มนธิดา สีตะธนี

วัน เดือน ปีเกิด : 20 เมษายน 2492

สถานะภาพ : สมรส มีบุตร 2 คน

ตําแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (การศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

การศึกษา :

พ.ศ. 2517 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2511 วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2508 มัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสตรีวิทยา

ประวัติการทํางาน :

พ.ศ. 2543-2559 ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 3 (ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2538-2543 สํานักวิชาการและผู้ประสานงานระหว่างประเทศ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2534-2538 พํานักในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2527-2534 ผู้ชํานาญการ ระดับ 7 (การเผยแพร่การศึกษา) ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2524-2597 นักวิชาการศึกษา 8 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา

พ.ศ. 2519-2524 นักวิชาการศึกษา 4-5 ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2512-2519 ครูตรี-โท กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ :

พ.ศ. 2521 ได้รับทุน ASEAN เพื่อฝึกงานด้านพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 16 สัปดาห์ที่ University of Singapore ได้ศึกษาดูงานศูนย์วิทยาศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์

พ.ศ. 2527 ได้รับเชิญจาก Camegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานด้านพิพิธภัณฑ์เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย

พ.ศ. 2527-2528 ได้รับทุนจาก Carnegie Museum of Natural History ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝึกงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่ Carnegie Museum of Natural History เมืองพิตชเบิรก และศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ในรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2528 ได้รับทุนจาก Senckerberg Museum of Natural History ฝึกงานและ ศึกษาดูงานเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ที่ Senckenberg Museum of Natural Historyเมืองแฟรงเฟิรต เยอรมนีตะวันตก

พ.ศ. 2544 ได้รับเชิญจาก British Council เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “International Networking Event: Towards Democratic Science” และศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และการดําเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ได้เข้าร่วมการประชุม “Public Communication of Science and Technology (PCST 2001) สถาบัน CERN กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

พ.ศ. 2546 ได้ร่วมมือกับ Centre for Science Education, Sheffield Halan University จัดศึกษาดูงานในสหราชอาณาจักรให้กับครูแกนนํา 22 คน โดยได้ดูงาน ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ การจัดกิจกรรมการศึกษาในสวนพฤกษศาสตร์และการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน

พ.ศ. 2546-2548 ได้รับเชิญจาก Centre for Science Education, Sheffield Halan University เข้าร่วมงาน “Annual Meeting of Science Education 2003, 2004, 2005” ในสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2547-2540 ได้รับเชิญจาก Intel Foundation เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “Intel Educator Academy 2004, 2005, 2008” และเข้าร่วมงาน “Intel International Science and Engineering Fair” ในประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2549 ได้รับเชิญจาก National Resources Center เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “LASER K-8 Education Strategic Planning Institute” ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2550 ได้ร่วมมือกับ British Council จัดการศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอน สาขาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสหราชอาณาจักรให้กับผู้บริหารและอาจารย์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

พ.ศ. 2550-2552 ได้รับเชิญจากสถาบันเกอเธ่ ศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2512-2519
หลังจากได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2512 ได้ปฏิบัติงานให้กับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2518

ในระหว่างนั้น ได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการกับกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยร่วมเป็นคณะทํางานพัฒนา หลักสูตรและเขียนตําราคณิตศาสตร์แนวใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นได้เป็นวิทยากรผู้หนึ่งในการอบรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ให้กับครูคณิตศาสตร์ทั่วประเทศ

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534
ปี พ.ศ. 2519 ได้โอนจากกรมสามัญศึกษาไปฏิบัติงานกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในตําแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา และในปี พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ชํานาญการ (ด้านการเผยแพร่การศึกษา)

ในการทํางานในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2519-2534 ได้รับผิดชอบในตําแหน่งหัวหน้าโครงการจัดแสดง นิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยได้จัดแสดงนิทรรศการถาวรตามหัวเรื่องที่กําหนด จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว และจัดกิจกรรมการศึกษาในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมทั้งได้เป็นวิทยากรและเป็นผู้เขียนสคริปต์รายการวิทยุในบางช่วงเวลา นอกจากนั้นได้ออกปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อสํารวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างวัตถุทางธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ในการปฏิบัติงานที่ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับทุน ASEAN ทุนจาก Carnegie Museum of Natural History สหรัฐอเมริกา และ ทุนจาก Senckenburg Museum เยอรมนีตะวันตก ให้รับการฝึกงานและศึกษา ดูงานในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนีตะวันตก อันทําให้สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในงานการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา

ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2538-2552
ในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 ได้พํานักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังจากการเดินทางกลับมายัง ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 ได้เริ่มปฏิบัติงานที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิบัติงานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2552 ได้ดําเนินงาน คือ

ปี พ.ศ. 2538-2543 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

ปี พ.ศ. 2543-2552 การดําเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2543-2552 การพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์

ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2543 ได้รับผิดชอบโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศแคนาดาและสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ การพัฒนาความร่วมมือกับ National Research Council ประเทศแคนาดา และ British Council สหราชอาณาจักร ทําให้ มีผลงานความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ช่วยพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ อีกมาก อาทิเช่น ความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เปรู และโปแลนด์ นอกจากนั้นได้เป็นบุคคลหลักผู้หนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจัดตั้งศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค หรือ APEC Center for Technology Foresight ขึ้นในประเทศไทย โดยมี สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินงาน ซึ่งเป็นการดําเนินงานที่ได้ รับร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มประเทศเอเปค 21 ประเทศ จะเห็นได้ว่าผลงานด้านต่างประเทศโดยรวมได้สร้างงานที่มีประโยชน์ ให้กับ สวทช. และมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ปี พ.ศ. 2543-2552 ได้เปลี่ยนหน้าที่ในการทํางานโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศมาเป็นงานด้านการพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ริเริ่มโครงการสร้างความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก่สาธารณชนในสวทช. โดยได้ใช้พื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ในการทํางานด้านต่างประเทศ มาเชื่อมโยงพัฒนางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ กับสังคมไทย

ผลการดําเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2552 รวมถึงการผลิตหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิตวารสารราย 2 เดือน การผลิตเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การผลิต สารคดีและรายการโทรทัศน์ การจัดกิจกรรมการศึกษาและการจัดกิจกรรมค่ายต้นแบบสําหรับเด็กและเยาวชน การจัดทํา หลักสูตรและเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ การจัดหลักสูตรและเป็นวิทยากร การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมไทย การส่งเสริมการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ และการจัดประกวดผลงานนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communication Awards) การจัดนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ

นอกจากนั้นได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการและ การบรรยายพิเศษในโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการพัฒนา การสื่อสารวิทยาศาสตร์

ความสนใจในงานด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การศึกษาค้นคว้า และการมีโอกาสได้ ศึกษาดูงานในประเทศต่างๆ รวมทั้งการมีโอกาสได้ทํางานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทําให้ได้ สะสมประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมได้อย่างกว้างขวาง มีผลงาน ผลิตออกมาจํานวนมาก ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือที่ร่วมสร้างผลงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนังสือที่เขียนได้ ทําหน้าที่เป็นบรรณาธิการ และเป็นที่ปรึกษา รวม 9 เรื่อง ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นํา ไปจัดพิมพ์เผยแพร่แก่โรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนั้นได้จัดทําวารสารราย 2 เดือน ชื่อ Science in Action ที่ได้รับ ความนิยมจากผู้อ่านอย่างมาก

ในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือได้ดําเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคลากรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อันรวมถึง หน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษา สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ สื่อ โดยได้พัฒนาความร่วมมือในการดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่ง ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชนไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็น มหาวิทยาลัยหนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือ

การพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความก้าวหน้ามาเป็นลําดับและมีผลงานการดําเนินงาน ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ในการทํางานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการผลิตหนังสือส่งเสริม การศึกษาธรรมชาติและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโทของคณะวิทยาศาสตร์ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เน้นการพัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ท้องถิ่นสู่สังคมไทย ทั้งนี้ได้มีบทบาทร่วมกับคณะทํางานในการพัฒนาหลักสูตร และเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 3 แห่ง

ผลงานที่ได้ดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย ได้ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ในเด็กและเยาวชน ได้พัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และได้ พัฒนาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ทั้งนี้การดําเนินงานได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออันจะทําให้เกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืนแก่สังคมไทยในอนาคต