นายสมพงษ์ พละสูรย์ (คำหมาน คนไค)

ประวัติ สมพงษ์ พละสูรย์ (คำหมาน คนไค)  

ศิษย์เก่า  ป.กศ.สูง พ.ศ. 2502 

ปัจจุบัน ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 

วันเกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2480 ที่บ้านดอยเมยต. นาจิกอ. อำนาจเจริญจ. อุบลราชธานีเป็นบุตรคนเดียวของนายยอด – นางทุมพละสูรย์มีอาชีพทำนา

ประวัติการศึกษา 

  • คําหมาน คนได เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมเมื่อปี พ.ศ. 2488 ที่ร. ร. วัดบ้านดอยเมย จ. อุบลราชธานีต่อมา พ.ศ. 2492 เข้าเรียนชั้นมัธยมที่ร. ร. เบญจมมหาราชในตัวจังหวัด  
  • พ.ศ. 2498 เข้าเรียนที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจ. ธนบุรี ป.ป. ปี 2500 ขณะเรียนอยู่ป. กศ. ต้นปี 2 สอบม. 8 แผนกอักษรศาสตร์ได้  
  • พ.ศ. 2502 สำเร็จชั้นป. กศ. สูงเข้าเป็นครูประชาบาลในจังหวัดทางภาคอีสาน  
  • พ.ศ. 2507 เรียนต่อที่วิทยาลัยประสานมิตร 
  • พ.ศ. 2509 จบปริญญาตรีทางการศึกษา  
  • พ.ศ. 2511 ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยนอร์ทเธอร์นโคโลราโดสหรัฐอเมริกาสำเร็จปริญญาโทสาขาบริหารศึกษา 

ประวัติการทํางาน  

  • พ.ศ. 2502 เข้าเป็นครูประชาบาลในจังหวัดทางภาคอีสานภาคอีสาน 
  • พ.ศ. 2513 เป็นศึกษานิเทศก์เขต 10  
  • พ.ศ. 2516 เป็นหัวหน้าศึกษานิเทศก์จ. อุบลราชธานี  
  • พ.ศ. 2520 เป็นนักวิชาการศึกษา 6 ประจำศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 

ผลงาน  

เริ่มเขียนบทความทางการศึกษา ทั้งในแง่ของปัญหาข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขส่งไปลงในวารสารท้องถิ่นในจังหวัด 2509 เขียนบทความทางการศึกษาลงในชาวกรุงและเริ่มเขียนสารคดีและเรื่องสั้นไปด้วย 

งานที่ผ่านมา 20 เรื่องเรื่องยาว 2 เรื่อง และหรรษาคดีอีกประมาณ 20 เรื่องได้ตีพิมพ์ในหนังสือต่างๆ ดังนี้

  1. รจนา
  2.  พาที 
  3. คนไท 
  4. ต่วยตูน
  5. เมืองยิ้ม
  6. ฟ้าเมืองไทย 
  7. วิทยาสาร 
  8. ประชาบาล 
  9. การศึกษาเอกชนฯ  

งานที่เขียนได้รางวัล

  1. บันทึกของครูประชาบาล ได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดหนังสือประจำปี 2520  
  2. จดหมายครูบ้านนอกได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดีในการประกวดหนังสือประจำปี 2524  

การเข้ามาสู่วงการเขียนหนังสือ 

ค่าหมาน คนไคไ ด้รับความสนับสนุนจาก เสถียรทจันทิมา ธรบรรณาธิการวิทยาสารและ กานต์มณี ศักดิ์เจริญ จากสำนักพิมพ์บรรณกิจ  

งานเขียนของ คำหมาน คนไค มีพื้นฐานอยู่บนความจริงของสังคม ที่เขาเคยได้พบมา เขาเป็นเพียง เขาเป็นเพียงนักเขียนทีต้องถ่ายทอดชีวิตความจริงออกมาเป็นตัวหนังสือ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวเหล่านั้นให้แก่ประชาชนในสังคมเดียวกัน ได้อ่านและได้คิด 

ผลงานที่ได้รับรางวัลในการประกวดหนังสือ และผลงานที่ประชาชนนิยม 

  • บันทึกของครูประชาบาล 
  • จดหมายครูบ้านนอก 
  • จดหมายจากครูคำหมาน 
  • ครูบ้านนนอก