พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

ประวัติ  พลตำรวจเอกวุฒิ พัวเวส

วันเกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศิษย์เก่า  

  • โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
  • โรงเรียนวัดนวลนรดิศ 
  • โรงเรียนเตรียมทหาร 
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 

ประวัติการทำงาน 

  • รองสารวัตรที่ปราจีนบุรี 
  • ผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี 
  • ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 

เมื่อคราวศรีสมเด็จ: 48 ผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวชีวิต ของศิษย์เก่าบ้านสมเด็จท่านหนึ่ง คือ  ท่าน ต่อพงษ์ อำพันธุ์ ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่เรียนอยู่สาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในศรีสมเด็จ :49 นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตของเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกับ ท่านต่อพงษ์      อำพันธุ์ อีกท่านหนึ่งซึ่งผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสรู้จักท่านจากการแนะนำของ ท่านอาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโรงเรียนและศูนย์สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาคือ พลตำรวจโทวุฒิ พัวเวส ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1

วันที่มีการรำลึก 1 ปี สึนามิ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ผู้เรียบเรียงได้รับเกียรติจาก พล.ต.ท. วุฒิพัวเวส ให้เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 1 หลังจากได้รับการต้อนรับด้วยเครื่องดื่มร้อน จากเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาพร้อมกับตำรวจอีกท่านหนึ่ง และเข้ามาทักทายผู้เรียบเรียงอย่างเป็นกันเองจึงทราบว่านั่นคือ พล.ต.ท. วุฒิ พัวเวส ที่เราจะมาสัมภาษณ์เพราะไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่ก็พอจะทราบแล้วว่าท่านดีใจ และยินดีให้เราสัมภาษณ์ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตให้ลูกสุริยะทุกคนท่านทักทายท่านก็ทิ้งท้ายก่อนให้สัมภาษณ์อย่างถ่อมตนว่า”ผมว่าผมยังไม่เหมาะที่จะได้รับเกียรติลงศรีสมเด็จในปีนี้ผมว่ามันยังไม่ถึงเวลา” ท่านบอกกับเราว่าท่านเกิดในกรุงเทพมหานครที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เกิดปีเดียวกับ ท่านต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ่อเป็นตำรวจ รับราชการในช่วงต้นฝั่งกรุงเทพมหานคร ต่อมาก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรีไปฝากเรียนที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมี ท่านอาจารย์มโน กฤษณะจินดาอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นกรุณารับผมเข้าเรียนในชั้นเรียน

ความประทับใจในโรงเรียนผมว่าในวัยของการเป็นนักเรียน ชั้นประถมถึงมัธยม ติดต่อกันในขณะนั้นในรุ่นที่เรียนกันมาก็พยายามนัดพบกันเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจว่าสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอนให้คนเป็นคนดีรุ่นผมทุกคนเป็นคนดีทั้งหมดเลย ไม่มีใครเป็นคนไม่ดีเลยทั้งที่ แต่ก่อนพวกนี้เกเรกันเอาเรื่องซึ่งเป็นเรื่องของวัยเด็กผมว่าเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจแล้วมีความผูกพันที่สำคัญคือ“ เจ้าพ่อ” อาจจะเป็นเพราะว่าเราได้รับการสั่งสมจนเชื่อว่าเจ้าพ่อท่านเป็นผู้มีพระคุณที่ให้สถานที่ซึ่งเป็นบ้านของท่านในการศึกษาเล่าเรียนแก่เราจนมีสิ่งสักการะแทนตัวท่านนั่นคือ  “ ศาลเจ้าพ่อ” ผมจึงถือว่าท่านมีคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างมากผมนับถือยกย่องและเคารพไหว้และนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติราชการคือ ซื่อตรง มีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นก็เป็นมิติแห่งการชื่นชมศรัทธาในด้านผู้ให้กำเนิดสถานศึกษา สภาพอาคารสถานที่ขณะนั้นก็จะมีตึกเรียน 1 ตึกเป็นตึก 3 ชั้นเวลาเข้าจากประตูสาธิตทางซ้ายมือจะเป็นสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ถัดไปก็เป็นหอประชุม 2 ชั้นถัดไปเป็นสนามฟุตบอลตรงข้ามหอประชุม ฝั่งสนามฟุตบอลก็คือศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่หน้าที่พักของฝึกหัดครู (ตึกวิเศษศุภวัตร) ตรงนั้นน่าจะเป็นทิศตะวันตกเพราะตะวันออกคือทางเข้าทางขวาของตะวันออกคือด้านทิศใต้จะเป็นตึกเรียนของผม (ตึกครุศาสตร์ปัจจุบัน)ตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีโรงกลึงติดกับวัดบางไส้ไก่ (อุตสาหกรรมศิลป์ปัจจุบัน) ตอนนั้นยังไม่มีตึกมัธยมสมัยนั้นผมจะเรียกสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ เพราะไม่ได้แยกมัธยมหรือประถม แต่ทราบว่าเดี๋ยวนี้แยกกัน และก็มีอนุบาลด้วย พอจบ ม.ศ. 3 มาผมสอบเข้าเตรียมทหารทีแรก 6,000 กว่าคนผ่านเข้ารอบ 600 คน แต่พอคัด 300 คนไม่ได้ไม่งั้นผมเข้ารุ่นเดียวกับท่านทักษิณไปแล้วพอสอบไม่ได้ผมก็ไปเข้าเรียนที่วัดนวลนรดิศอีกปีก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารใหม่สอบได้เป็นรุ่นที่ 11 ปีก่อนที่ไม่ได้เพราะผมตกโรคเค้าบอกว่าผมเป็นโรคตาซึ่งก็ไม่ใช่โรคติดต่อพอผมได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยที่ผ่านมาผมก็เลยเสนอให้รับพิจารณาตากุ้งยิงริดสีดวงตาเพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ส่วนรวมไม่เห็นด้วยจึงยังแก้ไม่สำเร็จรุ่นเดียวกับผมก็มี พ.อ. บุญฤทธิ์อุตมรูปและพล. ต. ท. ฉัตรชัยโปตระนันทน์เรียนที่เตรียมทหาร 2 ปีนายร้อยตำรวจ 4 ปีก็ได้รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจงานแรกไปเป็นรองสารวัตรที่ปราจีนบุรี เป็นผู้บังคับหมวดทีปราจีนบุรี

ในการทำงานเบื้องต้นเลยต้องยึดหลัก 3 ประการหลักแรกคือกฎหมายและระเบียบหลักที่ 2 ยึดถือความยุติธรรมหลักที่ 3 คือศีลธรรมหมายความว่าถ้าเราทำอะไรที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่เราต้องถูกต้องตามกฎหมายตามระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความยุติธรรมในความยุติธรรมนั้น ก็ต้องมีศีลธรรมด้วยจึงเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปเรียนต่อปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะผมคิดว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมเราต้องฟังคนอื่นด้วยต้องเอาสิ่งที่คนอื่นคิด มาช่วยคิดผมเลยทำคำมั่นสัญญาของตำรวจภูธรภาค 1 ว่าประชาชนคือนายของเรา” ทำงานไม่ค่อยมีอุปสรรคเท่าไหร่คำสั่ง พร้อมปฏิบัติถูกต้องชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเพื่อถวายความจงรักภักดีเพราะผมเป็นข้าราชการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสิ่งที่ภูมิใจในบ้านสมเด็จ ที่มีส่วนให้ผมก้าวมาถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ“ การให้” เจ้าพ่อให้ที่ดินเป็นที่เรียนของเราคนพอถึงจุดหนึ่งควรจะให้กับคนที่ควรจะให้หรือกับใครก็ได้ที่ให้แล้วเกิดประโยชน์นอกจากนี้ก็มีความจงรักภักดีความซื่อตรงอย่างน้อย 3 ส่วนที่ทำให้ผมมีวันนี้และที่ขาดไม่ได้คือ สจจ เว อมตา วาจา ถ้าผมให้สัญญาประชาคมแล้วผมยอมเสียหายหรือฉิบหายดีกว่าที่จะเสียคำพูด ท้ายที่สุดเป็นห่วงนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่า เรากำลังแข่งกันเรียนหรือกำลังแข่งกันหาสถานที่เรียนที่มันดี ๆ แข่งกันหาประกาศนียบัตรเพื่อยอมรับในความสามารถตรงนี้ฝากให้คิด และฝากสำหรับสถาบันการศึกษาที่มีโอกาสประสาทปริญญา คิดจะประสาทปริญญาเพื่อที่จะให้เค้ามีมหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิตหรือคิดถึงองค์ความรู้ ที่จะให้มหาบัณฑิตว่าควรจะรู้ขนาดไหนหรือเรียน เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นมหาบัณฑิตเท่านั้นดังนั้นต้องให้ความรู้อย่างแท้จริง  นั่นก็เป็นบทสรุปทิ้งท้าย ที่เห็นถึงบุคลิกและความเป็นตัวตนของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ได้เป็นอย่างดีที่สำคัญในความเป็นตัวตนนั้นได้ถือเอาแบบอย่างการบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมัยรัชกาลที่ 5 มาได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยนสมกับเป็นลูกสุริยะเลือดม่วงขาวที่เข้มข้นจริง ๆ