๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๙

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งและเหรียญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รุ่น ๑ การสร้างพระกริ่งในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

ประการแรก คือ ต้องการสร้างอนุสาวรีย์องค์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ให้กําเนิดและก่อตั้งวิทยาลัยครูแห่งนี้ แต่การจัดสร้างจําเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจํานวนมาก วิทยาลัยไม่มีทุนทรัพย์เพื่อการนี้เลย จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอเรียรายจากบรรดาศิษย์เก่า ทายาทและบรรดาผู้ที่เคารพนับถือใน องค์ท่าน เพื่อเป็นเครื่องระลึกและตอบแทนในความมีน้ำใจของท่านเหล่านั้น วิทยาลัยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อสร้างของที่ระลึก ในที่สุดก็ตกลงใจกันจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขององค์สมเด็จเจ้าพระยา และเหรียญพระพุทธรูปประจําวิทยาลัยขึ้น เพื่อให้บรรดาเหรียญที่สร้างขึ้นมีคุณค่ามีความขลังสมกับเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบรรดาคณะศิษย์ จึงตกลงกันจะทําพิธีปลุกเสกเหรียญที่สร้างขึ้นในการปลุกเสก คณะกรรมการได้จัดนิมนต์บรรดาเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและกิติคุณซึ่งเป็นที่นิยมนับถือของมหาชนในแต่ละภาคมาร่วมพิธีในครั้งนี้ การจัดพิธีใหญ่ ๆ เช่นนี้ขึ้นมาแต่ละครั้งจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง เพื่อให้ถูกต้องตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา จึงได้เสนอพิธีให้มีการจัดสร้างพระกริ่งขึ้น โดยหล่อนําฤกษ์เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณและประเพณีนิยม พระกริ่งของวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้จุติขึ้นมาเป็น ประการแรก 

ประการที่สอง การตั้งพระนามพระกริ่ง ทุกท่านที่อ่านหากผ่านการ อ่านข้อความในตอนต้นมาแล้วจะทราบดีว่า พระกริ่งนั้นมีความเป็นมา และมีความสําคัญเช่นไร เท่าที่ผู้อ่านได้เคยรู้เคยทราบ พระกริ่งที่สําคัญ ๆ ทั้งหลายเช่น พระกริ่งปวเรศ ก็ดี กริ่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ก็ดีฯลฯ ท่านมิได้เคยตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น บรรดาประชาชนและผู้นิยมนับถือต่าง ขนานนามกันเองต่างหาก เช่น พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่น ๗๙ พระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่นเชียงตุง ฯลฯ การตั้งนามพระพุทธรูปที่สําคัญ ๆ หากจะมีขึ้นนั้นเท่าที่เคยประสบพบเห็นมามีแต่พระพุทธรูปที่เป็นพระประธาน หรือการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาแล้วขอพระราชทานนามจากองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเท่านั้น ฉนั้นพระกิ่งที่จัดสร้างขึ้นครั้งนี้ จะได้รับการขนานนามว่าอะไรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคณะศิษย์ และบรรดาผู้นิยมนับถือจะเหมาะกว่าวิธีการตั้งนามเอาเอง 

ประการที่สาม สาเหตุแห่งการจัดสร้างพระกิ่งขึ้นนั้นก็ได้กล่าวไว้ บ้างในประการแรก แต่ที่สําคัญที่สุดคือเจตนาการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งนี้ นอกจากคณะกรรมการจะมีจิตเป็นกุศล เจตนาบริสุทธิ์ มุ่งหวังความขลังศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังต้องการและประสงค์แต่เพียงให้เป็นของที่ระลึกขึ้น สําคัญยิ่งแก่บรรดาผู้สละทุนทรัพย์ ไม่ต้องการให้เป็นสินค้าที่จะซื้อขายกิน จึงสร้างแต่เพียงจํานวนจํากัด (เท่าจํานวนผู้สั่งจอง) และในเรื่องมูลค่า นั้นก็พอเหมาะสม ไม่ได้ตั้งราคามูลค่าดังเช่นทั่วไปนิยมกัน 

วัตถุมงคลที่วิทยาลัยสร้างขึ้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๑๙ มีพระกริ่ง ซึ่งเราเรียกกันว่า “พระกริ่งสมเด็จเจ้าพระยาฯ เหรียญพระพุทธรูปประจำวิทยาลัยรูปเสมา และเหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  พระกริ่งมี ๒ ขนาด คือ องค์ใหญ่และองค์เล็ก เนื้อนวโลหะ อาจารย์กิจจาเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องรูปแบบ  

เหรียญพระพุทธรูปประจำวิทยาลัย (เสมา) มีเนื้อเงิน (สร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง) และเนื้อทองแดงลักษณะเหรียญเป็นรูปเสมา ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประจำวิทยาลัยด้านหลังเป็นยันต์ ๔ มีคาถาหัวใจนักปราชญ์ (บัณฑิต) กลางสุดเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ มีแบบขนาดและเนื้อต่างกัน เหรียญรีชนิดรี เนื้อทองคำมี  ๒๐ เหรียญ ด้านหน้าของเหรียญ เป็นรูปสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้านหลังมียันต์ ๔ มีคาถาหัวใจนักปราชญ์  (สุ จิ ปุ ลิ) ตรงกลางเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ชนิดกลม มี ๒ ขนาด คือ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก 
มีเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง และกะไหล่เงิน ส่วนเหรียญขนาดใหญ่มีเนื้อเงินด้วยรูปแบบของเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้านหลังขอบนอกของเหรียญมียันต์หัวใจพาหุงเป็นอักษรขอม ๘ คำ คือ พา มา นาอุ กะ สะ นะ ธุ รอบในเป็นยันต์ ๔ มุม ประกอบด้วยคาถาหัวใจนักปราชญ์ ๔ คำ ในกลีบดอกบุนนาคกลางสุดเป็นรูปสุริยะ 

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ นี้ อาจารย์จรัญ คุ้มมั่น เป็นผู้ออกแบบ อาจารย์ประพันธ์  วิทยวิโรจน์ เป็นคนเขียนแบบวัตถุมงคลที่กล่าวนี้ จัดสร้างโดยกองโรงงานกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จึงได้เหรียญที่คมชัดและงดงามมาก อาจารย์กิจจา อาจารย์ธีรธรรม เป็นผู้ติดต่อและดำเนินการ