รางวัลชนะเลิศการประกวดปี่พาทย์ไม้แข็ง เครื่องคู่ 

ประเภท รางวัล 

ระดับผลงาน รางวัลพระราชทาน 

ประเภท ทีม 

ชื่อผลงาน รางวัลชนะเลิศการประกวดปี่พาทย์ไม้แข็ง เครื่องคู่ 

ชื่อหัวหน้าโครงการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ 

ปีที่ได้รับ – 

หน่วยงานที่ให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ 

รายละเอียดโล่ หรือ รางวัล (พอสังเขป) รางวัลชนะเลิศการประกวดปี่พาทย์ไม้แข็ง เครื่องคู่

๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓

   พุทธศักราช ๒๕๑๙ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยนั้น ได้สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูงประมาณ ๒ เมตร ประดิษฐานอยู่บนแท่น ดูโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ ณ บริเวณด้านหน้าของสถาบัน และต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นับเป็นวาระที่สำคัญยิ่ง อันแสดงถึงความผูกพันของสถาบันการศึกษาที่มีต่อพระมหากษัตริย์ ยังความปลื้มปิติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ  แก่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นล้นพ้น 

   คณะกรรมการดำเนินงานพิธีเปิดอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  ได้ร่วมมือกันเตรียมงานอย่างพร้อมเพรียงเพื่อความสมบูรณ์พร้อมที่สุดของพิธี เช่น การจัดสถานที่ การจัดพิธีการ การประชาสัมพันธ์และปฏิคม การรักษาความปลอดภัยและการจราจร สวัสดิการและพยาบาล จัดทำของที่ระลึก หนังสือที่ระลึกและสูจิบัตร แสง เสียง การบันทึกภาพ ดนตรี งานสมโภช การแสดงนิทรรศการ แผนกกิจการนักศึกษา การจัดทำแพรคลุมพระรูปสมเด็จฯ ประกอบด้วยผ้าแพรเนื้อนุ่มสีม่วงและสีขาว ตลอดจนการเขียนคำกราบบังคมทูลและการเขียนประกาศเกียรติคุณของสมเด็จเจ้าพระยาฯ  

   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้ในท่ามกลางภยันตรายจากการคุมคามของประเทศตะวันตกที่มุ่งมาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์จากประเทศแถบทวีปเอเชีย อนุสาวรีย์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านสมเด็จฯ ทุกคน


   พระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่มวลพสกนิกรชาวบ้าน สมเด็จเจ้าพระยาได้ประทับไว้ในหัวใจเป็นล้นพ้นก็คือ 10 เมษายน 2523 เวลา 16.00 น. ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด

๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๙

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งและเหรียญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รุ่น ๑ การสร้างพระกริ่งในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

ประการแรก คือ ต้องการสร้างอนุสาวรีย์องค์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ให้กําเนิดและก่อตั้งวิทยาลัยครูแห่งนี้ แต่การจัดสร้างจําเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจํานวนมาก วิทยาลัยไม่มีทุนทรัพย์เพื่อการนี้เลย จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอเรียรายจากบรรดาศิษย์เก่า ทายาทและบรรดาผู้ที่เคารพนับถือใน องค์ท่าน เพื่อเป็นเครื่องระลึกและตอบแทนในความมีน้ำใจของท่านเหล่านั้น วิทยาลัยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อสร้างของที่ระลึก ในที่สุดก็ตกลงใจกันจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขององค์สมเด็จเจ้าพระยา และเหรียญพระพุทธรูปประจําวิทยาลัยขึ้น เพื่อให้บรรดาเหรียญที่สร้างขึ้นมีคุณค่ามีความขลังสมกับเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบรรดาคณะศิษย์ จึงตกลงกันจะทําพิธีปลุกเสกเหรียญที่สร้างขึ้นในการปลุกเสก คณะกรรมการได้จัดนิมนต์บรรดาเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและกิติคุณซึ่งเป็นที่นิยมนับถือของมหาชนในแต่ละภาคมาร่วมพิธีในครั้งนี้ การจัดพิธีใหญ่ ๆ เช่นนี้ขึ้นมาแต่ละครั้งจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง เพื่อให้ถูกต้องตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา จึงได้เสนอพิธีให้มีการจัดสร้างพระกริ่งขึ้น โดยหล่อนําฤกษ์เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณและประเพณีนิยม พระกริ่งของวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้จุติขึ้นมาเป็น ประการแรก 

ประการที่สอง การตั้งพระนามพระกริ่ง ทุกท่านที่อ่านหากผ่านการ อ่านข้อความในตอนต้นมาแล้วจะทราบดีว่า พระกริ่งนั้นมีความเป็นมา และมีความสําคัญเช่นไร เท่าที่ผู้อ่านได้เคยรู้เคยทราบ พระกริ่งที่สําคัญ ๆ ทั้งหลายเช่น พระกริ่งปวเรศ ก็ดี กริ่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ก็ดีฯลฯ ท่านมิได้เคยตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น บรรดาประชาชนและผู้นิยมนับถือต่าง ขนานนามกันเองต่างหาก เช่น พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่น ๗๙ พระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่นเชียงตุง ฯลฯ การตั้งนามพระพุทธรูปที่สําคัญ ๆ หากจะมีขึ้นนั้นเท่าที่เคยประสบพบเห็นมามีแต่พระพุทธรูปที่เป็นพระประธาน หรือการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาแล้วขอพระราชทานนามจากองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเท่านั้น ฉนั้นพระกิ่งที่จัดสร้างขึ้นครั้งนี้ จะได้รับการขนานนามว่าอะไรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคณะศิษย์ และบรรดาผู้นิยมนับถือจะเหมาะกว่าวิธีการตั้งนามเอาเอง 

ประการที่สาม สาเหตุแห่งการจัดสร้างพระกิ่งขึ้นนั้นก็ได้กล่าวไว้ บ้างในประการแรก แต่ที่สําคัญที่สุดคือเจตนาการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งนี้ นอกจากคณะกรรมการจะมีจิตเป็นกุศล เจตนาบริสุทธิ์ มุ่งหวังความขลังศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังต้องการและประสงค์แต่เพียงให้เป็นของที่ระลึกขึ้น สําคัญยิ่งแก่บรรดาผู้สละทุนทรัพย์ ไม่ต้องการให้เป็นสินค้าที่จะซื้อขายกิน จึงสร้างแต่เพียงจํานวนจํากัด (เท่าจํานวนผู้สั่งจอง) และในเรื่องมูลค่า นั้นก็พอเหมาะสม ไม่ได้ตั้งราคามูลค่าดังเช่นทั่วไปนิยมกัน 

วัตถุมงคลที่วิทยาลัยสร้างขึ้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๑๙ มีพระกริ่ง ซึ่งเราเรียกกันว่า “พระกริ่งสมเด็จเจ้าพระยาฯ เหรียญพระพุทธรูปประจำวิทยาลัยรูปเสมา และเหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  พระกริ่งมี ๒ ขนาด คือ องค์ใหญ่และองค์เล็ก เนื้อนวโลหะ อาจารย์กิจจาเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องรูปแบบ  

เหรียญพระพุทธรูปประจำวิทยาลัย (เสมา) มีเนื้อเงิน (สร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง) และเนื้อทองแดงลักษณะเหรียญเป็นรูปเสมา ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประจำวิทยาลัยด้านหลังเป็นยันต์ ๔ มีคาถาหัวใจนักปราชญ์ (บัณฑิต) กลางสุดเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ มีแบบขนาดและเนื้อต่างกัน เหรียญรีชนิดรี เนื้อทองคำมี  ๒๐ เหรียญ ด้านหน้าของเหรียญ เป็นรูปสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้านหลังมียันต์ ๔ มีคาถาหัวใจนักปราชญ์  (สุ จิ ปุ ลิ) ตรงกลางเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ชนิดกลม มี ๒ ขนาด คือ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก 
มีเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง และกะไหล่เงิน ส่วนเหรียญขนาดใหญ่มีเนื้อเงินด้วยรูปแบบของเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้านหลังขอบนอกของเหรียญมียันต์หัวใจพาหุงเป็นอักษรขอม ๘ คำ คือ พา มา นาอุ กะ สะ นะ ธุ รอบในเป็นยันต์ ๔ มุม ประกอบด้วยคาถาหัวใจนักปราชญ์ ๔ คำ ในกลีบดอกบุนนาคกลางสุดเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ นี้ อาจารย์จรัญ คุ้มมั่น เป็นผู้ออกแบบ อาจารย์ประพันธ์  วิทยวิโรจน์ เป็นคนเขียนแบบวัตถุมงคลที่กล่าวนี้ จัดสร้างโดยกองโรงงานกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จึงได้เหรียญที่คมชัดและงดงามมาก อาจารย์กิจจา อาจารย์ธีรธรรม เป็นผู้ติดต่อและดำเนินการ 

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 

ปริญญาที่ได้รับ : ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 14 ตุลาคม 2563

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ปริญญาที่ได้รับ : ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 26 มกราคม 2542

พระธรรมวุฒาจารย์ (ไสว วัฑฒโน)

ปริญญา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

วัน/เดือน/ปี ที่ถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ 

ประวัติ : พระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) ชื่อเดิม นายไสว ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔  บิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ มารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ มีพี่น้องจำนวน  ๙ คน ดังนี้ 

  1. นางสุนีย์ บูระพาพร (ค้าขาย) 
  1. นายอัมพร ประสัตถพงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จ พระอริยวงคตญาณ)  
  1. นางสุมลรัตน์ อ่อนโยน (ถึงแก่กรรม) 
  1. นายไสว ประสัตถพงศ์ (พระเทพสุเมธี) 
  1. นางเพ็ญศรี วิเชียรทอง (ถึงแก่กรรม) 
  1. นายสวัสดิ์ ประสัตถพงศ์ (อดีตวิศวกร บริษัท การบินไทย) 
  1. นายสุกันท์  ประสัตถพงศ์ (นายแพทย์) 
  1. นางเตือนจิต มิ่งคำเลิศ (ข้าราชบำนาญอดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียนราชิโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี) 
  1. นางพิณรัตน์ เปี่ยมราศรีสกุล (ค้าขาย)  

มีภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ ๑ ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 

ด้านการศึกษาและบรรพชา  

พระเทพสุเมธี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดพเนินพลูวิทยาคาร จังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ และเมื่ออายุครบ ๑๓ ปี  เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดตรีญาติ แขวง/ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีพระครูเมธีธรรมนุยุต (เม้ย) วัดลาดเมรังกร เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะเป็นสามเณรได้เข้าศึกษาเล่าเรียนจนจบนักธรรมเอก 

ด้านอุปสมบท 

พระเทพสุเมธี อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕  ณ วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีพระครูเมธีธรรมาพุยุต (เม้ย) วัดเมรังกร เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระครูศรีธรรมานุศาสน์ วัดศรีสุริยวงศาราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 

ลำดับสมณะศักดิ์ที่ได้รับ 

  • ราชทินนาม พระเทพสุเมธี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชาคณะชั้นเทพ 
  • ราชทินนาม พระราชวราภรณ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชาคณะชั้นราช 
  • ราชทินนาม พระสิริวัฒนสุธี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง  
  • ราชาทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก  
  • ราชทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต พระครูสัญญาบัตรรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  
  • ราชทินนาม พระครูอุดมบัณฑิต พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔  
  • ราชทินนาม พระครูศรีธรรมานุศาสน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ 

 ดูประวัติเพิ่มเติม : พระธรรมวุฒาจารย์ (ไสว วัฑฒโน) , ปริญญากิตติมศักดิ์-หนังสือพระธรรมวุฒาจาร

 

1st PRIZE CLASS A WILD SYMPHONY 

ชื่อผลงาน 1st PRIZE CLASS A WILD SYMPHONY 

ปีที่ได้รับ 2019 

ประเภท รางวัล 

ระดับผลงาน นานาชาติ 

ประเภททีม 

ชื่อหัวหน้าโครงการ TIWSC THAILAND INTERNATIONAL 

หน่วยงานที่ให้ TIWSC 

รายละเอียดโล่ หรือ รางวัล (พอสังเขป) 1st PRIZE CLASS A WILD SYMPHONY 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปริญญาที่ได้รับ : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 21 พฤษภาคม 2558

Mohamed Mustafa Ishak

นายโมฮำหมัด  มุสตาฟา บิน อิซัค

ปริญญา : ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับปริญญา : ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดามาตุ 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดามาตุ 

ปริญญาที่ได้รับ : วิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

วัน/เดือน/ปี ที่ทูลเกล้าถวายปริญญากิตติมศักดิ์ : 26 มกราคม 2542