผลงานโดยสังเขป 

  • เขียนและเรียบเรียงตำราอาทิเคมีอนินทรีย์ ๑, การเรียกชื่อสารเคมีเคมีประยุกต์ในวิชาคหกรรมศาสตร์หลักเคมีทั่วไปเคมีม. ๔-๕-๖, คู่มือเคมีม. ๔, ๕, ๖, เฉลยข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยวิชาเคมี ฯลฯ  
  • บทความทางวิชาการเรื่อง“ พอลิเมอร์” และ“ มารู้จักสารเคมีกันดีกว่า”  
  • บรรยายวิชาเคมีทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ ชุดโรงเรียนฤดูร้อนและเรียนหน้าจอ 
  • วิทยากรพิเศษบรรยายวิชาเคมีให้แก่โรงเรียนต่างๆอาจารย์พิเศษคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร 
  • วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์-วิทยากรตอบปัญหารายการ“ เสาร์สโมสร”
    และอื่น ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ และช่อง ๑๑ ฯลฯ 

ประภัสสร เสวิกุล

ประวัติ ประภัสสร เสวิกุล 

ประวัติการศึกษา/การทำงาน

ศิษย์เก่าสาธิตบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕o๕) 

เลขานุการ ๗ กองเอเชียตะวันออก กระทรวงต่างประเทศ 

พลอากาศเอก เฉลย วรินทราคม

ประวัติ พลอากาศเอก เฉลย วรินทราคม  

ศิษย์เก่า  โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จฯ  พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๖  

ปัจจุบัน  ประธานที่ปรึกษากองกำลังทหารอากาศ 

ที่ทำงาน   กองกำลังทหารอากาศ 

โทร  ๕๒๓๘๕๕๔, ๕๓๔๔๗๗๙  

นายกนก จันทร์ขจร

ประวัติ นายกนก จันทร์ขจร 

ศิษย์เก่า ประธานรุ่น ป.ป.๒๔๙๙  

ปัจจุบัน ผู้อำนวยการระดับ ๙ โรงเรียนทวีธาภิเศก 

  • ครูจริยศึกษาดีเด่น 
  • ผู้มีผลงานดีเด่นทางวิชาการ 
  • ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 

ศิษย์เก่าบ้านสมเด็จฯ ผู้มีผลงานเขียนมากมาย อาทิ คู่มือการเรียนการสอนและการสอบ ดาราศาสตร์สำหรับลูกเสือและเนตรนารี ธรรมเพื่อชีวิต ความรู้และจริยธรรมเพื่อชีวิต คู่มือดูดาว คู่มือครู การอบรมความรู้และจริยธรรมเพื่อชีวิต เป็นต้น