ประวัติกรมการฝึกหัดครู

วังและวัด เป็นหลักของการศึกษาไทยสืบต่อมาจนสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 2 การศึกษาของไทยยังคงดำาเนินไปอย่างไม่มีรูปแบบ ไม่มีโรงเรียน ไม่มีกำาหนดเวลาเรียน และไม่มีหลักสูตร ยังเป็นการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเท่าที่ครูจะมีความรู้พอถ่ายทอดได้ การเรียนรู้ยังคงอาศัยวัดเป็นสำาคัญ

เป็นลูกศิษย์วัดบ้าง เป็นสามเณรบ้าง ภิกษุรูปใดมีความรู้กว้างขวางก็มีคนไปสมัครเป็นศิษย์มากยกย่องให้เป็นอาจารย์ วัดต่างๆ จึงมักจะมีสำ นักศึกษา เพื่อสอนหนังสือไทย หนังสือขอม ภาษาบาลี และสันสกฤต แม้แต่พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงศึกษาอักษรสมัยในสำ นักพระวันรัต วัดบางหว้าใหญ่ นอกจากหนังสือเรียนแล้วถ้าครูผู้สอนมีความรู้ด้านอื่น เช่น งานช่าง งานฝีมือต่างๆ ผู้ที่สนใจก็อาจเรียนรู้และฝึกทักษะวิชาชีพช่างแขนงนั้นๆ ไปพร้อมกัน ในปี พ.ศ.2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมาก จึงโปรดให้มีการแต่งตำราว่าด้วยระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เพื่อให้ได้มีการเรียนรู้แบบประเพณีเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์บางตอนอีกด้วย นับเป็นมรดกสำคัญด้านวรรณคดีไทยจนถึงปัจจุบัน (พงศ์อินทร์ ศุขขจร, 2528 : 5)

ในปี พ.ศ. 2341 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้พระราชาคณะและราชบัณฑิตสังคายนาพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงในใบลาน รักษาไว้เป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง นับเป็นต้นฉบับพระไตรปิฎกที่เรียบร้อยบริบูรณ์ เป็นตำ ราทางพระพุทธศาสนาเพื่อค้นคว้าเล่าเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2347 โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมชำ ระกฎหมายแล้วให้เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ยิ่งกว่านั้น การศึกษา

ด้านช่างฝีมือก้าวหน้ายิ่งขึ้น สืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงเป็นกวีเอก พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้มาก ทั้งบทละครนอกและละครใน นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ทรงส่งเสริมกวีในราชสำ นักอย่างยิ่ง จึงมีวรรณกรรมชิ้นเอก
เกิดขึ้นเป็นอันมาก จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย
ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแล้วให้รวบรวมวิชาความรู้ต่างๆ เช่น วรรณคดี โบราณคดี
การแพทย์ การศาสนา การช่างฝีมือ ฯลฯ จารึกลงไว้ในแผ่นศิลาติดไว้ตามระเบียงและศาลารายในวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2379
จึงถือว่าวัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย (คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, 2531 : 24)

นอกจากนั้น ร้อยเอกเจมส์ โลว์ ได้พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นเล่มแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในระยะนี้ประเทศอื่นๆ โดยรอบตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสกันหมดมีชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำ คัญที่คนไทยจะต้องเรียนรู้เพื่อก้าวให้ทันสรรพวิทยาการสมัยใหม่ จึงทรงส่งเสริม
ให้เรียนภาษาอังกฤษและวิชาอื่นๆ มีการตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ.2379 เจ้าของโรงพิมพ์ คือ นายแพทย์ ดี.บี.บรัดเลย์
ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่าหมอบรัดเลย์ ทำ ให้พิมพ์หนังสือไทยได้ครั้งละจำ นวนมาก โดยไม่ต้องคัดลอกกันครั้งละฉบับเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนั้นการพิมพ์หนังสือยังทำ ให้หนังสือมีราคาถูกลง ผู้สนใจสามารถหาซื้อไปอ่านหรือศึกษาหาความรู้ได้สะดวก จึงทำ ให้การเรียนหนังสือแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น ในสมัยนี้มีหนังสือแบบเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลายเล่ม เช่น หนังสือประถม ก.กา หนังสือสุบินกุมาร หนังสือประถมมาลา
หนังสือจินดามณี เล่ม 2 หนังสือตำ ราแพทย์ ตำ ราเลข และแม้กระทั่งตำราหมอดู ก็ถือกำ เนิดขึ้นในยุคนี้ (มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2539 : 45)

ในด้านการติดต่อกับชาวตะวันตกได้ขยายวงกว้างขึ้น ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทำให้เกิดการศึกษาสำหรับคนที่มีฐานะดีในสังคมอย่างคนจีนและคนชั้นสูง ซึ่งเป็นพวกที่มีเงินจ้างครูฝรั่งสอนภาษาและวิชาการสมัยใหม่ให้แก่บุตรหลานของตนแล้ว วัฒนธรรมของชาวตะวันตกยังเข้ามาทำ ให้วัฒนธรรมไทยถูกละเลยไปเป็นอันมากซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง ในช่วงเวลานั้นนักสอนศาสนาชาวอเมริกันเริ่มเปิดโรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเรียกว่า โรงเรียนเชลยศักดิ์ขึ้นหลายแห่ง เช่น ในปี พ.ศ. 2391 นางแมททูน มิชชันนารีชาวอเมริกันได้ตั้งชั้นเรียนสอนหนังสือเด็กชาวมอญ ในปี พ.ศ. 2395 ตั้งโรงเรียนขึ้นในหมู่ชาวมอญ แต่สอนภาษาไทยเป็นหลัก มิชชันนารีอีกคณะหนึ่งก็ตั้งโรงเรียนสอนเด็กชาวจีนในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้รวมเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนมาสอนภาษาไทย ในปี พ.ศ. 2413 ศาสตราจารย์ จอห์น เอ. เอกิน ชาวอเมริกัน ได้ตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายขึ้นที่กุฎีจีน ธนบุรี ชื่อโรงเรียนคริสเตียนไฮสกูล ตั้งอยู่ที่ถนนประมวล กรุงเทพฯ ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยา ในปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดโรงเรียนกุลสตรีวังหลังขึ้น ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2420 เกิดโรงเรียนไทย-ฝรั่งขึ้นต่อมาเรียกว่า โรงเรียนอัสสัมชัญ สำ หรับโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ชื่อโรงเรียนบำรุงวิทยา (กระทรวงศึกษาธิการ,2507 : 99)

ต่อมาในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรดาเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่นิยมนำ บุตรหลานไปถวายตัว
เป็นมหาดเล็กกันมาก เด็กเหล่านี้ยังไม่รู้หนังสือ จึงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2414
เรียกชื่อทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า โรงสกูล โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อครั้งยังเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรม
พระอาลักษณ์มาเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน สอนหนังสือไทยและเลขให้แก่พวกนักเรียนมหาดเล็ก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประกาศเรื่องโรงเรียน ซึ่งในประกาศดังกล่าวเรียกว่าโรงสอน ดังนี้

“…มีพระบรมราชโองการ มานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทให้ประกาศแก่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย
ซึ่งได้นำบุตรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณในกรมมหาดเล็กบ้าง ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์บ้าง
ทรงพระราชดำริว่า บุตรหลานของท่านทั้งปวง บรรดาที่เข้ารับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่นั้น แต่ล้วนเป็นผู้มีชาติตระกูล
ควรจะรับราชการในเบื้องหน้าต่อไป แต่ยังไม่รู้หนังสือไทยและขนบธรรมเนียมราชการอยู่โดยมาก ที่รู้อยู่บ้างก็ยังใช้อักษรเอก โท
และตัวสะกดผิดๆ ไม่ถูกต้องตามแบบอย่างก็มีอยู่มาก และการรู้หนังสือนี้ก็เป็นคุณสำคัญข้อใหญ่เป็นเหตุจะให้รู้วิชาและ
ขนบธรรมเนียมต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงสอนขึ้นไว้ที่ในบรมมหาราชวัง แล้วจัดคนในกรมพระอาลักษณ์ตั้งให้
เป็นขุนนาง พนักงานสำหรับเป็นครูสอนหนังสือ สอนคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ พระราชทานเงินเดือน ครูสอนให้สมควร
พอใช้สอย ส่วนผู้เรียนหนังสือนั้นก็พระราชทานเสื้อผ้านุ่งห่มกับเบี้ยเลี้ยงกลางวันเวลาหนึ่งทุกวัน ครูสอนนั้นจะสอนโดยอาการ
เรียบร้อย ไม่ให้ด่าตีหยาบคายอนึ่งบุตรหลานของข้าราชการซึ่งยังไม่ได้นำมาทูลเกล้าฯถวายนั้นก็ดีถ้าสมัครจะเข้ามาฝึกหัดเล่าเรียนหนังสือไทยก็จะทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้รับไว้ฝึกหัดเล่าเรียน เพื่อจะได้รู้หนังสือรู้จักคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน

จะได้รับราชการ ฉลองพระเดชพระคุณต่อไป ถ้าท่านทั้งปวงได้ทราบหมายประกาศนี้แล้วจงมีใจยินดีหมั่นตักเตือนบุตรหลานของท่านทั้งหลายทั้งปวงให้เข้ามาฝึกหัดหนังสือไทย ถ้าเล่าเรียนได้ชำนาญในการหนังสือแล้วความงดงามความเจริญก็จะมีแก่บุตรหลานของท่านทั้งปวงไปสิ้นกาลนาน ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีเดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีมะแม ตรีศกศักราช1233(พ.ศ.2414) …”
(น้อยสีป้อ,2545:20)

โรงเรียนแห่งแรกนี้ ตั้งอยู่บริเวณโรงทหารมหาดเล็กในสนามต่อจากระเบียงวัดพรศรีรัตนศาสดารามไปทางตะวันตก ต่อมา
โปรดให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ สำ หรับเจ้านายที่รู้หนังสือไทยดีแล้วขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง และได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้น
ตามความจำ เป็นในการพัฒนาต่อเนื่องมา จนอีกเพียงสิบปีต่อมาปรากฏว่า มีโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังอีกหลายประเภท
คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียนทำ แผนที่ และโรงเรียนราชกุมาร โรงเรียนหลวงเหล่านี้ใช้หนังสือแบบเรียนภาษาไทย
ชุดมูลบทบรรพกิจ ซึ่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)แต่งขึ้นใหม่รวม 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติกร อักษรประโยค
สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ เมื่อเรียนจนจบชุดทั้ง 6 แล้วจึงจะนับว่าเรียนจบวิชาชั้นต้น แต่ปรากฏว่ามีผู้ที่เรียนจบ
มีน้อย และความต้องการกำลังคนในกระทรวงต่างๆ มีมาก เมื่อเรียนพอรู้อ่านออกเขียนได้ ต่างก็พากันลาออกไปรับราชการ เป็นเสมียน
กันเสียหมด เรียกว่าเรียนจบแค่สังโยคพิธานก็พอ (รอง ศยามานนท์ และคนอื่นๆ, 2507 : 135)

ในปี พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยขึ้นที่ปากคลองตลาดเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ซึ่งสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระธิดาเพราะเรือล่มขณะที่เสด็จประพาสบางปะอิน เป็นโรงเรียนเฉพาะสตรี และเป็นโรงเรียนประจำ นับเป็นโรงเรียนประจำสำ หรับสตรีแห่งแรกของไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2424 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบหรือโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นที่ตำ หนักสวนกุหลาบ เพื่อฝึกสอนผู้ที่จะออกไปรับราชการเป็นนายร้อย นายสิบในกรมทหารมหาดเล็ก พระตำ หนักสวนกุหลาบนี้สร้างขึ้นในสวน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสวนสำ หรับปลูกกุหลาบ เพื่อเก็บดอกใช้ในงานราชการครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำ หนักขึ้นหลายหลังในบริเวณสวนกุหลาบ จึงให้ชื่อว่า พระตำ หนักสวนกุหลาบ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งโรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบขึ้น ก็มีเจ้าหน้าที่อำ นวยการศึกษา ได้แก่ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) เมื่อยังเป็นหลวงโอวาทวรกิจอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบ จึงคิดให้มีการสอบไล่หนังสือไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2427 นับเป็นปีแรกที่มีการสอบไล่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนผู้สอบไล่ได้ที่โรงเรียนพระตำ หนักสวนกุหลาบได้มีพระราชดำรัสว่า

“…วิชาหนังสือเป็นวิชาที่นับถือและเป็นที่สรรเสริญ
มาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐ ซึ่งผู้ที่เป็นใหญ่ยิ่ง นับแต่
พระมหากษัตริย์ เป็นต้น จนตลอดราษฎรพลเมือง สมควรและจำเป็น
จะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จไปได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยการทรงจำร่ำเรียนและเป็นวิชาที่ทำให้ผู้ได้รู้มีความฉลาดได้เร็วได้ง่าย
ขึ้น ถึงว่าผู้ใด จะเป็นผู้มีปัญญาไม่รู้หนังสือ แต่ผู้หนึ่งไม่มีปัญญารู้หนังสือ
ผู้ที่ไม่มีปัญญานั้นมักจะดีเทียมเท่ากับผู้ที่มีปัญญา หรือดีขึ้นไปกว่าก็มี
โดยมาก ถึงว่า ความนับถือวิชาหนังสือจะเสื่อมทรามไปบ้าง เล็กน้อย
ไปบ้างเป็นบางครั้งคราว ก็จะกลับเป็นที่นับถือยิ่งใหญ่ขึ้นในเวลาอื่นอีก
เพราะเป็นวิชาอันประเสริฐ เมื่อจะเทียบดูกับกาลแต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้เล่า
พระเจ้าแผ่นดินเคยทรงรับแต่ฎีกากับบัญชีเล็กน้อย ครั้งมาในแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เกิดหนังสือมากขึ้นแต่ยังไม่ถึง
ทุกวันนี้หนังสือที่ฉันได้รับอยู่เดี๋ยวนี้นับด้วยพันเป็นอันมาก วิชาหนังสือ
ในเวลานี้เป็นเวลากำลังต้องการ จะพรรณนาคุณหนังสือให้ทั่วถึงไป
ก็เป็นการยาวเวลา จึงขอตัดความลงว่าในการเวลานี้ผู้ซึ่งจะเป็นข้าราชการ
ไม่รู้หนังสือแล้วเกือบจะเป็นอันใช้ไม่ได้ทีเดียว ได้คิดตั้งใจอยู่ว่าการต่อไป
ภายหน้าจะต้องเลือกผู้ใดไม่รู้หนังสือไล่ได้ตามควรแก่ที่จะกำหนด
ผู้นั้นเป็นขุนนางไม่ได้เลย แต่ในเวลานี้ข้าราชการเก่าที่ไม่รู้หนังสือดี
มีอยู่บ้าง ผู้ซึ่งจะเลือกได้ยังมีน้อยจึงตั้งกำหนดอย่างนี้ไม่ได้จึงต้องคอย
พวกที่เรียนใหม่ๆ นี้จะเป็นผู้ตั้งแบบแผนต่อไปภายหน้า เพราะฉะนั้น
ฉันจึ่งได้มีความมุ่งหมายตั้งใจที่จะจัดการเล่าเรียนทั่วไปทั้งบ้านทั้งเมือง
ให้เป็นการรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดยเร็ว…”
(ไพรัช วนาพรรณ์, ม.ป.ป. : 7)

สำหรับการฝึกหัดครูไทยในประเทศไทยจนถึงการก่อตั้งกรมการฝึกหัดครู โรงเรียนฝึกหัดครูไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การฝึกหัดครูในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2435 – 2475)
    1. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในกรุงเทพฯ
      1. โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่โรงเลี้ยงเด็ก ถนนสระประทุมวัน (ปัจจุบันคือถนนบำรุงเมือง) อันเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูพิศในปัจจุบัน เริ่มเปิดทำ การสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 มีนักเรียน 3 คน คือ นายนกยูง (พระยาอจิรการประสิทธิ์)นายบุญรอด (พระยาภิรมย์ภักดี) และนายสุ่ม โดยมี นายยี เอช กรีนรอดเป็นครูใหญ่ (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 22)
        ต่อมาได้ย้ายไปตั้ง ณ ตึกณฤมิตร ในบริเวณวัดเทพศิรินราวาสเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ แบ่งการจัดการเรียนการสอน เป็น 2 แผนก คือ แผนกโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์และแผนกโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อให้นักเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้ใช้ฝึกสอน (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 24) จากปี พ.ศ. 2435 – 2445 โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรครูประถมเท่านั้น จนปี พ.ศ. 2446 จึงได้เปิดสอนหลักสูตรครูมัธยม นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2446 กรมศึกษาธิการได้ดำ เนินการคัดเลือกนักเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปศึกษาต่างประเทศอีกด้วย (บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 30)
      2. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก ในปี พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเก่า(บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก”รับนักเรียนจากทั้งกรุงเทพ และนักเรียนจากหัวเมืองที่เจ้าคณะมณฑลส่งเข้ามาเรียน เปิดสอนให้เป็นครูสอนชั้นมูลศึกษา เพื่อส่งออกไปเป็นครูตามหัวเมืองมณฑลต่างๆ เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2446โดยมีหลวงบำ เหน็จวรญาณ (พระยาโอวาทวรกิจ) เป็นอาจารย์ใหญ่(บำ รุง กลัดเจริญ, 2506 : 31)
        การตั้งสามัคยาจารย์สมาคม กิจกรรมสำคัญประการหนึ่งที่กรมศึกษาธิการได้ดำ เนินการคือ “การตั้งสามัคยาจารย์สมาคม” เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพครู และให้ครูได้มีโอกาสพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ซึ่งกันและกัน ระยะแรกตั้งที่โรงเรียนวัดอรุณราชวราราม (โรงเรียนทวีธาภิเศกในปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สามัคยาจารย์สมาคมได้จดทะเบียนเป็นสมาคมที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 1มกราคม พ.ศ.2457 และออกหนังสือ “วิทยาจารย์” เป็นวารสารรายปักษ์ของสมาคม ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในการออกประกาศ เผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้แก่สมาชิกของสมาคม นักเรียนของโรงเรียนฝึกหัดครูระหว่าง พ.ศ. 2435–2446แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
        1. นักเรียนสอนประถม
        2. นักเรียนสอนภาษาต่างประเทศ
        3. นักเรียนครูชั้นมูล
        4. นักเรียนครูชั้นประถม
        5. นักเรียนครูชั้นมัธยม
        6. นักเรียนครูต่างประเทศ
      3. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิง “โรงเรียนเบญจมราชาลัย” ในปี พ.ศ.2456 กระทรวงธรรมการโดยเจ้าพระยาพระเด็จสุเรนทราธิบดี(ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้ดำ เนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นที่ “โรงเรียนเบญจมราชาลัย” โดยรับนักเรียนหญิงที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วหรือเป็นผู้มีความรู้อ่านออกเขียนได้ รู้เลขบวก ลบ คูณ หาร ได้แล้วเข้ามาเรียน เมื่อเรียนจบแล้วก็กลับไปสอนที่โรงเรียนในท้องที่มณฑลของตน
      4. การสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2459 เมื่อแรกตั้งมี 4 คณะ คือ คณะแพทย์ศาสตร์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแผนกฝึกหัดครูในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย
    2. การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในหัวเมือง ในขณะที่กระทรวงธรรมการตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ (ปี พ.ศ.2456 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู”) ขึ้นในกรุงเทพฯ หลายโรงเรียนนั้น แต่ยังไม่มีการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในภูมิภาคหรือในหัวเมืองแต่อย่างใด ครูที่ทำ การสอนในโรงเรียนประชาบาล ในหัวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในวัด จึงเป็นพระหรือประชาชนที่มีความรู้พอสอนได้แต่ก็มีครูจำ นวนหนึ่งที่สมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ คัดเลือก เด็กนักเรียนที่เรียนดี เข้ามาเรียนที่ “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” มณฑลละ 4 – 5 คนในแต่ละปี
      ในปี พ.ศ.2456 กระทรวงธรรมการจึงได้มีท้องตราที่ 10/1717ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2456 แจ้งให้มณฑลต่างๆ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นใน “โรงเรียนตัวอย่างมณฑล” ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งปรากฏว่าหลายมณฑลได้ขอจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้น ในโรงเรียนตัวอย่างมณฑลขึ้นในปี พ.ศ.2457 สำ หรับมณฑลอุบลราชธานี สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งปรากฏในรายงานกระทรวงธรรมการ ฉบับที่ 11พุทธศักราช 2461 ซึ่งประเทศไทยแบ่งการปกครองเป็น 15 มณฑล(นับรวมมณฑลกรุงเทพฯ ด้วย) เฉพาะในหัวเมืองมี 14 มณฑล คือ มณฑลนครไชยศรี อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ราชบุรี จันทบุรี ปัตตานีสุราษฎร์ ภูเก็ต ร้อยเอ็ดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และมณฑลพายัพ ซึ่งแต่ละ มณฑลก็มีโรงเรียนฝึกหัดครูรวมเป็น 14 โรงเรียนและรวมนักเรียนฝึกหัดครูทั้งสิ้น 167 คน(กระทรวงธรรมการ. 2461:67 –70) โรงเรียนฝึกหัดครูในมณฑลส่วนหนึ่ง เปิดสอนในระดับ “ประโยคครูมูล” แต่บางมณฑลก็ปรับปรุงในบางวิชา และปรับเป็น “ประกาศนียบัตรครูมูลมณฑล”ดังที่ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2474 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นั้น มณฑลในหัวเมือง 13 มณฑลทั่วทุกมณฑล มีโรงเรียนฝึกหัดครู และจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรแตกต่างกันไปดังนี้
      1. ประโยคครูมูลสามัญ จัดที่มณฑลนครสวรรค์มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลปัตตานีมณฑลภูเก็ตมณฑลนครราชสีมา(รวมอุบลราชธานี) และมณฑลอุดร (รวม7 มณฑลนักเรียน รวม 433 คน)
      2. ประโยคครูมูลมณฑล(สามัญ) จัดที่มณฑลนครสวรรค์มณฑลพายัพ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลอยุธยา มณฑลนครชัยศรีมณฑลจันทบุรีและมณฑลนคราชสีมา (รวม7 มณฑล นักเรียนรวม 455 คน)
      3. ประโยคครูมูลมณฑล(กสิกรรม)จัดที่มณฑลราชบุรีและมณฑลภูเก็ต(รวม 2 มณฑล นักเรียนรวม 60 คน)
      4. ประโยคครูมณฑล(หัตถกรรม) จัดที่มณฑลนครราชสีมา นักเรียน 55 คน
  2. การฝึกหัดครูหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงก่อนตั้งกรมการฝึกหัดครู(พ.ศ.2475 –2497)
    1. มูลเหตุสำคัญที่ต้องขยายงานการฝึกหัดครู
      1. การประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะได้กำ หนดไว้ในหลัก 6 ประการของ “คณะราษฎร” ดังนั้นรัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ดำ เนินการปรับปรุงการศึกษาโดยเร่งด่วน ด้วยการแต่งตั้ง “คณะกรรมการศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2475 เพื่อวางแผนการศึกษาและพิจารณากิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงธรรมการ (ระลึกธานี. 2527 : 59–60) ต่อมาได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสภาการศึกษา”เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2475 เพื่อทำ หน้าที่ต่อจากคณะกรรมการศึกษา คณะกรรมการสภาการศึกษาได้เสนอร่าง “แผนการศึกษาชาติ”ต่อ “คณะกรรมการราษฎร” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ให้ความสำคัญต่อครูเป็นอย่างมากโดยได้กำ หนดเรื่องการฝึกหัดครูไว้ใน “แผนการศึกษาชาติ” ด้วย
      2. การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2478 อันมีผลให้รัฐบาลต้องจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นจำ นวนมากจึงจำ เป็นต้องผลิตครูที่มีวุฒิทางครูเพิ่มขึ้นอีกจำ นวนมากเพื่อให้พอแก่ความต้องการจำเป็น
      3. การประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 ซึ่งมีบทบัญญัติให้ “…สถานศึกษาทั้งปวงพึงใช้ผู้สอนที่มีประกาศนียบัตรหรือปริญญา…”
      4. การตั้งกองฝึกหัดครู ในปี พ.ศ.2485 รัฐบาลอันมีจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมสามัญศึกษา พุทธศักราช 2485” โดยแบ่งส่วนราชการในกรมสามัญศึกษาเป็น 7 กอง สำ หรับ “กองฝึกหัดครู” แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
        1. แผนกฝึกหัดครูชั้นสูง
        2. แผนกฝึกหัดครูชั้นต้น
        3. แผนกตรวจและอบรม
      5. การประกาศใช้ “แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494” เมื่อวันที่5 มิถุนายน พ.ศ.2494 มีข้อกำ หนดเกี่ยวกับครูไว้ว่า “…รัฐเป็นผู้จัดการฝึกหัดครูและพึงสนับสนุนการฝึกหัดครูเป็นพิเศษ…”
    2. การดำเนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูระหว่าง พ.ศ. 2475 – 2497
      1. โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนกลาง
        1. โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร เดิมคือโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้
          • พ.ศ. 2475 ย้ายไปตั้งที่พระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐม แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนฝึกหัดครูพระราชวังสนามจันทร์”
          • พ.ศ. 2477 ย้ายกลับมาตั้งที่ กองพันทหารราบที่ 6ถนนศรีอยุธยา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น“โรงเรียนฝึกหัดครูประถมศรีอยุธยา”
          • พ.ศ. 2484 ย้ายไปตั้งที่วังจันทร์เกษม เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร” ใน พ.ศ. 2490
          • พ.ศ. 2509 ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูพระนคร”ต่อมาได้ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ข้างวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน แล้วได้รับการยกฐานะ เป็น “สถาบันราชภัฏพระนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2538 และเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2547
        2. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ขึ้นที่ซอยประสานมิตร(ซอยสุขุมวิท 23) กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นโรงเรียนประจำรับนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 เรียน3 ปีได้“ประกาศนียบัตรครูประถม” และเข้าเรียนต่ออีก2 ปี ได้“ประกาศนียบัตรครูมัธยม”ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2497และเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร” เมื่อปีพ.ศ. 2517
        3. เปิดแผนก “ฝึกหัดครูประถมหลักสูตรปีเดียวที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย(สำหรับนักเรียนชาย) เมื่อ พ.ศ. 2493
        4. เปิดแผนกฝึกหัดครูประถมที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย (สำหรับนักเรียนหญิง) เมื่อปีพ.ศ. 2493
      2. โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีโรงเรียนฝึกหัดครู ในต่างจังหวัด 28 โรงเรียนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย 17 โรงเรียน ฝึกหัดครูหญิง 9 โรงเรียนและโรงเรียนการเรือน 2 โรงเรียน ดังนี้
        1. โรงเรียนฝึกหัดครูชาย 17 โรงเรียน ได้แก่จังหวัดจันทบุรีชัยนาท เชียงใหม่ ตรัง นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ปราจีนบุรีเพชรบุรีพระนครศรีอยุธยา มหาสารคาม ยะลา สมุทรสงครามสงขลา อุตรดิตถ์อุดรธานีและจังหวัดอุบลราชธานี
        2. โรงเรียนฝึกหัดครูหญิง 9 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ลพบุรี สงขลา อุดรธานีและจังหวัดอุบลราชธานี
        3. โรงเรียนการเรือน ที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา (บำรุง เจริญ. 2506: 61– 62)

หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติประถมศึกษาพ.ศ.2478” และประกาศใช้ “แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2479” แล้วรัฐบาล
ได้เร่งดำ เนินการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นปีละหลายร้อยโรงเรียนความต้องการครูจึงมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ รัฐบาลจึงได้ดำ เนินการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู หรือบางจังหวัดก็เปิดชั้นฝึกหัดครูในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด เป็นต้น ดังที่ปรากฏว่า จากปี พ.ศ. 2478–พ.ศ.2495มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในจังหวัดต่างๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2478 มีโรงเรียนฝึกหัดครูมูล (ชายและหญิง) รวม 11 โรงเรียน และโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ชาย-หญิง) รวม 19 โรงเรียน (รายงานการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ ประจำ ปี 2478.2478 : 13)
  • พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำ เนินการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดในจังหวัดต่างๆ รวม 55 โรง แบ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด รวม 49 โรง และโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงประกาศนียบัตรจังหวัด 6 โรงเรียน คือ
    • โรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด จำนวน 49 โรงเรียน ในจังหวัดต่อไปนี้

    • โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรจังหวัดจำนวน 6 โรงเรียนในจังหวัดต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำ เนินการเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูมูลสตรีขึ้นอีก 2 โรงเรียน คือ ที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดอุดรธานีและเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูชายประกาศนียบัตรจังหวัด ที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดสุรินทร์ และได้เปิดโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรจังหวัด ที่จังหวัดอุทัยธานี สมุทรสงคราม และจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 7 โรงเรียน (รายงานกระทรวงศึกษาธิการประจำ ปี 2480. 2480 : 4)

กล่าวโดยสรุปแล้ว โรงเรียนฝึกหัดครูในส่วนภูมิภาค ระหว่างพ.ศ. 2476 – 2497 (ก่อนตั้งกรมการฝึกหัดครู) จัดการเรียนการสอนใน 4 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรประโยคครูมูล (ป.) รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 หรือจบประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด(ว) เวลาเรียน 1 ปี
  2. หลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด(ว)รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่3 หรือประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) เวลาเรียน2 ปี
  3. หลักสูตรชั้นมัธยมพิเศษ โดยการรับนักเรียนที่จบชั้นประโยคประถมศึกษาเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยม มีกำหนดเวลาเรียน3 ปีจัดเป็นโครงการชั่วคราว เพื่อแก้ความขาดแคลนในท้องถิ่นกันดารโดยมากนักเรียนประเภทนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากท้องถิ่นที่กันดารและขาดแคลนครูเพื่อกลับให้ออกไปเป็นครูในท้องถิ่นนั้นๆ
  4. หลักสูตรประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) สืบเนื่องจากการจัดชั้นมัธยมพิเศษไปได้ระยะเวลาหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ยุบเลิกวิการดังกล่าว แล้วปรับเปลี่ยนเป็น “หลักสูตรประโยคครูประชาบาล” (ป.บ.) รับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่4 ใช้เวลาเรียน3 ปีแตพอถึงปีพ.ศ. 2495 หลักสูตรดังกล่าวถูกยุบเลิกไป (บำรุง กลัดเจริญ.2506: 58)

อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการจัดตั้งกองฝึกหัดครู ในกรมสามัญศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ รับผิดชอบในกิจการฝึกหัดครู เมื่อปี พ.ศ.2485แล้ว ก็ได้มีการยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูในบางจังหวัดและบางหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมแก่กาลสมัย

  1. การฝึกหัดครูภายหลังจากการตั้งกรมการฝึกหัดครู
    (พ.ศ.2497 – ปัจจุบัน)
    1. การตั้งกรมการฝึกหัดครู หลังจากที่รัฐบาลได้ตั้ง“กองฝึกหัดครู” เป็นส่วนราชการระดับกองในสังกัด “กรมสามัญศึกษา” กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ ปี พ.ศ.2485แล้ว การฝึกหัดครูก็เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ พร้อมกับรัฐบาลได้ขยายงานการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา อันเป็นผลให้การผลิตครูไม่เพียงพอต่อความต้องการและจำ เป็นจนกระทั่งในปี พ.ศ.2497 รัฐบาลอันมี จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและพลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ดำ เนินการตั้ง “กรมการฝึกหัดครู” ขึ้น เป็นส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงศึกษาธิการ โดยการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2497” เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2497 เป็นต้นไป หลังจากนั้นรัฐบาลก็ได้ประกาศใช้ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมการฝึกหัดครู ในกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2497”เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2497 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2498 เป็นต้นไป โดยแบ่งส่วนราชการในกรมการฝึกหัดครู ดังนี้
      • สำนักงานเลขานุการกรม
      • กองส่งเสริมวิทยฐานะ
      • กองโรงเรียนฝึกหัดครู
        เมื่อแรกตั้งกรมการฝึกหัดครู มีสถาบันการศึกษาในสังกัดที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 7 แห่ง ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด 21 แห่ง และโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาอีก 2 แห่ง รวมเป็น 30 แห่ง (บำ นาญ รอดเหตุภัยและคณะ. 2549 : 23) พร้อมกับการตั้ง “กรมการฝึกหัดครู”
    2. การยกฐานะของโรงเรียนฝึกหัดครู
      1. การยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครู” หลังจากตั้งกรมการฝึกหัดครู เมื่อปี 2497 แล้วกรมการฝึกหัดครู ก็ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการฝึกหัดครูใหม่ พร้อมกันนั้น ก็ดำ เนินการยกฐานะ“โรงเรียนฝึกหัดครู”เป็น “วิทยาลัยครู” ตั้งแต่ พ.ศ.2501 เป็นต้นมา ซึ่งเริ่มจาก “วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยอุบลราชธานี ฯลฯ ในปี พ.ศ.2501 และได้ดำ เนินการเพิ่มขึ้นทุกปี จนถึง ปี พ.ศ.2516 มีวิทยาลัยครูทั่วประเทศ 36 แห่ง แต่ยังเปิดทำการสอนในระดับ ป.กศ. และ ป.กศ.สูง ในปี พ.ศ.2518 รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518”โดยกำ หนดให้วิทยาลัยครูทุกแห่ง มีสิทธิและอำ นาจจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี
      2. การยกฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวิทยาลัยครูมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538” เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2538 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2538 เป็นต้นไป โดยให้สิทธิและอำ นาจในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกได้ (ราชกิจจานุเบกษา. 2538 : 1 – 21)
      3. การยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” เมื่อสถาบันราชภัฏได้เปิดการสอนในหลายสาขาวิชา และหลายระดับ มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น รัฐบาลจึงได้ ยกฐานะ “สถาบันราชภัฏ”เป็น“มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2547 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 เป็นต้นไป ให้มีอำ นาจและสิทธิในการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

 

อกสารอ้างอิง