รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ (พ.ศ.๒๕๓๒–๒๕๓๖)

รองศาสตราจารย์ฉลอง  ภิรมย์รัตน์ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๕ ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย ๔ คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๓๘/๓๕๙    ซอยลาดพร้าว ๔๗ อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ 

  1. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๘ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์จังหวัดกระบี่ เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี        โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา และได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ จบวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับปริญญา M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ในปีเดียวกัน  

  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ตำแหน่งครูตรี ประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2505  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 251๔-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ.๒๕๑๗-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2520-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2521  

– กรรมการสภาฝึกหัดครู พ.ศ. 2521  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ.๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528- 2532  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2532- 2536 

การฝึกอบรมและดูงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่อง การขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติชเคาน์ซิล พ.ศ. 2523           – อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  

5. ผลงานดีเด่น  

– ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์  

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ  

– ผู้ริเริ่มจัดตั้งโครงการ กองทุนสุริยะ ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการ เพื่อคณาจารย์และคนงานทุกท่าน 

– ผู้ริเริ่มโครงการของงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนรวม 15 ชั้น หลังแรกของกระทรวงศึกษาธิการ 

ประวัติและผลงาน 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ 

รองศาสตราจารย์ ระดับ  

กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 

  1. ประวัติส่วนตัว 

รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2475 ที่จังหวัดกระบี่ บิดาชื่อ หลวงประไพศุภกาญจน์ (อ้อน ภิรมย์รัตน์) มารดาชื่อ นางล่วง ภิรมย์รัตน์ ภรรยาชื่อ นางสุพิศ ภิรมย์รัตน์ มีบุตรชาย 4 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 38/359 ซอยลาดพร้าว 47 อนันต์สุขสันต์ กรุงเทพมหานคร 10310 

. ประวัติการศึกษา 

การศึกษาเริ่มตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕-2505 ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท  

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่  
  • เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่, โรงเรียนสุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเบญจม       ราชูทิศ ตามลำดับ จนจบเตรียมอุดมศึกษา  
  • ได้ประโยคครูประถม (ป.ป.) พ.ศ. ๒๔๙๗-2500  
  • ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2505  
  • ปริญญาโท M.E.D. จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh และได้ประโยคครูมัธย (ป.ม.) ในปีเดียวกัน 
  1. ประวัติการรับราชการ 

เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ตำแหน่งครูตรีประจำกรมการฝึกหัดครู  

– ครูตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2501-2502  

– อาจารย์ตรี โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2504  

– อาจารย์โท โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2505-2509  

– อาจารย์เอก โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2510-2514  

– อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2514-2516  

– ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. 2517-2519  

– อธิการวิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๐-2528  

– อาจารย์ 3 วิทยาลัยครูภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๒๑  

– กรรมการสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๒๑  

– รองศาสตราจารย์ในวิชาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓  

– อธิการวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2528-25๓2  

– อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๓๒-2536 

ตำแหน่งครั้งสุดท้าย  

  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ  

4. การฝึกอบรมและดูแลงานที่สำคัญ  

– อบรมที่ศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยทุน SEAMES           พ.ศ. 2514  

– ประชุมศึกษาดูงาน เรื่องการขยายฐานทางวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทุนบริติช เคาน์ซิล          พ.ศ. 2523  

– อบรมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

5. ผลงานดีเด่น  

–  ประธานโครงการเขียนตำรา ของกรมการฝึกหัดครู  

– รองประธานกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  

– ประธานศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

– รองประธานสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 

– กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาลัยครู พ.ศ. 2536  

– กรรมการร่าง พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ 

6. ผลงานทางวิชาการบางเล่ม  

กระบวนการกลุ่ม 2521  

– รายงานการวิจัยเรื่อง ความศรัทธาในอาชีพครู ของนักศึกษาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ 2525 

จิตวิทยาสังคม 2521  

จิตวิทยา อปกติ 2523  

การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 2525 

7. เครื่องราชอิสริยาภรณ์  

เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ช.)   

จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)   

ตติยาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)   

ตริยาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)  

ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)  

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)  

ปรมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)  

ปรมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)  

มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) 

พระพุทธภิรมย์รัตน์  

บูชาครูผู้ก่อผู้สรรค์สร้างหอวัฒนธรรมภูเก็จ 

ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ ได้ตั้งหอวัฒนธรรมภูเก็จขึ้นเมื่อ พ.ศ 2524 มอบหมายให้หอวัฒนธรรมปู่ภูเก็จ     กับภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รวมกันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา        จากวัดมงคลนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มาเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ท่านอธิการฯฉลอง ภิรมย์รัตน์ เห็นชอบ 2 ชื่อ ที่จะใช้เป็นนามพระพุทธรูปคือ พระพุทธรัตนภิรมย์ กับพระพุทธภิรมย์รัตน์     แต่ชื่อที่เกี่ยวข้องเรียกขานกันเป็นประจำ คือ พระพุทธภิรมย์รัตน์ ประดิษฐานอยู่ที่หอวัฒนธรรมภูเก็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  

ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อมี พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และตราสัญลักษณ์สถาบัน โดยพิจารณาจากตรา    พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้ว    จึงได้อัญเชิญตรานี้และพระพุทธภิรมย์รัตน์ นำไปปรึกษาท่านอาจารย์ชัย ปุรินทโก เจ้าอาวาสวัดบางโทง        อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ สร้างเป็นเหรียญมงคล “สมาธิชัยแห่งความสำเร็จทางปัญญาด้วยความรื่นเริงยิ่ง” เกจิอาจารย์ปลุกเสกครั้งสุดท้ายเมื่อวันฉัตรมงคลที่ 5 พฤษภาคม 2547  

รองศาสตราจารย์ สุรพันธ์ ยันต์ทอง (พ.ศ.๒๕๒๘–๒๕๓๒)

อธิการนักพัฒนา สร้างสรรค์วิทยาลัยให้มีบรรยากาศทางวิชาการ เปิดการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ระดับปริญญาดรีในสาขาวิชาการอื่น เพิ่มจากสายวิชาชีพครู 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ๆ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 

วัยเยาว์ เกิด ๒๖ มกราคม ๒๔๗๓ 

สถานที่เกิด อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 

บิดา-มารดา นายลม และนางทอง ยันต์ทอง 

ครอบครัว

• พ.ศ. ๒๕๐๒ สมรสกับนางวาสนา ยันต์ทอง (ถึงแก่กรรม) 

มีธิดา ๒ คนคือ นางสาวลิริพิมพ์ และนางสาววรสิริ ยันต์ทอง 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ สมรสกับนางอรุณ ยันต์ทอง มีบุตร ๑ คนคือ นายรณพันธ์ ยันต์ทอง 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๖ โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านด่าน “สุววรณราษฎร์จรูญ”  

• พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๑ โรงเรียนบางปลาม้า “สุงสุมารผดุงวิทย์” 

• พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๖ โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๓ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

• พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๔๐๙ State University of New York (College at New Paltz) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๔ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ ครูโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร 

• พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ อาจารย์ประจำกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๗ ศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๙ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช 

• พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ อธิการวิทยาลัยรูพระนครศรีอยุธยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๑ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

การแข่งกีฬาวิทยาลัยครูส่วนกลาง

ประเภท รางวัล 

ระดับผลงาน ชาติ 

ประเภท ทีม 

ชื่อผลงาน การแข่งกีฬาวิทยาลัยครูส่วนกลาง 

ชื่อหัวหน้าโครงการ อธิการวิทยาลัยครูสวนสุนันทา 

ปีที่ได้รับ 2523 

หน่วยงานที่ให้ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา 

รายละเอียดโล่ หรือ รางวัล (พอสังเขป) ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยครูส่วนกลาง 

ชนะเลิศการแข่งขันกอล์ฟการกุศล

ประเภท รางวัล 

ระดับผลงาน ชาติ 

ประเภท ทีม 

ชื่อผลงาน ชนะเลิศการแข่งขันกอล์ฟการกุศล 

ชื่อหัวหน้าโครงการ สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

ปีที่ได้รับ 2522 

หน่วยงานที่ให้ สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

รายละเอียดโล่ หรือ รางวัล (พอสังเขป) ชระเลิศการแข่งขันกอล์ฟการกุศล 

นายบุญเลิศ ศรีหงส์ (พ.ศ.๒๕๒๑–๒๕๒๘)

สร้างยิมเนเซียม ใช้เป็นภาควิชาพลศึกษา และสันทนาการ มีประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ทำให้วิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่นเปิดสอนหลักสูตรป.กศ.ชั้นสูง เทคนิคการอาชีพ และหลักสูตรระดับอนุปริญญา ๒ ปี สายวิชาการอื่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗และ ๒๕๒๘ ตามลำดับพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๒๓ 

วัยเยาว์ เกิด ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒ 

สถานที่เกิด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 

บิดา-มารดา ร.อ.หลวงภาณีสุนทรสาร และนางสารภี ศรีหงส์ 

ครอบครัว สมรสกับนางทับทิม ศรีหงส์ มีบุตร-ธิดา ๓ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐ ศึกษาที่โรงเรียนสตรีอุตรดิตถ์ จบชั้นประถมปีที่ ๓ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๖ ศึกษาที่โรงเรียนเปี่ยมเมธีวิทยาลัย จบชั้นประถมปีที่ ๕ 

• พ.ศ. ๒๔๘๗ ศึกษาที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยม ปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ประกาศนียบัตรประโยคเตรียมอักษรศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๖ ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาตัวตนเอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมูล 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕ ศึกษาตัวตนอง ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๑ ศึกษาที่ Indiana University, U.S. A. ได้ปริญญา Master of Scicnce in Education  (M.S. in Ed.) 

การรับราชการ  

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ครูตรี โรงเรียนอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๙๙ อาจารตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท วิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๕ คำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์เอก  

• พ.ศ. ๒๕๐๗ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ 

• พ.ศ. ๒๕๑๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี ลพบุรี 

• พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๙ ลาออกจากราชการ 

ม.ร.ว.ทวีโภค เกษมศรี (พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๒๑)

เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครูคนสุดท้าย และเป็นอธิการคนแรก สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ บูรณะปรับปรุงศาลสมเด็จฯ สร้างตึกคณะวิชาครุศาสตร์ หอสมุดกลางและตึกคณะวิชาวิทยาศาสตร์เปิดให้การศึกษาและฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ 

วัยเยาว์ เกิด ปี ๒๔๗๐ สถานที่เกิด ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ชั้นประถม ถึง ม.๗ ชั้นสูงสุดในขณะนั้น 

• พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จบ ม. ๘ แผนกฝรั่งเศส 

• พ.ศ. ๒๔๗๙ สมัครสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๔ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๘๕ อาจารย์โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แผนกฝึกหัดครูประถม และรับราชการอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นเวลายาวนานกว่า ๓๕ ปี โดยมิได้โยกย้ายไปที่ใด 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ อธิการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๒๑ เกษียณอายุราชการ 

นายจรูญ มิลินทร์ (พ.ศ.๒๕๑๑–๒๕๑๘)

เป็นสมัยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่องฟูทางวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. และ ป.กศ. ชั้นสูง สำหรับบุคคลภายนอก สร้างอาคาร ๒ และอาคาร ๓ ปลายสมัยผู้อำนวยการจรูญ มิลินทร์ มีประกาศใช้พระบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.๒๕๑๘ ทำให้วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตทางสายครุศาสตร์ถึงระดับปริญญาตรี 

วัยเยาว์ เกิด ๒๔ เมษายน ๒๔๗๑ 

สถานที่เกิด อำภอเมือง จังหวัดหนองคาย 

บิดา-มารดา นายเสรี และนางสุดสงวน มิลินทร์ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๕๐๐ สมรสกับนางสำลี มิลินทร์ มีธิดา ๑ คน ชื่อ นางสาวธิติพร มิลินทร์ 

การศึกษา  

• พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๗๙  ศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลตำบลวัดธาตุ ได้ประกาศนียบัตรประโยคประถมปีที่ ๔ 

• พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๕  ศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมปีที่ ๖ 

• พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๘ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมบ้านสมเด็จเจ้พระยา และโรงเรียนฝึกหัด 

• ครูประถมพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม 

• พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม พระนคร ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ -๒๔๘๘ ศึกษาที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ -๒๔๙๙ ศึกษาที่ Indiana Universily, U.S.A. ได้ปริญญา Master of Science in Education (M.S.in Ed.) 

• พ.ศ. ๒๕๑๓ -๒๕๑๔ ศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๑๓ จบหลักสูตร วป.อ. 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๓ ครูตรีโรงเรียนสมุทรปราการ 

• พ.ศ. ๒๔๙๖ ครูตรีประจำกรมวิสามัญศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๙๘ ครูตรีโรงเรียนสระบุรี 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ อาจารย์ตรีวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

• พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ อาจารย์ใหญ่วิทยาลัยครูสงขลา 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๘ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๙ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู 

• พ.ศ. ๒๕๒๕ เลขาธิการคุรุสภา 

• พ.ศ. ๒๕๓๑ ออกจากราชกาวเพื่อรับบำนาญ 

นายศิริ ศุขกิจ (พ.ศ.๒๕๐๘–๒๕๑๑)

ใช้นโยบายปรับปรุงส่งเสริมระเบีบวินัยของราชการและครูอาจารย์ สร้างตึกคหกรรมศาสตร์ ใช้เป็นภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สืบต่อมาจนทุกวันนี้ 

วัยเยาว์ เกิด ๒๒ มีนาคม ๒๔๕๑ 

สถานที่เกิด อำเภอหนองแขม กรุงเทพมหานคร 

บิดา-มารดา นายสอน และนางสาย ศุขกิจ 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๗ สมรสกับนางสาวนันทา ศุกระชาติ มีบุตร-ธิดา ๕ คน 

การศึกษา 

• พ.ศ. ๒๔๖o โรงเรียนมัธยมวัดมหาธาตุ เป็นเวลา ๕ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๒ 

• พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นเวลา ๖ ปี สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ ๘ 

• พ.ศ. ๒๔๗๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวลา ๔ ปี ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยม แผนกวิทยาศาสตร์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับทุนยูซอม ไปศึกษและดูงานในด้านบริหารการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปี 

การรับราชการ 

• พ.ศ. ๒๔๗๕ รับราชการครั้งแรก เป็นครูน้อยโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๔๘๒ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย 

• พ.ศ. ๒๔๘๓ ครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดตาก 

• พ.ศ. ๒๔๙๔ ครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดรูนครสวรรค์ 

• พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษานิเทศก์โท กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๔๙๙ ศึกษานิเทศก์เอก กรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๐๑ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู อุดรธานี 

• พ.ศ. ๒๕๐๒ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๔ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี 

• พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเชียงใหม่ 

• พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• พ.ศ. ๒๕๑๑ รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู 

• พ.ศ. ๒๕๑๒ ครบเกษียณอายุ 

นายพร ทองพูนศักดิ์ (พ.ศ.๒๕๐๔–๒๕๐๘)

นักเรียนที่จบชั้น ม. ๖ และได้รับทุนจากส่วนภูมิภาคมาเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียน ฝึกหัดครูประจำส่วนหนึ่ง และรับจากส่วนกลางเป็นนักเรียนเดินเรียนอีก ส่วนหนึ่ง เหมือนเมื่อแรกเริ่มในปี พ.ศ. ๒๙๙๗ สำหรับนักเรียนประจำมีการใช้หอพักให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา 

วัยเยาว์  เกิด ๒๒ สิงหาคุม ๒๔๔๘ 

สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร 

บิดา-มารดา นายห้อย และนางแพ ทองพูนศักดิ์ 

ถึงแก่กรรม ๔ กันยายน ๒๐๓๒ 

การศึกษา

• โรงเรียนสวนกุหลาบ จบชั้น ม. ๘ 

• โรงเรียนวัดปทุมคงคา เรียนวิชาครู 

• ศึกษาต่อประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๘ ปี 

การรับราชการ

• หัวหน้ากองโรงเรียนฝึกหัดครู สังกัดกรมสามัญศึกษา 

• อาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• ศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 

• ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเทพสตรี ลพบุรี 

• ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

นายโชค สุคันธวณิช (พ.ศ.๒๕๐๑–๒๕๐๔)

โรงเรียนบนสมเด็จเจ้าพระยายกฐานะเป็นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ก็เปลี่ยนเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการชั้นพิเศษ 

วัยเยาว์  เกิด ๒๒ เมษายน ๒๔๔๘ 

สถานที่เกิด ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร 

บิดา-มารดา พระยาวิชิตดรุณกูล และคุณหญิงเสนาะ สุคันธวณิช 

มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน 

ครอบครัว พ.ศ. ๒๙๘๒ สมรสกับ นางสาวปราณีต กิติขจร มีบุตร-ธิดา ๖ คน 

ที่อยู่ปัจจุบัน ๘๕/๒๙ ซอยผาสุก สะพานนพเกล้า ถนนริมคลองประปา ประชาชื่น  ดุสิต กรุงเทพมหานคร 

การศึกษา

• โรงเรียนปทุมคงคา จบ ม. ๘ 

• ทุนหลวงเรียนที่ คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน 

• ศึกษาต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโอนมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

• ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบ พ.ศ. ๒๔๘๒ 

การรับราชการ

• อาจารย์โรงเรียนประจำจังหวัดพิษณุโลก 

• อาจารย์โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ รุ่นบุกเบิก 

• ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนยุพราช เชียงใหม่ 

• อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดนวลนรดิศ 

• อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม 

• อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

• รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู